ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #116 : ช้างมงคลประจำทิศ

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.28K
      30
      3 พ.ค. 61

    ช้างมงคลประจำทิศ หรือ ช้างอัฎฐทิศ เป็นช้างมงคลประจำทิศต่างๆทั้งแปดทิศ 


    มาจากวรรณคดีบาลีเรื่องจักรวาฬทีปนี (Cakkavaladipani) ซึ่งพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) นำมาแต่งด้วยร่ายสุภาพ 8 บทเมื่อ จ.ศ. 1247 (พ.ศ.2428) ดังนี้


    ทิศตะวันออก : ช้างไอยราพต (Airavataสูงใหญ่ดุจภูเขา สีตัวดุจสีเมฆ งายาวประดุจงวงนาคราช ตาใหญ่ประดุจดาวประกายพรึก เมื่อร้องเสียงประดุจเสียงสังข์ มีนางช้างอัพภมูเป็นชายา


    ทิศตะวันออกเฉียงใต้ : ช้างบุณฑริก (Pundarika) สีตัวดุจสีดอกบัวหลวง กลิ่นนั้นหอมประดุจดอกสัตตบุษย์ เล็บงามและผนังท้องดุจเมฆฝน มีเสียงร้องประดุจเมฆกำลังห้าวหาญ(ฟ้าร้อง) มีนางช้างกบิลาเป็นชายา


    ทิศตะวันใต้ : ช้างนิละพะ (Vamana - พราหมณะ) สีตัวดุจโลหิต เมื่อร้องเสียงดุจเสียงแตร มีกำลังมหึมาห้าวหาญอาจชนะทุกช้างทั้งหลาย มีนางช้างปิงคลาเป็นชายา


    ทิศตะวันตกเฉียงใต้ : ช้างมหาปทุม (Kumuda - กุมุท) สีตัวดุจสีดอกกระมุท มีหูอ่อน เมื่อร้องเสียงดุจแตรห้าวหาญมาก มีนางช้างอนูปมาเป็นชายา


    ทิศตะวันตก : ช้างอัญชนะ (Anjana - อังชัน) สีตัวเขียวดุจทองอังชัน มีศีรษะใหญ่ดุจเมฆสนิท เมื่อร้องเสียงดุจลมพัดเข้าในรูไม้ไผ่ มีกำลังห้าวหาญ มีนางช้างตามพวรรณีเป็นชายา


    ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ : ช้างบุษบะทันต์ (Prushpadanta - บุษปทันต์) สีตัวดุจสีหงสบาท กระหน้าใหญ่ มีงาอันน้อยขึ้น เมื่อร้องเสียงประดุจฟ้าร้อง มีนางช้างศุภทันตีเป็นชายา


    ทิศตะวันเหนือ : ช้างสารวภูม (Sarvabhauma) สีตัวดังสีหญ้าแพรกอ่อน หน้าใหญ่ สีกระหน้าแดง มีงาอันน้อยยาวงาม ตาดำ ร้องเสียงเหมือนนกกระเรียน มีนางช้างปิงคลาเป็นชายา


    ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ : ช้างสุประดิต (Supratika) สีดังเมฆยามสนธยา ผนังท้องดุจท้องงู มีขนปากยาว มีเสียงร้องดุจเมฆอาจให้มีชัยชนะ มีนางช้างอัญชนาวดีเป็นชายา
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×