ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #109 : ต้นทางฝรั่งเศส : ตามพี่หมื่นไปฝรั่งเศส

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.01K
      14
      2 ก.ค. 62

    ต้นทางฝรั่งเศส เป็นนิราศบันทึกการเดินทางไปยังยุโรปเรื่องแรกของสยามประเทศ โดยออกจากปากน้ำเจ้าพระยาเมื่อวันเสาร์ แรม 7 ค่ำ เดือนอ้าย ปีฉลู หรือวันที่ 22 ธันวาคม 2229 จนถึงเมืองท่าปาเรด (แบรสต์ - Brest) 

    ซึ่งตรงกับที่คณะราชทูตของสมเด็จพระนารายณ์ (King Narai) เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศส (Louis XIV of France
    .
    .
    .

    .
    .
    .
    คณะราชทูตที่เดินทางในครั้งนั้นประกอบด้วย 
    ออกพระวิสูตรสุนทร (Ok-Phra Wisut Sunthonหรือ โกษาปาน (Kosa Panเป็นราชทูต (ทูตนัมเบอร์ 1)
    ออกหลวงกัลยาราชไมตรี (Ok-luang Kanlaya Ratchamaiti) เป็นอุปทูต (ทูตนัมเบอร์ 2)
    ออกขุนศรีวิสารวาจา (Ok-khun Sisawan Wacha) เป็นตรีทูต (ทูตนัมเบอร์ 3)
    .
    .
    .

    ออกพระวิสูตรสุนทร - ออกหลวงกัลยาราชไมตรี - ออกขุนศรีวิสารวาจา

    นอกจากราชทูตทั้งสามแล้ว ยังมีขุนนาง 8 คน อาลักษณ์ 4 คน และบ่าวไพร่อีก 20 คน โดยออกเดินทางไปกับเรือรบหลวงลัวโซ (I'Oiseau)
    .
    .
    .
    นิราศเรื่องนี้ ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถีเป็นผู้พบต้นฉบับตัวเขียนเป็นสมุดไทยดำที่แผนกภาษาตะวันออก หอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส โดยบอกชื่อหน้าต้นว่า ต้นทางฝรงงเสษ


    นิราศต้นทางฝรั่งเศสเริ่มเดินทางจากปากน้ำเจ้าพระยาผ่านเกาะต่างๆ อย่างเกาะสีชัง เกาะไผ่ เกาะช้าง หมู่เกาะมัน เกาะลิง จนมาถึงเกาะปังกา (บังกา - Bangka) ผ่านช่องแคบปังกาซึ่งอยู่ระหว่างเกาะปักกากับเกาะสุมาตรา เมืองปเลมัง (ปาเล็มบัง - Palembang) และได้แวะที่เมืองบันตัน (บันเติน - Banten) บนเกาะชวา
    .
    .
    .
                      เถิงเมืองบันตัน   บ้านเมืองที่นั้น   ย่อมชาวชวา
    โอ่วบัดนี้เอย      เสียแก่ลันดา      ทังตัวพญา      ไม่ระพ้นมือเขา
    .
    .
    .
    หลังจากนั้น จึงได้ออกเดินทางต่อเข้าช่องแคบซุนดา (Sunda Strait) จนถึงเกาะพร้าว นับเดินทางได้ 40 วัน จากนั้นเรือถูกลมพายุแทบจะอับปาง ต่อลมสงบก็แวะที่เมืองกาบ บนแหลมกู๊ดโฮป (Cape of Good Hope) ทวีปแอฟริกา
    .
    .
    .
                      ไปถึงเมืองกาบ   เข้าสูงยอดราบ    เป็นกำแพงกัน
    ชาววิลันดา       ตั้งเมืองที่นั้น      สร้างตึกเรียงรัน   เป็นชาวค้าขาย
    .
    .
    .
    และต่อมา คณะราชทูตได้เดินทางถึงเกาะววยสั้ง (อวยซอง -I'ile Ouessant) ต่อไปจนถึงเมืองปาเรด (แบรสต์ - Brest) ของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นจุดหมายของการเดินทาง
    .
    .
    .
                       ถึงท่าปาเรด      เป็นเมืองประเทศ     ฝรั่งเศสนคร
    สำเภาเลากา       เรือซาสลอน      ท่องเที่ยวเขจร       ไปมาค้าขาย
    .
    .
    .
    นิราศนี้ยังแต่งไม่สมบูรณ์เพราะกระบวนการเชิญพระราชสาส์นและพิธีการต้อนรับต่างๆทำให้กวีไม่มีเวลาเขียน ดร.ปรีดี  พิศภูมิวิถีสันนิฐานว่ากวีอาจจะราชทูตผู้ใดผู้หนึ่ง เพราะในตอนกลางเรื่องกล่าวตอนเรือสำเภาต้องพายุว่า
    .
    .
    .
    แต่เราไปมาทุกที     บเหมือนครั้งนี้
    พยุมาใหญ่หนักหนา
    .
    .
    .
    ซึ่งก็อาจจะเป็นออกหลวงกัลยาราชไมตรี หรือ ออกขุนศรีวิสารวาจา เพราะทั้งสองท่านเคยเดินทางไปต่างแดน คุณหลวงคนแรกไปจีน และคนสุดท้ายไปโมกุลมาก่อน 


    แต่เมื่อพิจารณาแล้ว กวีที่ว่าน่าจะเป็น ออกขุนศรีวิสารวาจา ซะมากกว่า


    ออกหลวงกัลยาราชไมตรี - ออกพระวิสุทธสุนทร - ออกขุนศรีวิสารวาจา
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×