ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นักเรียนหมอขอเมาท์

    ลำดับตอนที่ #22 : เมาท์ : วิชาหมอ : Anatomy (ภาคต้น)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 12.55K
      8
      19 มิ.ย. 53

    Gross Anatomy

     

                   หวัดดีค่ะ พี่เป็นนศพ.ปี 3 ค่ะ วันนี้ก็จะมาเล่าถึงการเรียนวิชา Gross Anatomy ให้ฟังนะ ว่าพวกพี่เรียนอะไรกันบ้าง และกว่าจะผ่านวิชานี้ได้นี่ยากเย็นแค่ไหน    - -’’

                  วิชา Gross Anatomy นี้เป็นวิชา หลักของปี 2 เลยก็ว่าได้ มีทั้งหมด 5 รหัสวิชาด้วยกันนะ จริงๆวิชานี้จะเรียนควบไปกับ Histology ด้วย แต่ส่วนของพี่จะพูดเฉพาะกรอสนะ  พี่จะแจกแจงให้ดูที ละรหัส  ซึ่งแต่ละรหัสเนี่ย เรียนเสร็จเราก็จะสอบเลย เช่น เรียน 2อาทิตย์ เริ่มเรียนวันจันทร์นี้ สอบศุกร์หน้า อะไรแบบนี้  ซึ่ง เนื้อหาเยอะมากก จำกันแหลกลานเลยทีเดียววว

     
     



    1. SCID 241 
      เป็นรหัส แรกที่เปิดภาคเรียนปี 2 มาก็จะได้เรียนเลยอย่างไม่ทันตั้งตัว  =[ ] = นศพ.ปี 1 กำลังหลั่นล้ากับปิดเทอม พอมาเจอวิชานี้วิชาแรก ก็ถือว่าหนักเอาการอยู่  ส่วน แรกของอาจารย์ใหญ่ที่เราจะเรียน  คือ Back นั่นคือส่วนหลังนั่นเอง  การเรียน เราก็จะแบ่งเรียนเป็น 2 part หลัก คือ

     

    - lecture เป็นการเรียนในห้องเรียน  อาจารย์ จะแจกเอกสารประกอบการเรียนให้เรา ซึ่งเป็นสไลด์จากพาวเวอร์พอยท์ที่อาจารย์ทำ  เราก็ นั่งฟัง และจดสิ่งที่อาจารย์บรรยายเพิ่ม  ซึ่งมัน เร็วแบบพระเจ้าจอร์จมากกกก!!   จำได้ว่าคาบแรก พี่เริ่มเรียนเรื่องกระดูก เรียนไปไม่ถึงครึ่งชม. เราได้เรียนรู้ว่ากระดูกหลังของเรามีกี่ชิ้น ลักษณะอย่างไรบ้าง น้องๆ ที่เคยเห็นโครงกระดูกแล้ว อาจจะสงสัยว่าพวกพี่จะต้องเรียนอะไร พวกพี่ต้องจำแนกว่า กระดูกสันหลังส่วนคอ ส่วนอก อะไรแบบนี้ต่างกันอย่างไร  เห็นกระดูกแต่ละข้อดูเรียบๆบ้าง ขรุขระบ้าง นั่นแหละพวกพี่ต้องจำ ว่าส่วนที่เรียบ ที่ยื่นออกมาแหลมๆ มีชื่ออะไรบ้าง  คาบนั้นก็อึ้งไปเลย  หลังจากที่ เราเรียนกระดูกแล้ว  ก็เรียนต่อไปถึงส่วนหลัง ตั้งแต่ลักษณะภายนอกเป็นยังไง  เปิด skin (ผิวหนัง) แล้ว ดูว่ามีกี่ชั้น  เปิดหลัง จากนั้นจะเจอ fat (ไขมัน)  แล้ว ก็มีพวก fascia (เยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ) ชื่ออะไร  เปิดต่อไปเจอชั้นกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อมีกี่มัด  ชื่ออะไร


    หลักใน การเรียน gross anatomy ซึ่งนำไปใช้ในการเรียนทุกส่วนของร่างกาย   มีดังนี้

    1. ต้องรู้ลักษณะ anatomical position ว่าเป็นอย่างไร เป็นลักษณะที่เขายึดหลักตามสากล คือท่ายืนมือกางแล้วหงายออก   แล้วเราก็จะได้เรียก ตำแหน่งถูก เช่น มือจะอยู่เหนือเท้า  เราก็จะใช้คำ ว่า  hand is superior to foot แบบนี้   แต่ถ้า กลับกัน เท้าก็จะอยู่ใต้มือ  เราก็จะเรียกว่า foot is  inferior to hand อะไรแบบนี้

    2. เวลาเราจะท่องจำกล้ามเนื้อ จะมีหลักในการจำอยู่ ต้องรู้ 5 อย่าง (ซึ่งแน่นอนว่าต้องจำชื่อกล้ามเนื้อมัดนั้นให้ได้ด้วยนะ) ได้แก่ origin (จุดเริ่มที่ กล้ามเนื้อเกาะ)  insertion (จุดปลายที่กล้ามเนื้อไปเกาะ ) nerve (เส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อนั้น)  artery (เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อนั้น) และ  action (กล้ามเนื้อนั้นทำหน้าที่อะไร ) เช่น biceps ใช้ใน การงอแขน เป็นต้น ถ้าจำ 5 อย่างนี้ได้ เราก็สามารถจะรู้ถึง anatomy ของกล้ามเนื้อนั้นทั้ง หมด  ซึ่งดูเหมือนน้องจะคิดว่า เฮ้ย! จำแค่ห้าอย่างเอง ง่ายจะตาย จริงๆ ไม่ง่ายเลย เพราะ มีกล้ามเนื้อเป็นสิบๆ มัด แล้วแต่ละอันก็แทบจะไม่เหมือนกันเลย พี่ก็จำสลับไปสลับมา กว่าจะท่องได้แทบแย่


     
    - lab 
      พูดถึงเลคเชอร์มานานแล้ว  ก็จะพูดเกี่ยวกับlabบ้าง  labในที่นี้ ก็คือ การที่เราได้ผ่าร่างของอาจารย์ใหญ่ที่เราเคารพรักนั่นเอง  ก่อนที่เราจะได้เรียนกับอาจารย์ใหญ่นั้นจะมีพิธีทำบุญอาจารย์ใหญ่ก่อน  เพื่ออุทิศ ส่วนกุศลให้ท่านและให้เราได้ระลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ที่ท่านได้เสียสละร่างให้พวกเราได้ศึกษา  

                  จากนั้นพอมาเรียนในคาบแรก  เราก็จะซื้อพวงมาลัยมาไหว้ท่านก่อนที่จะเรียน  ตอนนั้น พี่ก็รู้สึกตื่นเต้นมาก  ยังไม่กล้าพลิกร่างท่าน เพื่อเรียนในส่วน Back เลย  พี่ๆ ก็จะมีพี่ปี 3 ( สมัยนั้นพี่อยู่ปี 2 ) มาช่วยในการลงมีดครั้งแรก  เห็นพี่ๆ ทำก็พอจะกล้าขึ้นบ้างเล็กน้อย   แล้วก็ลงมือทำ  พี่แยกระหว่าง fascia กับ  กล้ามเนื้อ  ไม่ ได้ แล้วก็แยกเส้นเลือดกับเส้นประสาท (ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก) ไม่ออก  แล้วก็นึกว่าเวลาสอบจะแยกได้ม๊ายยเนี่ยยย!!??

                  การเรียนlabทุกครั้ง อาจารย์จะบรรยายให้เราฟังย่อๆ ว่า วันนี้ต้องผ่าในส่วนไหนบ้าง  และมีการ test ของlabครั้งที่แล้ว โดยเปิดรูปภาพแล้วให้ตอบว่าที่ลูกศรชี้นั้น เป็นอะไร เช่น เป็นเส้นประสาทชื่ออะไร  เส้นเลือด ชื่ออะไร  กล้ามเนื้อนี้มีจุด origin ที่ไหนบ้าง  ซึ่งลักษณะคำถามจะคล้ายกับข้อ สอบlabจริง  เมื่อ test เสร็จเราก็จะเริ่มลงมือผ่า  โดยมี อาจารย์คุมท่านละ 4 โต๊ะ  แต่ ละโต๊ะจะมี นศพ.ประมาณ 6 คน (ในปี 2553 นี้)  แต่สมัยพี่จะมีโต๊ะละ 8 คน  ส่วนใหญ่ในการเรียนlab เรามักจะผ่า และศึกษาเทียบกับหนังสือ atlasเองว่าสิ่งที่เราเห็นเป็นอะไร แต่ถ้าเราไม่แน่ใจก็ถามอาจารย์ประจำกลุ่ม หรือให้อาจารย์มาบรรยายให้เราฟัง  แล้วเราก็นำความรู้ที่ได้จากอาจารย์มาสอนเพื่อนๆ ต่อ  การเรียนกรอสที่ได้ผลดีนั้น พี่คิดว่าเราต้องช่วยกันเรียน แล้วก็พูดให้เพื่อนๆ ฟังบ่อยๆ เราก็จะจำได้เอง  ซึ่งได้ความรู้ และจำได้รวดเร็วกว่าในห้องเรียนมาก 

     

                  นอกจากเรียนแล้ว ก็ต้องมี สอบ  ซึ่งการสอบจะแบ่งเป็นสองพาร์ทหลักคือ เลคเชอร์ในตอนเช้า มักเป็นข้อสอบปรนัยที่เป็นภาษาอังกฤษล้วน  ซึ่งภาษาอังกฤษไม่ได้ยากมากนักในการเข้าใจโจทย์   ลืมบอกไปว่า สไลด์ที่พี่ๆเรียนและหนังสือที่อ้างอิงก็จะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด  แต่ก็ไม่ได้เข้าใจยากเกินไป  textbook ส่วนใหญ่ที่พี่อ่านในวิชา gross anatomy มักเป็นศัพท์เฉพาะมาเชื่อมต่อกันด้วยคำพวกสันธานอะไรแบบนี้ ถ้าเรารู้จักศัพท์เฉพาะ เราก็จะแปลได้ง่าย   ลักษณะ ข้อสอบเลคเชอร์ก็คือ  อาจารย์มักนำเคสของผู้ป่วยมา ว่าเขาได้รับอุบัติเหตุหนึ่ง ทำให้ทำ action อย่าง หนึ่งไม่ได้   ถามว่ากล้ามเนื้อนั้นคืออะไร หรือมีเส้นประสาทใดมาเลี้ยง อะไรแบบนี้

                  ส่วนตอนบ่ายจะเป็นการสอบlab เป็นการ สอบ labกริ๊ง   ข้อละหนึ่งนาที   ลักษณะข้อสอบจะสอบจากร่างอาจารย์ใหญ่ มีการผูกเชือกไว้กับกล้ามเนื้อ เส้นเลือด เส้นประสาท  แล้วถามว่าชื่ออะไร  บางทีก็ไม่ได้ถามตรงๆ แต่ถามรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่ผูกเชือกไว้  เช่น ผูกเส้นประสาทเส้นหนึ่ง แล้วถามว่า เส้นประสาทนี้ไปเลี้ยงกล้ามเนื้ออะไรบ้าง  ถ้าใครตอบ เป็นชื่อเส้นประสาทมา ก็จะไม่ได้คะแนน เป็นต้น

    >>> อ่านต่อภาคจบ <<
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×