ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หอสมุดต้องห้ามแห่งดาร์คแลนด์

    ลำดับตอนที่ #42 : ยักษ์ในตำนาน:เทพผู้เกี่ยวข้องกับยักษ์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 923
      0
      1 ก.ค. 59

    เทพผู้มีบทบาทเกี่ยวข้องกับยักษ์

     

     

                    ตามท้องเรื่องในตำนานของผองชนชาวเฮลเลนิก  โบราณหรือที่เรียกว่า  กรีก  สาวนใหญ่มักจะอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  ซึ่งไม่สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์  โดยผ่านเรื่องเล่าของบรรดาทวงเทพ  กษัตริย์  นักรบ  วีรษุรุษ  รวมถึงอมนุษย์ทั้งสัวต์อสูร และบรรกายักษ์ทั้งหลายนั่นเอง

                    สำหรับผู้ที่รจนาตำนานนี้  ย่อมเป็นนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงอย่างแน่นอน  นักประพันธ์ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด  ได้แก่  กวีฮีสิออดและโฮเมอร์  ซึ่งเป็นผู้รจนามหากาพย์อีเลียด และ โอดิสซีนั่นเอง

                    ต่อมาเมื่อกรีกเสื่อมอำนาจและอิทธิพลลง  ขณะที่โรมันมีอำนาจขึ้นมาแทนที่  แถมยังผนวกกรีกไว้ภายใต้จักวรรดิอันยิ่งใหย๋อย่างเบ็ดเสร็จ  ถึงแม้พวกเขาจะมีเทพเจ้าของตนเองนับถือมาแต่ดั้งเดม  แต่ก็หาได้รังเกียจที่จะสืบทอดความเชื่อในเทพเจ้ากรีกต่อไปอีกด้วย

     

                    เพียงแต่ชื่อของเทพแต่ละองค์ก็ต้องเปลี่ยนไปเป็นเวอร์ชั่นภาษาละตินซึ่งเป็นภาษาโบราณในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน  และเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักวรรดิโรมัน  โดยชื่อของเทพบางองค์ในเวอร์ชั่นนี่ก็กลายเป็นสภาพเป็นรากศัพท์ของภาษาอังกฤษ  อีกทั้งมีผู้รจนาตำนานทวยเทพกรีกเพิ่มเติม  อย่างเชาน โอวิด กวีชาวดรมัน  ซึ่งแต่งได้พิสดารกว่าเวอร์ชั่นดั้งเดิมมากมายนัก

     

                    เรื่องส่วนใหญ่ของตำนานกรีก  มักเน้นการยางชิงอำนาจปกครองสรวงสวรรค์  ซึ่งมักจะปรากฏร่องรอยเทพผู้ลูกวัดรอยเท้าผู้พ่ออยู่เสมอ

     

                    ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเทพเหล่านี้มีชีวิตเป็นอมตะ  และไม่มีทีท่าว่าจะลงจากเก้าอี้ง่าย  เทพผู้ลูกจึงตัดสินใจก่อรัฐประหารเยี่ยงนี้แล

     

                    จากเรื่องราวที่มีความพิสดารพันลึกมากกว่าเวอร์ชั่นเดิม  ขอเล่าเรื่องแบบย่อของเจ้าแห่งทวยเทพองค์แรกสุด  ก็ถูกเอรีบัสเทพแห่งความมืดผู้เป็นบุตรชาบขับไล่ลงจากบัลลังก์

     

                    กงกำกงเกวีนย  ต่อมา  เอรีบัสก็ถูกอีเธอร์ ทเพแห่งแสงสว่างและเอเมอร่าเทพแห่งกลางวันผู้เป็นลูกยึดอำนาจ  แต่แล้วทั้งสองเทพก็ไม่แคล้วถูกยูเรนัสเทพแห่งสวรรค์กับกาอียาเทพแห่งพิภพยึดอำนาจเสียจนกลายเป็นวงจรอุบาทว์ไปแล้ว

     

                    ถึงแม้ยูเรนัสจะตัดวงจรอุบาทว์  ด้วยการจับลูก ๆ ของตนไปขังไว้ในทาร์ทารัสคุกมืดในเหวลึกสุดใต้บาดาล  แต่ก็หาได้รอดพ้นจากวงจรนี้อย่างเด็ดขาด  เมื่อเทพโครนัสเป็นแกนนำพาพี่ ๆ ขึ้นมาจากคุกมืดยึดอำนาจแถมยังสังหารเทพผู้พ่ออย่างเหี้ยมเกรียมอีกต่างหาก

     

                    แต่โครนัสก็จัดการดูดกลืนลูก ๆ ของตนเองลงท้อง  เพื่อตัดวงจรอุบาทว์ที่สั่นคลอนบัลลังก์ของตนเสีย  แต่ไม่วายเทพซีอุสลูกคนสุดท้องกลับรอดเงื้อมมือบิดาอย่างหวุดหวิด  ก่อนจะถูกโครนัสกลืนลงท้องเหมือนพี่ ๆ พระนางรีอาผู้เป็นมารดาก็เปลี่ยนเป็นก้อนหินส่งให้โครนัสกลืนลงท้องทันควันและก็กลับมาโค่นโครนัส  มหาเทพผู้พ่อของตนเองในที่สุด

     

    จากนั้นมหาเทพซีอุสก็ขึ้นครองอำนาจสูงสุดบนสรวงสวรรค์จนถึงปัจจุบัน

     

                    สำหรับยักษ์ตามท้องเรื่อง  ก็เป็นกำลังสำคัญของทั้งสองฝ่าย  แต่ก่อนอื่น ขอแนะนำตัวละครเทพที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับยักษ์ตามท้องเรื่องตำนานกรีกแบบคร่าวๆ

     

                    มหาเทพซีอุส

                    มีนามตามเวอร์ชั่นละตินคือ เทพจูปีเตอร์  เป็นบุตรคนสุดท้องของมหาเทพโครนัส  กับพระนางรีอา  มีสายฟ้าเป็นอาวุธ แต่มหาเทพองค์นี้มีนิสัยเจ้าชู้  เป็นสิ่งขึ้นชื่อลือชา  มีกิ๊กทั้งในสวรรค์และบนผืนโลกและส่วนใหญ่มีปัญหาตามมาในภายหลังก็เพราะนิสัยเจ้าชู้นี่แหละ 

                    เทพีเฮร่าหรือจูโนตามเวอร์ชั่นภาษาละติน  เป็นมเหสีสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมายควบตำแหน่งพี่สาวของซีอุส  ตามท้องเรื่องนางรับบทร้าย  คอยตามจองล้างจองผลาญบรรดากิ๊กและลูกนอกสมรสของสามีอยู่เสมอ   

                    พระนางกายีอานามในภาคภาษาละตินคือ เทอรร์ร่า เป็นมเหสีควบตำแหน่งน้องสาวของมหาเทพยูเรนัส และเป็นเทพีอง์แรกของโลกตามตำนานกรีก  มีศักดิ์เป็นย่าของมหาเทพซีอุส  นอกจากจะเป็นผู้ให้กำเนิดเทพไตตันแล้วยังถือเป็นมารดาผู้ให้กำเนิดยักษ์หลายตน จากร่างกายของพระนาง  ซึ่งเป็นพื้นพิภพนั่นเอง

                    เทพดพไซดอนหริอเนปจูนเป็นเทพเจ้าแห่งท้องทะเลและมหาสมุทร  ผู้ปกครองดินแดนแห่งท้องน้ำ มีศกดิ์เป็นพี่ของมหาเทพซีอุส  บทบาทส่วนหนึ่งของเทพองค์นี้ก็เป็นบิดาผู้ให้กำเนิดยักษ์หลายตนเช่นเดียวกับพระนางกายีอา  บางคราสองย่าหลานก็มาเป็นกิ๊กกัน  และให้กำเนิดยักษ์ขึ้นมาซะอย่างนั้นแหละ

                    เทพีอธีนา หรือ มิเนอร์วาเป็นเทพีแห่งปัญญาควบตำแหน่งเทพีแห่งสงคราม  เทพีอธีนาเป็นธิดาของเทพีเมทิส เนื่องจากคำทำนายที่ว่าบุตรที่เกิดจากนางจะเป็นผู้โค่นบัลลังก์  ซีอุสจึงตัดสินใจกลืนเข้าไปในท้องตั้งแต่ยังมีครรภ์แก่ทั้งแม่ทั้งลูก  ในขณะที่กำลังประชุมเหล่าทวยเทพหางโอลิมปัสจู่ ๆ มหาเทพเกิดปวดศีรษะขึ้นรุนแรงจึงให้เทพเฮเฟสตุสนำขวานจามเข้าที่ศีรษะเต็ม ๆ ปรากฏว่าเป็นเทพอธีนาที่สวมชุดเกราะพร้อมถือหอกกระโดดอกกมา  ถึงแม้ว่าเทพอธีนาจะถือกำเนิดมาพร้อมกับคำทำนายนั้น  แต่พระนางก็ยังเป็นหนึ่งในลูกรักของซีอุส  ด้วยเหตุฉะนี้ เฮร่าจึงกินเกาเหลากับอธีนาซึ่งถือว่าเป็นผู้กำเนิดมาจากซีอุสโดยตรง

     

                    เฮเฟสตุสหรือวัลแคน  เป็นเทพแห่งไฟ โลหะและการช่าง เป็นบุตรของซูสร่ากับเฮร่า หรือในบางตำนานก็ว่าเป็นบุตรของเฮร่าแต่เพียงผู้เดียว  พระองค์เป็นเทพพิการและอัปลักษณ์ซึ่งอาจเกิดจากเทพเซอุสโยนลงจากสวรรค์เมื่อครั้งไปช่วยเฮร่า  ในขณะที่ทะเลาะกับเซอุส  เฮเฟสตุสจึงใช้เวลาร่วม10ปีแรกอยู่ในทะเลและได้สร้างโรงหล่อไว้ใต้ภูเขาไฟเอตนา มียักษ์ไซคลอปส์เป็นลูกมือ

                    เฮอร์มีสมีนามตามเวอร์ชั่นละตินว่าเมอร์คิวรี่  รับตำแหน่งเทพแห่งการสื่อสาร  พระองค์เป็นบุตรของมหาเทพซีอุส  ฌดยเกิดจากนางไมอา  และมีของวิเศษคือ หมวกและรองเท้ามีปีก เรียกว่า เพตตะซัส ซึ่งเป็นของขวัญจากเทพบิดา  เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเทพสื่อสารและมีคฑาคาดูเรียสซึ่งรูปร่างของคฆางูไขว้อยู่สองตัวซึ่งคทานี้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกลางอีกด้วย

                    เฮอร์คิวลีส  หรือ เฮราคลีส เป็นบุตรนอกสมรสของเทพซีอุสกับอัลค์เมนา กิ๊กที่เป็นมนษย์ด้วยความที่มีสายเลือดเทพครึ่งหนึ่งไหลเวียนอยู่ในร่างกาย  จึงทำให้เฮอร์คิวลิสมีพละกำลังแข็งแกร่งกว่ามนุษย์ปกติ  มีทั้งกระบองและธนูเป็นอาวุธคู่ใจอีกทั้งยังสามารถสร้างวีรกรรมปราบอสูรและยักษ์ร้ายมากมายหลายตน  เขาจึงได้รับการยกย่องอย่างสูง  โดยเฉพาะความหาญกล้า  ต่อมาเฮอร์คิวลิสจึงถูกบรรจุให้เป็นหนึ่งในเทพโอลิมปัส  หลังจากสิ้นชีพไปแล้ว


    ที่มา  : หนังสือเรื่องตามรอยเท้ายักษ์ จัดพิมพ์โดย ปราชญ์ สำนักพิมพ์

     

     


     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×