teddypancake
ดู Blog ทั้งหมด

บทพากย์เอราวัณ

เขียนโดย teddypancake
 เนื่องจากว่า...
เราได้หาความหมายมาหลายเว็บแล้ว...
หา"ยาก" มาก จึงคิดว่า 
"เอาวะ! เราแปลเองก็ได้!" 
และด้วยความช่วยเหลือจากคุณครู เพื่อนๆ และคนอื่นๆ จึงสำเร็จออกมาได้ด้วยดี!!!
อันนี้เราให้ครูcheckแล้วนะ (อย่าcopy paste ก็ดีน๊าาา Y-Y แก้นิสสสนึง)

เริ่ม! :-)


ประวัติผู้แต่ง

       พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระนามเดิมว่า "ฉิม" ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรในคราวที่สมเด็จพระราชบิดาทรงสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรในคราวที่สมเด็จพระราชบิดาทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ .. ๒๓๒๕

พระราชกรณียกิจด้านศิลปกรรมและวรรณกรรม

v  ทรงปรับปรุงท่ารำต่าง ทั้งโขนและละคร ซึ่งกลายเป็นต้นแบบมาถึงปัจจุบัน ทรงประพันธ์เพลง "บุหลันลอยเลื่อน" หรือ "บุหลันลอยฟ้า"

v  ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมมากมาย เช่น ขุนช้าง ขุนแผน คาวี สังข์ทอง ไกรทอง อิเหนา

v  ทรงแกะสลักบานประตูวิหารพระศรีศากยมุนี ที่วัดสุทัศนเทพวราราม ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

 

 

 

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

       ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการยกย่องว่า เป็น

“ยุคทองของวรรณคดี” ด้านกาพย์กลอนเจริญสูงสุด จนมีคำกล่าวว่า "ในรัชกาลที่ นั้น ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด" พระองค์มีพระราชนิพนธ์ที่เป็นบทกลอนมากมาย ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละครทั้งละครในและละครนอก มีหลายเรื่องที่มีอยู่เดิมและทรงนำมาแต่งใหม่เพื่อให้ใช้ในการแสดงได้ เช่น รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา 


จุดมุ่งหมายในการแต่ง “บทพากย์เอราวัณ”

   บทพากย์นี้แต่งขึ้นเพื่อใช้ในการแสดงโขน นอกจากนั้นยังต้องการสอนให้ผู้อ่านเห็นโทษของความลุ่มหลงในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อันนำมาซึ่งความประมาท เป็นเหตุแห่งหายนะ ดังตอนที่พระลักษมณ์และไพร่พลวานรที่มัวแต่เพ่งดูเทวดาอย่างเพลิดเพลิน จนต้องศรของอินทรชิตในที่สุด

ที่มาของเรื่อง

    ได้เค้าโครงเรื่องมาจาก “รามายณะ” ของอินเดีย

ลักษณะการประพันธ์

    บทพากย์เอราวัณแต่งเป็นกาพย์ฉบัง ๑๖ จำนวน ๔๐ บท โดยที่มีฉันทลักษณ์ดังนี้
 


บทพากย์เอราวัณ

 อินทรชิตบิดเบือนกายิน        เหมือนองค์อมรินทร์ 
ทรงคชเอราวัณ 

อินทรชิตแปลงกายเป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ 

 ช้างนิมิตฤทธิแรงแข็งขัน              เผือกผ่องผิวพรรณ 
สีสังข์สะอาดโอฬาร์ 

ช้างเอราวัณที่เนรมิตขึ้นนั้นแข็งแกร่งน่าเกรงขาม มีผิวพรรณสีขาวเหมือนหอยสังข์

 สามสิบสามเศียรโสภา          เศียรหนึ่งเจ็ดงา 
ดั่งเพชรรัตน์รูจี 

มีเศียรงดงาม ๓๓ เศียร แต่ละเศียรงามีงา ๗ กิ่งที่สวยงามเหมือนเพชร

 งาหนึ่งเจ็ดโบกขรณี            สระหนึ่งย่อมมี 
เจ็ดกออุบลบันดาล 

ที่งาแต่ละกิ่งมีสระบัว ๗ สระ แต่ละสระมีกอบัว ๗ กอ

 กอหนึ่งเจ็ดดอกดวงมาลย์      ดอกหนึ่งแบ่งบาน 
มีกลีบได้เจ็ดกลีบผกา 

แต่ละกอมีดอกบัว ๗ ดอก แต่ละดอกมีกลีบบัวบาน ๗ กลีบ

 กลีบหนึ่งมีเทพธิดา             เจ็ดองค์โสภา 
แน่งน้อยลำเพานงพาล 

แต่ละกลีบมีนางฟ้ารูปงามอยู่ ๗ องค์

 นางหนึ่งย่อมมีบริวาร          อีกเจ็ดเยาวมาลย์ 
ล้วนรูปนิรมิตมายา 

แต่ละองค์มีบริวารที่เป็นหญิงงาม ๗ นาง

 ๏ จับระบำรำร่ายส่ายหา         ชำเลืองหางตา 
ทำทีดังเทพอัปสร 

จับระบำรำฟ้อนด้วยท่าทางอย่างนางฟ้า

 มีวิมานแก้วงามบวร            ทุกเกศกุญชร 
ดังเวไชยันต์อมรินทร์ 

ที่เศียรช้างทุกเศียรมีบุษบกวิมานซึ่งงามราวกับวิมานเวไชยันต์ของพระอินทร์

 เครื่องประดับเก้าแก้วโกมิน     ซองหางกระวิน 
สร้อยสายชนักถักทอง

เครื่องประดับมี โกมินล้อมแก้วนพเก้า ซองหาง กระวิน สายชนักที่ล้วนถักร้อยด้วยสร้อยทอง

 ตาข่ายเพชรรัตน์ร้อยกรอง      ผ้าทิพย์ปกตระพอง 
ห้อยพู่ทุกหูคชสาร

มีผ้าทิพย์ปกตระพองซึ่งร้อยประดับด้วยเพชร มีสายสร้อยห้อยเป็นพู่ลงทั่วทุกหูช้าง

 โลทันสารถีขุนมาร                    เป็นเทพบุตรควาญ 
ขับท้ายที่นั่งช้างทรง 

ควาญช้างคือสารถีของอินทรชิตชื่อ โลทัน  แปลงกายเป็นเทพบุตรนั่งอยู่ท้ายช้างเป็นผู้ขับขี่ช้าง

 บรรดาโยธาจัตุรงค์             เปลี่ยนแปลงกายคง 
เป็นเทพไทเทวัญ 

บรรดาทหารสี่เหล่าต่างแปลงกายเป็นชางฟ้าชาวสวรรค์

 ทัพหน้าอารักขไพรสัณฑ์       ทัพหลังสุบรรณ 
กินนรนาคนาคา 

ทัพหน้าคือ เทพารักษ์ ทัพหลัง คือครุฑ กินนร และนาค

 ปีกซ้ายฤาษิตวิทยา             คนธรรพ์ปีกขวา 
ตั้งตามตำรับทัพชัย

ปีกซ้ายคือ วิทยาธร ปีกขวาคือ คนธรรพ์ เป็นการตั้งทัพตามตำรับพิชัยสงคราม  

 ล้วนถืออาวุธเกรียงไกร         โตมรศรชัย 
พระขรรค์คทาถ้วนตน 

ล้วนถืออาวุธคือ หอก ธนู ดาบ กระบอง ครบมือ 

 ลอยฟ้ามาในเวหน              รีบเร่งรี้พล 
มาถึงสมรภูมิชัย 

เหาะเหินมาบนฟากฟ้า รีบเร่งเคลื่อนพลเข้าสู่สนามรบ

                                                 ฯ เจรจา ฯ

 

เมื่อนั้นจึงพระจักรี                    พอพระสุริย์ศรี
อรุณเรืองเมฆา

พระอาทิตย์ขึ้น ส่องแสงเรืองรองไปทั่วเมฆ

ลมหวนอวลกลิ่นมาลา                 เฟื่องฟุ้งวนา
นิวาสแถวแนวดง

ลมพัดกลิ่นดอกไม้คลุ้งไปทั่ว ในที่พักนั้น ซึ่งอยู่แถวป่า

ผึ้งภู่หมู่คณาเหมหงส์                 ร่อนราถาลง
แทรกไซ้ในสร้อยสุมาลี

หมู่แมลงบินลงมาตอมตามดอกไม้

ดุเหว่าเร้าเร่งพระสุริย์ศรี        ไก่ขันปีกตี
กู่ก้องในท้องดงดาน

นกดุเหว่าเตือนพระอาทิตย์ว่าถึงเวลาเช้าแล้ว ไก่ต่างกระพือปีกและขันเสียงร้องไปทั่วป่า

ปักษาตื่นตาขันขาน                   หาคู่เคียงประสาน
สำเนียงเสนาะในไพร

นกต่างๆอันน่าตื่นตา ต่างหาคู่ประสานทำนองเพลง และส่งเสียงอันไพเราะออกมาทั่วป่า

เดือนดาวดับเศร้าแสงใส        สร่างแสงอโณทัย
ก็ผ่านพยับรองเรือง

แสงดาวหายเริ่มไป และแสงอาทิตย์กำลังขึ้นปรากฏขึ้นมา

จับฟ้าอากาศแลเหลือง          ธิบดินทร์เธอบรรเทือง
บรรทมฟื้นจากไสยา

ทั่วฟ้าเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แล้วพระรามก็เริ่มตื่นจากการนอน

                                            ฯ เจรจา ฯ

 

เสด็จทรงรถแก้วโกสีย์          ไพโรจน์รูจี
จะแข่งซึ่งแสงสุริย์ใส

แจ้ง Blog ไม่เหมาะสม

29 ก.ย. 54
537,850
199

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 41
ขอบคุนค๊าฟฟ :)
ความคิดเห็นที่ 42
ขอบคุณน้าค้าบบบบบบบบบบบบบบ -3-
ความคิดเห็นที่ 43
ขอบคุณมากนะคะ
ความคิดเห็นที่ 44
ขอบคุณค่ะ :)
ii-mgz
ii-mgz 9 ม.ค. 56 / 21:22
ขอบคุณค่ะ
ความคิดเห็นที่ 46
ทำไมไม่มีบทที่25อ่าค่า ฮือๆ ข้อ25เคาต้องแปลพอดีเยย T^T
ความคิดเห็นที่ 47
ขอบคุณงับ
ความคิดเห็นที่ 48
อยากได้บทพากย์ชมดงของยักษฦคับ
ความคิดเห็นที่ 49
ขอบคุงค่ะที่ช่วยแปลแต่ถ้าจะให้ดีแปลให้หมดทั้งเรื่องเลยจะดีที่สุดค่ะ


ขอบคุณค่ะ
ความคิดเห็นที่ 50
ทำไมแปลไม่หมดฟ่ะ!!!!!
ความคิดเห็นที่ 51
ขอบคุณมากๆ ค่ะ ^^
ความคิดเห็นที่ 52
ไม่มีบทที่ 28 เป็นต้นไปเลย T^T
ความคิดเห็นที่ 53
แปลยังไม่หมดนินาาา T^T
ความคิดเห็นที่ 54
ดีจังเรยขอบคุนน้าที่บอกการบ้านชั้นหมดแล้ว
ความคิดเห็นที่ 55
เครียด
ความคิดเห็นที่ 56
ขอบคุณมากนะค่ะ
ความคิดเห็นที่ 57
แทงคิ้ว
ความคิดเห็นที่ 58
ทำไมเเปลไม่หมด
เเต่ดีมากคะ
ความคิดเห็นที่ 59
วาเรนไท
ความคิดเห็นที่ 60
วาเรนไทครับ
< 1 2 3 4 5  …  10 >