ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รีวิว-แนะนำหนังแนวยูริ (yuri)

    ลำดับตอนที่ #12 : Saving Face สิ่งที่ควรคือความถูกต้องหรือ?

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.63K
      2
      4 ส.ค. 52

    คอลัมน์ เล่าเรื่องหนัง
    โดย ติสตู

    Saving Face สิ่งที่ควรคือความถูกต้องหรือ?

    "อลิซ วู" ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Saving Face มีแนวคิดที่ว่า เมื่อโลกนี้ถูกจัดระบบให้มีสิ่งที่เรียกว่า "ถูก" และ "ผิด" นำมาสู่การแบ่งฟากความดี และความชั่วร้าย เป็นเช่นนี้จึงเชื่อว่าคนเราส่วนมากมักคิดว่าตัวเองได้เลือกอยู่ในฟากความถูกต้องแล้ว


    จากการวัดเหตุผลที่ว่า การตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ เราเลือกทำสิ่งที่ควรแล้ว โดยแน่ใจว่า "สิ่งที่ควร" ก็คือความ "ถูกต้อง" อลิซ วู สงสัยว่า เป็นเช่นนั้นหรือ?
    สิ่งที่ควรกับความถูกต้องคือคำตอบเดียวกันเช่นนั้นหรือ? นั่นจึงเป็นที่มาของแนวคิดที่เธอเรียกมันชัดๆว่า "ความเชื่อที่ว่าตัวเองทำถูก" ของคนเราจำนวนมากนั้น บางครั้งอาจเกิดความผิดพลาดได้โดยไม่รู้ตัว

    แนวคิดนี้เธอได้ถ่ายทอดผ่านตัวละครต่างๆ ใน Saving Face ภาพยนตร์จีนเล่าเรื่องราวของชาวจีนที่มีถิ่นฐานอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยหนังปูเรื่องให้เรารู้จักชุมชนชาวจีนกลุ่มหนึ่งในนิวยอร์กที่มีความสัมพันธ์อย่างเหนียวแน่น และยังนิยมธรรมเนียมจีนปฏิบัติอย่างแข็งแกร่ง แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมสังคมตะวันตกก็ตาม อาทิ การจับคู่ให้ลูกหลาน การรักษาหน้าตาวงศ์ตระกูลอย่างเข้มแข็ง การดำรงสถาบันครอบครัวอย่างมั่นคง (แม้ความจริงชีวิตคู่จะร่อแร่ไม่มีความสุขก็ตามที)


    ในกลุ่มชาวจีนในนิวยอร์กมี "อาจารย์" ผู้อาวุโสที่ใครๆ ต่างก็ให้ความเคารพนับถือเป็นเสมือนหัวหน้าชุมชน ผลที่ตามมาคือครอบครัวของอาจารย์ถูกยกย่องด้วยเกียรติ และความเคารพที่ถูกหยิบยื่นให้ "อาจารย์" ในฐานะหัวหน้าครอบครัวถูกคาดหวัง และต้องรักษาเกียรตินั้นไว้โดยปริยาย นั่นทำให้ครอบครัวของอาจารย์ถือธรรมเนียมการจับคู่แต่งงานอย่างเคร่งครัด โดยเป็นความเชื่อที่ว่าตัวเองทำถูกตั้งแต่การจับคู่แต่งงานให้ลูกสาว กระทั่งตัวลูกสาวก็รับแนวคิดนี้ และกำลังกระทำสิ่งเดียวกันนี้ส่งต่อมายังรุ่นหลานที่กลายเป็น Chinese-American
    และมองเรื่องการถูกจับคู่เป็นการบีบบังคับ แต่แล้วหนังก็หักมุมเมื่อทั้งลูกสาวและหลานสาวของอาจารย์ต่างก็แสดงออกในเชิงขัดกับธรรมเนียมดั้งเดิม
    (หรือพูดง่ายๆ ขัดกับความเชื่อหมู่มากของคนในสังคมที่คิดว่าสิ่งนั้นดี) โดยลูกสาวอาจารย์ที่กลายเป็นแม่หม้ายเกิดตั้งท้องขึ้นมาอย่างปริศนา และปกปิดว่าใครคือพ่อของเด็ก ส่วนฟากหลานสาวก็เป็นรักร่วมเพศที่ต้องหลบๆ ซ่อนๆ
    แน่นอนว่าเรื่องทำนองนี้ย่อมกระทบกระเทือนต่อการรักษาเกียรติ และภาพลักษณ์ของอาจารย์ในหมู่สังคมคนจีนในนิวยอร์กอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

    วิธีการแก้ปัญหาของอาจารย์คือการยังคงเดินหน้าต่อไปในการจับคู่ให้ลูกสาวได้แต่งงาน (รอบสอง) กับผู้ชายที่หาไว้ให้ เพื่อกู้หน้าตัวเอง หนังแสดงให้เห็นผลลัพธ์ว่า บางครั้งการเลือกสิ่งที่เหมาะสม หรือสมควรแล้วให้กับผู้อื่นก็ไม่ใช่เรื่องถูกต้องเสียทีเดียว บางครั้งมันกลายเป็นความผิดพลาดได้ 

    เช่นอาจารย์ที่พยายามจะทำผิดซ้ำสองกับการจับคู่ให้ลูกสาวตัวเอง ขณะที่ตัวละครลูกสาวที่ถูกบังคับจับคู่ให้แต่งงาน ก็ยอมที่จะเป็นฝ่ายกระทำตาม โดยเชื่อว่าสิ่งที่พ่อเลือกให้นั้นคือสิ่งที่ถูกต้อง ทั้งที่มันทำให้ตลอดชีวิตคู่เธอไม่เคยรู้จักความรักที่แท้จริง

    "อลิซ วู" ตั้งคำถาม ผ่านภาพยนตร์เรื่องนี้ถึงประเด็นการจับคู่จากผู้ใหญ่ในชุมชนชาวจีนที่อยู่ในสังคมตะวันตก เป็นเรื่องที่ไม่ Stereotype กับสังคมตะวันตก และเมื่อนำมาใช้ในปัจจุบันยังเป็นความถอยหลังสำหรับสังคมตะวันออกสมัยใหม่อีกด้วย (แม้ทุกวันนี้สังคมตะวันตกจะมีอะไรคล้ายๆ กันอยู่บ้าง อาทิ
    การจับคู่ออนไลน์ที่คนกลางเปลี่ยนจากผู้ใหญ่มาให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นแม่สื่อแทน)

    Saving Face เป็นหนังคอมเมดี้ที่ได้รับเสียงชื่นชมทางบวกกับการนำประเด็นเล็กๆ มาให้ขบคิด และตั้งคำถามว่าสิ่งที่เราคิดว่าเหมาะสมแล้วนั้นบางครั้งมันจะเรียกว่าเป็นความถูกต้องได้หรือไม่ 

    เพราะคำว่า "ควรแล้ว" "สมควรแล้ว" กับคำว่า "ถูกต้อง" บางครั้งก็เป็นคนละความหมายเดียวกัน

    วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11131 มติชนรายวันหน้า 22

    ร้านยูริ ยังมีหนังยูริแบบพากษ์&บรรยายไทย อีกหลายเรื่อง
    คลิกไปดูได้เลย
    http://www.yuri-shop.com

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×