ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สุดยอดปริศนาที่ยังหาคำตอบไม่ได้

    ลำดับตอนที่ #13 : ปริศนา Dyatlov Pass Incident

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 92.39K
      343
      24 ก.ค. 53

    Dyatlov Pass Incident

     Picture 1-57

    เนื้อหา http://www.mythland.org/v2/archiver/tid-949.html

    Dyatlov Pass Incident เป็นคดีปริศนา เกี่ยวกับการตายของนักเล่นสกีหิมะ 9 คนที่เสียชีวิตพร้อมกันอย่างลึกลับบนเทือกเขาดยัตลอฟ ในลักษณะที่แปลกประหลาด คือทั้ง 9 คนไม่มีร่องรอยขัดขืนหรือต่อสู้อย่างใดเลย ผิวหนังภายนอกไม่ปรากฏร่องรอยการถูกทำร้าย แต่ผู้เคราะห์ร้าย 2 ร่างกะโหลกศีรษะร้าว อีก 2 ร่างกระดูก ซี่โครงหัก โดยร่างหนึ่งไม่มีลิ้น บนเสื้อผ้าของพวกเขาพบสารกัมมันตรังสีในปริมาณที่เข้มข้น นักนิติเวชและผู้เชียวชาญทั้งหลายไม่สามารถอธิบายสาเหตุที่เกิดขึ้นได้

    เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นเมื่อคืนวัน ที่ 2 กุมภาพันธ์ 1959 ในช่องเขาดยัตลอฟ (Dyatlov) เทือกเขาโคแลต สแยกหล์ (Kholat Syakhl) ประเทศรัสเซีย เป็นหนึ่งในปริศนาตลอดกาลที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุการเสีย ชีวิตพร้อมๆกันของนักเล่นสกีหิมะที่เชี่ยวชาญ

    ปลายเดือนมกราคม 1959 อิกอร์ ดยัตลอฟ (Igor Dyatlov) วัย 23 ปี ชักชวนผู้หลงใหลการเล่นสกีหิมะ 9 คน เป็นชาย 7 คน และหญิง 2 คน ประกอบไปด้วย ซิไนด้า กอลโมโกโรวา (Zinaida Kolmogorova) ลยุดมิลา ดูบินิน่า (Lyudmila Dubinina) อเล็ก แซนเดอร์ โคลีวาตอฟ (Alexander Kolevatov) รัสเตม สโลโบดิน (Rustem Slobodin) ยูริ คริโวนิเชนโก้ (Yuri Krivonischenko) ยูริ โดโรเชนโก้ (Yuri Doroshenko) นิโคไล ทิบอกซ์บริจนอลลี (Nicolai Thibeaux-Brignolle) อเล็กแซนเดอร์ โซโลทาเรฟ (Alexander Zolotarev) และยูริ นูดิน (Yuri Yudin) บุคคลทั้งหมดเป็นนักศึกษาสถาบันยูรัลโพลีเทคนิคอล พวกเขาออกสำรวจเส้นทางเล่นสกีหิมะบนยอดเขาโอตอร์เทน (Otorten)

                  แม้ว่าการเดินทางขึ้นสู่เทือกเขาโอตอร์เทนในช่วง ต้นเดือนกุมภาพันธ์จะถูกจัดอันดับให้เป็นช่วงที่ยากลำบากที่สุด แต่ทีมนักเล่นสกีชุดนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ผ่านประสบการณ์การปีนเทือกเขาที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะมาแล้วหลายครั้ง
     

    วันที่ 25 มกราคม 1959 ทีมนักเล่นสกีลงรถไฟ ที่เมืองอิฟเดล ก่อนจะต่อรถบรรทุกไปยังหมู่บ้านวิซไฮ ซึ่งเป็นหมู่บ้านสุดท้ายบนเส้นทางการสำรวจ และหลังจากนี้ต่อไปพวกเขาจะต้องเดินเท้าขึ้นยอดเขาไปตามลำพังโดยจะไม่ได้ เห็นผู้คนไปตลอดทั้งเส้นทาง วันที่ 28 มกราคม ยูริ ยูดิน เกิดป่วยกะทันหัน เขาจึงถูกบังคับให้เดินทางกลับ ทีมนักเล่นสกีจึงเหลือเพียงแค่ 9 คน

                  เป็นระเบียบปฏิบัติสำหรับนักไต่เขาที่จะต้องระบุวันเดินทางกลับ เอาไว้ เพื่อคนทางบ้านจะได้ทราบกำหนดการ หากว่าพวกเขายังไม่กลับมาตามวันที่กำหนดจะได้ส่งทีมกู้ภัยไปช่วยเหลือ ซึ่งการเดินทางครั้งนี้ อิกอร์กำหนดว่าจะส่งโทรเลขแจ้งเพื่อนฝูงเมื่อกลับลงมาจากเขาภายในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อยูริ ยูดิน ป่วยต้องเดินทางกลับ อิกอร์ก็ถือโอกาสเปลี่ยนแผนโดยบอกกับยูริว่าเขาอาจจะลงเขาช้ากว่ากำหนด 2-3 วัน

                  วันที่ 31 มกราคม ทีมนักเล่นสกีเดินทางถึงสุดเขตที่ราบสูง พวกเขาสร้างเพิงชั่วคราวเพื่อเก็บเสบียงและอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นสำหรับการปีน เขา โดยจะกลับมาเอาไปใช้สำหรับขาลง วันรุ่งขึ้นคนทั้งหมดก็เริ่มภาระกิจการปีนเขาเพื่อเดินทางไปยังช่องเขาที่ เชื่อมต่อกับยอดเขาโอตอร์เทน แต่สภาพอากาศที่เลวร้าย พายุหิมะทำให้ทีมนักเล่นสกีหลงทาง เฉไฉไปทางทิศตะวันตกและมุ่งขึ้นสู่เทือกเขาโคแลต สแยกหล์ ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า “เทือกเขามรณะ”

                อิกอร์ รู้ตัวว่ามาผิดทางก็เป็นเวลาเย็นแล้ว ทีมนักเล่นสกีจึงตัดสินใจกางเต็นท์พักแรมบนเชิงเขาโคแลต สแยกหล์ การตัดสินใจครั้งนี้เป็นหนึ่งในปริศนาที่ทีมกู้ภัยไม่เข้าใจ เพราะทีมนักเล่นสกีอยู่ห่างจากเขตป่าไม้เพียงแค่ 1.5 กม. พวกเขาน่าจะเดินย้อนกลับไปกางเต็นท์ในป่า ซึ่งปลอดภัยกว่าการกางเต็นท์ในที่โล่งท่ามกลางอุณหภูมิ -30 องศาเซลเซียส

                 เพื่อนบางคน พยายามหาเหตุผลเข้าข้างอิกอร์ โดยคิดว่าเขาอาจอยากทดสอบความแข็งแกร่งของทีม แต่การนำกิ่งไม้สดมาก่อกองไฟในขณะที่มีกิ่งไม้แห้งมากมายอยู่ในบริเวณ ทำให้เกิดทฤษฎีว่าจะเป็นด้วยเหตุผลใดก็ตาม ณ เวลานั้นทีมนักเล่นสกีสูญเสียประสาทการมองเห็น

                วัน ที่ 12 กุมภาพันธ์ เพื่อนร่วมสถาบันเริ่มเป็นห่วงทีมนักเล่นสกี เมื่ออิกอร์ไม่ติดต่อกลับมาตามกำหนดการ หากแต่ยูริ ยูดิน ให้ข้อมูลใหม่ว่าอิกอร์อาจจะกลับมาล่าช้ากว่ากำหนด 2-3 วัน

    หลังจาก ที่ทนรอถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ เพื่อนๆก็มั่นใจว่ามีสิ่งปรกติเกิดขึ้นอย่างแน่นอน จึงแจ้งเรื่องไปยังหน่วยกู้ภัยให้ออกค้นหา โดยประกอบไปด้วยคณะอาจารย์และนักศึกษาสถาบันยูรัลโพลีเทคนิคอล เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารส่งเครื่องบินเล็กและเฮลิคอปเตอร์ออกสำรวจ

               วัน ที่ 26 กุมภาพันธ์ ทีมกู้ภัยพบเต็นท์ร้างของทีมนักเล่นสกีบนเชิงเขาโคแลต สแยกหล์ สภาพเต็นท์ทุกหลังจมใต้กองหิมะ มีรอยถูกฉีกขาดจากด้านในจนยับเยิน ข้าวของเครื่องใช้ยังอยู่ในเต็นท์ครบถ้วน แต่ไม่พบนักเล่นสกีแม้แต่คนเดียวในบริเวณนั้น มีเพียงรอยเท้ามุ่งตรงไปยังเขตป่าไม้ ทีมกู้ภัยจึงแกะตามรอยเท้าไปเป็นระยะทางเกือบกิโลเมตรก็พบซากกองไฟและร่าง ของ ยูริ คริโวนิเชนโก้ กับยูริ โดโรเชนโก้ จมอยู่ใต้หิมะ

               การ หนีออกมานอนหนาวตายห่างจากเต็นท์ถึง 500 เมตรก็นับ ว่าประหลาดมากอยู่แล้ว แต่สภาพศพของคนทั้งสองที่นุ่งเพียงชุดชั้นในไม่สวมรองเท้ายิ่งทำให้แปลก ประหลาดมากยิ่งขึ้นไปอีก รอยหักของกิ่งสนสูง 5 เมตร ที่อยู่ใกล้ๆกองไฟทำให้เชื่อได้ว่าใครคนใดคนหนึ่งปีนขึ้นไปบนต้นไม้เพื่อมอง หาอะไรสักอย่าง

              เมื่อสำรวจบริเวณ โดยรอบ ก็พบร่างของอิกอร์ ดยัตลอฟ ซิไนด้า กอลโมโกโรวา และรัสเตม สโลโบดิน ดูเหมือนว่าทั้งสามคนกำลังเดินทางกลับเต็นท์เพราะทนความหนาวเย็นไม่ไหว แต่ไม่มีร่องรอยของคนที่เหลืออยู่ในบริเวณนั้น การชันสูตรไม่พบร่องรอยบาดแผลใดๆบนร่างกาย จึงลงความเห็นว่าผู้เคราะห์ร้ายทั้ง 5 คน เสียชีวิตจากภาวะร่างกายสูญเสียความร้อน (Hypothermia) แม้ว่ารัสเตม สโลโบดิน จะมีรอยร้าวเล็กๆที่กะโหลกศีรษะแต่มันไม่รุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิต



    หลัง จากนั้นอีก 2 เดือน วันที่ 4 พฤษภาคม ทีมกู้ภัยก็พบร่างที่เหลือของทีมนักเล่นสกีจมอยู่ใต้กองหิมะหนา 4 เมตรลึกเข้าไปในป่า ทุกศพไม่มีร่องรอยบาดแผลใดๆบนร่างกายเหมือน 5 ศพแรกที่พบ อเล็กแซนเดอร์ โคลีวาตอฟ เสียชีวิตจากร่างกายบอบช้ำภายในอย่างรุนแรง นิโคไล ทิบอกซ์บริจนอลลี กะโหลกศีรษะร้าว อเล็กแซนเดอร์ โซโลทาเรฟ และลยุดมิลา ดูบินิน่า ซี่โครงหักหลายแห่ง ซึ่งแพทย์ให้ความเห็นว่าบาดแผลดังกล่าวเกิดจากการถูกกระแทกอย่างรุนแรงโดย เฉียบพลันเท่านั้น เช่น การถูกรถยนต์วิ่งด้วยความเร็วสูงพุ่งเข้าชน ยิ่งน่าประหลาดมากที่สุดเมื่อพบว่าลิ้นของลยุดมิลาหายไป

    4 ศพสุดท้ายที่พบล้วนแล้ว แต่แต่งกายในชุดป้องกันความหนาวอย่างถูกต้องกับสภาพอากาศ อเล็กแซนเดอร์ โซโลทาเรฟ สวมเสื้อกันหนาวและหมวกของลยุดมิลา ดูบินิน่า ในขณะที่ลยุดมิลาพันเท้าด้วยเศษผ้าจากกางเกงของยูริ คริโวนิเชนโก้ จากหลักฐานนี้ทำให้เชื่อว่าพวกเขาพยายามต่อสู้กับสภาพอากาศที่หนาวเย็นด้วย การนำเสื้อผ้าของผู้ที่เสียชีวิตก่อนมาสวมใส่ แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่มีใครชนะสภาพอากาศที่ทารุนโหดร้ายไปได้

    สภาพอวัยวะ ภายในที่เหมือนถูกของ แข็งกระแทกอย่างรุนแรงจนแตกหักโดยไม่มีบาดแผลภายนอกร่างกายให้เห็นแม้แต่ น้อยก็นับว่าเป็นปริศนามากพอดูอยู่แล้ว แต่หลังจากตรวจสอบเสื้อผ้าของผู้เสียชีวิตพบว่า มีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีเข้มข้นก็ยิ่งทำให้คดีนี้เป็นปริศนามากยิ่ง ขึ้นไปอีก

    จากการสืบสวนของตำรวจไม่พบว่ามี ทีมนักไต่เขาทีมอื่นในช่วงเวลานั้น ไม่มีบ้านเรือนผู้คนอาศัยอยู่หรือร่องรอยของสัตว์ร้ายในบริเวณนั้น ไม่พบสิ่งผิดปรกติใดๆทั้งสิ้น ทีมนักเล่นสกีทั้ง 9 คนอยู่บน เทือกเขามรณะโดยลำพัง แต่อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาละทิ้งเต็นท์ที่พักออกมานอนหนาวตายในกอง หิมะ

    สมุดบันทึกการเดินทางและภาพถ่าย ตั้งแต่วันเริ่มออกเดินทางจนถึงเย็นวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ก็ไม่แสดงถึงสิ่งผิดปรกติใดๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคืนนั้นจะต้องเกิดขึ้นโดยทันทีทันใดอย่างที่ไม่มีใคร คาดคิดมาก่อน

    สิ่ง ที่ยังคงเหลืออยู่บนเชิงเขามรณะคือ อนุสาวรีย์ของนักเล่นสกีและชื่อสถานที่ที่ถูกเรียกว่า “ช่องเขาดยัต ลอฟ” ตามนามสกุลของอิกอร์ ดยัตลอฟ หัวหน้าคณะทีมสำรวจ

    มี 2 ทฤษฎีพอจะ อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนเทือกเขามรณะในคืนวันที่ 2 กุมภาพันธ์ได้ระดับหนึ่ง ทฤษฎีแรกคือเกิดหิมะถล่มลงมาทับเต็นท์ที่พักของนักเล่นสกี ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเต็นท์จึงจมอยู่ใต้กองหิมะ นักเล่นสกีใช้ของมีคมกรีดเต็นท์เพื่อหาทางออกซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเต็นท์ จึงอยู่ในสภาพยับเยิน

     แรงกระแทก ของก้อนหิมะอาจส่งผลให้นักเล่นสกีบางคนได้รับบาดเจ็บกะโหลกศีรษะร้าว และบางคนซี่โครงหัก นักเล่นสกีเกรงว่าหิมะอาจจะถล่มซ้ำลงมาอีก จึงตัดสินใจหนีออกห่างจากเต็นท์ที่พัก เหลือเพียงเรื่องเดียวที่ไม่สามารถอธิบายได้คือสารกัมมันตรังสีเข้มข้นจาก เสื้อผ้าของผู้เสียชีวิตมาจากไหน อีกทฤษฎีคือนัก เล่นสกีกางเต็นท์ในเขตทดลองอาวุธลับของทหาร ในคืนวันที่ 2 กุมภาพันธ์ นักเล่นสกีอีกชุดหนึ่งซึ่งออกเดินทางขึ้นเขาห่างจากทีมของผู้เสียชีวิตไปทาง ตอนใต้ราว 50 กม. อ้างว่าพวกเขาเห็นลูกไฟทรงกลมสีส้มขนาดใหญ่ลอยอยู่บริเวณใกล้เคียงกับจุดที่ พบผู้เสียชีวิต  ทีมนักเล่นสกีอาจจะออกจากเต็นท์ ที่พักเพื่อดูลูกไฟประหลาด และทันใดนั้นก็เกิดการระเบิดขึ้น แรงกระแทกจากการระเบิดทำให้นักเล่นสกีบางคนได้รับบาดเจ็บ ซึ่งทฤษฎีนี้สามารถอธิบายเรื่องสารกัมมันตรังสีเข้มข้นบนเสื้อผ้าของนักเล่น สกีได้ หากแต่ไม่มีร่องรอยการระเบิดในบริเวณที่เกิดเหตุ และพยานที่อ้างว่าเห็นลูกไฟประหลาดก็ไม่เห็นการระเบิด และที่สำคัญที่สุดคือ ณ เวลานั้นยังไม่มีการสร้างสถานีทดลองอาวุธทางทหารในบริเวณนั้น แต่ถ้ามีการทดลองอาวุธลับจริงมันก็ยังคงถูกปิดเป็นความลับอยู่จนถึงทุก วันนี้




    ต้องเข้าใจ 1 อย่าง
    ว่าเจ้าของบทความโรคจิต
    ชอบเอาเรื่องเก่าๆมารื้อฟื้น ฮ่ะๆๆๆๆ


    ใครหลงเข้ามาก็ เม้นฆ่าเวลา  หน่อยก็ดีน้า~~~


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×