ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #127 : รามเกียรติ์ in เวอร์ชั่น : บทละครรัตนโกสินทร์

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 449
      16
      2 ก.ค. 62

    และในที่สุด เรื่องราวของพระรามก็ได้เดินทางมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ซะที เรื่องราวรามเกียรติ์ยังคงถูกใช้เพื่อการแสดงในรั้วในวังอยู่ ผู้นิพนธ์ส่วนมากจึงอยู่ในวรรณะกษัตริย์อยู่เท่านั้น


    ในตอนนี้ เราจะไปไล่ให้ดูไปเลยว่าบทะละครรามเกียรติ์ฉบับต่างๆในยุคกรุงเทพมหานครนั้นจะมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว เราไปขมพร้อมกันเลย


    1. บทละครพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1
    : ฉบับที่เรารู้จักดีกันที่สุด ฉบับมีความยาวและมีความสมบูรณ์ที่สุด เริ่มเขียนเมื่อ จ.ศ. 1159 (พ.ศ.2340) ปีมะเส็ง


    2. บทละครพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2
    : ถูกยกย่องว่าไพเราะและถือเป็นแบบของบทละคร มุ่งใช้แสดงเป็นบทละครรำ เนื้องเรื่องแบ่งออกเป็นสองตอน ตอนแรกตั้งแต่หนุมานถวายแหวนไปจนถึงทศกัณฐ์ล้ม อีกตอนหนึ่งตั้งแต่ พระรามเดินดงรอบสองจนถึงตอนพระอิศวรจัดอภิเษกให้รามสีดาอีกครั้ง 


    3. บทละครพระราชนิพนธ์ในกรมบวชมหาศักดิ์พลเสพ (วังหน้า ร.3)
    : เป็นบทละครขนาดสั้น ตอนเดียว เบญกายหึงนางสุวรรณกันยุมา


    4. บทพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 4
    : เนื้อเรื่องเฉพาะตอนพระรามเดินดง ทรงพระราชนิพนธ์ราว พ.ศ. 2408 - 2411 เพื่อใช้เล่นละคร เนื่องจากทรงพอพระราชหทัยในเนื้อความเป็นพิเศษ คล้ายกับพระราชประวัติของพระองค์ท่าน อีกตอนหนึ่งที่ทรงพระรานิพนธ์คือตอนพระพิราพ แต่ กรรมการหอสมุดวชิรญาณกลับไปจัดพิมพ์รวมกับบทละครเบ็ดเตล็ดแทน



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×