nexstep0.1
ดู Blog ทั้งหมด

เทคนิค "สร้างกำลังใจ" ในวันหดหู่

เขียนโดย nexstep0.1
Mp3 RecorderTop 10 Mp3 PlayerCoby Mp3Sansa Mp3 PlayerMusic For My Mp3 PlayerSandisk Mp3 PlayerFree Mp3 Player For Windows XpMp3 Player RatingSansa Mp3 Player ManualBest Mp3 Player PortableFree Mp3 Player MusicMp3 Portable Players ComparisonCoby Mp3 PlayerFree Music Downloads For Mp3 PlayersHistory Of The Mp3 PlayerMp3 HeadphonesRca Mp3 PlayerRate Mp3 PlayersFree Downloadable Mp3 Players5 Gb Mp3 PlayersMp4 Player Touch ScreenCreative Zen Mp3 PlayerCheap Mp3 PlayerFree Mp4 Player DownloadWireless Headphones For Mp3 PlayerInstructions For Mp3 PlayersPortable Mp4 PlayersSandisk Mp3 Player InstructionsSamsung Mp3Dual Mp3 Cd PlayerMp3 Download ReviewMp4 Player DownloadDigital Media PlayerCreative Mp3 PlayersDiscount Mp3 PlayerDownload Mp3 PlayerMp4 Video PlayerNew Mp4 Player DownloadRca Mp3Samsung Mp3 PlayerMp3 Player DownloadsSandisk Mp3 Player ManualSd Cards For Mp3 PlayerTypes Of Mp3 PlayersCreative Mp3Wma PlayerCreative Zen Mp3Mp3 Fm TransmitterSamsung Mp3 PlayersCheap Mp4 PlayersBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlog
เทคนิค "สร้างกำลังใจ" ในวันหดหู่


หาก
ท่านผู้อ่านหรือคนใกล้ตัวของท่านผู้อ่านกำลังมีปัญหาด้านการเงิน สุขภาพ
ชีวิตความเป็นอยู่ หรือแม้แต่ปวดหัวกับข้อสอบโอเน็ต
และตกอยู่ในภาวะสิ้นหวังกับตัวเอง วันนี้ ทีมงานเราพบเทคนิคดี ๆ
ที่จะช่วยให้คุณหรือคนที่คุณรักผ่านพ้นกับสถานการณ์อ
ันเลวร้ายดังกล่าวนี้ได้ค่ะ ซึ่ง 9 เทคนิคที่ว่านั้นจะมีอะไรบ้าง
ลองไปติดตามกันดูค่ะ


1. อย่าโทษตัวเอง

นำข้อนี้มาวางไว้เป็นข้อแรก
เพราะการโทษตัวเองเป็นสิ่งที่มนุษย์ผู้ซึ่งเผชิญหน้า กับความผิดหวัง -
ความเศร้าหมองมักทำก่อนข้ออื่น ๆ ดังนั้น หากสามารถเลิกโทษตัวเองได้ คน ๆ
นั้นก็จะสามารถก้าวข้ามความตึงเครียดที่เผชิญอยู่ไปส
ู่สิ่งที่ดีกว่าได้ในที่สุด ไม่เพียงเท่านั้น
หากผู้ที่กำลังทุกข์มองว่าภาวะดังกล่าวก็ไม่แตกต่างจ ากการเป็นโรคหัวใจ
เบาหวาน หรือมะเร็ง ที่ต้องการการปรับปรุงเปลี่ยนวิถีชีวิต
หรือมุมมองก็จะทำให้เขารับมือกับภาวะซึมเศร้านี้ได้ง ่ายมากขึ้น

2.
หาใครสักคนเพื่อระบายความอัดอั้นตันใจ


แม้ปัญหาที่ถาโถมเข้ามาจะไม่เหมือนกับอาการขาหัก -
แขนหักที่ทุกคนมองเห็นและพร้อมจะยื่นมือเข้ามาช่วยเห ลือ แต่ในยามนี้
การมีใครสักคนให้เราได้ปรึกษาสามารถช่วยให้อาการซึมเ
ศร้าดีขึ้นเร็วกว่าการเก็บความทุกข์เอาไว้กับตัวเองค นเดียวอย่างแน่นอน อย่างไรก็ดี
การจะหาคนปรึกษาในยุคนี้อาจต้องทำความเข้าใจด้วยว่า
คนบางคนก็ไม่พร้อมจะรับฟังและให้การสนับสนุนคุณ
แถมบางครั้งอาจไม่ทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นเสียอีก
ในกรณีนี้
ลองมองหาคนสนับสนุนที่สามารถให้ความรักคุณได้อย่างไม ่มีข้อจำกัด เช่น
พ่อแม่ สามี-ภรรยา หรือเพื่อนสนิทที่รู้จักนิสัยคุณดีมาเป็นผู้รับฟัง
เพราะเขาเหล่านั้นอาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเท่าที่ ชีวิตคน ๆ
หนึ่งจะพึงมี

3. เลื่อนการตัดสินใจออกไปก่อน

หากตอนนี้คุณมีอาการซึมเศร้าอยู่และต้องตัดสินใจในเร ื่องสำคัญ
คำแนะนำที่จำเป็นก็คือ พยายามเลื่อนการตัดสินใจนั้นออกไปก่อน
เพราะความรู้สึกหดหู่สามารถส่งผลกระทบต่อมุมมองและกา
รตัดสินใจของตัวบุคคลนั้น ๆ ให้เป็นไปในแง่ลบได้ ดังนั้น
การรีบตัดสินใจเรื่องใหญ่ ๆ หรือเรื่องสำคัญในตอนนี้ดูจะไม่เป็นผลดีมากนัก
เพราะอาจทำให้สถานการณ์ต่าง ๆ เลวร้ายลงกว่าที่ควรจะเป็น
จึงควรยืดการตัดสินใจต่าง ๆ ออกไปจนกว่าจิตใจของคุณจะดีขึ้น

แต่หากการตัดสินใจนั้นต้องทำโดยเร่งด่วน
หรือไม่สามารถผัดผ่อนออกไปได้ ก็ควรขอคำแนะนำจากกัลยาณมิตร
หรือคนที่มีประสบการณ์มากกว่าเพื่อพิจารณาร่วมด้วย
จะช่วยให้การตัดสินใจนั้น ๆ เกิดขึ้นบนมุมมองที่มีความหลากหลายมากขึ้น

4. ยิ่งเศร้าหมองยิ่งต้องดูแลสุขภาพ

อาจเป็นเรื่องยากที่จะฉุดคนไม่มีกำลังใจให้ลุกไปออกก ำลังกาย
แต่ถ้าหากจะปล่อยให้ความเศร้าเข้ายึดครองพื้นที่ทุกม
ุมของชีวิตก็คงเปรียบเหมือนการไม่ยอมแก้ไขให้สถานการ
ณ์ที่น่าหนักใจนี้พ้นผ่านไป
การหมั่นออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเป็นอีกทางเลือกหน
ึ่งที่จะช่วยให้อาการเศร้าหมองในชีวิตผ่านไปอย่างรวด เร็ว
อีกทั้งยังทำให้สุขภาพดีขึ้นอีกด้วย

5. ปฏิบัติหน้าที่ตามกิจวัตรประจำวัน

การที่ปล่อยตัวเองจมอยู่กับความเศร้า
และละเลยกิจวัตรประจำวันอาจทำให้ชีวิตของคุณดูแย่มาก ขึ้น
จะดีกว่าหากยังคงทำสิ่งต่าง ๆ นั้นต่อไป เช่น ทำความสะอาดบ้าน ล้างจาน
ให้อาหารสุนัข รดน้ำต้นไม้ เพราะหากคุณมีสมาธิจดจ่อกับงานต่าง ๆ
ที่ทำจะช่วยให้ลืมเรื่องที่ทำให้สิ้นหวัง - โศกเศร้าลงได้บ้าง






6. นอนหลับ

ความเครียดกับความเศร้าก็เหมือนไก่กับไข่
ที่บางครั้งความเครียดก็มาเยี่ยมเพราะพักผ่อนไม่เพีย งพอ
และบางครั้งเพราะพักผ่อนไม่เพียงพอก็นำมาซึ่งความเคร ียด
หากตอนนี้ทุกอย่างเข้ามารุมเร้าเยอะจนรับมือไม่ไหว
การหยุดทุกอย่างเอาไว้แล้วนอนหลับพักผ่อนไปก่อนก็จะช
่วยให้สภาพจิตใจหลังจากตื่นขึ้นมาดีขึ้น และมีสติไตร่ตรองมากขึ้น

7. อย่าทำจนเกินตัว

หลายครั้งที่คนเราจะเกิดความเครียดเพราะต้องรับมือกั
บหลายสิ่งหลายอย่างมากจนเกินไปในช่วงเวลาสั้น ๆ คำแนะนำในข้อที่ 7
คือการมองภารกิจเหล่านั้นให้เล็กลง พยายามไม่รับงานเพิ่มเข้ามา
จากนั้นก็ค่อย ๆ สะสางงานเก่า ๆ ที่ค้างอยู่ให้หมดไป
หรือลองแบ่งงานชิ้นใหญ่ ๆ ให้มีขนาดเล็กลง ทำไปทีละชิ้น ๆ จนครบ
ก็สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของงานได้เช่นกัน

นอกจากนั้น การยอมรับความสามารถของตัวเองในช่วงที่เกิดอาการเครี ยด -
หดหู่ว่าไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ 100
เปอร์เซ็นต์เหมือนช่วงที่สมองปลอดโปร่งก็เป็นอีกปัจจ
ัยหนึ่งที่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น ลองลดความคาดหวังกับตัวเองลงเหลือสัก 75 -
80 ปอร์เซ็นต์ดูบ้างก็คงไม่ผิดกระไร เพราะความเครียดนี้ก็เป็น

8. ทานอาหารที่มีประโยชน์

อาหารที่เราทุกคนรับประทานเข้าไป
นอกจากจะช่วยบำรุงร่างกายแล้วยังส่งผลต่อสมองอีกด้วย ดังนั้น
ยิ่งอยู่ในภาวะหดหู่ก็ยิ่งสมควรรับประทานอาหารที่มีป
ระโยชน์เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ดี บำรุงเลี้ยงสมองให้คิดแต่สิ่งดี ๆ ได้

9.หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์

มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่พบปัญหาในชีวิต แล้วหันไปพึ่งยาเสพติด เช่น
ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หวังว่าการพึ่งพายาเสพติดเหล่านั้นจะช่วยให้จิตใจกลั
บมาดีได้ดังเดิม แต่ในความเป็นจริง
สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่ทำให้อาการซึมเศร้าต่อเนื่อง ยาวนานมากกว่าเดิมแล้ว
ยังมีผลต่อร่างกายในระยะยาวด้วย เพราะจะส่งผลต่อการทำงานของสมอง
การปฏิสัมพันธ์กับผู้คน
หรือหากเสพเป็นประจำจนติดเป็นนิสัยก็ยังมีผลเสียต่อห น้าที่การงานด้วย

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น