wullopp
ดู Blog ทั้งหมด

ขิงบรรเทาอาการคลื่นไส้ได้อย่างไร?

เขียนโดย wullopp
 

...

คนเอเชียใช้ขิงแก้อาการเมารถ (motion sickness; motion = การเคลื่อนไหว; sick = ป่วย; sickness = ความเจ็บป่วย; motion sickness = เมารถ) และแพ้ท้อง (morning sickness; morning = เวลาเช้า ชื่อนี้ตั้งขึ้นตามความเชื่อว่า ผู้หญิงจะแพ้ท้องตอนเช้า จริงๆ คือ แพ้เวลาอื่นได้คล้ายๆ กัน)

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ขิงใช้ลดอาการคลื่นไส้หลังผ่าตัดได้ และเร็วๆ นี้พบอีกว่า ใช้ลดอาการคลื่นไส้ในคนไข้มะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดได้ด้วย

...

คนไข้มะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดมีอาการคลื่นไส้ประมาณ 70% ส่วนใหญ่จะได้ยาต้านการคลื่นไส้-อาเจียน (anti-nausea; anti- = ต่อต้าน; nausea = คลื่นไส้)

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค (New York U) พบว่า ขิงบรรเทาอาการได้มากจนถึง 40% (up to = มากจนถึงระดับหนึ่ง ไม่เกินกว่านี้)

...

แม้จะยังไม่ทราบกลไกในการออกฤทธิ์ของขิง (ginger) ชัดเจน ทว่า... มีความเป็นไปได้ว่า ขิงจะออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการปล่อยสารเคมีที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน

ศาสตราจารย์เอียน โรวแลนด์ แห่งมหาวิทยาลัยรีดดิง อังกฤษ (Reading U; reading = การอ่าน) ยาเคมีบำบัด เช่น ซิสพลาทิน (cisplatin - ยาที่ทำจากทองคำขาว ค้นพบโดยบังเอิญตอนที่ขั้วไฟฟ้าเคลือบด้วยทองคำขาวทำให้เชื้อโรคแบ่งตัวไม่สำเร็จ) ฯลฯ กระตุ้นให้ทางเดินอาหารหลั่งสารสื่อประสาทที่ชื่อ "ซีโรโทนิน (serotonin)" [ Wikipedia ]

...

สารนี้จะทำปฏิกริยากับตัวรับสัญญาณในสมอง (receptors; reception = การต้อนรับ; receptionist = พนักงานต้อนรับ; receptors = ตัวรับสัญญาณในรูปสารเคมี / คำเหล่านี้มาจากรากศัพท์เดียวกัน)

สารจิงเกอรอล (gingerol) ในขิงมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งสารซีโรโทนิน

...

กลไกอื่นทีเป็นไปได้คือ ขิงมีน้ำย่อยหรือเอนไซม์ 2 กลุ่ม (cyclooxygenase & 5-lipoxygenase) ซึ่งช่วยลดการอักเสบ และทำให้ลำไส้ยุบบวม

คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่า ขิงเป็นราก ทว่า... จริงๆ แล้วขิงเป็น 'rhizome' = ลำต้นใต้ดิน (underground stem)

...

เรื่องนี้ก็คล้ายกับกล้วยที่คนชอบเห็น "ใบ" เป็น "ต้น" จริงๆ แล้วต้นกล้วยอยู่ใต้ดิน (หน่อกล้วย)

โปรดสังเกตว่า พวกต้นไม้ที่มีลำต้นใต้ดิน เช่น ขิง กล้วย ฯลฯ เป็นต้นไม้ประเภท "อายุวัฒนะ" หรือมีสรรพคุณเป็นยาสูง

...

แพทย์แผนตะวันออกได้ใช้ขิงรักษาโรคมากมาย เช่น ข้ออักเสบ เจ็บเข่า ไอเรื้อรัง ฯลฯ...

เรื่องนี้อาจารย์เอลิซาเบต ไวส์เชลบาวม์ (Elizabeth Weischelbaum) แห่งมูลนิธิโภชนาการสหราชอาณาจักร (UK) กล่าวว่า

...

กลไกที่ขิงใช้รักษาอาการปวดข้อได้อาจเป็นผลมาจากฤทธิ์ต้านการอักเสบ

ทุกวันนี้มีการศึกษาว่า ขิงจะมีฤทธิ์ป้องกันมะเร็งบางชนิด ลดความดันเลือด และทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้นได้หรือไม่ ซึ่งผลการวิจัยน่าจะตีพิมพ์ได้ภายในไม่กี่ปีข้างหน้า

...

น้ำมันขิงมีสาร (zingiberene & L-bisabolene) ซึ่งน่าจะมีฤทธิ์ต้านเชื้อโรคได้

การศึกษานี้ทำในคนไข้ 600 ราย ไม่พบอาการข้างเคียง แต่ผู้เชี่ยวชาญก็เตือนว่า ควรปรึกษาหมอที่รักษาดูก่อนใช้เสมอ เนื่องจากสมุนไพรหลายๆ อย่าง เช่น ขิง ฯลฯ อาจทำให้เลือดแข็งตัวได้ช้าลง

... 

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

...

 > Thank MailOnline

ศัพท์ที่น่าสนใจ                                                    

หัวข้อเรื่องวันนี้คือ 'How taking ginger can help ease nausea after chemotherapy' แปลว่า "การกินขิงช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้หลัง(ได้)เคมีบำบัด"

[ คลิกที่เครื่องหมายลำโพง หรือธงชาติ เพื่อฟังเสียงเจ้าของภาษา + พูดตาม ]

...

ที่มา                                                                    

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >   > 25 พฤษภาคม 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น