ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ~+...เทพนิยาย...ประวัติศาสตร์...+~

    ลำดับตอนที่ #93 : ประวัติความเป็นมาเทวีและเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 220
      0
      2 ต.ค. 50

    ประวัติความเป็นมาเทวีและเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์



    แม่น้ำไนล์เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญที่หล่อเลี้ยงแผ่นดินไอยคุปต์มาตั้งแต่โบราณ
    	แม่น้ำไนล์  และผืนแผ่นดินสองฟากฝั้งได้กลายเป็นแหล่งที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์
    	แม่น้ำไนล์ซึ่งมีความยาวกว่า  400  ไมล์  และดินแดนอุดมสมบูรณ์ตลอดแนวสองฟากฝั่งได้กลายเป็นแหล่งกำเนิชุมชนต่าง ๆ และค่อย ๆ
     กระจัดกระจายออกไปสู่ดินแดนอื่นมากขึ้น  โดยเฉพาะในเขตบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมได้มีชุมชนต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็วสาเหตุ
    สำคัญก็คือ  เนื่องจากบริเวณปากน้ำได้มีแม่น้ำแตกแยกออกเป็นหลายสาขา  ทำให้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เป็นจำนวนมาก  ต่อมาชุมชนชาวไอยคุปต์แต่ละ
    แห่งต่างก็มีแนวความคิดเกี่ยวกับความเชื่อเป็นของตนเองและได้มีเทพเจ้าของตนเอง  ทั้งที่ได้รับอิทธเพลจากความเชื่อของชนเผ่าต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้
    เคียงโดยรอบ  และจากความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าของบรรพบุรุษชาวไอยคุปต์โบราณในดินแดนต่าง ๆ ของทวีปแอฟริกา  จากนเผ่าอื่นในแถบเอเชีย
    ตะวันตกหรือบริเวณดินแดนต่าง ๆ รอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
    	นอกจากนั้นความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ ยังได้รับอิทธิพลจากการติดต่อทางการค้าขายและทางการทหารกับชนเผ่าอื่น ๆ ด้วย  แต่ละชุมชน
    จะมีเทพเจ้าเป็นที่เคารพสักการะเป็นของตนเอง  และหากเผ่าใดรบชนะเผ่าตรงข้ามก็ถือว่าเป็นชัยชนะเหนือเทพเจ้าของเผ่านั้นด้วย  จึงกล่าวได้ว่า
    เหตุผลจากการทำสงคราม  หรือเหตุผลทางการเมืองเป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อของแต่ละชุมชน
    	นักเทววิทยาบางคนได้กล่าวว่าเหตุกำเนิดเทพต่าง ๆ ของชาวไอยคุปต์โบราณนั้นน่าจะเริ่มมาจากการตั้งหลักแหล่งทางเกษตรกรรม  และ
    การตั้งถิ่นฐานในภูมิอากาศต่าง ๆ กล่าวได้ว่าพื้นฐานในการดำรงชีวิตด้วยการกสิกรรมตามแหล่งที่อุดมสมบูรณ์นั้นมีอิทธิพลต่อชุมชนหรือสังคมเป็น
    อย่างมาก  พิธีกรรมต่าง ๆ รวมทั้งความเชื่อในเรื่องลัทธิ  ศาสนา  หรือเทพเจ้าล้วนแต่ผูกพันกับการเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารตลอดจนชีวิตความ
    เป็นอยู่ของชุมชนนับตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์เป็นต้นมา
    	ชาวไอยคุปต์โบราณนับถือเทพเจ้าตามความเชื่อในเรื่องธรรมชาติการกำเนิดโลก  และสิ่งต่าง ๆ ที่เชื่อว่าต้องมีเกิดและมีดับเป็นสำคัญ  
    ดังจะสังเกตได้จากตำนานไอยคุปต์ที่เล่าสืบทอดกันมานานนับพัน ๆ ปี  ตำนานเกี่ยวกับเทพเจ้าในยุคแรก  มักจะกล่าวถึงเทพตามลักษณะของ
    ธรรมชาติ  เช่น  แผ่นดิน  แผ่นน้ำ  ฝน  และท้องฟ้า  โดยได้ใช้สัตว์เป็นสัญลักษณ์ของเทพต่าง ๆ แทน  เช่น  เหยี่ยว  เป็นสัญลีกษณ์ของเทพฮอรัส  
    เนื่องจามถือว่ามันสามารถบินได้สูงมาก  ชนเผ่าไอยคุปต์ที่นับถือเทพเจ้าฮอรัสในช่วงแรก ๆ ก็คือชนเผ่าไอยคุปต์ที่มีเชื้อสายบรรพบุรุษซึ่งอพยพมา
    จากลิเบีย  และดินแดนส่วนใหญ่ทางไอยคุปต์ตอนบน  และไอยคุปต์ต่ำ
    	สรุปได้ว่าชาวไอยคุปต์โบราณนับถือเทพเจ้าและเทวีเป็นสจำนวนมาก  เทพเจ้าส่วนหนึ่งชนรุ่นหลังรู้จักกันดี  แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ค่อยมีใคร
    รู้จักเนื่องจากขาดหลักฐานอ้างอิงสนับสนุน  เทพเจ้าที่เรารู้จักส่วนหนึ่งมักจะมีพระเศียรเป็นหัวสัตว์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นต้นกำเนิดที่เด่นชัด
    และอีกส่วนหนึ่งมีพระวรกายเช่นเดียวกับมนุษย์
    	เทพเจ้าหรือเทวีของไอยคุปต์จะมีหน้าที่หรือบทบาทในพีธีกรรมต่าง ๆ ของอาณาจักร
    	ความเชื่อและศาสนาของชาวไอยคุปต์มักจะเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาต่อมาหลายปี  จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งไม่มีที่สิ้นสุด
    	เดิมที่ในยุคก่อนราชวงศ์ฟาโรห์  ชาวไอยคุปต์แต่ละเผ่าจะมีเทพเจ้าหรือเทวีประจำเผ่าของตน  ครั้นเวลาผ่านไปต่างได้มีความสัมพันธ์ซึ่ง
    กันและกัน  ได้รับแนวความคิด  ความเชื่อใหม่ ๆ เกี่ยวกับการนับถือเทพเจ้าหรือเทวีในลักษณะเลียนแบบ  หรือลัทธิเอาอย่างตามเผ่าทีมีความเจริญรุ่งเรืองกว่า
    	ผู้นำของแต่ละเผ่ามักจะยกย่องเทพเจ้าซึ่งเป็นเทพท้องถิ่นของตนว่าเป็นเทพเจ้าที่สำคัญเกี่ยวกับพิธีกรรมต่าง ๆทางศาสนา  ด้วยเหตุนี้
    จึงมีเทพเจ้าหรือเทวีเป็นที่รู้จักกันทั่วอาณาจักรไอยคุปต์
    	พิธีกรรมทางศาสนาที่ยิ่งใหญ่มักมีศูนย์กลางตามเมืองหลัก  เช่น  มี่เมืองทีเบส  เมืองเฮอร์โมโปลิส  เมืองเฮลิโอโปลิส  และเมืองเมมฟิส  
    ซึ่งบรรดานักบวชแต่ละวิหารในเมืองต่าง ๆ นี้มักเรียกร้องความสนใจจากมหาชนด้วยการประกาศเผยแพร่เกียรติคุณเทพเจ้าของตนเอง
    	บางครั้งอาจมีการกล่าวอ้างว่าเทพเจ้าของตนเป็นพระบิดาของเทพเจ้าอีกองค์หนึ่งหรือเทพเจ้าองค์อื่น ๆ หรือบางทีอาจประกาศว่า  แท้
    จริงแล้วเทพเจ้าต่าง ๆ นั้นเป็นองค์เดียวกัน  แต่ได้รับการเคารพบูชาในพระนามต่าง ๆ กันเช่น  คำว่า  "รา"  ของเทพเจ้ารา  มีความสัมพันธ์กับเทพ
    เจ้าอะตุม  ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นเทพเจ้าอะตุม-รา
    	เรี่องราวเกี่ยวกับศาสนาของชาวไอยคุปต์โบราณบางตอนก่อให้เกิดความสับสน  และมีกลุ่มคัดค้านโต้แย้งหลายกลุ่ม  ดังตัวอย่างที่น่า
    สนใจต่อไปนี้
    	ตัวอย่างแรก  ศูนย์กลางพิธีกรรมแต่ละแห่งอวดอ้างสรรพคุณว่าเทพเจ้าที่เป็นประธานของตนรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวในการให้
    กำเนิดสุริยจักรวาลและโลก  โดยได้สร้างตำนามประกอบเป็นจำนวนมาก
    	ตัวอย่างที่สอง  นักบวชประจำวิหารในเมืองต่าง ๆ ทั้วทั้งอาณาจักรไอยคุปต์ได้ประกาศว่า  พระเศียรของเทพโอซิริสที่ถูกตัดนั้นฝังอยู่
    ในวิหารของตน
    	จากเรื่องราวดังตัวอย่างทั้งสองเรื่องนี้  ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดมาก  แต่ชาวไอยคุปต์ส่วนใหญ่ต่างก็ยอมรับโดยปราศจาก
    ความขัดแย้งวุ่นวายใด ๆ ทั้งสิ้น
    	ส่วนฟาโรห์ก็รู้สึกพอพระราชหฤทัยที่ตรัสเรียกพระองค์เองว่าเป็นโอรสของเทพเจ้ารา,เทพเจ้าอะตุม  หรือเทพเจ้าฮอรัส
    	บทบาทของเทพเจ้าหลายองค์  มักจะเปลี่ยนไปตามความเชื่อและพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ชาวไอยคุปต์ได้พัฒนาให้มีความสำคัญ  มีความ
    ศักดิ์สิทธิ์เพิ่มขึ้นมากตามที่ได้ผูกเรื่องเป็นนิทาน  เป็นตำนานเพิ่มเป็นจำนวนมากตัวอย่างเช่น  เทพเจ้าโอซิริส  เดิมถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งการ
    เกษตรกรรม  ช่วงที่ประสูติและสวรรคต  มีความสัมพันธ์กับการหว่านพืช  และการเก็บเกี่ยวผลได้เปลี่ยนเป็นถือว่า  เป้นเทพเจ้าของคนตายโดยมีเทพ
    เจ้าอะนูบิสซึ่งเป็นโอรสและผู้ช่วย
    	เทพเจ้าบางส่วนถือกำเนิดเป็นเทพเจ้าประจำนครอย่างเป็นทางการและเทพเจ้าที่เหลือเป็นเทพเจ้าแห่งปวงชน  ลักษณะเช่นนี้ทำให้สังคม
    ชาวไอยคุปต์แบ่งระดับศาสนาออกเป็น  2  ระดับ  คือจัดพิธีกรรมที่เป็นทางการและพิธีกรรมพื้นบ้านทั่วไป  อาจกล่าวได้ว่าเป็นการแบ่งระดับชั้นของ
    เทพเจ้า  และศาสนพิธีออกเป็นสองระดับ  คือระดับชั้นสูงและระดับชั้นต่ำ
    	ตามวิหารต่าง ๆ ต้องสร้างบริเวณที่ฟาโรห์กระทำพิธีบวงสรวงเทพเจ้าไว้โดยเฉพาะ  แม้ว่าตามความเชื่อแล้วถือว่าพระองค์ก็เป็นเทพเจ้า
    เช่นเดียวกันก็ตาม  ส่วนนักบวชประจำวิหารก็จะปฎิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนพระองค์โดยปฎิบัติตามศาสนพิธีตลอดทั้งปี  รวมทั้งกระทำพิธีกรรมสำคัญที่
    แสดงตามตำนานเทพเจ้าประจำวิหาร  เช่น  นักบวชประจำวิหารเทพเจ้ารา  จะมีหน้าที่สำคัญในแต่ละวัน 3  ประการคือ
    	ในช่วงรุ่งอรุณจะต้องทำพิธีสรรเสริญการกำเนิดของดวงอาทิตย์ในช่วงเที่ยงวันทำพิธีเสริมพลังเข้มแข็งของตนเองและใตช่วงเย็นก็
    ทำพิธีอาลัยต่อความตายของตนที่จะมาถึง
    	ในงานเฉลิมฉลองเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ของวิหารจะมีขบวนบรรดานักบวชเดินไปรอบ ๆ ทุ่งหญ้าเพื่อถือว่าเป็นการมอบความอุดมสมบูรณ์
    แก่ผืนดินอันกว้างใหญ่  หรือเป็นขบวนแห่ไปยังวิหารของเทพเจ้าอีกองค์หนึ่ง
    	ประชาชนชาวไอยคุปต์ธรรมดาสามัญ  แม้ว่าจะได้รับอนุญาติเข้าร่วมขบวนแห่  หรือเข้าไปยังบริเวณรอบนอกของวิหารก็ตาม จะไม่ได้รับ
    อนุญาตให้เข้าไปภายในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์โดยเด็ดขาด  แต่ถึงกระนั้นพวกเขาก็ทำที่บูชาส่วนตนขึ้นมาแทน
    	ด้วยเหตุดังกล่าว  จะเห็นได้ว่าเทพเจ้าหรือเทวีของอาณาจักรไอยคุปต์มีบทบาทต่อชีวิตของปวงชน  ทั้งในด้านชีวิตพื้นฐาน  และด้าน
    ความเป็นความตาย  นับตั้วแต่ฟาโรห์ลงมาจนถึงชาวไร่ชาวนาต่างก็ถือว่ามีเทพเจ้าคอยปกปักรักษาและอำนวยผลต่อชีวิตให้เช่นเดียวกัน
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×