ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โบราณคดี, อารยธรรมโบราณ

    ลำดับตอนที่ #15 : เทพเจ้าดาวอังคาร

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 272
      0
      21 เม.ย. 51

    เทพเจ้าดาวอังคาร 

    ในวัฒนธรรมกรีก ดาวอังคารคือเทพเจ้าแห่งสงครามมีชื่อว่า เอเรส (Ares) หมายถึงเทพที่มีรูปงามและสูง แต่เอเรสเป็นเทพที่มีความโหดร้าย เอเรสมีน้องชายชื่อฮีเฟียสตุส น้องสาวชื่ออีรีส ซึ่งเป็นเทพธิดาแห่งการต่อสู้ ทั้งน้องชายและน้องสาวต่างเป็นเพื่อนของเอเรส เอเรสมีลูกชาย 2 คน คือ ไดมอส และ โฟบอส เมื่อเกิดสงคราม เอเรสจะสวมหมวกเหล็กและนั่งรถม้าออกไปทำศึกด้วยความรู้สึกอิ่มเอมใจ เอเรสจะสู้รบและฆ่าฟันอย่างคึกคะนองโดยไม่สนใจว่าใครจะแพ้หรือชนะ เอเรสเป็นเทพที่เป็นอมตะ เมื่อได้รับบาดเจ็บจากสงคราม เอเรสจะกลับไปหาบิดา คือเทพเซอุส บิดาจะช่วยเยียวยาบาดแผลให้เอเรสจนหาย เอเรสไม่มีภรรยา แต่มีลูกที่ได้มาจากเทพธิดาอะโฟรไดตี
    ชาวเมืองเทรเซียคือกลุ่มคนที่บูชาเทพเอเรส ชาวเมืองนี้ได้ฉายาว่าเป็นคนโหดร้าย

    ชาวกรีกในยุคแรกๆ เชื่อว่าดาวอังคารเป็นดาวที่มีลักษณะพิเศษ ต่อมาในยุคโรมัน เทพแห่งดาวอังคาร เป็นเทพแห่งฤดูใบไม้ผลิ การเจริญงอกงาม การสืบพันธุ์ และคุ้มครองฝูงสัตว์เลี้ยง นอกจากนั้นดาวอังคารยังเป็นสัญลักษณ์ของความตายและสงคราม ชาวโรมันเชื่อว่าเทพดาวอังคารเป็นบิดาของชาวโรมัน สถานที่สิงสถิตย์ของเทพดาวอังคารของโรมันอยู่ที่วิหารกราดิวุส ชาวโรมันจะมารวมตัวกัน ที่ก่อนออกไปทำสงคราม นอกจากนั้นยังมีสนามโล่งกว้างที่เรียกว่า The Campus Martius สนามแห่งนี้เป็นที่ฝึกฝนกีฬาและกองทหาร เมื่อเกิดสงคราม แม่ทัพจะแกว่งหอก และพูดตะโกนว่า “เทพแห่งดาวอังคารจงตื่นเถิด” เพื่อขวัญกำลังใจในการทำสงครามและชัยชนะ

    ทุกๆวันที่ 1 มีนาคม จะมีพิธีเฉลอมฉลองเรียกว่า Feriae Marti และวันที่ 19 ตุลาคม จะมีพิธี Armilustrium
    ซึ่งเป็นพิธีที่ทหารจะนำอาวุธมาชำระล้างความบริสุทธิ์และเก็บไว้ในคลังอาวุธในช่วงฤดูหนาว วันที่ 19และ 23 มีนาคมจะมีพิธีเรียกว่า Quinquatrus พิธีนี้จะเป็นการนำอาวุธและแตรที่ใช้เป่าในการรบมาทำความสะอาด
    ชาวฮินดู เรียกดาวอังคารว่า มังกาลา เป็นดาวแห่งสงคราม ซึ่งมีชื่อว่าคาร์ตติเกยา เทพแห่งสงครามเป็นบุตรของพระศิวะและพระนางปาร์วาตี เทพคาร์ตติเกยามี 6 เศียร 12 แขน มีพาหนะเป็นนกยูง และเป็นผู้ปราบศัตรูที่ชื่อทารากา

    อ้างจาก Micha F. Lindemans
    http://www.pantheon.org/articles/m/mars.html
    web.bryant.edu/.../ spring_99/planets1/mars.html

    ที่มา : http://www.sac.or.th/Subdetail/old_pakinaka/Pakinaka_mars/Pakinaka_mars.html

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×