ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นักเรียนหมอขอเมาท์

    ลำดับตอนที่ #39 : เมาท์ : Ward ของผู้หญิง .. สูตินารีเวช

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.91K
      3
      10 ก.ค. 53

    Obstetrics & Gynecology


        สวัสดีค่ะน้องๆ^^ วันนี้เรามาเปิดประตูไปดูวอร์ดสูติศาสตร์-นารีเวชวิทยา กับเรื่องผู้หญิ๊ง ผู้หญิงที่พี่ๆ นศพ.มักจะเรียกย่อๆว่าวอร์ดกายเน่(Gyne)หรือสูติฯนะคะ ตัวพี่เองก็ยังอยู่พรีคลินิกจะนั่งเทียนเขียนก็กระไรอยู่ และเพื่อให้น้องๆได้ประสบการณ์ตรงพี่จึงไปสัมภาษณ์พี่ชั้นคลินิกและนำมาเรียบเรียงให้น้องๆได้รู้จักกับวอร์ดสูติฯผ่านมุมมองของพี่ๆนศพ.กันบ้างนะคะ

        เริ่มกันที่คำถามสุดเบสิกค่ะ วอร์ดสูติเนี่ยคือวอร์ดอะไรคะ?
         “ก็เป็นวอร์ดที่มีแต่ผู้หญิงและคนท้องน่ะซิ!!

        อ้าว นั่นน่ะรู้แล้ว แล้วมันยังไงล่ะ
        ว่ากันตามชื่อเลยนะคะ วอร์ดสูติศาสตร์-นารีเวชวิทยา หลักๆเราแยกการรักษาเป็น 2 ส่วน สูติศาสตร์ ก็คือเกี่ยวกับคนท้อง เริ่มตั้งแต่คุณแม่มาฝากครรภ์ ตอนทำคลอด และหลังคลอด เช่น การให้นมบุตร ยังรวมไปถึงการคุมกำเนิดและวางแผนครอบครัวด้วย ส่วนนารีเวชวิทยา ก็เกี่ยวกับโรคของคุณผู้หญิงจ้ะ เช่น ตรวจ screen ปากมดลูก เนื้องอก ต่างๆนานาจ้า

         เรามาเริ่มกันที่ด้านสูติฯดีกว่าค่ะ น้องๆหลายคนคงอยากรู้เกี่ยวกับการทำคลอดเด็ก เป็นนศพ.ได้ทำคลอดมั้ย? คำตอบคือได้ค่ะ! (ว้าวOoO) ถือเป็นข้อบังคับของหลักสูตรเลยนะคะว่าก่อนจะจบปีหกสำเร็จการศึกษาไปเนี่ยน้องต้องทำคลอดได้ค่ะ จากการสอบถามพี่ๆนศพ.เค้าได้ทำคลอดครั้งแรกตั้งแต่ปี 4 เลยค่ะ เพราะไม่ใช่เคสหายากหาเย็นอะไร มีมาเรื่อยๆ เพิ่มขึ้นในช่วงตุลาคมถึงธันวาคม(จากการนับย้อนไป 40 สัปดาห์พบว่าเป็นช่วงที่ฤดูกาลเหมาะสมแก่การ ตื้ดดดดดดดดดดดดดด... อันนี้พี่เค้าพูดมานะ 555+) และเยอะเป็นพิเศษตามวันสำคัญ วันหยุดนักขัตฤกษ์ต่างๆ เช่น วันพ่อ วันแม่ วันวาเลนไทน์ ฯลฯ แล้วอยู่ๆเนี่ยจะทำเป็นได้ไง มาถึงยังไม่บินเดี่ยวหรอกนะคะคุณน้อง ก็จะมี VDO สอนขั้นตอนฝึกทำคลอดค่ะ แล้วก็มีหุ่นให้เราฝึก เราต้องท่องขั้นตอนให้ได้โดยพี่residentจะประเมินว่าเราพร้อมหรือยัง เขาก็จะให้เราเข้าไปดูไปช่วยในห้องทำคลอด 3 ครั้ง ถึงจะได้ลองหัดทำจริงโดยมีคนคอยคุมค่ะ

        แล้วประสบการณ์ทำคลอดของพี่ๆนศพ.ครั้งแรกละคะ?
        พี่ๆต่างตอบเหมือนกันว่า “สั่น”  พี่เขาเล่าว่า “พี่นี่มือสั่นอย่างกับเจ้าเข้าเลยอ่ะ เป็นกันทุกคนครั้งแรกก็อย่างงี้แหละ^^ ทำคลอดครั้งแรกของพี่ก็โดนเข็มตำแล้วอ่า ก็ต้องอาศัยการฝึกฝนทำไปค่ะ บางคนก็คลอดง่ายมากยังไม่ทันเข็นเข้าห้องเด็กก็ออกมาแล้ว (โหหหหหหหห) แต่บางคนคลอดยากก็ต้องเบ่งกันเป็นชั่วโมงทีเดียว พวกพี่ก็คอยเชียร์ว่า คุณแม่ก้มหน้าคางชิดอก พอปวดท้องก็เบ่งเลยนะ อื๊ดดดดด อื๊ดดดดดดดด อื๊ดดดดดดดดดด  แฮ่กกกกกกๆๆๆ   คนเชียร์เบ่งอย่างพวกพี่เลยเหนื่อยแทน จะหน้ามืดเอา-_-; ”

        น้องๆคะเรื่องทำคลอดเด็กเนี่ยมันมีความเชื่อนะคะ โดยเฉพาะสาวๆ ฮิฮิ เค้าว่ากันว่า ถ้านศพ.หญิงทำคลอดเด็กคนแรกเป็นผู้ชายก็จะได้แต่งงาน แต่ถ้าเป็นผู้หญิงก็จะขึ้นคาน!!!!!!!

        อ้าวววว แล้วพี่คะพี่ทำคลอดได้ผู้หญิงหรือผู้ชายคะ?
        “ก็ต้องเป็นเด็กผู้ชายอยู่แล้ววววว ฮ่าๆๆๆ  รอดแล้วววววววว”
        แหม ดีใจกับพี่ด้วยคะ^^ (แต่เอ๊ะ!!เดี๋ยวนี้เค้าทำUltrasoundกันก่อนแล้วไม่ใช่หรอ O_O???)

        นอกจากนี้นะคะน้องๆ ก็จะได้ฝึกซักประวัติคนไข้ว่าเค้ามาหาเราด้วยอะไร ลองตรวจร่างกายคุณแม่คลำว่ายอดมดลูกสูงเท่าไหร่ เด็กอยู่ท่าไหน และการสื่อสารกับคนไข้ค่ะ สำคัญมากๆเลยนะคะ การพูดคุยกับคุณแม่ช่วยให้ไม่เครียดจนเกินไปซึ่งส่งผลต่อการคลอดบุตรค่ะ โดยพี่นศพ.ปี4ได้เล่าว่าพี่เองก็มือใหม่ ต้องเก๊กทำท่าโปรๆ อย่าไปตื่นเต้นใส่คุณแม่ 555+  สำหรับวอร์ดนี้เราต้องคำนึงถึงมุมมองคนไข้ด้วยนะคะว่า คนไข้กับลูกเขาเข้ามาทุกอย่างเขาปกติ เขาย่อมคาดหวังว่าทุกอย่างจะต้องเรียบร้อยค่ะ ต่างจากวอร์ดอื่นซึ่งคนไข้ที่เข้ามาเขามาพร้อมกับความเจ็บป่วย ทำให้สถิติการฟ้องร้องสูง ดังนั้นเราต้องชี้แจงถึงสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้น ความเสี่ยงต่างๆ และขั้นตอนที่เราได้รักษาไปค่ะ ให้คนไข้เข้าใจว่าบางกรณีก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ และได้ทำการรักษาตามหลักการแพทย์อย่างสุดความสามารถแล้วจริงๆ ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้าใจให้แก่คนไข้ค่ะ

        มาพูดถึงบรรยากาศในวอร์ดกันดีกว่า พี่นศพ.เล่าว่า บรรยากาศเนี่ยมีหลายแบบ ถ้าเป็นพ่อแม่ที่เขาตั้งใจมีบุตร เราเรียกว่า wanted child บรรยากาศก็จะอบอวลไปด้วยความสุขค่ะ:) แบบว่าสิ่งดีๆ กำลังจะเกิดขึ้น ครอบครัวพากันมาให้กำลังใจ สำหรับอีกแบบ เช่น วัยรุ่นที่ท้องก่อนวัยอันควร บางคนอายุเพียง 13-14 ปีเท่านั้นเองที่มาก็เพราะบางทีทำแท้งไม่สำเร็จบ้าง หรือกลัวการทำแท้งบ้าง บรรยายกาศก็จะต่างไป ออกไปในแนวหงุดหงิดๆ คลอดให้เสร็จๆไป ส่วนลูกก็จะให้แม่หรือให้ยายเลี้ยงไม่ได้สนใจ ครอบครัวก็ไม่ค่อยมาเยี่ยมเพราะอับอาย แต่มันก็แล้วแต่กรณีนะคะ บางครอบครัวก็รับได้ มาคอยดูแล บอกลูกสาวว่าไม่เป็นไร ผิดพลาดไปแล้วต่อไปก็ขอให้เป็นแม่ที่ดีค่ะ หรือบางคนที่เค้ามีบุตรยากแล้วมาด้วยอาการเลือดออกทางช่องคลอดเพราะแท้งบุตรก็โศกเศร้าเสียใจค่ะ TT A TT

        เอาล่ะพูดเรื่องสูติไปซะยาว น้องๆอย่าเพิ่งเบื่อนะคะ แฮ่ :D เรามาต่อเรื่องของนารีเวชฯกันอีกหน่อยดีกว่าค่ะ อาการหลักๆเลยก็จะมี 4 อาการที่บ่งบอกความผิดปกติ คันในช่องคลอด คลำแล้วพบก้อน ปวดท้อง และ มีตกขาวผิดปกติอาจจะมากหรือกลิ่นเหม็นค่ะ ซึ่งบางโรคก็อาจจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ พวกเนื้องอก ซึ่งก็จะทำการวินิจฉัยต่อไป ในส่วนนี้นศพ.จะได้หัด PV หรือ per vagina ค่ะ หากน้องเคยดูภาพยนตร์เรื่องหมอเจ็บ ก็จะเห็นฉากหนึ่งที่คนไข้ต้องขึ้นขาหยั่งแล้วหมอจะสอดปากเป็ดเข้าไป เพื่อเขี่ยๆเอาเซลล์มาตรวจน่ะค่ะ ซึ่งคนไข้ที่สาวๆหน่อยต่ำกว่า 30 เค้าก็มักจะอายหมอผู้ชายน่ะค่ะ >///< พี่เลยไปถามมาว่าพี่นศพ.ผู้ชายทำไงล่ะเนี่ยถ้าคนไข้ปฏิเสธการรักษา พี่เค้าบอกว่า “พี่จะสังเกตว่าถ้าคนไข้อึดอัด แบบไม่ต้องรอให้เค้าพูดออกมาหรอก ก็จะถามคนไข้ว่าอยากให้หมอผู้หญิงเข้ามาแทนมั้ย หรือตอนรายงานผลก็ให้หมอผู้หญิงเข้ามาแทนน่ะครับ”  แต่สำหรับคุณน้าคุณป้าก็ไม่เขินกันแล้วค่ะ หมอๆ ก็ทำงานกันไป น้องๆ ก็อย่าลืมเตือนคุณแม่หรือญาติๆ ให้มาตรวจประจำปีนะคะ

        สุดท้ายเรามาดูชีวิตการเรียนของพี่ๆนศพ.กันดีกว่านะ บนวอร์ดสูติฯ ซึ่งนับเป็นวอร์ดหลัก (วอร์ดหลักได้แก่ สูติฯ ศัลย์ฯ med.[อายุรกรรม]จ้ะ) พี่ๆ เค้ายกให้วอร์ดนี้เป็นวอร์ดชิลค่ะ เนื่องจากตารางเวลามีเลคเชอร์เป็นหลัก ราวน์วอร์ดไม่หนักหน่วงท่วมท้น ไม่ต้องปรับตัวจากพรีคลินิกมากเท่าไหร่ค่ะ อีกทั้งพี่residentไม่เครียด ORไม่หนักหนา เพราะส่วนใหญ่ ปี4 จะไปยืนพิงกำแพง ทำตัวเสมือนเป็นปลาดูดกระจก ดูแล้ววอร์ดนี้อะไรๆ มันก็สบายไปทั้งหมดทั้งสิ้น แม้ในบางครั้งจะมีเรื่องต้องทำคลอดมาให้ตื่นเต้นเป็นบางคราว แต่มันก็ผ่านพ้นไปได้ เรื่องที่ต้องพึงระวังมีอยู่แค่เรื่องเดียว! คือ ตอนสอบลงกอง เพราะถึงแม้วอร์ดนี้จะสบายเรื่องวอร์ดเวิร์กแค่ไหนก็ตาม แต่!! (ขอเน้นตัวโตๆ) เวลาสอบถ้าคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ อาจารย์เขาเก็บคนตกไว้ราวน์ต่อปีหน้าจริงๆ นะจะบอกให้ -_-‘’ เพราะฉะนั้น เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและสภาพจิตใจ (ที่ค่อนข้างบอบช้ำ) ขอทุกท่านจงอย่าชิล จนลืมอ่านหนังสือเป็นอันขาด แต่ก็นั่นแหละ อยู่วอร์ดนี้ทั้งที ก็อย่าลืมพักผ่อนให้เต็มที่เตรียมพลังไว้สำหรับศัลยกรรมและอายุรศาสตร์เยอะๆนะ ^O^ 


        เป็นยังไงบ้างคะน้องๆ พอจะได้ภาพรวมของวอร์ดสูติบ้างมัยเอ่ย? ถ้าน้องๆยังนึกไม่ออก สามารถสัมผัสใกล้ชิดกว่าแค่ตัวหนังสือ มาพบกับพวกพี่ๆได้ที่ค่ายเปิดเสื้อกาวน์นะคะ น้องๆจะได้ไปสำรวจวอร์ดต่างๆ ไปเห็นคนไข้ การเรียนและการทำงานของพี่นศพ.ค่ะ ^^ แล้วเจอกันที่ค่ายนะคะ >w<


                                                                                        โดย นศพ.แมวดำประจำคณะ


    Credits
         ขอบคุณพี่เตยหมี พี่ปอง พี่มิว และพี่มะตูม ค่ะสำหรับประสบการณ์โอ้โหๆที่นำมาแชร์ และเวลาที่ไปกวนการทำรายงาน ^^ และคำศัพท์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×