ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องราวของกระต่าย

    ลำดับตอนที่ #1 : มารู้จักกระต่ายกัน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 5.38K
      12
      10 มี.ค. 51


     การเลี้ยงกระต่ายของแต่ละคนจุดหมายวัตถุประสงค์แตกต่างกัน และไร้ทิศทาง การเลี้ยงกระต่ายโดยไม่ศึกษาหาความรู้ก่อนแล้วนำมาเลี้ยงมันก็เหมือนกับเป็นการบ้านหน้าใหญ่ที่ผู้เลี้ยงกระต่ายทั้งมวลควรหันมาให้ความสนใจศึกษา จากเว็บ หนังสือ หรือ แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ปูพื้นฐานตั้งแต่เบื้องต้น กันเลยทีเดียวตั้งแต่กระต่ายเริ่มเกิดจนกระทั่งโต ผสมพันธุ์ และดูแลรักษา ฯลฯ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใส่ใจและให้ความสำคัญ   เพราะนั่นคือ แม่บทแห่งการทำให้เรารู้จักกระต่าย วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ทุกสายพันธุ์ มีความเป็นอยู่ และการผสมพันธุ์ ฯลฯ เหมือนกันหมดทุกประการ อาจจะแตกต่างกันในทางด้านเทคนิควิธี ของแต่ละสายพันธุ์ ดังนั้น อยากให้ผู้เลี้ยงกระต่ายทุกท่านที่นำกระต่ายมาเลี้ยงแล้ว   กลับไปหาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกระต่ายอ่านกันให้เข้าใจเสียก่อน   และปัญหาต่าง ๆ ในการโพสต์ถามคำถามแบบไร้ทิศทาง หรือถามเพราะกังวลใจจะหมดไปจากใจคุณ ๆ ขอย้ำนะครับ ว่ากระต่ายทุก ๆ สายพันธุ์มีความเป็นอยู่วงจรชีวิตที่เหมือนกัน แตกต่างกันแค่เทคนิค และเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการดูแล เช่นเรื่องขน ลักษณะโครงสร้าง บางสายพันธุ์ที่อาจจะต้องดูแลรักษาให้เหมาะสมในแต่ละสายพันธุ์ครับ
     
                   ขออธิบายให้คุณผู้อ่านทุกท่าน ได้ศึกษาในโครงสร้างหลักของวงจรชีวต ของกระต่าย และความเป็นอยู่ของกระต่ายได้ทราบกัน ครั้งใหญ่และครั้งเดียว เพราะผมรู้สึกว่าคำถามหรือปัญหาต่าง ๆ ที่วนเวียนอยู่ในบอร์ด มันก็วนเวียนอยู่กับสิ่งที่ผมจะบอกต่อไป ย้ำนะครับ กรุณาอ่านให้เข้าใจ เพราะนี่คือ หลักหรือแม่บทในการเลี้ยงกระต่าย และวงจรชีวิตของกระต่ายครับ
     
                    กระต่ายมีอายุเฉลี่ยประมาณ 3-5 ปี มากน้อยแล้วแต่ความแข็งแรงและสุขภาพของกระต่ายในแต่ละตัว วงจรชีวิตของกระต่ายที่มีอายุสั้นจะอยู่ในกระต่ายกลุ่มแคระ เช่น สายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ ดวอร์ฟ, โปลิช, ฮอลแลนด์ ลอป, อเมริกัน ฟัซซี่ ลอป,วูดดี้ ทอย เป็นต้น ส่วนกลุ่มสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่เช่น เฟลมิช ไจแอนท์, เชคเกอร์ ไจแอนท์ นิวซีแลนด์ ไวท์ จะมีช่วงอายุที่ยืนยาวกว่าบางตัวอาจจะมีอายุถึง 15 ปีเลยทีเดียว
    RABBIT LIFE CYCLE
                                                                                                              
                    ตั้งแต่ลูกกระต่ายพ้นท้องแม่ออกมาเป็นตัวแดง ๆ จะต้องกินนมแม่อย่างต่อเนื่อง แม่กระต่ายจะเลี้ยงลูกโดยการให้นมลูกกระต่าย ในสองช่วงเวลา คือ 1. เช้าตรู่ ตี 4 5 (ตามทฤษฏี) 2. พลบค่ำ 18.00 20.00 น. ลูกกระต่ายที่ได้รับนมครบทุกครั้ง ลักษณะลำตัวจะเต่ง อ้วน แต่ถ้าตัวได้รับนมไม่ครบหรือไม่ค่อยได้กินนม ตัวของลูกกระต่ายจะเหี่ยวแห้ง อย่างสังเกตได้ชัด   และเมื่อผ่านไป 2-5 วัน ลูกกระต่ายจะเริ่มมีไรขึ้นขึ้นคลุมผิวหนังแดง ๆ จวบจนกระทั่ง 10 วัน ลูกกระต่ายจะค่อย ๆ เริ่มลืมตา (ช้าเร็วอาจจะแตกต่างกันเล็กน้อยในบางตัวของครอกนั้น ๆ ) เมื่อพ้นสิบวันไป ลูกกระต่ายอาจจะไม่ค่อยสนใจกินนมแม่กระต่าย ให้ผู้เลี้ยงนำยอดหญ้าขนมาโปรย ๆ ไว้เพื่อให้ลูกกระต่ายได้แทะกิน และเมื่อพ้นสามสัปดาห์ขึ้นไป เริ่มเพิ่มอาหารเม็ดสำหรับกระต่ายให้ลูกกระต่ายได้กิน    แม่กระต่ายจะเลี้ยงลูกไปจนถึงลูกกระต่ายมีอายุประมาณเดือนครึ่ง และพ้นสองเดือนไปแล้วสามารถแยกลูกกระต่ายออกจากแม่กระต่ายและสามารถนำไปจำหน่ายได้ หรือ เลี้ยงแยกได้   เมื่อกระต่ายเริ่มอายุ 3 เดือน จะเริ่มทำการประกาศถิ่น หรือ แสดงความเป็นเจ้าของถิ่น (ช้าเร็วหรือว่าไม่เป็นขึ้นอยู่กับนิสัยของกระต่ายในแต่ละตัว)  เมื่อเข้าสู่อายุ 3 4 เดือนการประกาศถิ่นจะเริ่มขึ้นโดยการที่กระต่ายจะเริ่มสำรวจบริเวณที่อยู่ และใช้คางถูไถบริเวณนั้น ๆ เพื่อให้ต่อมกลิ่นที่อยู่ใต้คาง ติดบริเวณ สิ่งของนั้น ๆ   การสร้างอิทธิพล หรือความเหนือกว่า กระต่ายตัวอื่น   ส่วนมากจะเป็นในกระต่ายตัวผู้ เนื่องจากโดยความเป็นอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติแล้ว ตัวผู้จะมีลักษณะของการเป็นจ่าฝูง ดังนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งการเป็นจ่าฝูงถ้าในตัวผู้ด้วยกัน อาจจะต้องมีการต่อสู้หรือการทำอะไรก็ได้ให้อีกตัวยอม   ส่วนในตัวแม่บางตัวก็อาจจะมีอาการของการหวงถิ่นเช่นกัน (ทุกกรณีขึ้นอยู่กับนิสัยของกระต่ายเป็นองค์ประกอบด้วย)   วัย 3 4 เดือนนี้ ในตัวผู้เริ่มจะมีอาการเป็นสัด (Heat) ไล่ผสมพันธุ์บ้างแล้ว แต่สำหรับตัวเมียจะเริ่มกันที่อายุ ประมาณ 4 เดือนขึ้นไป   แต่หากผสมติดในช่วงหนุ่มสาวนี้ ลูกกระต่ายอาจจะไม่ค่อยมีคุณภาพ   เมื่อเทียบกับถึงวัยเจริญพันธุ์เต็มที่ตั้งแต่ 6- 8 เดือนขึ้นไป เมื่อผสมพันธุ์ติดแม่กระต่ายจะใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 30 34 วัน(บวกลบ) หรือประมาณ 1 เดือน ช่วงตั้งท้อง ในกรณีที่เลี้ยงตัวผู้กับตัวเมียรวมกันให้แยกตัวผู้ออกจากตัวเมีย เพื่อป้องการการสร้างความเครียดให้กับกระต่ายตัวเมียในขณะตั้งท้อง เพราะช่วงกระต่ายตั้งท้องจะมีความเครียด ต้องการพักผ่อน และกินอาหารเยอะ ตลอดจนน้ำดื่มที่สะอาด เพราะต้องใช้อาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ในการสร้างตัวอ่อนเติบโตแข็งแรง ดังนั้นอาหารในช่วงนี้จึงควรเน้นอาหารที่มีประโยชน์ให้แม่กระต่ายกิน เช่นอาหารเม็ดบางชนิดที่มีโปรตีน แคลเซียมสูง เพื่อเสริมสร้างกระดูก และหญ้าขนซึ่งมีประโยชน์มาก ๆ   เมื่อใกล้เวลาคลอด 1 -2 วัน แม่กระต่ายจะเริ่มหาวัสดุ เช่น หญ้าแห้ง กิ่งไม้ใบไม้ ขัดกันเป็นรังเพื่อรอรับลูกกระต่ายที่เกิดมา และก่อนหน้าที่ลูกกระต่ายจะเกิดแม่กระต่ายจะเริ่มถอนขนตัวเองเพื่อทำเป็นรังรองรับลูกกระต่ายอีกชั้นหนึ่ง และในเวลาเช้าตรู่โดยส่วนมากแม่กระต่ายจะคลอดลูกออกมา ในช่วงนี้ ให้เตรียมน้ำดื่มและอาหารให้มากเพียงพอ เพราะแม่กระต่ายจะเหนื่อยและเสียพลังงานไปมาก เราอาจจะช่วยแม่กระต่าย โดยการสำรวจว่าลูกกระต่ายแต่ละตัว มีลักษณะที่สมบูรณ์แข็งแรงดีทุกตัวหรือไม่   แต่ไม่ควรไปวุ่นวายกับแม่กระต่ายมาก   และต้องมั่นใจว่าในบริเวณที่เป็นรังคลอดของแม่กระต่ายปราศจากศัตรูรบกวนลูก แม่กระต่าย   เพื่อความสบายใจของแม่กระต่ายที่จะเลี้ยงลูก หากสถานที่แลดูไม่ปลอดภัย อาจจะทำให้แม่กระต่ายอยู่ในภาวะเครียด อาจจะกินลูกตัวเอง เพื่อป้องกันศัตรูหรือภยันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่วงจรการเลี้ยงลูก ตั้งแต่ที่เกริ่นไว้ข้างต้น   (ในช่วงที่แม่กระต่ายพึ่งคลอดเสร็จ ถ้าบางบ้านไม่ได้แยกตัวผู้ออกจากแม่กระต่าย ให้พึ่งระวัง ในการผสมพันธุ์ต่อทันทีหลังจากที่แม่กระต่ายคลอดลูกออกมา เพราะตัวผู้จะไปกวน และตัวเมียที่พึ่งคลอดเสร็จใหม่ ๆ จะมีภาวะหรืออาการเป็นสัด(Heat) สูงหากมีการผสมพันธุ์ต่อเนื่องทันที แม่กระต่ายจะติดลูกจากการผสมในครั้งนี้ทันที   แต่ปัญหาที่จะติดตามมาในภายหลังคือ แม่กระต่าย จะเริ่มมีสุขภาพที่แย่ลงและมีอายุที่สั้น หรือคลอดลูกออกมาแล้วทำให้แม่ตายในทันที   หรือคลอดลูกออกมาแล้วเลี้ยงลูกไปสักพักแล้วก็ตายไปเฉย ๆ   ทำให้ลูกกำพร้าแม่ได้   และคุณภาพของลูกก็จะไม่ดีเท่าที่ควร เพราะแม่กระต่ายจะต้องเลี้ยงลูกที่พึ่งคลอดออกมา และยังต้องเสริมสร้างพลังงานสารอาหารในการเลี้ยงตัวอ่อนในท้องอีกด้วย...
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×