guaoza
ดู Blog ทั้งหมด

เครื่อง สำอางก่อมะเร็ง

เขียนโดย guaoza
How Was The First Whoopee Cushion InventedBench Seat CushionsFoam Chair CushionsGlider Rocking Chair CushionsLeather Car Seat CushionsCushions And Seat Covers For CarsMemory Foam Auto Seat CushionChair CushionClean Patio Furniture CushionsMeditation CushionsOutdoor Patio Chair CushionsAdirondack Chair CushionsWheelchair CushionWheelchair CushionsT Cushion SlipcoversCleaning Foam Rubber CushionsWedge Car Seat CushionBack Support CushionsPapasan CushionChase Lounge CushionsFoot Efx Comfort CushionsBar Stool CushionsDiscount Outdoor CushionsLawn Chair CushionsBoat CushionsFundraising Seat CushionsOutdoor Bistro Seat CushionsWhere Can I Purchase A Cushion For My BenchCushion Covers For Mission Style FurnitureHow To Make Cushions For Patio FurnitureAutomobile Seat CushionsMallin Patio Furniture CushionsSeat Cushions And Waverly FabricsPatio Furniture Chair Back CushionsWindow Seat CushionDiscount Cushions For Outdoor FurnitureAirplane Seat CushionsCouch CushionsPatio Chair Cushions CheapSunbrella Chair CushionsInventor Of The Whoopee CushionPatio Swing CushionsPattern To Cover A Foam CushionPatio Seat CushionsAdirondack Chair CushionHow Do You Make A Whoopee CushionAirhawk Seat CushionDelahey 6-piece Sectional Set With Natural CushionsTruck Seat CushionInstructions On Sewing Sofa CushionsDiscount Patio CushionsPatio Furniture Replacement CushionsWicker Seat CushionsFoam Seat CushionsRound Seat CushionsHow To Make Window Seat CushionsDouble Chaise Lounge Replacement CushionOutdoor Cushions Sunbrella FabricGel Filled Seat CushionMaking Seat CushionsMotorcycle Seat CushionsRound Outdoor Chair CushionsStadium Seat Cushions For BleachersWedge Seat CushionOutdoor Chair CushionCooling Car Seat CushionLloyd Flanders Replacement CushionsResin Chair Cushions And CoversBarstool CushionsFurniture Seat CushionsFloor Cushion MatsResin Wicker CushionsAir CushionReplacement Cushions For Wicker FurnitureDeep Seating CushionsBuy Replacement Cushions For Wicker FurnitureGel Seat CushionsHistory Of The Whoopee CushionIndividual Cushion CoversPatio CushionDiscount Outdoor Furniture CushionsWicker Chair CushionTravel CushionsOutdoor Wicker CushionsOutdoor Seat CushionWrought Iron Furniture CushionsLumbar Support CushionOutdoor Glider CushionsCanopy Swing Replacement CushionsBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlog
เครื่อง สำอางก่อมะเร็ง



กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบสีห้ามให้ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในลิปสติกและเครื่องสำอางทาเปลือกตา(อายชา โดว์) ทั่วประเทศ เตือนคุณผู้หญิงอยากสวยต้องระวัง พร้อมแนะวิธีการเลือกซื้อ เลือกใช้เครื่องสำอางที่ถูกต้องในเบื้องต้น


นาย แพทย์ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า การดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนในปัจจุบันจำ เป็นต้องเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ยาสีฟัน สบู่ แชมพูสระผม ครีมกันแดด และครีมบำรุงผิว ฯลฯ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ต้องเสริมความงามบนใบหน้าด้วยลิปสติก อายชาโดว์ ซึ่งเป็นเครื่องสำอางที่ช่วยในการเพิ่มสีสรร ให้กับใบหน้า ล้วนก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายในการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ หากผู้ผลิตไม่ใส่ใจคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ ด้วยเหตุนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยกองเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย ได้จัดทำโครงการร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ในส่วนภูมิภาค 10 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อสำรวจสีห้ามใช้ในลิปสติกและเครื่องสำอางทาเปลือกตา (อายชาโดว์) ที่มีจำหน่ายในตลาดนัด ร้านค้า ห้องสรรพสินค้า รวมทั้งตลาดในจังหวัดที่มีเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านผลจากการสำรวจและ สุ่มซื้อตัวอย่างลิปสติก และอายชาโดว์ จำนวน 1,116 ตัวอย่าง โดยแยกเป็นลิปสติกจำนวน 693 ตัวอย่าง พบว่า มีตัวอย่างที่ใช้สีห้ามใช้จำนวน 164 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 23.67 แบ่งเป็นตัวอย่างที่ผลิตภายในประเทศซึ่งมีฉลากระบุรายละเอียดครบถ้วน 15 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 4.9 และ ตัวอย่างที่มีฉลากระบุรายละเอียดไม่ครบถ้วนหรือมีฉลากเป็นภาษาต่างประเทศ จำนวน 149 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 38.3 สำหรับ ตัวอย่างอายชาโดว์ จำนวน 423 ตัวอย่าง พบตัวอย่างที่ใช้สีห้ามใช้ จำนวน 70 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 16.55 แบ่งเป็นตัวอย่างที่ผลิต ภายในประเทศซึ่งมีรายละเอียดของฉลากครบถ้วน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 1.3 และตัวอย่างที่มีฉลากเป็นภาษาต่างประเทศ จำนวน 67 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 34.7


จากผลการสำรวจทำให้ทราบว่า มีการใช้สี C1 No.15585 และสี C1 No.45170 ในตัวอย่างลิปสติกและอายชาโดว์ ที่เก็บ จากทุกภาค ส่วนสีห้ามใช้อื่น ๆ มีพบบ้างแต่ไม่ครบทุกพื้นที่ โดยสีห้ามใช้ที่พบเป็นสีที่ไม่อยู่ในบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 20 (พ.ศ.2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 เรื่อง “กำหนดสีที่อนุญาตให้ใช้เป็น ส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง” หรือเป็นสีที่อนุญาตให้ใช้กับเครื่องสำอางที่ใช้ภายนอกที่มิได้สัมผัสกับ เยื่อบุ mucousmembrane ซึ่งรวมถึงบริเวณริมฝีปากและรอบดวงตา อีกทั้งเป็นสีที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (United States and Drug Administration : USFDA) คณะกรรมการของสหภาพยุโรป (Council of the European Communities; Directive 76/768/EEC 2002) และ ASEAN Cosmetic Document 2003 โดยระบุว่าห้ามใช้กับเครื่องสำอางทุกชนิด ซึ่งสีห้าม ใช้เหล่านี้ได้มีการทดสอบแล้วว่าก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง เช่นหนู กระต่าย และสุนัข ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลความ ปลอดภัยของผู้บริโภคได้รับทราบและดำเนินการต่อไปแล้ว


อธิบดี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับประชาชนควรมีความรู้ในการเลือกซื้อ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจจะได้รับจากการ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ และมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้

1. สังเกตฉลากเครื่องสำอางก่อนซื้อทุกครั้ง ซึ่งฉลากต้องมีสภาพเรียบร้อยและมีข้อความเป็นภาษาไทย อ่านได้ชัดเจน โดยระบุชื่อ ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง ชื่อผู้ผลิต แหล่งผลิต วิธีใช้ปริมาณสุทธิ วันเดือนปีที่ผลิต ชื่อวัตถุที่ใช้ เป็นส่วนผสมสำคัญและปริมาณ พร้อมคำเตือน (ถ้ามี) เพื่อป้องกันการซื้อเครื่องสำอางที่มีการลอกเลียนแบบ เพราะ จากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า เครื่องสำอางที่มีฉลากระบุเป็นภาษาไทยครบถ้วนนั้น พบการใช้สีห้ามใช้เป็นส่วนผสมใน การผลิตในอัตราที่น้อยกว่าเครื่องสำอางที่มีฉลากเป็นภาษาต่างประเทศ หรือมีชื่อและลักษณะใกล้เคียงกับลิปสติกและอายชาโดว์ยี่ห้อดังๆ

2. เลือกซื้อเครื่องสำอางที่มีขนาดปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ใช้หมดภายในเวลาสมควร ไม่ควรเลือกเครื่องสำอางที่มีกลิ่นหืนหรือมีสีแปลกไปจากเดิม

3. ก่อนใช้เครื่องสำอาง ควรอ่านฉลากให้ละเอียดและปฏิบัติตามวิธีใช้ คำเตือน รวมทั้งทดสอบการแพ้ ก่อนใช้ หากมีอาการแพ้ให้รีบล้างออก และหยุดใช้เครื่องสำอางนั้นๆ แต่ถ้ามีอาการรุนแรงควรปรึกษาแพทย์

4. สำหรับวิธีการเลือกซื้อลิปสติก ควรเลือกลิปสติกที่มีเนื้อเรียบ นุ่มนวล มีความชุ่มชื้น และความมันพอเหมาะ ไม่มีเหงื่อแตกร่วนหรือแข็งเป็นก่อน ไม่อันตรายต่อผิวหนัง ให้สีติดทนแต่สามารถล้างออกได้ง่ายเมื่อต้องการ และต้องไม่มีกลิ่นหืน

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น