guaoza
ดู Blog ทั้งหมด

ประวัติศาสตร์ ยางพาราในประเทศไทย

เขียนโดย guaoza
Bosch ToolsLawn Tractor TiresThree Wheel MotorcyclesMantis TillerElectric MotorsInvertersRechargeable BatteriesPlasma CutterVacuum PumpSolar Battery ChargerTractor Supply CoHusqvarna PartsStanleyMax PowerMtd Lawn TractorsJohn Deere Lawn TractorsWind Power GeneratorsRyobi Replacement PartsTractor Supply StorePower SupplyGrizzlyChainsawCold SteelPower ToolsCraftsman SearsFree Solar PanelsCar BatteriesPower WheelsFlashlightsPower SuppliesSears Appliance RepairUsed Tractor PartsFolding TablesBaldorElectric MotorRigid ToolsTractors For SaleSolar Powered CarsStihl String TrimmerRivetsSystem MechanicGarden ToolsPower InverterPower WasherOrchard Supply HardwareDrillCraftsman Mower PartsMarine BatteriesHand ToolsPond PumpsBaldor MotorsProtractorInverterChainsawsHusqvarna Chain SawsMakita ToolsLaptop BatteryLawn EdgerFree Motorcycle Repair ManualsMiele Vacuum BagsChargerLawn Mower BladesMig WelderRidgid ToolsRyobi Weed EaterTable SawWood LatheDiy WelderAce Hardware OutletAuto MechanicGarden TractorsTorque WrenchSears HardwareStihl Chain SawsLeaf BlowersWell PumpsUsed Tractors For SaleCold Steel KnivesFlat StanleyChain SawBriggs And Stratton Online Repair ManualsLog SplittersPower ConverterProto ToolsSears Hardware Stores3 Wheel MotorcycleDewalt PartsString TrimmersJohn Deere Tractor PartsJohn Deere TractorSolar GeneratorBattery ChargerCnc RouterTool BandWelderDrywall RepairNorthern Tool SupplyDremel ToolsHobart WeldersLed FlashlightsBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlog
ประวัติศาสตร์ ยางพาราในประเทศไทย
ประะวัติ และความสำคัญของยางพาราในประเทศไทย

ยางพารามีการปลูกในประเทศมากว่าร้อยปีแล้ว จากการตรวจสอบเอกสารพบว่า มีการปลูกยางตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2442 – 2444 จากการรายงาน ของรัตน์ เพชรจันทร (2527) ได้กล่าวถึงว่า พระยารัษฎาหุประดิษฐ์ มหิศรภักดี เป็นเจ้าเมืองตรัง ได้นำต้นยางพารามาปลูกในอำเภอกันตัง หลังจากนั้นประชาชนเริ่มมีการนำมาปลูกขยายเป็นสวน คือ สวนยางแถบจังหวัดตรัง นอกจากนี้ยังมีการขยายไปยังที่ต่างๆ เช่น สวนยางของหลวงราชไมตรี ในจังหวัดจันทบุรี ได้ปลูกขึ้นมาในปี พ.ศ.2454 และสวนยางชาวเดนมาร์ก ที่อำเภอยี่งอ ในจังหวัดนราธิวาส ในระยะเวลาล่วงมากว่าร้อยปี ยางพาราได้มีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง
ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกยางพารา ประมาณ 13 ล้านไร่ผลผลิต 2.9 ล้านตัน ถือได้ว่า มีปริมาณการส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก ทั้งนี้ประเทศไทยมี นโยบายที่จะเพิ่มพื้นที่ปลูกยางอีก 1 ล้านไร่ ในปี 2547-2549 โดยเป็นการขยายพื้นที่ปลูกยางไปยังภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งคาดว่าผลผลิต ยางพาราจะสามารถเพิ่มขึ้นได้ 250,000 ตัน/ปี และพื้นที่ยางที่มีการส่ง เสริมให้ปลูกเพิ่มนี้จะเริ่มทยอยให้ผลผลิตตั้งแต่ปี 2553 และจะให้ผลผลิตได้เต็มที่ในปี 2556 (ฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) ปริมาณการส่งออก จากเดือนมกราคม ถึงเดือน กรกฏาคม จำนวน 2,819,210 ตัน มีมูลค่าทั้งสิ้น 122,826.5 ล้านบาท รูปแบบในการจำหน่ายแบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ 1)ยางแผ่น แบ่งออกเป็น 7 ระดับได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ชั้นที่1, ยางแผ่นรมควัน ชั้นที่2, ยางแผ่นรมควัน ชั้นที่3, ยางแผ่นรมควัน ชั้นที่4, ยางแผ่นรมควัน ชั้นที่5, ยางผึ่งแผ่นแห้ง และยางแผ่นไม่รมควัน 2) ยางแท่ง 3) น้ำยางข้น และ4) ยางราอื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติที่กำหนดไว้ในทางเทคนิค, ในลักษณะขั้นปฐมภูมิ, ยางเครป และ อื่นๆ ทั้งนี้ราคายาง แต่ละชนิด และแต่ละคุณภาพก็มีราคาที่แตกต่างกันออกไปอีก ปัจจุบันประเทศไทยมีตลาดกลางยางพาราทั้งสิ้น 3 แห่งได้แก่ หาดใหญ่ สุราษฏร์ธานี และนครศรีธรรมราช และนอกจากนี้ระบบตลาดยางพารา ยังมีการ ตลาดการซื้อขายกันล่วงหน้า

สถานการณ์ยางในปัจจุบัน

จากโครงการปลูกยางเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้เกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ระยะที่ 1 ภายในระยะเวลา 3 ปี (2547 – 2549) รวม 1 ล้านไร่ ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้คาดว่าในปี 2547 เนื้อที่ยืนต้นจะเพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรจะปลูกยางทดแทนในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ ปอ สำหรับ เนื้อที่กรีดได้ ปี 2547 มีเพิ่มขึ้นในทุกภาค จากเนื้อที่ยางที่ปลูกในปี 2540 เริ่มกรีดได้ในปีนี้ มีมากกว่าเนื้อที่ยางที่โค่นทิ้งเพื่อปลูกทดแทนด้วยยางพันธุ์ดี ปาล์ม และไม้ยืนต้นอื่น ส่วนผลผลิตต่อไร่ ในภาพรวมทั้งประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากราคายาง ตั้งแต่ช่วงต้นปีถึงพฤษภาคม 2547 สูงถึง 40-52 บาท จูงใจให้เกษตรกรกรีดยางเพิ่มขึ้น และเกษตรกรมีเงินทุนในการบำรุงดูแลใส่ปุ๋ยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกยางใหม่ มีต้นยางที่กรีดได้เข้าสู่ช่วงอายุ 10-15 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ให้น้ำยางสูงมีเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว พื้นที่ในการปลูกยางทั่วประเทศ




หน่วยงาน และบทบาทที่สำคัญต่อยางพาราในประเทศไทย

1. องค์การสวนยาง ดำเนินกิจการและบริหารงานภายในขอบเขตของวัตถุประสงค์ที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนยาง เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนยาง พ.ศ. 2504 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของ องค์การสวนยางไว้ดังนี้
1. ประกอบเกษตรกรรม ซึ่งมีการทำสวนยางพาราเป็นสำคัญรวมทั้งการสร้างแปลงเพาะและแปลงขยายพันธุ์ยางพารา
2. ผลิตยางแผ่นรมควัน ยางเครปขาว น้ำยางข้น ยางผง ยางแท่ง ยางชนิดอื่น ๆ และสารประกอบของยางพารา
3. ประดิษฐ์หรือผลิตวัตถุจากยางพารา
4. ผลิตและจำหน่ายพลังงานเพื่อประโยชน์แก่กสิกรรม และกิจการ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ขององค์การสวนยาง
5. ประกอบการค้าและธุรกิจเกี่ยวกับผลิตผล ผลิตภัณฑ์ และวัตถุพลอยได้ที่เกิดจากกิจการตามข้อ 1,2,3 และ 4 และเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องจักรกล และอุปกรณ์เกษตรกรรม
6. อำนวยบริการแก่รัฐและประชาชนเกี่ยวกับยางพารา
วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นรัฐวิสาหกิจหลักด้านธุรกิจยางพาราครบวงจรอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นกลไกภาครัฐในการพัฒนายางและเพิ่มมูลค่ายางของประเทศภารกิจ (Mission) ดำเนินธุรกิจยางและปัจจัยในการผลิตยางครบวงจร, ลงทุนกับเอกชนในการประกอบการอุตสาหกรรมยาง และไม้ยาง อำนวยบริการแก่รัฐ และประชาชนเกี่ยวกับยางพารา
2. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ได้มีการจัดตั้ง ปี 2503 สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ภารกิจหลัก สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การสวนยาง ( สกย.) เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทส่งเสริมที่ไม่แสวงหากำไร สังกัด กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขในปี 2505 2518 และ 2530 รวม 3 ครั้ง มีวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินกิจการ ให้การสงเคราะห์การทำสวนยาง และการสงเคราะห์ปลูกแทนด้วยไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ภารกิจพิเศษ ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล นอกเหนือจาก พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง แล้ว รัฐบาลยังมอบนโยบาย ให้ สกย. ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ให้รวมตัว จัดตั้งสหกรณ์กองทุนสวนยาง โดยจัดสรร งบประมาณ สร้าง โรงผลิตยางแผ่นผึ่งแห้ง / รมควัน ให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อแปรรูปผลผลิต เป็นยางแผ่นรมควัน หรือ อบแห้ง สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวกัน ไม่มากพอ ที่จะจัดตั้งสหกรณ์ รัฐก็ให้ สกย. จัดสร้างโรงเรือนผลิตยางแผ่นดิบคุณภาพดี ให้ นองจากนั้นรัฐยังมอบหมาย ให้ สกย. จักตลาดประมูลยางระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกษตรกร และพ่อค้ามาซื้อขายผลผลิต ที่ได้คุณภาพมาตรฐาน และราคาที่เป็นธรรม
3. องค์กรสถาบันวิจัยยาง ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดจนถึงในปัจจุบัน ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ พ.ศ. 2535 กำหนดให้มีหน้าที่ในการวางแผน ควบคุม บริหารและดำเนินการศึกษาค้นคว้า วิจัยและพัฒนากิจการยางในทุกสาขาและครบวงจรทั้งด้านการผลิตยาง การแปรรูปยาง การผลิตผลิตภัณฑ์ยาง การตลาดยางและการใช้ประโยชน์จากไม้ยาง ประสานงานกับหน่วยงานภายใน ภายนอกกรมวิชาการเกษตรและต่างประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบการแปรรูปยาง ผู้ประกอบการค้ายาง ผู้ส่งออก ผู้นำเข้ายาง ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง องค์การยางระหว่างประเทศและสถาบันวิจัยยางประเทศต่างๆ การควบคุมยางตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยียางสู่กลุ่มเป้าหมายทั้งภาครัฐเอกชนและ เกษตรกรชาวสวนยาง
4. สมาคมยางพาราไทย เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2494 ด้วยความร่วมมือของบริษัทผู้ผลิตและผู้ค้ายางพารา โดยใช้ชื่อว่า "สมาคมพ่อค้ายางพาราแห่งประเทศไทย" เพื่อเป็นองค์กรกลางของผู้ประกอบธุรกิจการผลิตและการค้ายางพารา เป็นศูนย์กลางที่ทางราชการสามารถติดต่อและประสานความร่วมมือ รวมทั้งเป็นกลไกที่จะช่วยผลักดันให้เกิดกิจกรรมสร้างสรรค์ ทั้งในด้านการพัฒนาวิชาชีพและยกระดับมาตรฐานการดำเนินการของบริษัทสมาชิกให้อยู่ในระดับที่มีคุณภาพโดยทัดเทียมกัน วัตถุประสงค์หลักในการริเริ่มก่อตั้งสมาคมยางพาราไทยก็เพื่อแก้ปัญหาอันเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจที่ยังขาดกฎและข้อบังคับ ผู้ซื้อและผู้ขายมีอิสระในการประกอบธุรกิจที่สร้างความพึงพอใจแก่ตน โดยมิได้คำนึงถึงผลกระทบต่อการค้าโดยรวม ปัญหาที่ปรากฏมักเป็นปัญหาเรื่องสินค้าด้อยคุณภาพและการไม่ปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งก่อให้เกิดการพิพาทที่ยืดเยื้อและเป็นผลเสียต่อผู้ประกอบธุรกิจ ด้วยเหตุนี้เองจึงได้มีการรวมตัวกันของผู้ประกอบธุรกิจยาง เรียกตัวเองว่า "สมาคมพ่อค้ายางพาราแห่งประเทศไทย" ก่อตั้งขึ้นเพื่อขจัดการค้าที่ไม่เป็นธรรม และเพื่อส่งเสริมสมาชิกที่ค้าขายด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ควบคู่ไปกับการร่างกฎและข้อบังคับขึ้นมาใน ที่ทำการของสมาคมยางพาราไทยใช้ที่ทำการหอการค้ากรุงเทพฯ มีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2494 และสมาชิกเริ่มแรกมีเพียง 15 ราย เป็นสมาชิกสามัญและสมาชิกสมทบ ปัจจุบันสมาคมยางพาราไทยมีสมาชิกทั้งสิ้น 50 บริษัท มีทั้งผู้ผลิตและผู้ค้ายาง สมาคมยางพาราไทยได้รับการรับรองโดยรัฐบาลและได้รับการพิจารณาว่าเป็นองค์กรกลางในการประสานความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐและเอกชน

หน่วยงานระหว่างประเทศ
องค์การยางธรรมชาติระหว่างประเทศ (International Natural Rubber Organization : INRO) เกิดจากการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ในปี 2519 เพื่อแก้ไขปัญหาราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตกต่ำ และได้นำไปสู่การจัดตั้งINRO ในปี 2523 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานของยางธรรมชาติ มิให้เกิดการขาดแคลนหรือล้นตลาด ตลอดจนมุ่งรักษาเสถียรภาพราคายาง โดยใช้มูลภัณฑ์กันชน (Buffer Stock) เป็นเครื่องมือ ปัจจุบัน INRO มีสมาชิกรวม 22 ประเทศ 1.โดยประเทศสมาชิกมีหน้าที่ต้องชำระเงิน สมทบ 2 ลักษณะ คือ การชำระเงินสมทบเข้างบบริหารองค์การ และการชำระเงินสมทบเข้ามูลภัณฑ์กันชน เพื่อนำเงินที่ได้ใช้ในการแทรกแซงราคายาง ด้วยการพิจารณาราคาชี้สภาวะตลาด, 2. เปรียบเทียบกับราคาเสถียรภาพกลาง และราคาเพื่อการแทรกแซงอีก 6 ระดับ ซึ่ง 3ระดับอยู่เหนือระดับราคาเสถียรภาพกลางและอีก 3 ระดับอยู่ต่ำกว่าระดับราคาเสถียรภาพกลาง โดย INRO จะเข้าแทรกแซงซื้อยางเมื่อราคา DMIP ต่ำและขายยางเมื่อราคา DMIP สูงจากระดับราคาเสถียรภาพกลาง ทั้งนี้ เป็นไปตามความตกลงยางธรรมชาติฉบับที่ 3 (INRA III) ซึ่งมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 4 ปีนับแต่ปี 2540-2543
FAO/UNDP Rubber Development Project ได้เข้ามามีบทบาทในการสนับสนุน แนะนำด้านความรู้ และวิชาการในระหว่างปี 2525 (1982) ให้กับเกษตรกร จำนวน 9,600 คน และเจ้าหน้าที่ 600 คนรวมถึงการจัดประชุมสัมมนาต่างๆขึ้นด้วย
International Rubber Study Group: IRSG (องค์การศึกษาเรื่องยางระหว่างประเทศ) จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ.2490 มีนโยบายประสานงานทางการผลิต การค้า และการใช้ยางธรรมชาติ และยางสังเคราะห์ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง 3อย่างคือ ประทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ ประเทศผู้ผลิตยางสังเคราะห์ และประเทศผู้ใช้ยาง โดยองค์กรจะดำเนินการรวบรวมข้อมูลด้านการผลิต และการใช้ยางทั้งยางธรรมชาติ และยางสังเคราะห์ ประกาศให้สมาชิกทราบล่วงหน้า เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้สร้างแผนการผลิต และการใช้ยางให้อยู่ในภาวะสมดุล ปัจจุบัน (ข้อมูลปี 2540) มีประเทศสมาชิก 23ประเทศซึ่งประเทศไทย เป็น1 ในสมาชิก 23ประเทศ
Association of National Rubber Producing Countries: ANRPC (สมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ) เป็นสมาคมจัดตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือของประเทศผู้ผลิตยางในโลก ปัจจุบัน(ณ ปี พ.ศ.2540) มีสมาชิก 7 อันได้แก่ อินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซีย ไทย ปาปัวนิวกินี สิงคโปร์ และศรีลังกา
International Rubber Council: INRC (สภายางธรรมชาติระหว่างประเทศ) เป็นองค์กรที่แยกออกมาจากสมาคมผู้ผลิตยางธรรมชาติ โดยมีการลงนามในสนธิสัญญา International Rubber Agreement เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2519 และตั้งมนตรีเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2510 มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุม และรักษาเสถียรภาพราขายางพาราโดยควบคุมการผลิต ส่งออก และการสร้างมูลภัณฑ์กันชน มีสมาชิก 4ประเทศคือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา
International Tripartite Rubber Organization (ITRO ) จัดตั้งเนื่องจากในช่วงก่อนปี 2546 ราคายางในตลาดโลกตกต่ำลงมากจนเกิดความเดือดร้อนต่อเกษตรกรของประเทศผู้ปลูกยาง ทำให้ต้องมีการหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ โดยได้จัดตั้งองค์กรความร่วมมือยางของ 3 ประเทศผู้ผลิตรายสำคัญ ซึ่งประกอบด้วยไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย เพื่อที่จะพยายามรักษาเสถียรภาพของราคายางโลก โดยมีนโยบายหลักครอบคลุมเกี่ยวกับการต่อรองกับประเทศผู้ซื้อ และลดปริมาณการผลิต4% จากผลผลิตเฉลี่ย 4 ปีของแต่ละประเทศ
International Rubber Research and Development Board: IRRDB (สภาวิจัย และพัฒนายางระหว่างประเทศ) เป็นการจัดตั้งองค์การขึ้นมาโดยความร่วมมือของสถาบันวิจัย และพัฒนายางธรรมชาติ จากทุกทวีป มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุม และวางนโยบายการวิจัย และพัฒนายาง ระหว่างสถาบันที่เป็นประเทศสมาชิก และสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ ปัจจุบันมีสมาชิก 15สถาบัน จาก15 ประเทศ มีสำนักงานเลขาธิการขององค์การอยู่ที่กรุงลอนดอน
International Rubber Quality and Packing Conference: IRQPC (คณะกรรมการด้านการหีบห่อ และคุณภาพยางธรรมชาติระหว่างประเทศ) เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นโดยมีหน้าที่กำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ และมาตรฐานยางดิบต่างๆ ซึ่งจัดพิมพ์เป็นคู่มือที่รู้จักกันในนามของ Green Book สำหรับประเทศไทย สถาบันวิจัยยาง เป็นองค์กรร่วมในการดำเนินการโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ พรบ. ควบคุมยาง เพื่อควบคุมมาตรฐาน และการหีบห่อ










หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานยางพารา

1.กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ 2.องค์การสวนยาง (รัฐวิสาหกิจ)
3. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยาง (สกย.) (รัฐวิสาหกิจ) 4. สมาคมยางพาราไทย

5. กรมวิชาการเกษตร 6 กองการยาง (กรมวิชาการเกษตร)
7.สถาบันวิจัยยาง (กรมวิชาการเกษตร) 8.สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร (สปก.)
9. กรมพัฒนาที่ดิน 10. สำนักงานเศรษฐกิจเกษตร
11. กระทรวงอุตสาหกรรม 12. กรมส่งเสริมการเกษตร
13. กรมป่าไม้ 14. INRO (International Natural Rubber Organization)
15.FAO/UNDP Rubber Development Project 16. Agriculture Development Council. Inc.
17.Rubber Research Institute of Thailand (RRIT) 18. Rubber Estate Organization.
19. Office of Replanting Aid Fund. 20. Thai Industrial Standards Institute (TISI)

นโยบายหลักที่เกิดขึ้นกับการผลิตยางพาราไทย

ปี พ.ศ. 2481 รัฐบาลได้ได้มีการออก “กฎหมายยาง” (พระราชบัญญัติควบคุมยาง พุทธศักราช 2581) ซึ่งคลอบคุมถึง การปลูกยาง, การขออนุญาตทำยาง, การค้ายาง และมียางในครอบครอง (สะสมยาง), การนำเข้า และส่งออกยาง, เจ้าพนักงาน (ยาง) ประจำท้องที่, ผู้ตรวจสอบยาง และแบบพิมพ์ ตลอดจนค่าธรรมเนียมการจัดเก็บ (ยางพารา.2517) รัฐบาลไทยได้มีการจัดตั้งสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ในปี พ.ศ.2503 ภายใต้การดำเนินงาน “นโยบายพิเศษ” ของรัฐบาล เพื่อให้ความช่วยเหลือ เจ้าของสวนยาง ในด้านต่างๆ (กองทุนสวนยาง. 2540)
สำหรับนโยบายสนับสนุนการเกษตร ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ที่ผ่านมา (1-7) เห็นได้ในรูปแบบของภาพองค์รวมคือ มุ่งเน้นในด้านการเพิ่มผลผลิต โดยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น โดยใช้ปัจจัยการผลิตที่ทันสมัยเข้ามา, ยกระดับรายได้ และระดับการครองชีพพร้อมทั้งการเร่งรัดการผลิต ต่อไร่ และเพิ่มสินค้าที่จะผลิต, ลดช่องว่างการทำงานที่ไม่เต็มเวลาของเกษตรกร และสนับสนุนให้เกษตรได้รวมเป็นกลุ่มสถาบัน เพื่อให้รักษาประโยชน์ของกลุ่ม ทั้งนี้สถาบันการเงินหลักที่เข้ามาสนับสนุนคือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) (โสภิณ ทองปาน. 2536) จากการรายงานของ สำนักงานเศรษฐกิจ (2539) ได้แสดงถึงเป้าหมาย ในแผนพัฒฯ ในระหว่างปี พ.ศ.2525 – 2529 รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายการผลิตยางพาราให้เพิ่มขึ้นจาก 600 พันตัน เป็น 900 พันตัน โดยเพิ่มขึ้นในระดับร้อยละ 11 ต่อปี การผลิต และการส่งออกที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าจาก สภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก เป้าหมายของแผนฉบับนี้ ได้มีการเร่งรัดใน 5 ประเด็นหลักสำคัญคือ
1. การปรับเปลี่ยนพันธุ์ยางให้มีคุณภาพ
2. การจัดทำแปลงสาธิตการปลูกพืชแซมสวนยาง ในแหล่งปลูกยางใหม่
3. แนะนำเทคนิคการกรีดหน้ายางสูง และการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางในภาคใต้
4. ส่งเสริมให้ เกษตรกรชาวสวนยางรวมตัวกันเพื่อปรับปรุงคุณภาพ และขายยางในรูปแบบของศูนย์ประมูลยาง
5. เร่งรัดการดำเนินงาน พัฒนายาง แลให้บริการในด้านวิชาการ
ธนาคารกสิกรไทย (2525) ได้กล่าวถึงแนวนโยบายของรัฐที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจยาง สามารถแยกได้เป็น 2 ช่วงคือ
1. แนวนโยบายในอดีต
- การควบคุมธุรกิจการยาง มีการออกกฎหมายควบคุม จำกัด และโควตาเข้ามาใช้ในระบบ
- การปลูกทดแทน เนื่องจากยางพารามีการปลูกระยะเวลาที่นาน ประกอบทั้งพันธุ์ยางมีการปรับปรุงเพื่อให้ได้ยางมีคุณภาพดีขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการปลูกปรับเปลี่ยนเพื่อให้ได้น้ำยางคุณภาพดี
- การค้นคว้าวิจัย
- การปรับปรุงคุณภาพ และการพัฒนาระบบการตลาดยาง มีการพยายามผลักดันให้เกิดรูปแบบ แยกกันผลิตแต่รวมกัน
2. แนวนโยบายของรัฐบาลยุคปัจจุบัน (ปี พ.ศ.2525)
- การเพิ่มผลผลิต คือ มีการเร่งรัดการปลูกยางพันธุ์ดีทดแทนแปลงเก่า และขยายพื้นในการปลูก
- การปรับปรุงคุณภาพยาง
- การปรับปรุงตลาด และความสะดวกในการส่งออก
- การสนับสนุนอุตสาหกรรมการยาง
- การพยุงราคา และประกันราคายาง มีการจัดตั้งองค์การยางธรรมชาติระหว่างประเทศ International Natural Rubber Organization (INRO) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนด ประกัน และพยุงราคายางพารา ไม่ให้แปรปรวนมาก
สำนักงานเศรษฐกิจเกษตร. (2539) ได้แสดงทรรศนะนะถึงแนวทางพัฒนาสินค้าเกษตรกรร ในช่วงแผนพัฒนา ฉบับที่8 (2540 - 2544) โดยชี้ให้เห็น 4 เป้าหมายหลักที่สำคัญคือ
1. รักษาระดับพื้นที่ปลูกยางพารา ไม่ให้เกิน 12.5 ล้านไร่ ในปี พ.ศ.2544
2. เพิ่มผลผลิตยางพาราให้ได้ 190 กิโลกรัม/ไร่ ในปี พ.ศ.2540 และ 230 190 กิโลกรัม/ไร่ ในปี พ.ศ.2544
3. เพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศ ร้อยละ8 ในปี พ.ศ.2540 เป็นร้อยละ13 ในปี พ.ศ.2544
4. ขยายการส่งออกยางแท่งจาก ร้อยละ10 เป็นร้อยละ20 ของปริมาณการส่งออกยางทั้งหมด
กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (2538: 1-44) ได้รายงานถึงบทบาทโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ อาทิ เช่น สกย. ได้ดำเนินโครงการเร่งรัดการปลูกยางพาราแก่ผู้ไม่มีสวยยางมากก่อน, กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินงานโครงการเร่งรัดการปลูกยางพาราเพื่อกระจายรายได้สู่ภาคอีสาน และ สปก. (สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร) ดำเนินงานโครงการนำร่อง การพัฒนาปลูกยางพาราในภาคอีสาน อย่างไรก็ดีในปีเดียวกันนี้ได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ เพื่อประกอบการเสนอเข้าสู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉ.8 โดยมีทั้งสิ้น 9ประการคือ
1. การผลิต และการตลาด
2. อุตสาหกรรมการยางพาราแห่งประเทศไทย
3. ความต้องการยางพาราของประเทศไทย
4. อุตสาหกรรมไม้ยางพาราไทย
5. การวิเคราะห์ความไม่มีเสถียรภาพยางพาราไทย
6. วางแนวนโยบายยางพารา
7. บทบาทการวิเคราะห์ราคาในระบบการตลาดยางพารา
8. การประมาณการเศรษฐกิจยางพาราของโลกในอนาคต
9. วิเคราะห์การในแรงงานในอุตสาหกรรมยางพารา
แผนวิจัย และแผนงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (2538) ได้แสดงทรรศนะว่านโยบายจากอดีตที่ผ่านมา มีอยู่ทั้งสิ้น 5นโยบายคือ
1. การส่งเคราะห์การปลูกยาง
- การสงเคราะห์การปลูกยางพันธุ์ดีทดแทนสวนยางเก่า
- การปลูกยางพาราแก่ผู้ไม่เคยมีสวนยางมาก่อน
2. การปรับปรุงคุณภาพยางพารา (เน้นการตั้งโรงงาน ในรูปแบบสหกรณ์ ซึ่งสำนักงานสหกรณ์เข้ามามีบทบาทร่วมด้วย)
3. การแทรกแซงราคายางพารา (โดยมีการใช้ยาง แลกปุ๋ย ยา อื่นๆ)
4. ด้านภาษี (ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคล)
5. ส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศ
- ลดภาษีสารเคมี และวัตถุดิบที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ยางจำนวน 90รายการให้เหลือไม่เกินร้อยละ5 จากเดิมร้อยละ20-50
- ส่งเสริมการลงทุนเรื่องไม้ยางพารา
6. ความร่วมมือระหว่างประเทศ
โสภณ วัชรสินธุ์ (2538: 10-12) ได้แสดงทรรศนะถึงหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมรางคายางพาราในตลาดโลก คือ INFO (International Natural Rubber Organization) ซึ่งเป็นองค์การร่วมมือของกลุ่มประเทศผู้ผลิต และผู้ใช้ประโยชน์จาก ยางธรรมชาติ ซึ่งวัตถุประสงค์หลักขององค์กรมีด้วยกันทั้งสิ้น 9ประการ คือ
1. เพื่อให้บรรลุถึงการเจริญเติบโตที่สมดุลระหว่าง อุปสงค์ และอุปทาน ของยางธรรมชาติ
2. เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง ไม่ให้เปลี่ยนแปลงมากเกินไป
3. เพื่อช่วยประเทศผู้ส่งออกให้มีรายได้ที่มั่นคง จากการส่งออกยางธรรมชาติอย่างยุติธรรม และมีกำไร
4. เพื่อประกันการจัดการอุปทานของยางธรรมชาติให้ตอบสนองความต้องการของประเทศสมาชิกผู้นำเข้าในราคาที่ยุติธรรม
5. เพื่อผ่อนคลายปัญหาทางเศรษฐกิจที่ต้องเผชิญในกรณีที่ยางล้นตลาด หรือขาดแคลน
6. เพื่อขยายการค้าระหว่างประเทศ และปรับปรุงลู่ทางการตลาด และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปของยางธรรมชาติ
7. เพื่อส่งเสริมให้มีการวิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับปัญหาของยางธรรมชาติ
8. เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการปรับปรุงในด้าน กรรมวิธีการตลาด และการจำหน่ายยางดิบ
9. เพื่อให้ความร่วมมือ และการปรึกษาหารือระหว่างประเทศในด้านยาง

บทบาทในส่วนภาคประชาชน
บทบาทของภาคประชาชนที่ผ่านมามีออกมาแสดงให้เห็นน้อยมาก ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบ “ผู้เรียกร้อง” เพราะเมื่อเกิดผลกระทบคราใดเกษตรกร ก็จะพบว่าเกษตรกรมีการชุมนุมประท้วงเพียงเท่านั้น และรัฐก็จะเป็นผู้ดำเนินงานให้เสร็จสรรพ แต่บทบาทที่แท้จริงของประชาชนอยู่แค่นั้น จริงหรือ บทเรียนที่เกิดขึ้นกับวงการยางพาราในประเทศไทยที่ผ่านมาคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ประยงค์ รณรงค์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการแสวงหาความชัดเจน และมันคงในอาชีพการทำสวนยาง ภายในชุมชนไม้เรียง จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมทั้งได้รับรางวัล รามอลแมกไซไซ ในปีสาขาผู้นำชุมชน ปี 2004 (พ.ศ.2547) ประยงค์ ได้เริ่มต้นศึกษา และได้จัดทำแผนแม่บทยางพาราไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2542 ซึ่งพอสรุปได้ว่า “ชาวบ้านเริ่มมองเห็นว่า การแก้ปัญหายางนั้นมีหลายระดับ บางอย่างทำได้ในระดับครอบครัว บางอย่างระดับชุมชน บางอย่างต้องทำระดับเครือข่าย และหลายเรื่องต้องระดับนโยบายของรัฐ การลดรายจ่ายนั้นครอบครัวต้องจัดการเอง แต่การเรียนรู้เพื่อให้ลงมือทำได้คงต้องทำกันในระดับชุมชน ต้องมีการจัดการให้เกิดความรู้ความเข้าใจ” และได้มีการทำประชาวิจารณ์ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากรัฐมี แผนยุทธศาสตร์ยางพาราไทย ทั้งนี้เมื่อเปลี่ยนยุครัฐบาล บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในยุคนั้นคือ คุณประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ได้รวบรวมแผนแม่บทชุมชน เสนอพรรคการเมือง (รัฐบาล) และเป็นจุดเริ่มต้นให้รัฐบาลมีการร่วมมือ 3 ประเทศหลักในการผลิต ยางธรรมชาติ คือไทย อินโดนีเซีย และมาเลเชีย จัดตั้งบริษัท และทำการแทรกแซงราคายางพารา (เมื่อก่อนมีการแทรกแซงราคายางภายในประเทศ และราคายางพาราถูกกำหนดโดยตลาดกลางที่ประเทศ สิงคโปร์) (เสรี พงศ์พิศ. 2547)
ข้างต้นสามารถพิจารณาถึงกลไกลการควบคุมจากอดีต จนถึงปัจจุบันในการร่างแผนพัฒนา หรือ

ปัญหาผ่านมาของเกษตรกรชาวสวนยางพารา (คัดลอกจาก แผนแม่บทการพัฒนายางพาราไทย จัดทำโดย คณะทำงานด้านนโยบายเครือข่ายยางพารานครศรีธรรมราช)

1. ด้านการผลิต
ทิศทางการพัฒนาเกษตรกรรมยางพารา การส่งเสริมการเพาะปลูกยางพาราที่ผ่านมา มุ่งเป้าหมายเพื่อป้อนวัตถุดิบให้กับการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ขาดทิศทาง และเป้าหมายในการดำเนินงานเฉพาะด้านเกษตรกรรมที่ชัดเจน กล่าวคือ
1) การเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกไม่สัมพันธ์กับการพัฒนาด้านอื่นๆ เช่นการกำหนดแผนการใช้ยางภายในประเทศ การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะด้านประเด็นหลังหนี้ แม้ว่าการเพิ่มพื้นที่ปลูกยางพาราจะเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยการนำระบบสวนเกษตรเข้าไปทดแทนการเพาะปลูกพืชไร่ก็ตาม แต่เป็นที่ยอมรับว่าสวนยางพาราขาดความหลากหลายของระบบพันธุกรรมตามธรรมชาติ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือประเทศไทยขาดแผนการพัฒนายางพาราที่ชัดเจน และยั่งยืน
2) ขาดการพัฒนาระบบเกษตรกรรมที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนาการเพาะปลูกยางพารามุ่งเป้าหมายที่ตัวเลยผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในระดับมหภาคเป็นหลัก ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราต้องพึ่งพาพืชเศรษฐกิจชนิดเดียว ความผันผลนของตลาดและราคาจังส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และสังคมในพื้นที่เพาะปลูกยางพารา
โครงสร้างการผลิตยางพาราไทย เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกร้อยละ 90 ของผลผลิตทั้งหมด ที่เหลือประมาณร้อยละ 10 เป็นการผลิตเพื่อใช้ และสต๊อคภายในประเทศ ผลผลิตส่งออกส่วนใหญ่ร้อยละ 66 เป็นยางแผ่นรมควัน รองลงมาเป็นยางแท่ง ร้อยละ 17 โดยยางแผ่นรมควันที่ส่งออก เฉลี่ยประมาณปีละ 1.2 ล้านตัน มีอัตราการเพิ่มร้อยละ 5 ต่อปี ในขณะที่ความต้องการใช้ยางแผ่นรมควันของโลกเริ่มลดน้อยลงจนถึงจุดอิ่มตัว เหลือประมาณปีละ 1.6 ล้านตัน ตรงกันข้ามกับความต้องการยางแท่ง และน้ำยางข้นซึ่งมีอัตราการเพิ่มสูงขึ้น
คุณภาพการผลิต เนื่องจากผลผลิตของประเทศไทยกว่าร้อยละ 95 เป็นผลผลิตจากเกษตรกรรายย่อย หรือสวนยางขนาดเล็กที่มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 13-25 ไร่ ซึ่งต่างคนต่างผลิต ทำให้คุณภาพยางหลากหลายไม่สม่ำเสมอ ขาดยุทธวิธีในการส่งเสริม และสนับสนุนให้เกษตรกร และองค์กรชาวสวนยาง เป็นผู้พัฒนาคุณภาพ เพราะตลาดเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดราคา คุณภาพผลผลิตจึงถูกกำหนดโดยราคาในตลาด นอกจากนั้นยางแผ่นรมควันที่ส่งออก ส่วนใหญ่ยังเป็นยางแผ่นรมควันชั้น 3-4 เป็นผลให้การพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตเชิงคุณภาพเป็นไปได้ยากขึ้น
2. องค์กรชาวสวนยาง
ขาดอิสระในการดำเนินงาน ต้องขึ้นต่อนโยบาย และระเบียบวิธีการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ ซึ่งยึดติดอยู่กับระเบียบวิธีการทำงาน และตัวองค์กรเอง ผลกระทบต่อองค์กรเอง ผลกระทบต่อองค์กรชาวสวนยาง ก็คือ เมื่อประโยชน์ของแต่ละหน่วยงานแตกต่างกัน หรือขัดแย้งกัน องค์กรชาวสวนยางจะถูกทอดทิ้งให้เผชิญปัญหาเอง
ขาดการสนับสนุนให้มีบทบาทในการแก้ปัญหา และพัฒนาอย่างแท้จริง การดำเนินมาตรการของรัฐที่ผ่านมาให้บทบาทกับหน่วยงานมากกว่าการสนับสนุนความเข้มแข็งขององค์กรชาวสวนยาง ในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
องค์กรชาวสวนยางขาดทิศทางของตนเอง ไม่มีเวทีที่เปิดโอกาสให้องค์กรชาวสวนยางกำหนดแผน และทิศทางการพัฒนาตนเองรวมถึงการไม่มีโอกาสในการกำหนดนโยบาย และเป้าหมายของการพัฒนายางพาราทั้งระดับท้องถิ่น และระดับชาติ การแสดงบทบาทจึงวนเวียนอยู่กับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในฐานะผู้ให้ความร่วมมือ เป็นหลัก
ขาดการประสานความร่วมมือระหว่างกลุ่ม อันเนื่องมาจากระบบการรวมศูนย์ที่หน่วยงาน การประสานระหว่างกลุ่ม และระหว่างพื้นที่ดำเนินไปตามเงื่อนไขที่หน่วยงานเป็นผู้กำหนด
3. ด้านการตลาด
ตลาดต่างประเทศ เนื่องจากปัจจุบันตลาดต่างประเทศมีลักษณะเป็นตลาดของผู้ซื้อ โดยการซื้อขายส่วนใหญ่ร้อยละ 80 เป็นการซื้อขายโดยตรง (Direct Trade) และร้อยละ 20 เป็นกรซื้อขายผ่านตลาดกลางทำให้ราคายางถูกกำหนดโดยประเทศผู้ซื้อหลักของโลกเพียง 4-5 ประเทศ เป็นผลให้ราคายางในตลาดโลกไม่สะท้อนความเป็นจริงของการผลิต และใช้ยาง
ตลาดส่งออกของไทยกว่าร้อยละ 70 ส่งออกไปยัง 5 ประเทศหลัก คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ จีน และมาเลเซีย ดังนั้น สภาวะด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของแต่ละประเทศจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก ยางพาราของไทยอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ทวีปเอเชียกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน จะส่งผลโดยตรงต่อปริมาณการซื้อยาง เพราะไทยส่งออกในรูปยางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่มีตลาดหลักอยู่ในเอเชีย คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี
ตลาดภายในประเทศ
ตลาดกลางยางพาราของไทยระดับประเทศ เป็นเพียงตลาดซื้อขายยางแผ่นดิบ และยางแผ่นรมควันโยวิธีการประมูล และห้องค้ายางชนิดต่างๆ เป็นการซื้อขายยางเฉพาะสมาชิกห้องค้าเท่านั้น ตลาดกลางยางพาราไทยจึงไม่เป็นระบบสากลที่เชื่อมโยงกับตลาดต่างประเทศ ทำให้การซื้อขายยางต้องอิงราคาในตลาดโลก ทั้งที่ไทยเป็นผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก
ตลาดยางพาราระดับท้องถิ่น เป็นตลาดที่มีผู้ค้าจำนวนมากกระจายตัวอยู่ในระดับตำบลหมู่บ้าน ทำให้ระบบคนกลางในตลาดยางพารามีหลายขั้นตอน ส่งผลให้มูลค่าที่เกษตรกรชาวสวนยางพาราได้ตับต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น ส่วนตลาดประมูลยางท้องถิ่นที่รัฐดำเนินการยังกระจายไปไม่ทั่วถึง และแต่ละตลาดที่มีอยู่มีมาตรฐานการดำเนินงานต่างกัน ทั้งในแง่คุณภาพบุคลากร ประสิทธิภาพการทำงาน และราคา
องค์กรชาวสวนยางไม่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การไม่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการตลาดกลาง และตลาดประมูลท้องถิ่นรวมถึงมาตรการด้านการตลาดของรัฐ ที่เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ทำให้ชาวสวนยางขาดโอกาสในการเข้ามามีบทบาท ในระบบตลาด การเรียนรู้ในการจัดการผลผลิตจึงมีอยู่อย่างจำกัด ขณะเดียวกันโครงสร้าง และของข่ายการดำเนินงานของตลาดกลาง และตลาดประมูลท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมเข้ามามีอิทธิพลในการกำหนดราคา และการซื้อขาย
ขาดแคลนระบบข้อมูลข่าวสาร ที่เชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศของการตลาดกลาง และตลาดประมูลท้องถิ่น ทำให้เกษตรกรไม่ได้รับข้อมูลทางด้านราคา และสถานการณ์ ซื้อขาย ส่งผลให้เกษตรกรถูกเอาเปรียบจากผู้ค้าที่เป็นคนกลางในตลาด

4. ด้านอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมยางดิบ อุตสาหกรรมยางพาราเติบโตจากนโยบายการส่งออกวัตถุดิบ อุตสาหกรรมที่มีอยู่จึงเป็นเพียงอุตสาหกรรมยางดิบ ซึ่งเป็นกลไกของระบบคนกลางทั้งการค้า และการส่งออกยางพาราเท่านั้น
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ มีน้อยมาก ขาดการพัฒนาภายในภาคอุตสาหกรรม ขาดการกระตุ้นโดยนโยบายระดับชาติให้เกิดการพัฒนาจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องง และผู้ประกอบการไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต ส่วนใหญ่เป็นเทคโนโลยีนำเข้า จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ขณะที่การวิจัย และพัฒนาทางเทคโนโลยีของภาครัฐยังขาดประสิทธิภาพ
ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา เป็นการพัฒนาที่สวนทางกับการเติบโตของเกษตรกร และองค์กรชาวสวนยาง เพราะเน้นการสนับสนุนให้ภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมมีบทบาท มากกว่าการสนับสนุนองค์กรสวนยางให้มีบทบาทในการพัฒนาในรูปอุตสาหกรรมชุมชน ตามที่ระบุไว้ในแผนฯ 8 ดังจะเห็นได้จากการรุกคืบเข้ามามีบทบาทของอุตสาหกรรมในขั้นตอนการผลิต ลดบทบาทการแปรรูปของเกษตรกรลง เน้นให้ขายน้ำยางมากขึ้น ทั้งเป็นเพราะอิทธิพลของเป้าหมายทางเศรษฐกิจระดับมหภาคเป็นหลัก จนไม่ให้ความสำคัญ และละเลยการสนับสนุนเกษตรกร และองค์กรชาวสวนยางให้มีบทบาทในการพัฒนาการตลาด และอุตสาหกรรมมากขึ้น
5. ด้านการวิจัยและพัฒนา
ทิศทาง และเป้าหมาย การวิจัย และพัฒนาขาดทิศทางที่ชัดเจน มุ่งตอบสนองการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือปัญหาทางการค้า ไม่มีแผนงานการค้นคว้าวิจัยที่ตอบสนองการพัฒนาทุกระดับ ตั้งแต่การผลิต การพัฒนาสถาบันเกษตรกร การตลาดและอุตสาหกรรม ในทุกด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประสิทธิภาพ ในการดำเนินงานวิจัย และพัฒนาต่ำ เห็นได้จากการในรอบเกือบร้อยปีที่ผ่านมา สามารถวิจัยพันธุ์ยางดีได้เพียงพันธุ์เดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอันดับแรกๆ ของประเทศผู้ผลิตในโลกซึ่งมีการคันคว้า และพัฒนายางพาราพันธุ์ดีหลากหลายพันธุ์
นโยบายรัฐ ความสำคัญของการวิจัย และพัฒนาในระดับนโยบายมีน้อยมาก หน่วยงานที่มีอยู่เป็นเพียงหน่วยงานระดับกองในสังกัดกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เท่านั้น

6. ด้านการบริหารจัดการ
นโยบาย และมาตรการของรัฐที่ผ่านมานับตั้งแต่ พระราชบัญญัติควบคุมยางพารา พ.ศ.2581 ซึ่งสาระสำคัญคือ การกำหนดความรับผิดชอบของหน่วยงานราชการ กำหนดหลักเกณฑ์ และพื้นที่เพาะปลูก เป็นต้นมา มีเพียงการจัดตั้งสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ในปี พ.ศ.25.3 นโยบายในการพัฒนาระบบตลาดยางพาราหรือห้องค้ายาง เพื่อพัฒนาเป็นตลาดกลางยางพาราของโลก ในปี พ.ศ.2534 และนโยบายการสร้างโรงงานแปรรูปยางพาราให้กับสถาบันเกษตรกร เป็นผู้ดำเนินการ ในปี พ.ศ.2536-2537 เท่านั้น ที่เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นนโยบายที่มีความหมายทางยุทธศาสตร์ ต่อการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดพัฒนาการใหม่ นอกเหนือจากนั้นเป็นการดำเนินนโยบาย และมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ที่เกิดจากผลกระทบของภัยธรรมชาติ และความผันแปรของตลาด การบริหารจัดการของรัฐในการพัฒนายางพาราไทยที่ผ่านมาปรากฏจุดอ่อน และปัญหาหลายประการ กล่าวคือ
ขาดทิศทาง และยุทธศาสตร์ในการพัฒนา ไม่เคยมีแผนแม่บทกำกับการทำงานของรัฐบาล หรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง จนเกิดปัญหาการแย่งชิงบทบาทระหว่างหน่วยงาน และการเปลี่ยนแปลงตามนโยบายรัฐบาลของพรรคการเมืองต่างๆ ที่มีบุคลากร และนโยบายที่แตกต่างกัน สลับผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาบริหารประเทศ
นโยบายขาดความต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงนโยบาย และการดำเนินมาตรการต่างๆ เป็นไปตามความคิดและความต้องการของผู้บังคับบัญชาของหน่วยงาน โดยเฉพาะฝ่ายการเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง
คณะกรรมการนโยบายยางพาราระดับชาติ ไม่มีบทบาทที่แท้จริงในการพัฒนายางพาราไทย เพราะขาดผู้มีความรู้ความเข้าใจเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้อง อันเป็นผลมาจากองค์ประกอบของคณะกรรมการที่มาจากผู้แทนหน่วยงานเป็นหลัก และเพราะขาดความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ และการจัดความสัมพันธ์กับหน่วยงานทั้งทางราชการ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง
ความสับสนในการจัดบทบาทของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่ทำงานกับชาวสวนยางโดยตรง
ขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ตามนโยบาย และมาตรการต่างๆ เพราะขาดการพัฒนาบุคลากรให้ความรู้ความเข้าใจ และปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในการแทรกแซงราคาของรัฐ

แหล่งยางพาราผลิตที่สำคัญในประเทศไทย (ณ ปัจจุบัน)
14 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร , สุราษฏร์ธานี , กระบี่ , นครศรีธรรมราช , นราธิวาส , ปัตตานี , ภูเก็ต , สงขลา , ระนอง , สตูล , พังงา , พัทลุง , ยะลา และ ตรัง
5 จังหวัดภาคตะวันออกได้แก่ ชลบุรี , ฉะเชิงเทรา , ระยอง , จันทบุรี , ตราด
15 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ หนองคาย , อุดรธานี , เลย , ศรีสะเกษ , ร้อยเอ็ด , บุรีรัมย์ , นครพนม , กาฬสินธุ์ , อุบลราชธานี , มุกดาหาร , ยโสธร , สกลนคร , สุรินทร์ , อำนาจเจริญ , และ หนองบัวลำภู

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น