Aztia
ดู Blog ทั้งหมด

งานส่งครู

เขียนโดย Aztia

ความสัมพันธ์กับอาณาจักรพม่า ในสมัยอยุธยา ไทยมีความสัมพันธ์กับพม่าในลักษณะของการทำศึกสงคราม ซึ่งส่วนใหญ่ พม่าจะเป็นฝ่ายเข้ามารุกรานกรุงศรีอยุธยา และในบางสมัย อยุธยาก็ดำเนินความสัมพันธ์กับพม่าในแบบประนีประนอม เพื่อรักษาความมั่นคงของอาณาจักร

 

ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับพม่า เริ่มต้นในสมัย พระไชยเชษฐาธิราช เมื่อพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ได้ส่งกองทพไปตีเมืองเชียงกราน ของมอญ ซึ่งขณะนั้นขึ้นอยู่กับอยุธยา เมื่ออยุธยาส่งกองทัพไปช่วยเมืองเชียงกรานจึงเกิดการสู้รบกับพม่าเป็นครั้งแรกในพ.ศ.๒๐๘๑ หลังจากนั้น พม่าก็มีนโยบายป้องกันความปลอดภัยของพม่าด้วยการขยายอำนาจเข้าครอบงำเหนืออยุธยา ทำให้อยุธยา ต้องทำสงครามป้องกันตนเองและบางโอกาสก็ได้เจรจาประนีประนอมกับพม่าดังเช่นในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

 

                ในพ.ศ.๒๐๙๑ พม่าได้ส่งกองทพเข้ามาโจมตีกรุงศรัอยุธยา ทำให้อยุธยาต้องเสียสมเด็จพระสุริโยทัย พระมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งปลอมพระองค์เสด็จออกร่วมรบด้วย รวมทั้งพระมหาธรรมราชาราชบุตรเขยกับพระราเมศวนพระราชโอรสซึ่งถูกพม่าจับตัวไป อยุธยาต้องใช้วิธีการเจรจาทางทูต ยอมนำช้างเผือก๒เชือก ไปแลกเปลี่ยนกับพระมหาธรรมราชาและพระราเมศวรกับคืนมา

                ต่อมาอยุธยาต้องเจรจาประนีประอมกับพม่าอีกใน พ.ศ. ๒๑๐๖ เมื่อพม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาในเหตุการณ์สงครามช้างเผือกซึ่งอยุธยาไม่สามารถต่อต้านได้ต้องยินยอมให้พม่านำบุคคลสำคัญของอยุธยาไปเป็นตัวประกัน ยอมส่งส่วยและผลประโยชน์จากการเก็บภาษีในหัวเมืองมะริดให้แก่หงสาวดี พม่าจึงยอมถอนทัพกลับไป

                ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยาและพม่าในช่วงนี้ จึงเป็นความสัมพันธ์ทางการเมืองในฐานะที่อยุธยาเป็นประเทศราชของพม่าในชั่วระยะเวลา๑๕ปี เพราะในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา (พ.ศ.๒๑๑๒-๒๑๓๓) พระนเรศวรซึ่งเป็นพระราชโอรส (ต่อมาได้เป็นกษัตริย์แห่งอยุธยาทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช) ได้ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงเมื่อพ.ศ.๒๑๒... นับจากนี้ไป ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับพม่าจะเป็นเรื่องของการทำสงครามสู้รบกันถึงขั้นที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. ๒๑๒๒-๒๑๔๘) ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่าใน พ.ศ. ๒๑๓๕ และทรงเป็นฝ่ายมีชัยชนะ

                ภายหลังสมเกด็จพระนเรศวรมหาราชไปแล้ว อยุธยาว่างเว้นจากสงครามกับพม่าเป็นเวลานาน เนื่องจากพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และภายในพม่าเกิดการแตกแยกกันเอง จนกระทั่งพม่าสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงได้อีก จึงได้ยกทัพมาตีดินแดนไทย อยุธยาทำสงครามกับพม่าอีกหลายครั้ง ส่วนใหญ่พม่าจะเป็นฝ่ายรุกรานเข้ามายังดินแดนอยุธยา จนครั้งสุดท้าย ใน พ.ศ.๒๓๑๐ พม่าได้ยกทัพเข้ามาโจมตีกรุงศรีอยุธยา และสามารถยึดครองกรุงศีอยุธยาได้อีกเป็นครั้งที่๒ ซึ่งการเสียกรุงครั้งนี้สร้างความเสียหายให้กับราชธานีของไทยอย่างหนักจนต้องย้ายศูนย์กลางขงอาณาจักรไทยมาอยู่ที่กรุงธนบุรีในที่สุด

 

                ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมอญ ดินแดนหัวเมืองมอญประกอบด้วยเมืองเมาะตะมะ เชียงกราน มะริด ตะนาวศรี ทวาย และเมืองพัน ซึ่งตั้งอนู่ทางทิศตะวันตกของอยุธยา ติดต่อกับอาณาเขตของพม่า

                ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับมอญ มีทั้งลักษณะความสัมพันธ์ทางด้านการค้า การผูกสัมพันธไมตรีด้วยการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และมีความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองในลักษณะที่ราชธานีมีต่อเมืองประเทศราช

                ความสัมพันธ์ทางด้านการค้านั้นมีมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกรุงศีอยุธยาแล้ว โดยอยุธยาอาศัยหัวเมืองมอญเป็นเมืองท่าหรือเป็นทางผ่านในการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าเรือสำเภาจากอินเดีย ลังกา อาหรับ ทางด้านทะเลอันดามัน

                นอกจากนี้ก็ยังมีความสัมพันธ์ทางด้านการเมือง โดยอยุธยาพยายามแผ่อิทธิพลให้มอญเข้ามาสวามิภักดิ์ และให้ความเป็นมิตรคอยช่วยเหลือเกื้อกูลยามที่มอญมีศึกสงครามกับพม่า

                การเป็นไมตรีต่อมอญ มีความสำคัญต่อความมั่นคงของอยุธยามาก เพราะหัวเมืองเปรียบเสมือนด่านหน้าในการสกัดกั้นทัพพม่า รวมทั้งเป็นการสอดแนมเพื่อรายงานกองทัพพม่าลงมาให้กรุงศรีอยุธยาทราบล่วงหน้าด้วย

 

                ความสัมพันธ์กับเขมร เขมรหรือกัมพูชามีอาณาเขตอยู่ทางตะวันออกของอยุธยา ความสัมพันธ์ที่อยุธยามีต่อเขมรส่วนใหญ่จะเป็นความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม สงครามและทางด้านการเมืองในฐานะที่เขมรดป็นเมืองประเทศราชของอยุธยา

                ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม อยุธยาได้รับวัฒนธรรมหลายอย่างจากเขมร อาทิเช่น ศิลปกรรม ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ภาษา ขนบธรรมเนียม ประพณี การปกครองและแนวคิดสมมติเทพที่ยกย่องฐานะของกษัตริย์ว่ามีความสูงส่งประดุจดังเทพเจ้าเป็นต้น

                สำหรับความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองนั้น อยุธยาหวังจะได้เขมรเป็นเมืองปกครองเพื่อคุม้กันมิใก้เขมรเผารุกรานหัวเมืองชายแดนด้านตะวันออก การหวังผลประโยชน์จากเขมรทั้งกำลังผู้คนเพื่อสนับสนุนการทำสคงคาม และเพื่อเป็นดินแกนกันกระทบกับญวนอีกด้วย

                อยุธยามีความสัมพันธ์ทางด้านสงครามกับเขมรเริ่มตั้งเต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่๑เป็นต้นมา จนถึงพ.ศ. ๑๙๘๙ สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่๒ (เจ้าสามพระยา) ทรงยกทัพไปรบเขมรจนได้เมืองนครธม แต่ช่วงเวลาไม่นาน เขมรได้ย้ายเมืองหลวงไปตั้งอยู่ที่เมืองบาลาญ และเมืองพนมเปญตามลำดับ เพื่อหนีการโจมตีจากอยุธยา

                หลังสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไปแล้ว อยุธยายังมีความสัมพันธ์กับเขมรในการทำศึกสงครามเพื่อป้องกันมิให้เขมรเข้ามารุกรานชายแดนและป้องกันมิให้เขมรตกไปอยู่ใต้อำนาจของญวน

                ความสัมพันธ์กับอยุธยาและเขมรสิ้นสุดลงใน พ.ศ. ๒๓๓๐ เมื่อยุธยาเสียอิสรภาพให้แก่พม่า

 

ความสัมพันธ์กับล้านช้าง ความสัมพันธ์ของอยุธยาที่มีต่อล้านช้างส่วนใหญ่เป็นการผูกมิตรเชื่อมสัมพันธไมตรีให้แน่นแฟ้น

                อยุธยามีความสัมพันธ์อันดีกับล้านช้างซึ่งมีกรุงผสรีสัตนาคนหุตเป็นราชธานี นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่๑ กับเจ้าฟ้างุ้ม กษัตริย?ของล้านช้าวเป็นครั้งแรก และต่อมาได้มีความสัมพันธ์ใกบ้ชิดมากขึ้นในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเชื้อสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ของล้านช้างได้แต่งตั้งทูตอันเชิญพระราขสาสน์พร้อมเครื่องบรรณาหารเข้าถวายและกราบทูลขอพระเทพกษัตรี พระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรมดิไปเป็นอัตรมเหสี

                สมเด็จพระมหาจักรพรรมดิทรงตอบรับไมตรี เพราะเล็งเห็นประโยชน์ที่จะได้ล้านช้างเอาไว้เป็พันธมิตรในการทำศึกสงครามกับพม่า แต่ข่าวได้ล่วงรู้ไปถึงบุเรงนอง กษัตริย์พม่าเสียก่อน จึงได้ส่งกำลังทหารมาชิงตัวพระเทพกษัตรีในระหว่างเดินทางไปยังล้านช้าง แล้วยำมาวที่กรุงหงสาวดี

                ถึงแม้การอภิเษกสมรสในครั้งนี้จะไม่เกิดขึ้น แต่อยุธยาก็ยังคงรักษาสัมพันธไมตรีอันดีกับล้านช้างเอาไว้ จนกระทั่ง กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่าครั้งที่๑ ในพ.ศ. ๒๑๑๒ ความสัมพันธ์ของอยุธยาต่อล้านช้างก็ลดน้อยลงไป และไม่ปรากฏเรื่องราวความเกี่ยวข้องให้ทราบมากนัก

 

ความสัมพันธ์กับญวน ลักษณะความสัมพันธ์จะเกี่ยวข้องกับการทำสงครามเพื่อแย่งชิงอำนาจเหนือเขมร

                เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้อยุธยาต้องทำสงครามกับญวนเกิดขึ้นในปีพ.ศ.๒๒๕๒-๒๒๕฿) เมื่อราชวงศ์เขมรซึ่งั้งราชธานีอยู่ในมืองละแวกเกิดการแตกแยกกันเองระหว่างพระธรรมราชากับนักแก้วฟ้าจอกจนทำสงครามกัน ทางอยุธยาให้การสนับสนุนพระธรรมราชา ขณะที่ญวนหนุนหลังนักแก้วฟ้าจอก ความขัดแย้งในเขมรจึงชักนำให้ไทยและญวนต้องทำสงครามสู้รบกันในดินแดนเขมร ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ หลายครั้ง อยุธยาได้เขมรเข้ามาอยู่ใต้อำนาจในช่วงเวลาสั้นๆ หลังจากนั้น ญวนก็เข้าไปมีอิทธิพลเหนือเขมรอีก อยุธยาจึงต้องส่งกองทัพไปในลักษณะเช่นนี้โดยตลอดกระทั่งสิ้นสุดสมัยอยุธยา

 

ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายู หัวเมือวมลายูอยู่ทางใต้ของอยุธยาบริเวณคาบสมุทรมลายู มีเมืองสำคัญเช่น ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู มะละกาเป็นต้น ความสัมพันธ์ที่อยุธยาดำเนินกับหัวเมืองเหล่านี้เป็นความสัมพันธ์ด้านการค้า การทำสงคราม และเจริญสัมพันธไมตรีให้แน่นแฟ้น

                อยุธยามีความสัมพันธ์กับหัวเมือมลายูนับตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นโดยอยุธยายกกองทพไปตีเมืองมะละกา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัฐบริเวณคาบสมุทรมลายูหลายครั้ง ในสมัยพ.ศ. ๑๙๖๑ สมัยสมเด็จพระอินทราชา (พระนครินทราธิราช) และพ.ศ. ๑๙๗๔ ในสมัย พระบรมราชาธิราชที่๒ และพ.ศ. ๑๙๙๘ ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ การส่งเจ้าพระยาไปตีเมืองมะละกา นอกจากได้เมืองมะละกาเป็นเมืองขึ้นแล้ว หัวเมืองราบทางที่กองทัพผ่านไปได้ก็เข้ามาอ่อนน้อมต่อกรุงศรีอยุธยาด้วยเช่น ปัตตานี ไทรบึรีเป็นต้น

                สำหรับการปกครองหัวเมืองมลายูนี้ อยุธยาใช้วิธีการควบคุมผ่านทางเมือประเทศราช แต่เนื่องจากหัวเมืองมลายูอยู่ไกลจากกรุงศรีอยุธยามา การปกครองดูแลจึงไม่สามารถกระทำได้อย่างใกล้ชิด

                ลักษณะความสัมพันธ์ของอยุธยาที่มีต่อหัวเมืองมลายูประสบปัญหาอุปสรรคอย่างหนึ่งคือ ระยะทางที่ไกลกันมาก ดังนั้น ถ้าอยุธยาไม่เข้มแข็ง เมืองมลายูก็จะตั้งต้นเป็นอิสระ ดังเช่นสมัยอยุธยาตอนปลาย

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
แห่ะ ดีครัฟดี
ความคิดเห็นที่ 2

ขอบคุณค่ะ 

ความคิดเห็นที่ 3
ดีมากๆๆๆๆๆๆๆ.....เลยค่ะ
ความคิดเห็นที่ 4

ก็งั้นๆๆๆๆๆ   แหละ

ความคิดเห็นที่ 5
จะดีมากถ้า background เป็นสีพื้นๆทำให้อ่านง่ายขึ้นครับ
ความคิดเห็นที่ 6
ขอบคุนมากกกกกกกกกกมายยยยยย
ความคิดเห็นที่ 7
เธญเนˆเธฒเธ™เธขเธฒเธเธกเธฒเธเน†เน† เน€เธ›เธฅเธตเนˆเธขเธ™เธžเธทเน‰เธ™เธซเธฅเธฑเธ‡เธเน‡เธ”เธตเธ™เธฐ
ความคิดเห็นที่ 8
เธญเนˆเธฒเธ™เธขเธฒเธเธกเธฒเธเน†เน† เน€เธ›เธฅเธตเนˆเธขเธ™เธžเธทเน‰เธ™เธซเธฅเธฑเธ‡เธเน‡เธ”เธตเธ™เธฐ
ความคิดเห็นที่ 9
ขอบคุณค่ะ ขอไปทำรายงานนะคะ
ความคิดเห็นที่ 10
เหมือนในหนังสือประวัติศาสตร์เลยค่า >o<
ความคิดเห็นที่ 11
พื้นหลังลายตามาก

เต่เนื้อหาดีอะ
ความคิดเห็นที่ 12
Thanks มากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆเลยนะค่ะข้อมูลก็ละเอียดดี
ความคิดเห็นที่ 13
ต้พะว ทำถุ
ความคิดเห็นที่ 14
งานไม่ออก
ความคิดเห็นที่ 15
อ่านไม่ออก
ความคิดเห็นที่ 16
ขอบคุนคับที่ทัมให้ป๋มมีงานส่งคุนครู