ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

    ลำดับตอนที่ #1 : เลือกตั้งผู้ว่ากทม.บทพิสูจน์คุณภาพทางความคิดของชาวกทม.

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 338
      0
      6 ธ.ค. 52

    ผมเห็นโพลความนิยมเลือกตั้งผู้ว่าแล้วว่าตามตรง คนกทม.หลายท่านทำให้ผมต้องผิดหวังพอสมควร แต่ก็ต้องยอมรับความจริงกันตรงๆละว่าเมื่อคนกทมเป็นซะแบบนี้แล้วจะไปว่าอะไรเขาได้ ประชาธิปไตยต้องยอมรับคะแนนเสียงส่วนใหญ่อยู่แล้ว
    เลือกตั้งคราวนี้มีตัวเต็งเห็นกันจริงๆแค่4คน ตัวเลือกที่เหลือนอกจากนั้นไม่รู้ว่าคะแนนประมาณหลักหมื่นนี่จะไปถึงหรือเปล่า เพราะฟังคนที่ดูรายการจับเข่าคุยช่วงที่เอาผู้สมัครที่เหลือเหล่านั้นมาแนะนำตัว นำเสนอนโยบาย บางคนสมัครเพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลใจให้มา บางคนสมัครเพราะอยากนำเสนอนโยบายที่แปลกแยกเพื่อเรียกความสนใจ เลยกลายเป็นว่าบรรยากาศออกมาเป็นที่เฮฮาขบขันยังไงไม่ทราบได้
    งานเขียนชิ้นนี้ของผมนั้นต้องการนำเสนอความจริงเท่านั้น แต่จะดูถูกความคิดของชาวกทม.หรือไม่นั้นแล้วแต่คุณจะคิด ผลเลือกตั้งสว.ที่ผ่านมา วิวาทะระหว่างคุณปลื้มกับรสนาก็แสดงให้เห็นชัดถึงคุณภาพของคนกทม.ในตอนนั้นได้ระดับหนึ่งลองไปหาอ่านจากblogย้อนหลังดูก็ได้

    ผมจะขอจำแนกประเภทความคิดของชาวกทม.ที่จะเลือกผู้ว่าในครั้งนี้เป็นสองกลุ่มดังนี้นะครับ
    1.สร้างภาพนโยบายนิยม พวกนี้ชอบเลือกคนที่นำเสนอนโยบายทั้งที่เป็นฝันเลื่อนลอยบ้าง ฝันที่น่าจะเป็นจริงตามข้อมูลบ้าง หรือแม้แต่ใครก็ได้ที่ช่างขยันออกสื่อกระแสหลักสร้างภาพสร้างกระแสเอาใจคนที่ไม่ได้เป็นคอการเมืองตัวจริง บางพวกไม่ได้สนใจจะศึกษาข้อมุลข่าวสารย้อนหลังเกี่ยวกับผลงานที่ผ่านมาของเขามีข้อบกพร่องอยู่มากน้อยแค่ไหน
    หรือบางคนก็รู้แต่ทำหูทวนลมด้วยอคติบ้างเพราะโทษคนอื่นเท่าขุนเขาแต่โทษของเราเบาเท่าปุยนุ่น ยอมให้อภัยในความผิดบ้างเพราะคิดว่าคนที่ไม่ทำผิดคือคนที่ไม่ทำอะไรเลยอย่างนี้แต่จริงๆแล้วเขาก็ไม่ได้ทำอะไรเลยในบางข้อที่ควรจะทำเหมือนกัน
    คนพวกนี้ส่วนใหญ่มักไม่ใช่คอการเมืองตัวจริง เป็นพวกให้ความสนใจในสิ่งที่ชอบอย่างอื่นมากกว่าเช่น วงการบันเทิง กีฬา หนังสือนิยาย การ์ตูน เป็นต้น
    คนพวกนี้ถ้าถามว่าเลือกเพราะอะไร ก็มักจะตอบเอาจุดแข็งของคนๆนั้นโดยหมกเม็ดหลีกเลี่ยงที่จะไม่พูดถึงจุดอ่อน ข้อบกพร่องของคนที่เลือก ซ้ำร้ายยังดูถูกกลุ่มปฏิบัตินิยมบางคนว่าเป็นพวกสร้างภาพนิยมเอาหน้าเหมือนกันโดยเฉพาะในเรื่องของการออกมาแฉข้อมูลนำเสนอจุดอ่อนข้อบกพร่องมาแบบเลื่อนลอยอย่างนี้

    2.ปฏิบัตินิยม พวกนี้ชอบเลือกคนที่เคยมีผลงานการทำงานเป็นที่รับรองหรือแม้แต่วีรกรรมการปฏิบัติในความเป็นคนจริงเป็นที่ฮือฮาตามสื่อกระแสหลัก
    บางคนอาจจะไม่ได้สนใจว่านโยบายที่เขาจะทำมีอะไรบ้างแต่ก็เชื่อถือในความเป็นนักปฏิบัติจริงไปก่อนแล้ว เพราะพวกเขาเกลียดชังคนสร้างภาพและขยันออกสื่อเอาหน้าไปวันๆ
    พวกเขาสนใจติดตามข่าวสารข้อมูลย้อนหลังของคนที่มีพฤติกรรมเป็นนักสร้างภาพ ร่างนโยบายเพื่อหาจุดอ่อนข้อบกพร่องของคนพวกนั้นมาเล่นงานโจมตีเพื่อตีแผ่ความเป็นจริงบ้าง ตัดคะแนนความนิยมบ้าง แล้วแต่ข้อมูลตรงนั้นมีหลักฐานความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน
    คนพวกนี้ส่วนใหญ่เป็นคอการเมืองตัวจริง บางส่วนก็เป็นคนที่มีความสนใจในเรื่องอื่นๆแต่ต้องการค้นหาข้อมูลความเป็นจริงชนิดที่ครอบคลุมทุกฝ่ายแล้วเอามาพิจารณาประมวลผล

    คุณคิดว่าชาวกทม.อยู่ในกลุ่มไหนมากที่สุด ผมเชื่อว่าหลายท่านมีคำตอบอยู่ในใจแล้ว แต่บางคนอาจจะตอบว่าไม่อยู่ในสองกลุ่มนี้เพราะการเลือกคนที่เหมาะสมต้องมีทั้งความเป็นนักปฏิบัติและนักประชาสัมพันธ์การตลาดไปในตัว ผมเชื่อว่าคนที่ตอบแบบนี้บางคนจงใจปกปิดความเป็นพวกสร้างภาพนิยมของตนเองอยู่ก็ได้
    ข้อสังเกต ผมใช้คำว่าส่วนใหญ่ กับ บางคน ไม่มีคำว่า ทุกคน เพราะผมไม่ใช่คนที่ชอบดูถูกคนแบบเหมารวมนะครับ โดยเฉพาะคนในกลุ่มสร้างภาพนโยบายนิยม

    สุดท้าย ผมตั้งความหวังว่าคุณภาพความคิดของชาวกทม.หลายคนควรจะพัฒนาขึ้นมาบ้าง เป็นพวกเจ็บแล้วจำบ้าง สำนึกว่าตัวเองก็ไม่ได้ฉลาดไปกว่าคนรากหญ้าในชนบท ไม่ใช่บุคคลประเภทหอคอยงาช้าง บ้าคุณธรรมจริยธรรม บ้าความพอเพียง โดยไม่ศึกษาข้อมูลให้ละเอียดถ่องแท้ถึงตัวตนของคนที่นำเสนอตัวเองว่ามีคุณธรรมจริยธรรมว่าเป็นยังไง
    ผมอยากให้ความหวังของผมเป็นจริงเหลือเกินครับ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×