ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #14 : หุ่นพยนต์ ข้ารับใช้ผู้ซื่อสัตย์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.7K
      28
      26 ก.ค. 64

    หุ่นพยนต์ตามพจนานุกรมฉบัยราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้อธิบายไว้ว่า

    "รูปที่ผู้ทรงวิทยาคมเอาวัตถุมาผูกขึ้นแล้วเสกเป่าให้เป็นเหมือนรูปที่มีชีวิต"

    ในทางวงการไสยศาสตร์เป็นที่ยอมรับกันดีเรื่องการมีภูตผีเป็นผู้คอยรับใช้ติดตามจะสายไหนก็มักจะมีข้ารับใช้เสมอ ทั้งสายเทพ สายพราย สายภูติ สายผี สายเวทย์ บางครั้งถูกเรียกไปต่างๆนานา ในลัทธิองเมียวโดของญี่ปุ่นก็มีชิกิงามิ ชิกิยิน เป็นการเสกกระดาษเป็นข้ารับใช้ ซึ่งเป็นพวกเดียวกับหุ่นพยนต์นี้ 

    คำนี้ว่าจากคำว่า “พยนต์” แปลว่า สิ่งที่ผู้ทรงวิทยาคมปลุกเสกให้มีชีวิตขึ้น โดยที่หุ่นพยนต์เป็นรูปหุ่นจำลองของคน สัตว์ เทวดา ยักษ์ โดยอาศัยหลักการว่าอยากได้รูปร่างยังไงให้ทำหุ่นแบบนั้น เพื่อการทําร้ายศัตรูหรือเพื่ออารักขาก็ได้

    หุ่นพนต์ปรากฎในเสภาขุนช้างขุนแผน ซึ่งทั้งขุนแผน พลายงาม และพลายชุมพลต่างก็มีกันทั้งนั้น

    .

    .

    ส่วนวรรณคดีไทยเพชรน้ำเอกอย่างเรื่องรามเกียรติ์ก็มีวิรุณจำบังนี้แหละที่มีวิทยาคมเวทมนต์ขลัง 

    วิรุณจําบังมีความสามารถด้านมายากล ทั้งล่องหนแปลงกายาสมชื่อว่าจําบัง เคยแปลงกายเป็นไรน้ำไปซุ่มซ่อนในฟองอากาศใต้บาดาล  มีม้านิลพาหุเป็นพาหนะที่หายตัวได้ด้วยเหมือนกัน 

    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในรามเกียรติ์ว่า…

    ภายหลังวิรุญจำบังพลาดพลั้งแก่พระรามจึงต้องทำการหลบหนี

    .

    • จำกูจะคิดอุบายหนี……………..ให้รอดชีวีดีกว่า
    • คิดพลางเปลื้องผ้าโพกมา……..อสุราผูกเป็นภาพพยนต์
    • ขี่ม้าถือหอกออกยืนอยู่………….ดูดั่งจะเผ่นโพยมหน
    • เสร็จแล้วร่ายวิทยามนต์………..โดยกลลัทธิอสุรี ฯ
    • ครั้นถ้วนเจ็ดคาบก็เป่าไป……….ในภาพพยนต์ยักษี
    • ก็เป็นอสุราพาชี……………………..ดั่งหนึ่งว่ามีวิญญาณ์
    • แล้วจึ่งสำแดงแผลงฤทธิ์………….มืดมิดไปทั่วทิศา
    • เหาะทะยานผ่านขึ้นยังเมฆา…….อสุราก็ลอบหนีไป 

    .

    จะเห็นได้ว่าวิรุณจําบังก็สามารถผูกหุ่นพยนต์ได้อีกตน

    ในการสร้างหุ่นพยนต์ มักจะใช้เวทมนต์ปลุกเสกวัสดุต่างๆ เรียกวิธีการนี้ว่า "ผูกหุ่น" ซึ่งในรามเกียรติ์นั้น วิรุญจําบังผูกหุ่นพยนต์จากผ้า ส่วนในขุนช้างขุนแผน ขุนแผนผูกพยนต์เป็นหุ่นหญ้า นี้เอง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×