ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ~+...เทพนิยาย...ประวัติศาสตร์...+~

    ลำดับตอนที่ #134 : แหล่งอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 520
      1
      2 พ.ย. 50

     แหล่งอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทย

            จากหลักฐานการค้นพบร่องรอยและหลักฐานต่างๆในบริเวณหลายแห่งของประเทศไทย ในระยะเวลาที่ได้ผ่านมาแล้วนั้น ทำให้สามารถสรุปแหล่งอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทยออกเป็นยุคต่างๆโดยคร่าวๆดังนี้

            1. ยุคหินเก่า หลักฐานเครื่องมือทำด้วยหินกะเทาะ ซึ่งดร.แวน ฮิกเกอเรน ( Van  Hockren ) ชางฮอลันดา พบที่ฝั่งแม่น้ำแควน้อย อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ทำให้สันนิษฐานได้ว่า เคยมีมนุษย์ยุคหินเก่าอาศัยอยู่ในบริเวณแถบนั้นมาแล้ว แต่เนื่องจากยังไม่มีผู้ขุดพบโครงกระดูกของมนุษย์ยุคหินเก่าในดินแดนประเทศไทย จึงไม่อาจทราบแน่นอนว่ามนุษย์ในยุคนั้นมีรูปร่างเป็นอย่างไร การสันนิษฐานต้องอาศัยการเทียบเคียงกับรูปร่างหน้าตาของมนุษย์ยุคหินเก่าที่มีผู้ขุดพบในประเทศจีน และที่เกาะชวา ในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งนักโบราณคดี ได้ตั้งชื่อว่า มนุษย์ปักกิ่ง และมนุษย์ชวา ตามลำดับ ถ้าหากถือเอารูปร่างหน้าตาของมนุษย์ตามนั้น มนุษย์ยุคหินเก่าในประเทศไทยในระยะแรกคงเริ่มต้นและมีลักษณะคล้ายกับมนุษย์วานร  ต่อมาจึงค่อยๆมีวิวัฒนาการไปตามลำดับจนเป็นมนุษย์ในยุคปัจจุบัน สำหรับความเป็นอยู่นั้น มนุษย์ยุคหินเก่า ชอบอาศัยอยู่ตามถ้ำ และยังชีพอยู่ด้วยการล่าสัตว์ เก็บผลหมากรากไม้เป็นอาหารประทังชีวิต

            2. ยุคหินกลาง  คณะนักวิชาการไทย - เดนมาร์ก ขุดค้นพบโครงกระดูกของมนุษย์ยุคหินกลางด้ที่ ถ้ำพระ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ.2505 นอกจากนี้ยังพบเครื่องมือหินและเครื่องปั้นดินเผาอีกหลายแห่งในจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี แม่ฮ่องสอน และเชียงราย ทำให้สามารถทราบเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์ยุคหินกลางในประเทศไทยได้มากขึ้น ศาสตราจารย์ชิน  อยู่ดี นักโบราณคดีที่มีชื่อเลียงของไทยคนหนึ่ง ได้ให้ข้อสันนิษฐานว่า จากการสำรวจค้นคว้าที่ตีพิมพ์ในหนังสือ "สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย" ว่า มนุษย์ในยุคหินกลางมีจำนวนมากกว่ามนุษย์ยุคหินเก่า และยังมีเครื่องมือเครื่องใช้ดีกว่ายุคหินเก่า กล่าวคือ นอกจากมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินแล้วยังรู่จักนำเปลือกหอยมาใช้ รู้จักทำภาชนะเครื่องปั้นดินเผาเป็นหม้อ จาน ชาม หม้อน้ำ เป็นต้น เศษเครื่องปั้นดินเผาที่พบที่ถ้ำผี อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปรากฏว่ามีลักษณะผิวเรียบเป็นมัน นับเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

            3. ยุคหินใหม่ มีการสำรวจพบโครงกระดูกมนุษย์และเครื่องมือเครื่องใช้ในยุคหินในที่ต่างๆ หลายจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี นับเป็นหลักฐานที่สำคัญมาก โครงกระดูกที่พบแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ในยุคนี้มีความสูงอยู่ประมาณ 150 เซนติเมตร - 167 เซนติเมตร ส่วนเครื่องมือที่มำเคึรื่องมือด้วยกระดูก เป็นปลายหอก ลูกศร และเข็ม เครื่องมือที่มำด้วยดินเผา เป็นหม้อ จาน กระสุนกลมดินเผา เป็นต้นจากหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่พบ ทำให้สันนิษฐานได้ว่ามนุษย์ยุคหินใหม่กระจายอยู่หลายแห่งมนดินแดนประเทศไทย บางพวกยังคงอาศัยอยู่ในถ้ำ แต่บางพวกก็ออกมาอาศัยอยู่นอกถ้ำรู้จักทำเครื่องประดับตกแต่งร่างกายเช่น เอาเปลือหอยมาทำลูกปัด กำไลหิน กำไลกระดุก เป็นต้น เมื่อมีคนตายญาติจะนำเอาศพไปฝังในหลุมสี่เหลี่ยมผืนผ้าไ  ไม่ใส่โลง จัดศพให้นอนอยู่ในท่านอนหงาย แขนทั้งสองวางแนบกับร่าง จัดการขุดพบโครงกระดูกหลายๆโครงพบว่ามีการฝังศพโดยหันศีรษะไปทางทิศต่างๆแต่ไม่พบโครงกระดูกใดหันศีรษะไปทางทิศตะวันตก โดยวางเครื่องปั้นดินเผาไว้เหนือศีรษะที่ปลายเท้า และที่เหนือเข่า ใส่สิ่งของเครื่องใช้เครื่องประดับลงไปในหลุมด้ว

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×