ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ~+...เทพนิยาย...ประวัติศาสตร์...+~

    ลำดับตอนที่ #108 : เสาหินโอเบอลิสค์(ของอียิปต์)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.01K
      1
      2 ต.ค. 50

    เสาหินโอเบอลิสค์




    เสาหินโอเบอลิสค์ มาจากภาษากรีกว่า Obelisk หมายถึง เรียวแหลม โคนเสากว้างใหญ่ ค่อย ๆ เรียวเล็กและสอบลงเมื่อสูงขึ้น เป็นแท่งเหลี่ยม 4 ด้าน ตรงปลายยอดแหลมเหมือนปิรามิด และตรงยอดนี้ห่อหุ้มด้วยโลหะ เช่น ทองคำ เหล็ก ทองเหลือง ทองแดง เป็นต้น เป็นเสาหินที่ทำมาจากหินก้อนเดียวเท่านั้น ทุก ๆ ตารางนิ้วของเสาหินโอเบอลิสค์นี้ จะได้รับการแกะสลักเป็นตัวอักษรเฮียโรกลิฟิค การเจาะหรือแกะสลักจะปรากฏเป็นรอยลึกนูน เด่นชัดกว่าการแกะสลักตามฝาผนังวิหารทั่วไป วัตถุประสงค์ในการสร้างก็เพื่อบูชาเทพเจ้านั่นเอง ส่วนเรื่องราวที่แกะสลักไว้ก็เช่นเดียวกันกับที่อื่น ๆ คือ เรื่องราวของเทพเจ้าและกษัตริย์องค์ผู้สร้าง
    โดยทั่วไป คนอียิปต์โบราณจะสร้างเสาหินยักษ์นี้ไว้เป็นคู่ ๆ และตั้งไว้ตรงทางเข้าประตูวิหาร ที่วิหารแห่งคาร์นัคยังมีครบคู่อยู่ แต่ที่ระตูวิหารแห่งลักซอร์มีเพียงต้นเดียว เพราะเพิ่งจะมีคนแอบขโมยไปเมื่อร้อยว่าปีมานี้เอง
    ตามหลักฐานโบราณคดีบอกว่าเสาหินที่ค้นพบว่า ต้นเก่าแก่ที่สุดในโลก มีอายุได้ราว 4,500 ปี แต่ยังเป้นที่กังขากันอยู่ว่า เป็นต้นเสาที่สร้างโดยชาวอียิปต์โบราณหรือไม่ เพราะมีศิลปะบางอย่างและรอยตัวอักษรที่แกะสลักนั้นมีของชาวบาบิโลน (Babylon) เข้ามาปรากฏด้วย
    เสาหินแกะสลักนี้ นิยมสร้างมากในสมัยกษัตริย์เซติที่ 1 (Seti I) ผู้เป็นบิดา และกษัตริย์รามเสสที่ 2 ผู้ลูกมีการสั่งทำและขนย้ายจากที่ต่าง ๆ ของอาณาจักรเข้ามามากมาย โดยเฉพาะจากทางตอนบนองอียิปต์ คือแถบเมืองอัสวาน ที่เขื่อนอัสวานตั้งอยู่ทุกวันนี้จะมีการสร้างเสาหินโอเบอลิสค์นี้มาก เนื่องจากมีหินแกรนิตสีชมพูที่แข็งแกร่ง ซึ่งที่นี่เป้นแหล่งหินแกรนิตที่ดีที่สุดในอียิปต์ การขนย้ายเกือบทั้งหมดจะนำลงมาที่แคว้นธีบส์ที่เป้นศูนย์กลางการปกครองในยุคนั้น ก็คือแถบเมืองคาร์นัค และลักซอร์นั่นเอง
    กษัตริย์เอง เมื่อสร้างวิหารให้เป็นบ้านของเทพเจ้า ก็พยายามสร้างให้สูงใกล้ฟ้าเข้าไว้ ตามความเชื่อที่จะได้อยู่ใกล้เทพเจ้ามากขึ้น และเมื่อมาพบเสาหินอันสูงใหญ่ที่อัสวานนี้เข้า จึงเห็นว่าแทงหินที่สูงใหญ่มากนี้น่าจะเหมาะในการนำมาถวายบูชาเทพเจ้า การระดมขนย้าย และระดมการสร้างเพิ่มเติมจึงเกิดขึ้นและทุ่มเทเป็นอย่างมาก
    แล้วคนโบราณขนย้ายวัตถุที่มีขนาดใหญ่สูงเป็น 100 ฟุต หนักเป็นร้อยตัน บางต้นหนักถึง 455 ตันก็มี ทำกันได้อย่างไร โดยไม่ให้แตกหักเสียหาย คนอียิปต์โบราณใช้วิธีการขนย้ายโดยเอาท่อนซุงใหญ่ ๆ หลาย ๆ ท่อนมาทำเป็นแพ เอาเสาหินนี้มาวางบนแพนั้นแล้วล่องลงมาตามแม่น้ำไนล์ เมื่อมาถึงฝั่งตรงบริเวณที่ต้องการจะตั้งเสาหืนนั้น ก็จอดแพนั้นไว้ตามตลิ่งก่อน ต่อเมื่อถึงฤดูน้ำหลากท่วม 2 ฝั่งแม่น้ำไนล์ ก็จะปล่อยให้แพบรรทุกเสาหินนั้นลอยขึ้นมาบนผิวน้ำ แล้วถ่อแพนั้นเข้าไปบนฝั่งยังหลุมที่ขุดไว้สำหรับที่จะตั้งต้นเสาหิน โดยให้โคนต้นเสาวางเกยไว้ตรงปากหลุม พอเมื่อน้ำลด โคนของต้นเสานั้นก็ตกลงไปที่ก้นหลุมพร้อมที่จะยกขึ้นตั้งได้พอดี
    เป็นความฉลาดในการขนส่งที่ยอดเยี่ยมมาก !
    ได้มีการสำรวจกันว่า เสาหินใหญ่ที่มีในโลกนี้มีทั้งหมดกี่ต้น นักโบราณคดีบันทึกว่าวัตถุโบราณประเภทนี้ มีนับเป็นร้อยต้น แต่ในประเทศอียิปต์มีเพียง 15 ต้นเท่านั้นเอง และใน 15 ต้นนี้ก็มีเพียง 5 ต้นเท่านั้นที่ยังยืนตั้งอยู่ได้ในสภาพที่สมบูรณ์ ส่วนอีก 10 ต้น ปล่อยทิ้งให้นอนอยู่กับพื้นและอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรม
    แล้ว 5 ต้นที่สมบูรณ์เช่นเดิมนั้นอยู่ที่ไหนบ้าง ?
    ที่วิหารแห่งคาร์นัค 2 ต้น วิหารแห่งลักซอร์ 1 ต้น ที่กรุงไคโร 1 ต้น ส่วนอีก 1 ต้นที่เหลืออยู่ที่เมืองเมดิเนท เอล เฟยัม (Medinet El - Fayyum) ซึ่งอยู่ที่ทางเหนือ ห่างจากกรุงไคโรไปประมาณ 100 กิโลเมตร

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×