ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รอบรู้...ไม่เสียหาย (เสื่อมสลายแล้ว)

    ลำดับตอนที่ #77 : พระเจ้าอี่

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 214
      0
      26 พ.ค. 51

    พระเจ้าอี่ หรือ อวี่ (อังกฤษ: Yu, จีน: 禹) เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์เซี่ย ซึ่งนับเป็นราชวงศ์แรกของประเทศจีนที่มีการสืบราชบัลลังก์โดยสายเลือด เกิดเมื่อปีที่ 2059 ก่อนคริสตกาล ได้รับยกย่องเป็นหนึ่งในสามกษัตริย์ ห้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของจีน เดิมเขาเป็นขุนนางในสมัยที่พระเจ้าซุ่นเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศจีน มีผลงานที่โด่งดังคือการคิดค้นระบบชลประทานเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม

     ประวัติ

    เมื่อ4000ปีก่อน ลุ่มแม่น้ำหวงเหอหรือแม่น้ำเหลืองเกิดอุทกภัยครั้งร้ายแรง “ต้าอวี่” (อี่) ได้รับคำสั่งให้ไปแก้ปัญหาอุทกภัยและประสบความสำเร็จในที่สุด จึงกลายเป็นบุคคลที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจาก ประชาชนทั่วไป ซุ่นหัวหน้าผู้ยิ่งใหญ่ของชนเผ่าหัวเซี่ยในเวลานั้นได้ มอบราชบัลลังก์ให้อวี่สืบทอดต่อ เรื่องราวเกี่ยวกับ “ต้าอวี่” แก้ปัญหา อุทกภัยไดเล่าขานกันมาจนกระทั่งทุกวันนี้

    เล่ากันว่า ในขณะที่เหยาเป็นหัวหน้าเผ่าอยู่นั้น เกิดอุทกภัยครั้งร้ายแรงมาก ไร่นาและบ้านถูกน้ำท่วมไปหมด ชาวบ้านทั่วไปต้องย้ายไปอยู่เนินสูง เหยาเรียกเปิดประชุม เพื่อปรึกษาหารือแก้ปัญหาอุทกภัย บรรดาหัวหน้าเผ่าต่างก็เสนอชื่อให้ ”กุ่น” ซึ่งเป็นบิดาของอวี่ไปหาทางแก้ไข กุ่นใช้เวลา 9 ปีใช้วิธีการถมดินปิดกั้นทางน้ำไหล แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ซ้ำอุทกภัยกลับร้ายแรงยิ่งขึ้น และยังถูกฟ้องร้องกล่าวหาว่า ทุจริต

    “ซุ่น” ผู้ได้สืบราชบัลลังก์ต่อจากเหยาได้สั่งให้ลงโทษประหารชีวิต ”กุ่น” และมอบหมายให้ ”อวี่” (อี่) ลูกชายของ”กุ่น”ไปแก้ปัญหาอุทกภัย

    “อวี่” ได้รับบทเรียนจากความล้มเหลวของบิดาตนที่ใช้ทำนบ ปิดกั้นทางน้ำไหลไม่ได้ผลจึงใช้วิธีขุดคลองระบายน้ำที่ท่วมอยู่ให้ไหลลงทะเลและขุดลอกแม่น้ำเพื่อระบายน้ำแทน เขาใช้วิธีสำรวจทางน้ำและสร้างแผนที่ขึ้นมาก่อน แล้วจึงขุดคลองระบายน้ำให้น้ำที่ท่วม อยู่มีทางไหลออกไปสู่ทะเลได้ เขามุ่งมั่นนำพาพลเมืองให้ร่วมกันแก้ไขปัญหาน้ำทวมด้วยตนเอง นำหน้าขุดดินและหาบดินด้วยตนเอง ในระหว่างการแก้อุทกภัย เขาได้คิดประดิษฐ์เครื่องวัดหลายชนิด ตลอดจนวิธีการรังวัดและเขียนผังหลายอย่าง ด้วยการใช้ความ พยายามเป็นเวลานานถึง13ปี จึงสามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลและปลูกพืชพันธุ์ ธัญญาหารในไร่นาได้ ด้วยคุณงามความดีในการแก้ปัญหาน้ำท่วม ซุ่น จึงได้มอบราชบัลลังก์ให้อวี่สืบทอดต่อ

    เล่ากันว่า เพื่อแก้ไขน้ำท่วม อวี่แต่งงานได้ไม่นานก็ต้องเดินทางออกจากบ้าน ในช่วงเวลา 13 ปีที่เขาทำงานหนักมาก เขาเคยผ่านหน้าบ้านถึงสามครั้ง แต่ก็ไม่ได้แวะเข้าบ้านเลยแม้สักครั้ง ครั้งหนึ่ง ขณะที่เขาผ่านหน้าบ้านนั้น ภรรยาเขาได้คลอด ลูกชายชื่อ ”ฉี่” พอดี แม้อวี่ได้ยินเสียงร้องไห้ของทารกแล้ว แต่ก็อดกลั้นใจไว้ไม่แวะเข้าบ้านของตน

    ชนรุ่นหลังต่างยกย่องสรรเสริญคุณงามความดีในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยของ ”อวี่” จึงเรียกเขาว่า “ต้าอวี่” (พระเจ้าอี่) แปลว่า ”อวี่ผู้ยิ่งใหญ่” เรื่องเล่าขานนี้ ได้สะท้อนถึงสภาพจิตใจของชุมชนที่ไม่หวาดหวั่นครั่นคร้ามต่อภัยธรรมชาติ

    เมื่ออวี่แก้ปัญหาอุทกภัยได้ ก็เปรียบเสมือนหนึ่งวีรบรุษกู้ชาติ จึงได้รับการยกย่องทั่วไปทั้งจากผู้ปกครองและประชาชน “ซุ่น” จึงได้มอบราชสมบัติให้

    เมื่ออวี่เป็นหัวหน้าเผ่าแล้วก็ได้เปลี่ยนชื่อเมืองหลวง เป็น ”เซี่ย“ และเปลี่ยนเขตปกครองเสียใหม่โดยแบ่งอาณาเขตประเทศเป็น 9 เขต เขาปกครองประเทศอย่างแข็งขันด้วยความพากเพียร ท ำให้สังคมในยุคสมัยนั้นพัฒนาก้าวไปสู่ยุคสมัยใหม่

    หลังยุคคอมมูนชาติวงศ์ หัวหน้าของชนเผ่าและชาติวงศ์ทั้งหลายอาศัยฐานะและอำนาจของตนเก็บเอาผลิตผลที่เหลือไว้กลายเป็นทรัพย์สินส่วนตัว จึงกลายเป็นตระกูลชั้นผู้ดีที่ร่ำรวยขึ้น ถ้าเกิดการสู้รบระหว่างชนเผ่าที่ต่างกัน ข้าศึกที่ถูกจับได้ก็กลายเป็นทาสและต้องเป็นแรงงานรับใช้ตระกูลชั้นผู้ดี จึงได้ก่อรูปเป็นชนชั้นทาสและเจ้าของทาสขึ้น คอมมูนชาติวงศ์จึงเริ่มสลายตัวไป

    เมื่ออวี่ (พระเจ้าอี่) ชราลงก็ได้แสดงความจำนงที่จะยกราชสมบัติให้โป๋อี้ ขุนนางผู้หนึ่งที่อวี่เห็นว่า มีสติปัญญาสมควรที่จะครองราชย์สืบต่อจากตน แต่เมื่ออวี่สิ้นพระชนม์ลง โป๋อี้ก็ไม่ยอมรับเป็นหัวหน้าเผ่า โดยอ้างว่า ตนเป็นแต่ขุนนางผู้น้อย รับราชการมาเพียง 3 ปี เห็นควรให้ “ฉี่” ราชโอรสของอวี่ (พระเจ้าอี่) ครองราชย์สืบต่อจากอวี่ต่อไป ขุนนางทั้งหลายก็เห็นด้วย “ฉี่” จึงได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากอวี่ ตั้งแต่นั้นมา ระบบคัดเลือกหัวหน้าเผ่าด้วยการเลือกตั้งคนดีก็ถูกยกเลิกไป ระบบที่สืบราชสมบัติต่อในเชื้อสายราชวงศ์ได้ปรากฏขึ้น ราชวงศ์เซี่ย จึงนับได้ว่าเป็นราชวงศ์แรกในยุคทาสของประวัติศาสตร์จีน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×