nexstep0.1
ดู Blog ทั้งหมด

การเรียนดนตรีอาศัยทักษะโดยไม่ต้องใช้พรสวรรค์

เขียนโดย nexstep0.1
CabinetsCabinet HardwareBathroom CabinetsCabinet Doorsfargo cabinetsMedicine CabinetsKraftmaid CabinetsCabinetStorage CabinetsRta CabinetsDiscount Kitchen Cabinetscabinet expertise comptable orleansCabinet KnobsCabinet HingesGarage CabinetsMedicine CabinetUnder Cabinet LightingFile CabinetKitchen Cabinet DoorsRta Kitchen CabinetsCabinet PullsCurio CabinetsRoosevelt'S Black CabinetKitchen CabinetJelly CabinetKitchen Cabinet HardwareStorage Cabinetcabinet refacingThomasville CabinetsFile CabinetsCorner CabinetGun CabinetBathroom Vanity CabinetsGun CabinetsBathroom Wall CabinetsPainting Kitchen CabinetsHoosier CabinetCustom CabinetsKitchen Cabinets WholesaleCabinet HandlesKitchen CabinetsCabinetsCabinet HardwareBathroom CabinetsCabinet DoorsFargo CabinetsMedicine CabinetsKraftmaid CabinetsRta CabinetsCabinet D'Expertise Comptable OrleansBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlog
การเรียนดนตรีอาศัยทักษะโดยไม่ต้องใช้พรสวรรค์
การเรียนดนตรีอาศัยทักษะโดยไม่ต้องใช้พรสวรรค์ (อุเทน อินทโร)
มีความเชื่อที่ว่าการเรียนดนตรีต้องมีพรสวรรค์ เพราะหากมีพรสวรรค์นั้นจะเรียนดนตรีได้เร็ว เป็นที่ถกเถียงกันในแวดวงการศึกษาด้านดนตรี บางกลุ่มว่าพรสวรรค์สร้างได้ หากใช้พรแสวงก็สามารถพัฒนาเป็นพรสวรรค์ อีกกลุ่มว่ามีขีดความสามารถทั่วไปและพรสวรรค์อยู่เหนือขีดความสามารถนั้น แต่ก็มีตัวอย่างให้เราเห็นกันในแง่การเรียนรู้ เช่น บางคนเรียนดนตรีขยันฝึกดนตรีแต่ก็ไม่สามารถพัฒนา บางคนหัวไวเรียนรู้เร็วและสามารถเล่นได้โดยใช้ระยะเวลาสั้น ทำให้หาบทสรุปเรื่องพรสวรรค์ได้ยาก
แต่ถ้าหากกล่าวว่าคนที่ไม่มีพรสวรรค์สามารถเล่นดนตรีได้ถ้าหากไม่ขีดสักยภาพ ด้วยข้ออ้างว่าไม่มีพรสวรรค์ เป็นเรื่องของจิตใต้สำนึกที่ตนเป็นคนสร้างเพื่อจำกัดความสามารถของดนตรี ถ้าพรสวรรค์นั้นเป็นเรื่องที่เล่นเก่งแบบอัจฉริยะละก็ หมายถึงว่าคนทั่วไปก็สามารถเล่นดนตรีได้ จึงสามารถสรุปได้ว่าการเล่นดนตรีเป็นเรื่องการฝึกฝนทางด้านทักษะโดยไม่ต้อง อาศัยพรสวรรค์ จากการสังเกตผู้เริ่มเรียนดนตรีพบว่า คนที่เรียนรู้ดนตรีได้ช้าเนื่องจากใช้ทักษะหลายด้านฝึกพร้อมกันจึงเป็น เรื่องยาก ดังนั้นทางเลือกก็คือต้องอาศัยพรสวรรค์ถึงจะเรียนได้หรือฝึกทีละทักษะจน ชำนาญแล้วค่อยฝึกรวมทักษะทั้งหมดเข้าด้วยกัน หลังจากการทดลองสอนแล้วพบว่าทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจดนตรีได้ง่ายขึ้น ทำให้การเรียนดนตรีเป็นเรื่องง่ายไม่ต้องอาศัยพรสวรรค์ พรสวรรค์นั้นเอาไว้ใช้กับคนเก่ง ๆ ระดับโลกดีกว่า ส่วนนักดนตรีแค่ใช้การฝึกทักษะก็เพียงพอ ทักษะเป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนและพัฒนาให้เก่งได้ แต่ต้องอาศัยความเพียรและความต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทักษะทางดนตรีประกอบด้วยทักษะการอ่านโน้ตและทักษะปฏิบัติเครื่องดนตรี
ทักษะการอ่านโน้ต (อาศัยการทำงานของตากับสมอง) ถ้าหากเราฝึกนักเรียนให้อ่านโน้ตให้ถูกตามจังหวะและทำนองก่อน จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเรื่องโน้ตได้ดี การฝึกอ่านโน้ตนั้นอาจจะแยกฝึกอ่านในเรื่องความสั้นยาวของเสียง (การใช้โน้ตที่มีระดับเสียงเดียวกันแต่มีความแตกต่างด้านความสั้นยาวของ จังหวะ) ฝึกอ่านในเรื่องระดับเสียงสูงและต่ำ (การใช้โน้ตตัวใดตัวหนึ่งที่มีจังหวะเดียวกันแต่มีระดับเสียงต่างกัน) เมื่อรวมทักษะเข้าด้วยกันจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายขึ้น
ตัวอย่างการเรียนเรื่องโน้ตเขบ็ต 1 ชั้น เพราะผู้เรียนส่วนมากมีปัญหากับความเร็วและการเปลี่ยนเสียง ถึงแม้ว่าฝึกให้ช้าลงแต่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ อาจจะฝึกให้ผู้เรียนเล่นโน้ตตามระดับเสียงโดยไม่ต้องสนใจจังหวะเพื่อให้เกิด การเคลื่อนไหวของร่างกายให้คล่องก่อน แล้วค่อยฝึกส่วนโน้ตโดยให้เล่นด้วยโน้ตตัวใดตัวหนึ่งโดยไม่เปลี่ยนระดับ เสียงแต่ฝึกความสั้นยาว แล้วจึงรวมทักษะทั้งสองเข้าด้วยกันก็จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายขึ้น
ทักษะปฏิบัติเครื่องดนตรี (อาศัยการทำงานของร่างกายกับสมอง)
การฝึกปฏิบัติดนตรีโดยเน้นความสำคัญของการใช้ทักษะทางด้านร่างกาย เช่น การฝึกการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ การเคลื่อนไหวของแขนและเท้า เนื่องจากร่างกายต้องฝึกการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่นของร่างกาย เมื่อสร้างให้เกิดความชำนาญแล้วก็จะสามารถปฏิบัติได้อย่างคล่องแคล่ว หลังจากนั้นจึงรวมทักษะการอ่านโน้ตเข้ากับการปฏิบัติเครื่องดนตรี และเมื่อฝึกอย่างต่อเนื่องจนเกิดความชำนาญแล้วจะสามารถฝึกทักษะทั้งสองไป พร้อมๆกันได้
ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าการเล่นดนตรีเป็นเรื่องของทักษะ ส่วนเรื่องพรสวรรค์นั้นเป็นเรื่องอัจฉริยะซึ่งยังไม่จำเป็นต้องใช้ในการเล่น ดนตรีเบื้องต้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเล่นดนตรีได้ถ้าฝึกฝนทักษะให้เกิดความชำนาญ สิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้คนฝึกทักษะอย่างต่อเนื่องนั้น ผู้เรียนจำเป็นต้องมีเป้าหมายในการฝึกทักษะการเล่นดนตรี เนื่องจากจะมีอุปสรรค์เป็นเครื่องทดสอบความอดทนของผู้เรียน หากขาดเป้าหมายที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจแล้ว ก็จะเห็นอุปสรรค์เป็นปัญหาใหญ่ แต่ถ้าผู้เรียนมีเป้าหมายในการเรียนดนตรีและเป็นเป้าหมายที่ก่อให้เกิดแรง บันดาลใจแล้ว อุปสรรค์จะกลายเป็นทางผ่านของความสำเร็จที่ทุกคนต้องผ่าน ตัวอย่างเช่น นักเรียนวิชากีตาร์ หากแค่อยากลองเล่นกีตาร์เมื่อเจ็บมือก็เลิกเรียน ในขณะที่นักเรียนอีกคนอยากเล่นกีตาร์เป็นจะคิดว่านี่คือสิ่งที่นักกีตาร์ทุก คนต้องผ่าน ถ้าหากฝึกทุกวันอย่างต่อเนื่องสร้างกล้ามเนื้อมากพอก็จะหายเจ็บนิ้วหาย เมื่อยมือ เปรียบกับการยกน้ำหนัก ไม่สามารถยกน้ำหนักมากๆในวันเดียว แต่สามารถสร้างกล้ามเนื้อฝึกอย่างต่อเนื่องทุกวัน เพิ่มน้ำหนักทุกวันก็จะสามารถยกน้ำหนักมากๆได้ หากการเล่นดนตรีเป็นเรื่องง่ายๆที่สามารถฝึกฝนได้ ดังนั้นส่วนที่เหลือก็คือผู้เรียนต้องการฝึกเล่นดนตรีจริงๆรึเปล่า

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น