ทำไมนิ้วมือนิ้วเท้าจึงเหี่ยวย่นเมื่อไปว่ายน้ำ...
เขียนโดย
nexstep0.1
บริเวณนั้นที่ทำให้เกิดรอยยับย่นขึ้น ทั้งๆ ที่ความหนาเป็นพิเศษนั้น ช่วยปกป้องมือและเท้าของเราแท้ๆ
ผิวหนังชั้นนอกสุดมีชื่อเรียกว่า Stratum Corneum Epidermis
เป็นชั้นของหนังกำพร้าที่ทั้งหยาบและหนา หากส่องกล้องดูจะเห็นมีลักษณะคล้ายแผ่นอิฐปูพื้นถนน ปกติผิวหนังชั้นนอกนี้จะค่อนข้างบาง หนาแค่ประมาณหนึ่งส่วนร้อยมิลลิเมตรเท่านั้นเอง ยกเว้นที่บริเวณอุ้งมือและส้นเท้าจะมีความหนาถึง ประมาณ 0.5 มิลลิเมตรหรืออาจจะมากกว่านั้น
ปกติแล้ว
เซลล์ผิวหนังในชั้นนี้จะค่อนข้างแห้งมาก แต่หากคุณแช่น้ำอยู่นานพอควร เช่นในกรณีที่ว่ายน้ำกันนั้น ผิวจะซึมซับเอาน้ำเข้าไว้จนมีอาการบวมในบริเวณนั้น แต่ผลของการขยายขนาดของผิวแทนที่จะเป็นอาการบวมเต่ง กลับกลายเป็นรอยเหี่ยวย่นมากกว่า
ทั้งนี้ เพราะเซลล์ผิวด้านล่างของชั้นหนังกำพร้า
อันเป็นเซลล์ผิวอ่อนเยาว์อยู่นั้นจะไม่ซึมซับเอาน้ำเข้าไป ดังนั้นจึงไม่อาจขยายตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างของชั้นผิว ด้านบนได้ ชั้นหนังกำพร้าที่หนาตัวมากจะมีการเปลี่ยนแปลงมากจนเกิดเป็นรอยย่นให้เห็น กัน
โดยทฤษฏีแล้ว
ผิวหนังบริเวณไหล่และหน้าท้องอาจเกิดรอยย่นหลังการว่ายน้ำได้เช่นกัน แต่เนื่องจากในบริเวณนั้นมีเซลล์หนังกำพร้าที่สามารถขยายตัวได้ในปริมาณน้อย รอยย่นที่เกิดขึ้นจึงมีขนาดเล็กมาก
ที่นิ้วมือนิ้วเท้าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจนกว่า
เพราะปลายนิ้วมีขนาดเล็ก ไม่มีเนื้อที่เพียงพอแก่การขยายตัวอย่างมากมายของเซลล์ผิวหนัง
แจ้ง Blog ไม่เหมาะสม
19 มี.ค. 53
325
0
ความคิดเห็น