ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ~+...เทพนิยาย...ประวัติศาสตร์...+~

    ลำดับตอนที่ #49 : เซอร์ วินตันส์ เชอร์ชิวส์ รัฐบุรุษแห่งอังกฤษ

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.92K
      0
      23 ก.ย. 50

    Sir Winston Churchill

    "คนอังกฤษเป็นผู้มีจิตใจห้าวหาญดุจดังราชสีห์อยู่แล้ว
    ข้าพเจ้าเป็นเพียงแต่ผู้ได้รับเกียรติเป็นตัวแทนในการส่งเสียงคำรามเท่านั้น"

    "ข้าพเจ้าไม่มีสิ่งใดจะมอบ นอกจากโลหิต แรงงาน น้ำตา และหยาดเหงื่อ"

    สุนทรพจน์และโวหารข้างต้นทั้งสองบทนี้เป็นของ เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล รัฐบุรุษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของศตวรรษที่ 20 เขาได้นำประเทศอังกฤษสู่ชัยชนะในฐานะนายกรัฐมนตรีอังกฤษสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากความสามารถในด้านการบริหารและการทหารแล้ว เขายังเป็นนักข่าวสงคราม นักเขียนและนักประวัติศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณคดี

    วินสตัน เชอร์ชิล ถือกำเนิดมาในตระกูลขุนนางชาวอังกฤษ บิดา คือ ลอร์ดแรนดอล์ฟ เชอร์ชิล นักการเมืองผู้มีชื่อเสียง และเลดี้เจน ชาวอเมริกัน เป็นบุตรคนโตในจำนวนบุตรชาย 2 คน วินสตัน เชอร์ชิล เกิดในประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ.1874 เขาใช้ชีวิตในวัยเด็กในประเทศไอร์แลนด์ และกลับมาตั้งถิ่นฐานในอังกฤษเมื่อมีอายุได้ 7 ปี เชอร์ชิลได้รับการศึกษาขั้นต้นในโรงเรียนกินนอนเซนต์เจมส์ เพื่อเตรียมตัวเข้าเรียนในโรงเรียนแฮโรว์ที่มีชื่อเสียงต่อไปด้วยผลการเรียนที่ไม่ค่อยดีนัก แต่มีความสามารถในการใช้ภาษาเป็นอย่างยิ่ง และมีความสนใจเกี่ยวกับการทหารเป็นพิเศษ จนได้เข้าเรียนในโรงเรียนนายทหารแซนเฮิร์สหลังจากที่ต้องใช้ความพยายามในการสอบเข้าถึง 3 ครั้ง

    ในระหว่างที่วินสตัน เชอร์ชิล เป็นนักเรียนนายร้อย บิดาของเขาประสบมรสุมทางการเมือง ต้องลาออกจากตำแหน่ง และถึงแก่กรรมในเวลาต่อมาในขณะที่มีอายุเพียง 43 ปี ในเวลานั้นวินสตัน เชอร์ชิลมีอายุเพียง 20 ปี

    เมื่อสำเร็จการศึกษา ก่อนจะถูกส่งไปประจำกองทหารม้าฮุสซาในประเทศอินเดีย วินสตัน เชอร์ชิลได้มีโอกาสลิ้มลองรสของการมีส่วนร่วมในสงครามเป็นครั้งแรก เมื่อเขาได้รับการว่าจ้างจากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งของอังกฤษให้เป็นผู้สื่อข่าวสงครามจากสนามรบ ในช่วงอายุ 20 ปี เขาได้เดินทางไปแอฟริกาใต้เพื่อเขียนเรื่องสงครามโบเออร์ (Boer War) เขาถูกจับแต่หนีมาได้ และกลับมายังประเทศอังกฤษในฐานะวีรบุรุษแห่งชาติ และเมื่ออายุได้เพียง 26 ปี เขาก็ได้เดินตามรอยเท้าบิดาโดยได้รับเลือกเข้าไปในรัฐสภาอังกฤษ ในตำแหน่งผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคอนุรักษ์นิยม นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นในชีวิตบนเส้นทางการเมืองอันยาวนานของเขา

    แต่ทว่า วินสตัน เชอร์ชิล สังกัดอยู่กับพรรคอนุรักษ์นิยมเพียงไม่กี่ปี เขาก็ได้ย้ายตัวเองจากพรรคอนุรักษ์นิยมไปสังกัดพรรคเสรีนิยม ซึ่งเป็นการกระทำที่กล้าบ้าบิ่นเป็นอย่างยิ่ง แต่การย้ายพรรคในครั้งนี้เป็นผลดีต่อตัวเขาเอง เพราะการเลือกตั้งใน 2 ปีต่อมา พรรคอนุรักษ์นิยมซึ่งกำลังสูญเสียคะแนนนิยมต้องพ่ายแพ้การเลือกตั้งอย่างยับเยิน ส่วนพรรคเสรีนิยมกลับได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น และเชอร์ชิลก็ได้รับเลือกตั้งเข้ามาในสภาผู้แทนราษฎรในฐานะส.ส.สังกัดพรรคเสรีนิยม และได้รับการแต่งตั้งให้เข้าร่วมในคณะรับมนตรีเป็นครั้งแรกในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการต่างประเทศ ดูแลกิจการอาณานิคมในขณะที่มีอายุเพียง 31 ปี และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกิจการทหารเรือในปี ค.ศ.1911

    เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดระเบิดขึ้น ในทวีปยุโรปได้แบ่งพรรคแบ่งพวกออกเป็นสองฝ่ายประจันหน้ากันอยู่ โดยอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย รวมตัวกันเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร ส่วนเยอรมัน ออสเตรีย และอิตาลีอยู่อีกฝ่ายหนึ่ง เชอร์ชิลซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทหารเรือ ได้สนับสนุนแผนการให้มีการยกพลขึ้นบก ณ ช่องแคบดาร์ดะแนล ในประเทศตุรกี ซึ่งเป็นพันธมิตรกับเยอรมัน เพื่อเป็นการตัดกำลังเยอรมันทางแนวรบตะวันออก แผนการดังกล่าวมีผู้ไม่เห็นด้วยหลายคน แต่เชอร์ชิลใช้วาทศิลป์โน้มน้าวจนดำเนินการไปได้ แต่การยกพลขึ้นบกครั้งนี้ประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ทำให้เชอร์ชิลถูกปลดออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี

    และเมื่อสงครามสงบลงในปี ค.ศ.1918 เชอร์ชิลก็หันกลับมาสู่วงการเมืองอีก เขาวนเวียนอยู่ในวงการเมืองอังกฤษ รับตำแหน่งต่างๆ ที่สำคัญอาทิเช่น รัฐมนตรีว่าการคลัง ที่บิดาของเขาเคยดำรงตำแหน่งมาก่อน และตำแหน่งรับมนตรีว่าการทหารเรือตำแหน่งเดิมของเขาเมื่อ 25 ปีที่แล้ว

    เชอร์ชิลดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อปี ค.ศ.1940 ต่อจากนายกรัฐมนตรีเนวิล แชมเบอร์เลน หลังจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่นาน นับเป็นช่วงเวลาที่อันตราย อังกฤษยืนอยู่อย่างโดดเดี่ยว ในการต่อต้านเยอรมัน ความกล้าหาญของเชอร์ชิลและวิญญาณของการต่อสู้ รวมทั้งโวหารของเขาที่ปลุกให้คนอังกฤษลุกขึ้นสู้ และมีกำลังใจต่อสู้กับเยอรมัน ทั้งๆ ที่ขณะนั้น ยุโรปทั้งทวีปได้ตกอยู่ใต้อำนาจของกองทัพนาซีแล้ว เชอร์ชิลรู้ดีว่าการสงครามที่แท้จริงแล้ว แพ้ หรือ ชนะ ขึ้นอยู่ที่ใจของผู้ต่อสู้เป็นอันดับแรก สัญลักษณ์ชูสองนิ้วอันเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะ (V = victory) เชอร์ชิลก็เป็นผู้นำมาใช้เป็นคนแรก เพื่อเตือนใจให้คนอังกฤษอดทนต่อไปจนกว่าจะได้ชัยชนะ

    ในที่สุดมหาสงครามในยุโรปก็ขยายตัวเป็นสงครามโลก เมื่อญี่ปุ่นพันธมิตรของเยอรมันส่งฝูงบินเข้าโจมตีอ่าวเพิร์ล ที่ฮาวาย เพื่อทำลายกองทัพเรืออเมริกัน ประจำมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ด้วยกำลังพลและกำลังทรัพยากรในการทำสงครามที่มหาศาลของอเมริกา ได้พลิกโฉมหน้าของสงครามให้ฝ่ายสัมพันธมิตรนำโดยอเมริกาภายใต้การนำของ ประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลส์ อังกฤษ ภายใต้การนำของ วินสตัน เชอร์ชิล และรัสเซียภายใต้การนำของ โจเซฟ สตาลิน ได้รับชัยชนะในสงคราม

    แต่วีรบุรุษแห่งสงคราม วินสตัน เชอร์ชิล กลับพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งทั่วไปภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง เขาจึงหลุดจากตำแหน่งนายกรับมนตรี ทำหน้าที่ผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภา และทุ่มเทเวลาให้กับการเขียนหนังสือเป็นส่วนใหญ่ จนได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณคดีในปี ค.ศ.1953

    และเมื่อเชอร์ชิลมีอายุได้ 77 ปี เขาก็ได้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ในปี ค.ศ.1951 และได้รับพระราชทานตำแหน่ง "เซอร์" จากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 และขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อมีอายุได้ 80 ปี

    เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล ยังคงเข้าร่วมการประชุมสภาฯ ต่อมาอีกหลายปี จนสภาพร่างกายทนไม่ไหวอีกต่อไปจึงได้หยุดพัก ในที่สุดก็ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ.1965 ขณะมีอายุได้ 91 ปี

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×