ยอดสำนวนเด่น! แห่ง"สามก๊ก" (ภาษาอ่านยากนิดนึงนะ) - ยอดสำนวนเด่น! แห่ง"สามก๊ก" (ภาษาอ่านยากนิดนึงนะ) นิยาย ยอดสำนวนเด่น! แห่ง"สามก๊ก" (ภาษาอ่านยากนิดนึงนะ) : Dek-D.com - Writer

    ยอดสำนวนเด่น! แห่ง"สามก๊ก" (ภาษาอ่านยากนิดนึงนะ)

    โดย Net I Dol

    ผู้เข้าชมรวม

    730

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    730

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    4
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  6 พ.ค. 52 / 00:00 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      แผ่นดินเป็นจราจลครั้งนี้ หาผู้ใดคิดทำนุบำรุงไม่
      ถ้าชีวิตข้าพเจ้าตายก็ตายเสียเถอด
      ขอให้ท่านอยู่รอดจะได้คิดการทำนุบำรุงสืบไป
      (ตอนที่5:โจหองช่วยโจโฉตอนตามตีตั๋งโต๊ะ พาโจโฉหนีข้ามแม่น้ำสำเร็จ)




      ภรรยาเหมือนเสื้อผ้า
      ขาดหรือหายไปก็หาไหม่ได้
      พี่น้องเหมือนแขนซ้ายขวา
      ขาดแล้วยากที่จะต่อได้
      (ตอนที่12:เตียวหุยหนีลิโป้ไปหาเล่าปี่แล้วคิดฆ่าตัวตาย)




      อันคำโบราณกล่าวไว้ว่า
      ผู้จะตั้งตัวเป็นใหญ่
      ถึงจะมีบ้านเมืองได้ก็เอาแต่ชัยชนะเท่านั้น
      ผู้ใดเป็นเสี้ยหนามก็ทำอันตรายผู้นั้น
      มิได้ทำอันตรายแก่บุตรภรรยาและราษฎรทั้งปวง
      (ตอนที่17:บิต๊กกล่าวแก่ลิโป้ ตอนที่ลิโป้ตีเมืองเสียวพ่ายของเล่าปี่แตก)




      อันธรรมดาการศึกนั้น
      ถ้าจะว่าสิ่งใดกับแม่ทัพนายกอง
      จงประมาณการให้แน่นอนก่อนจึงว่า
      (ตอนที่23:เตียวเลี้ยวทัดทานกวนอูดูฝีมืองันเหลียงก่อนออกรบ)




      อันธรรมดาพี่น้องกันนั้น
      อุปมาเหมือนหนึ่งแขนซ้ายแขนขวา
      เหตุใดท่านจะมาคิดใจเบาตัดแขนซ้ายขวาเสียนั้นไม่ควร
      (ตอนที่ 29:อองสิ้วเข้าห้ามปรามอ้วนถำมิให้รบด้วยอ้วนซง)




      อันคำโบราณกล่าวไว้ว่า
      ธรรมดาเป็นข้าท้าวบ่าวพระยา
      ให้ตั้งใจจงรักภักดีต่อนาย
      ถ้าเจ้านายนั้นมีความสุขก็พลอยสบายด้วย
      แม้มีทุกข์ร้อนก็พงให้ทรมาณกายลำบากด้วยจึงจะควร
      (ตอนที่ 30: โจโฉชวนซินเบ้งมาอยู่ราชการด้วย)




      อันฮกหลงกับฮองซูสองคนนี้
      ถ้าได้เป็นที่ปรึกษาด้วยแต่ผู้ใดผู้หนึ่ง
      ก็อาจสามารถจะคิดปราบปรามศัตรูแผ่นดินให้สงบได้
      (ตอนที่32: เล่าปี่สนทนากับสุมาเต็กโช)




      ซึ่งจะเอาความคิดแลปัญญาข้าพเจ้าไปเปรียบนั้นไกลนัก
      ตัวข้าพเจ้าอุปมาเหมือนหนึ่งกาจะมาเปรียบพญาหงส์นั้นไม่ควร
      อนึ่งม้าอาชามีกำลังน้อย หรือจะมาเปรียบพญาราชสีห์ได้
      อันคนนี้มีปัญญาลึกซึ้งกว้างขวางนัก
      อาจสามารถที่จะหยั่งรู้การในแผ่นดินแลอากาศเป็นเอกอยู่แต่ผู้เดียว
      ซึ่งจะหาผู้ใดเปรียบเสมอสองนั้นมิได้
      (ตอนที่ 33:ชีซีกล่าวแนะนำขงเบ้งแก่เล่าปี่)




      อันธรรมดาว่าสงคราม
      จะหมายเอาชนะฝ่ายเดียวไม่ได้
      ย่อมแพ้บ้างชนะบ้าง
      (ตอนที่33:โจโฉว่าแก่โจหยินตอนถูกชีซีตีแตก)




      ตัวเรานี้อุปมาเหมือปลาเกลือกอยู่บนดอน
      ซึ่งได้ขงเบ้งมาไว้นี้เหมือนเราเกลือกลงมาถึงน้ำได้
      (ตอนที่35:เล่าปี่ว่าแก่เตียวหุยให้เชื่อใจขงเบ้ง)




      แต่ธรรมดานกทั้งปวงซึ่งตกฟองในรัง
      แม้ว่ารังทำลายแล้วฟองนั้นก็ตกแตก
      มิอาจสามารถจะตั้งอยู่ได้
      (ตอนที่36:บุตรขงหยงว่าแก่คนใช้ เมื่อรู้ว่าบิดาขงหยงถูกโจโฉสั่งฆ่า)




      แลเล่าปี่ปลงธุระไว้ให้แก่เราให้รักษาบุตร๓รรยา
      มาให้เสียหายในท่ามกลางกองทัพฉะนี้ดูมิควรนัก
      จำจะอุตสาห์ตีฝ่าเข้าไปหาครอบครัวเล่าปี่ให้จงได้
      ถึงมาตรว่าจะตายในท่ามกลางสงครามก็ตามเถิด
      แม้มืได้ครอบครัวเล่าปี่ จะเอาหน้าไปไว้แห่งใด
      (ตอนที่37:จูล่งควานหาอาเต๊ากับภรรยาเล่าปี่ตอนทัพโจโฉไล่ตีทัพเล่าปี่)




      แลบุญอาเต๊าที่จะได้เป็นกษัตริย์นั้น
      จึงเผอิญให้จูล่งฆ่านายกองใหญ่เสียได้ถึงสองนาย ทหารเอกห้าสิบคน
      โลหิตติดเกราะแลข้างม้าดุจหนึ่งรดด้วยน้ำครั่ง
      (ตอนที่37:จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า)




      อันตัวข้าพเจ้านี้ถึงตายก็จะเอาโลหิตทาแผ่นดินไว้ให้ปรากฎ จะขอสนองคุณท่าน
      (ตอนที่37:จูล่งพาอาเต๊าไปให้เล่าปี่)




      เล่าปี่ครั้งนี้อุปมาเหมือนปลาขังอยู่ในถัง เสือตกอยู่ในหลุม
      ถ้าแลจะละเสียให้เล็ดลอดหนีไปได้บัดนี้
      ก็เหมือนปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงในมหาสมุทร
      (ตอนที่37:โจโฉว่าแก่ทหารทั้งปวงให้ยกทหารเข้าตีเล่าปี่)




      อันคำโบราณกล่าวไว้ว่า
      ธรรมดาเกิดมาเป็นชาย
      แม้จะแสวงหาเจ้านายซึ่งจะเป็นที่พึ่งนั้น
      ก็ให้พิเคราะห์ดูน้ำใจเจ้านายซึ่งโอบอ้อมอารีเป็นสัตย์เป็นธรรม
      จึงให้เข้าอยู่ด้วย
      แล้วให้ตั้งใจทำราชการโดยสัตย์ซื่อสุจริต
      ให้เห็นฝีมือเป็นบำเหน็จไว้จึงจะได้ความสุขสืบไป
      ประการหนึ่งให้มีน้ำใจทำไมตรีแก่ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเก่าแก่ไว้อย่าให้ขาด
      แม้มาตรว่าจะมีภัยสิ่งใดมาถึงตัว
      ก็จะเผอิญให้มีผู้ช่วยแก้ไขพ้นจากอันตรายได้
      ถ้าจะคิดการใดเล่าก็จะสำเร็จ
      (ตอนที่40:จิวยี่ว่าแก่เจียวก้าน)




      การที่คิดไว้ก็เตรียมไว้พร้อมสรรพ
      ยังขาดอยู่ก็แต่ลมตะวันออก
      (ตอนที่41:ขงเบ้งว่าแก่จิวยี่)




      อันธรรมดาผู้เป็นน่ยทัพนายกองจะทำการสงคราม
      ถ้าแพ้ก็อย่าเพ่อเสียใจ แม้ได้ชัยชนะก็อย่าเพิ่งทะนง
      (ตอนที่45:เตียวเลี้ยวเตือนสติแก่นายทหารทั้งปวง)




      เกิดมาเป็นชายถึงจะตายในท่ามกลางศึกก็อย่าเสียดายชีวิต
      ชอบจะคิดการให้ถึงขนาด
      (ตอนที่45:ไทสูจู้กล่าวแก่เตียวเจียวก่อนตาย)




      เล่าปี่อุปมาเหมือนมังกรอยู่ในหนอง
      แต่กำเนิดมายังไม่พบน้ำลึก
      บัดนี้ได้เมืองเกงจิ๋วมีกำลังมากขึ้น
      เหมือนมังกรออกได้ถึงทะเลใหญ่
      (ตอนที่46:โจโฉรู้ข่าวว่าเล่าปี่ได้เมืองเกงจิ๋วแล้ว)




      อันธรรมดาเกิดเป็นชาย
      เมื่อปราถนาจะเป็นใหญ่
      แม้ได้ทีที่ไหนก็จะทำการที่นั่น
      อันจะคิดรั้งรออยู่กลัวแต่ความนินทาฉะนี้
      นานไปเมื่อหน้าเป็นของคนอื่นแล้ว
      จะคิดทำการต่อภายหลังก็จะมิได้ความเดือดร้อนเสียใจอยู่หรือ
      (ตอนที่ 49: เตียวสงให้เล่าปี่ไปเอาเมืองเสฉวน)




      อันธรรมดานกจะทำรัง
      ก็ย่อมแสวงหาซึ่งพุ่มไม้ชัฎ
      จะได้ทำรังอยู่เป็นสุข
      ถึงลมพายุใหญ่จะพัดหนักมา
      ก็มิได้เป็นอันตราย
      ผู้เป็นลูกน้องจะหานาย
      ให้พิเคราะห์ดูผู้มีน้ำใจโอบอ้อมอารี
      มีสติปัญญานำพาไปได้รอดไม่วอดวาย
      (ตอนที่52: ลิอิ๋นขอเข้าทำการอยู่ด้วยเล่าปี่))




      ด้วยคำโบราณกล่าวไว้ว่า
      ฝ่ายทหารผู้จะเป็นแม่ทัพแม่กอง
      แม้จะยกไปทำสงครามแห่งใด ตำบลใด
      ให้บำรุงทแกล้วทหารแลเครื่องศัตราวุธให้พร้อมเป็นสง่าแล้ว
      จึงจะยกไปเป็นธรรมดา
      ฝ่ายพลเรือนเล่าก็ให้ให้มีน้ำใจโอบอ้อมอารีแก่อาณาประชาราษฎร์ให้อยู่เย็นเป็นสุข
      แล้วทำนุบำรุงบ้านเมืองไว้ให้เป็นสง่า
      แลเนื้อความสองประการนี้ผู้ใดทำได้
      จึงจะคิดอ่านตั้งตัเป็นใหญ่ได้
      (ตอนที่53:โปหั้นกล่าวทัดทานโจโฉมิให้ตีกังตั๋ง)
      ที่มา : น้องชาญ
      เจ้าของบทความ : ไม่ทราบชื่อ

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×