nexstep0.1
ดู Blog ทั้งหมด

เชื่ออย่างไรจึงจะถูกต้อง?

เขียนโดย nexstep0.1
Power ToolsAce HardwareTractor SupplyNorthern ToolSolar PanelsTractor Supply CompanySears PartsSolar EnergyHusqvarnaSolar PowerBatteries PlusBlack And DeckerMechanicMilwaukee BrewersBatteriesRyobiWind PowerBoschHome HardwareMotorcycle PartsHuskyDewaltTractorsCraftsman ToolsMotor ScootersInterstate BatteriesBriggs And Stratton PartsNorthern ToolsSan Diego ChargersTractorMilwaukee ToolsGun PartsLaptop BatteriesAir CompressorSolar CellsBlack & DeckerMiller WeldersLawn Mower PartsIngersoll RandCell Phone BatteriesAce Hardware StoresStihl TrimmersMilwaukeeRyobi TrimmerTractor TiresTractor PartsSears Craftsman ManualsDremelStihl ChainsawsFein MultimasterBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlog
เชื่ออย่างไรจึงจะถูกต้อง?
ปัญหาสำคัญที่ทำให้ผู้นับถือพุทธศาสนาไม่สามารถเข้าใจคำสอนที่แท้จริงของพระ พุทธเจ้าได้ก็คือเรื่องความเชื่อ คือชาวพุทธมักจะเข้าใจกันว่าพระพุทธเจ้าสอนให้เชื่อในคำสอนของพระองค์โดยไม่ ต้องลังเลสงสัย ซึ่งนี่เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจกันว่าความเชื่อเช่นไรจึงจะถูกต้องกันต่อไป
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นมีอยู่ ๒ ระดับ คือ
๑. ระดับธรรมดา หรือระดับศีลธรรมที่เป็นคำสอนในเรื่องการครองเรือน หรือการดำเนินชีวิตของเราตามปรกติ ที่มีผลเป็นความปกติสุข ไม่เดือดร้อน ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม ซึ่งคำสอนระดับศีลธรรมนี้ก็เป็นคำสอนพวกการรักษาศีล การให้ทาน การเสียสละ การให้อภัย การช่วยเหลือผู้อื่น การทำหน้าที่การงานด้วยความอดทนขยันขันแข็ง การละเว้นอบายมุข ละเว้นสิ่งเสพติด ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย เป็นต้น
๒.ระดับสูง หรือระดับลึกซึ้งสูงสุดที่เป็นคำสอนในเรื่องการดับทุกข์ของชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งก็ได้แก่คำสอนในเรื่องอริยสัจ ๔ ซึ่งคำสอนเรื่องการดับทุกข์นี้จัดเป็นคำสอนที่สำคัญที่สุดของพระพุทธเจ้า
ผู้ที่นับถือพระพุทธเจ้านั้นก็มีทั้งคนที่มีปัญญาน้อยและคนที่มีสติปัญญามาก ซึ่งคนที่มีสติปัญญาน้อยก็คือคนที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในความจริงแท้ ของธรรมชาติเพียงพอ ส่วนคนที่มีสติปัญญามากก็คือคนที่มีความรู้ความเข้าใจในความจริงแท้ของ ธรรมชาติเพียงพอ
คนที่มีสติปัญญาน้อยนั้นก็มักจะเชื่ออะไรง่ายๆเพราะขาดสติปัญญาไตร่ตรอง จึงมักเชื่อเรื่องลึกลับ หรือเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อิทธิปาฏิหาริย์ เรื่องดวงชะตาราศี เรื่องโชคลาง เป็นต้น ดังนั้นคนพวกนี้จึงรับเอาคำสอนในระดับศีลธรรมมานับถือ เพราะคำสอนในระดับศีลธรรมนี้ไม่เน้นเรื่องความเชื่อ คือใครจะเชื่ออย่างไรก็ได้ ขอว่าอย่าทำความชั่ว ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และให้ทำแต่ความดี ช่วยเหลือผู้อื่นก็พอแล้ว
ส่วนคนที่มีสติปัญญามากก็มักจะไม่เชื่ออะไรง่ายๆดังนั้นคนพวกนี้จึงรับเอา เฉพาะคำสอนในระดับสูงมานับถือ เพราะคำสอนระดับสูงนี้จะเน้นเรื่องความเชื่อมาก คือจะสอนไม่ให้เชื่ออะไรง่ายๆจนกว่าจะได้พิสูจน์ให้เห็นจริงด้วยตนเองแล้ว เท่านั้น
เมื่อคำสอนก็มี ๒ ระดับ และคนก็มีทั้งมีปัญญาและด้อยปัญญา จึงเกิดปัญหาขัดแย้งกันขึ้นมาเมื่อคนด้อยปัญญาเกิดอยากไปศึกษาคำสอนระดับสูง ขึ้นมาแล้วพบว่าคำสอนระดับสูงนั้นไม่สอนให้เชื่อใครเลยจนกว่าจะได้พิสูจน์ ให้เห็นจริงแล้ว ดังนั้นคนด้อยปัญญาจึงไม่ยอมรับว่าคำสอนระดับสูงของพระพุทธเจ้านี้เป็นคำสอน ที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า หรือคนที่ยอมรับก็จะดึงเอาคำสอนระดับสูงของพระพุทธเจ้านี้ให้ลดลงต่ำมาเป็น คำสอนในระดับศีลธรรม คือจะเปลี่ยนแปลงคำสอนเสียใหม่แล้วก็สอนให้เชื่อเลยโดยไม่ต้องพิสูจน์ นี่เองจึงทำให้คำสอนระดับสูงนั้นลดคุณค่าลงจนกลายมาเป็นคำสอนธรรมดาๆที่แทบ ไม่มีคุณค่าเลยอย่างเช่นในปัจจุบัน
คำสอนระดับสูงของพระพุทธเจ้านั้นเป็นหลักคำสอนในเรื่องการดับทุกข์ ซึ่งคำสอนระดับสูงนี้ต่างจากคำสอนระดับศีลธรรมที่ไม่ต้องใช้การพิจารณา ไตร่ตรองก็สามารถปฏิบัติตามได้ทันทีโดยไม่มีผลเสีย แต่คำสอนระดับสูงนี้เป็นคำสอนที่ละเอียดลึกซึ้ง มีความจำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาไตร่ตรองอย่างมาก เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง อันจะนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง แล้วผลที่ถูกต้องคือความทุกข์ได้ดับลงจริงจึงจะเกิดขึ้นมาได้จริงๆ ในทางตรงกันข้าม ถ้าขาดการพิจารณาไตร่ตรอง ก็จะเกิดความเข้าใจที่ผิดขึ้นมาได้ง่าย แล้วการปฏิบัติก็จะผิดตามไปด้วย แล้วความทุกข์ก็จะไม่ดับลงจริง
ถึงแม้ว่าผู้ที่ศึกษาจะได้รับคำสอนที่ถูกต้องมาแล้วก็ตาม แต่ถ้าไม่นำคำสอนนั้นมาพิจารณาไตร่ตรอง ก็จะไม่บังเกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องขึ้นมาได้จริง คือจะยังเป็นแค่เพียงความรู้ที่เกิดจากการฟังมา หรืออ่านมาเท่านั้น ยังไม่ใช่ความรู้ระดับความเข้าใจที่เกิดจากการพิจารณาไตร่ตรองด้วยเหตุด้วย ผลมาก่อน ซึ่งความรู้ที่เกิดจากการฟังมาหรืออ่านมานั้น ยังเป็นความรู้ของคนอื่น ยังไม่ใช่ของเราเอง เราจะต้องนำความรู้นั้นมาพิจารณาไตร่ตรองด้วยเหตุด้วยผลจนบังเกิดเป็นความ เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งขึ้นมาเสียก่อน ความรู้นั้นจึงจะเป็นความรู้ ของเราจริง
คำสอนในเรื่องการดับทุกข์ของพระพุทธเจ้านี้ก็ยิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการนำคำ สอนนี้มาพิจารณาไตร่ตรองด้วยเหตุด้วยผล จนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องขึ้นมาก่อน แล้วจึงนำความเข้าใจนี้ไปปฏิบัติ ถ้าบังเกิดผลเป็นความดับลงของทุกข์จริงจึงค่อยเชื่อ แต่ถ้าไม่บังเกิดผลจริงก็อย่าเชื่อ ซึ่งที่พระพุทธองค์ทรงวางหลักไว้เช่นนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่มาศึกษา นั้นมีความงมงาย เพราะถ้าเชื่องมงายแล้วก็จะทำให้การปฏิบัติพลอยงมงายไปด้วย แล้วการปฏิบัติก็จะไม่บังเกิดผล ยิ่งถ้าใครยึดถือคำสอนที่ไม่สอนให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง แล้วนำเอาคำสอนนั้นไปปฏิบัติ ก็จะทำให้เสียเวลาเปล่า ซึ่งอาจจะเสียเวลาไปทั้งชีวิตเลยก็ได้
ในเรื่องความเชื่อนี้พระพุทธองค์ได้ทรงสอนไว้โดยสรุปว่า
๑. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติด้วยเหตุเพียงสักว่า ฟังบอกฟังเล่าต่อๆกันมา
๒. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติด้วยเหตุเพียงสักว่า ได้ทำสืบๆกันมาตั้งแต่โบร่ำโบราณ
๓. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติด้วยเหตุเพียงสักว่า กำลังเป็นที่เลื่องลือกันอยู่อย่างกระฉ่อน
๔. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติด้วยเหตุเพียงสักว่า มีที่อ้างอิงจากตำราหรือหนังสือต่างๆ
๕. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติด้วยเหตุเพียงสักว่า มีเหตุผลตรงๆทางมารองรับ(ตรรกะ)
๖. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติด้วยเหตุเพียงสักว่า มีเหตุผลแวดล้อมมารองรับ(ปรัชญา)
๗. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติด้วยเหตุเพียงสักว่า คิดเดาเอาตามสามัญสำนึกของเราเอง
๘. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติด้วยเหตุเพียงสักว่า มันตรงกับความเห็นเดิมที่เรามีอยู่
๙. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติด้วยเหตุเพียงสักว่า ผู้บอกผู้สอนนั้นอยู่ในฐานะที่น่าเชื่อถือ
๑๐. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติด้วยเหตุเพียงสักว่า ผู้บอกผู้สอนนี้เป็นครูอาจารย์ของเราเอง
เมื่อใดที่เรารู้ด้วยตนเองว่า ธรรม(คำสอน)เหล่านี้เป็นอกุศล(ผิด,ไม่ดีงาม), ธรรมเหล่านี้มีโทษ, ธรรมเหล่านี้วิญญูชน(ผู้มีสติปัญญาและมีใจเป็นกลาง)ติเตียน, ธรรมเหล่านี้ถ้ากระทำถึงมาตรฐานของมันแล้ว เป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล พึงละเว้นธรรมเหล่านี้เสีย
ส่วนธรรมเหล่าใด ที่เรารู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล(ถูกต้อง, ดีงาม) ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ, ธรรมเหล่านี้วิญญูชนสรรเสริญ,ธรรมเหล่านี้ถ้ากระทำถึงมาตรฐานของมันแล้ว เป็นไปเพื่อความสุข เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล พึงเข้าถึงธรรมเหล่านั้น
หลักความเชื่อนี้สรุปว่าอย่าเชื่อจากเหตุเพียงแค่นั้น(คือจากแต่ละอย่าง) เพราะมันอาจจะมีความผิดพลาดมาก่อนแล้วก็ได้ ถ้ามันผิดมาก่อนแล้วเราเชื่อตาม เราก็จะได้ความเชื่อที่ผิดตามไปด้วย แต่ถึงแม้มันจะถูกต้องมาก่อน แล้วเราเชื่อตาม มันก็ยังไม่ทำให้เราเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องขึ้นมาได้จริงอีกนั่นเอง ซึ่งเมื่อเราได้เรียนรู้คำสอนใดมา เราก็ต้องนำมาพิจารณาไตร่อตรองดูก่อนว่ามีประโยชน์หรือโทษ ดีหรือไม่ดี ถ้าเห็นว่ามีโทษ หรือไม่ดีก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าเห็นว่าดีมีประโยชน์จึงค่อยนำมาทดลองปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติตามอย่างถูกต้องเต็มความสามารถแล้วก็ยังไม่บังเกิดผล ก็ให้ละทิ้งอีกเหมือนกัน แต่ถ้าปฏิบัติตามเต็มความสามารถแล้วและบังเกิดผลจริงจึงค่อยเชื่อและรับเอา ไปปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นต่อไป
เหตุที่ไม่ให้เชื่อจากการฟังคนอื่นเขาบอกต่อๆกันมาหรือทำตามๆกันมาก็เพราะ ต้นตอมันอาจจะผิดมาก่อนแล้วก็ได้ หรือถ้าถูกแต่มันอาจจะมาผิดเอาตอนที่บอกกันต่อๆมาหรือทำกันต่อๆมาก็ได้ ส่วนคำเล่าลือนั้นคนที่มีสติปัญญาเขาไม่ทำกัน มีแต่คนโง่ที่ชอบเล่าลือหรือแต่งเรื่องให้น่าตื่นเต้นเท่านั้น คำเล่าลือจึงเชื่อถือไม่ได้ ยิ่งสมัยนี้สื่อต่างๆชอบประโคมข่าวให้น่าตื่นเต้น เราก็ต้องระวังอย่าไปหลงเชื่อ
แม้ตำราก็ยังต้องระวัง เพราะคนแต่งก็อาจมีความเห็นผิดมาก่อนแล้วก็ได้ หรือการคัดลอกมาก็อาจจะผิดพลาดมาแล้วก็ได้ หรือตำรานั้นอาจถูกแก้ไขแต่งเติมให้ผิดไปจากเดิมแล้วก็ได้ ส่วนเหตุผลตรงๆที่ดูว่าน่าเชื่อถือมากที่สุดเราก็ยังเชื่อไม่ได้ เพราะถ้าเหตุมันผิด ผลมันก็จะพลอยผิดตามไปด้วย แม้ปรัชญาที่เป็นเหตุแวดล้อมก็เหมือนกัน เราจะต้องเอาเหตุผลนี้มาทดลองปฏิบัติดูก่อน ถ้าได้ผลจึงค่อยเชื่อ
สามัญสำนึกของเรานั้นยังเป็นแค่เพียงความรู้สึกต่ำๆหรือธรรมดาของจิตใต้ สำนึก ที่เมื่อมันรู้สึกว่าดีแต่ถึงแม้จะขาดเหตุผลมันก็ดูน่าเชื่อ แต่ถ้ารู้สึกว่าไม่ดีถึงแม้จะมีเหตุผลมันก็ดูไม่น่าเชื่อ ดังนั้นสามัญสำนึกของเราจึงยังเชื่อถือไม่ได้เพราะมันอาจหลอกเอาได้
บางทีเรามีความเห็นอย่างใดอยู่ก่อนแล้ว เมื่อมีใครมาสอนมาบอกแล้วมันตรงกับความเห็นเก่าที่เรามีอยู่เราก็เชื่อ ซึ่งถ้าความเห็นเก่าของเรานั้นมันผิดมาก่อน ความเชื่อนั้นก็จะผิดตามไปด้วย หรือแม้คนที่มาสอนมาบอกนั้นดูแล้วน่าเชื่อถือมาก เช่นเขามีผู้คนเคารพนับถือมาก หรือเขามีปริญญา มีความรู้ด้านนี้มากที่สุด เป็นต้นก็ตาม ก็ยังเชื่อถือไม่ได้ เพราะเขาก็อาจจะมีความเห็นผิดมาก่อนโดยที่ไม่มีใครกล้าทักท้วงก็ได้ ถ้าเราเชื่อถือเขา เราก็ย่อมที่จะเกิดความเห็นผิดตามเขาไปด้วย
แม้แต่ครูอาจารย์ของเราเองก็ตาม ถ้าเขามีความเห็นผิดมาก่อน แล้วเราเชื่อครูอาจารย์ เราก็จะพลอยเกิดความเห็นผิดตามครูอาจารย์ไปด้วยทันที ซึ่งการไม่เชื่อครูอาจารย์นี้เรามักจะคิดว่าเป็นการเนรคุณ แต่เราต้องแยกให้ออกว่าการเนรคุณก็คือการทำให้ผู้มีพระคุณเป็นทุกข์ การที่เราไม่เชื่อท่านเพราะท่านอาจจะมีความเห็นผิดมาก่อนนั้นไม่จัดว่าเป็น การเนรคุณ
หลักความเชื่อนี้จะเป็นหลักการขั้นสูงที่ใช้ได้แม้ในเรื่องโลกๆ ซึ่งหลักการนี้จะทำให้เรามีอิสระทางความคิดอย่างเต็มที่ แล้วก็ไม่เป็นทาสทางสติปัญญาของใคร แม้แต่ของพระพุทธจ้าเองก็ตาม ซึ่งหลักความเชื่อนี้เองที่จะเป็นเครื่องตรวจสอบว่าคำสอนใดถูกต้อง คำสอนใดผิดพลาด แม้คำสอนของพุทธศาสนาเองเรายังต้องตรวจสอบ เพราะมันอาจจะมีความผิดพลาดมาก่อนแล้วก่อนที่จะมาถึงเราแล้วก็ได้ ถ้าเราเชื่อจากตำราหรือจากคนอื่น ก็จะทำให้เราเกิดความเห็นที่ผิดขึ้นมาได้ ซึ่งก็เท่ากับว่าเราไม่เชื่อพระพุทธเจ้า ที่ทรงสอนว่าอย่าเชื่อจากใครๆ ดังนั้นถ้าเราเชื่อพระพุทธเจ้าเราก็ต้องไม่เชื่อท่าน จึงขอฝากเรื่องความเชื่อนี้ให้ผู้มีปัญญาทั้งหลายนำเอาไปคิด เพื่อที่จะรู้ได้จักเชื่อให้ถูกต้องกันต่อไป.
ค้นหาความจริงว่า"เราคืออะไร?"จากเวป"ฉันคืออะไร?" www.whatami123.com

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น