ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #159 : วรรนคดีสมาคม

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 448
      10
      2 ก.ค. 62

    -- นี่คือรูปแบบภาษาที่ใช้กันในสมัยจอมพล ป. พวกพิสูจน์อักษรอย่าพึ่งร้อนรนกันนะ -- 


    วรรนคดีสมาคม ตั้งขึ้นในสมัยปรับปรุงอักษรไทย มีชื่อเต็มว่า วรรนคดีสมาคมแห่งประเทสไทย


    ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยต้องเผชิญกับการรุกรานของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ในตอนนั้น ญี่ปุ่นได้แจ้งแก่รัฐบาลไทยว่า ภาษาไทยนี้ยากมาก ปวดเฮดไปหมด ขอให้พี่ไทยเปิดโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น และบังคับให้คนไทยเรียนภาษาญี่ปุ่น เหมือนคนจีนในเกาะไต้หวัน


    จอมพล ป. พิบูลสงคราม ท่านผู้นำในขณะนั้นจึงเรียกประชุมราชบัณฑิตเพื่อปรึกษาหาแนวทางแก้ไข จึงแต่งตั้ง "คนะกัมการส่งเสิมวัธนธัมภาสาไทย" มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิรวมทั้งสิ้น 29 คน ซึ่งอาจารย์เปลื้อง ณ นคร และอาจารย์ทวี ทวีวรรธนะ อยู่ในคณะกรรมการชุดนี้ด้วย


    คณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทยมีแนวทางส่งเสริมภาษาไทย 4 แนวทางคือ


    1. ส่งเสริมการศึกษาหลักและระเบียบภาษาไทย อย่างที่เรียกว่า ภาษาศาสตร์
    2. ส่งเสริมการแต่ง ทั้งในวิธีร้อยแก้ว และร้อยกรอง ซึ่งรวมเรียกว่า วรรณคดี
    3. ส่งเสริมให้มีการวิจารณ์วรรณคดี
    4. จัดตั้งสมาคมวรรณคดี เพื่อจะได้เป็นแหล่งที่เพาะความรู้ภาษาไทย และโฆษณาภาษาไทย


    ทั้งนี้ คณะกรรมการได้ช่วยกันยกร่างเรื่องการปรับปรุงตัวอักษรไทย เสนอท่านผู้นำ ซึ่งได้ลงนามในประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่อง การปรับปรุงอักสรไทย เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 โดยให้เหตุผลว่า

    " ด้วยรัถบาลพิจารณาเห็นว่า ภาสาไทยย่อมเป็นเครื่องหมายสแดงวัธนธรรมของชาติไทย สมควนได้รับการบำรุงส่งเสิมไห้แพร่หลายออกไปกว้างขวางยิ่งขึ้น "


    โดยใช้งดใช้
    สระ: ใ, ฤ, ฤๅ, ฦ, ฦๅ
    พยัญชนะ: ฃ, ฅ, ฆ, ฌ, ฎ, ฏ, ฐ , ฑ, ฒ, ณ, ศ, ษ, ฬ



    นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ประกาศให้ใช้เลขสากล (เลขอาหรับ) แทนที่เลขไทยอีกด้วย 


    ต่อมา รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติวัธนธัมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 ขึ้นฉบับหนึ่ง และในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2485 ให้จัดตั้ง "สภาวัธนธัมแห่งชาติ"


    " มาตรา ๘ ไห้จัดตั้งสภาวัธนธัมขึ้นสภาหนึ่งเรียกว่า “สภาวัธนธัมแห่งชาติ”และไห้สภานี้เป็นนิติบุคคล

       มาตรา ๙ ไห้สภาวัธนธัมแห่งชาติมีหน้าที่
    (๑) ค้นคว้า ดัดแปลง รักสาและส่งเสริมวัธนธัมแห่งชาติที่มีอยู่
    (๒) ค้นคว้า ดัดแปลง รักสาและส่งเสริมวัธนธัมแห่งชาติที่มีอยู่
    (๓) เผยแพร่วัธนธัมแห่งชาติไห้เหมาะสมกับกาลสมัย
    (๔) ควบคุมและหาวิธีปลูกฝังวัธนธัมแห่งชาติในจิตไจของประชาชนจนเป็นนิสัย
    (๕) ไห้ความเห็น รับปรึกสาและปติบัติการตามความมุ่งหมายของรัฐบาลไนกิจการอันเกี่ยวกับวัธนธัมแห่งชาติ "


    หลังจากนั้นคนะกัมการสภาวัธนธัมแห่งชาติได้จัดตั้ง วรรนคดีสมาคมแห่งประเทสไทย ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

    1. ส่งเสิมและเผยแพร่ภาสาและวรรนคดีไทยให้ไพศาล
    2. ส้างสรรค์และบำรุงคุนภาพของภาสาและวรรนคดีไทย
    3. ผดุงความสามัคคีและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางภาสาและวรรนคดี


    เครื่องหมายของสมาคมมีลักษณะเป็นรูปพระสรัสวดี ถือม้วนพระคัมภีร์ ประทับเหนือดวกบัว และทางสมาคมได้ออก "วรรนคดีสาร" รายเดือน มีกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์เป็นบรรณาธิการ เล่มปฐมฤกษ์ออกเมื่อเดือนสิงหาคม 2485


    ภายหลังจากที่จอมพล ป. พิบูลสงครามพ้นจากอำนาจ ในวันถัดมานั้น นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้ออกประกาศยกเลิกการใช้อักขรวิธีดังกล่าว (ขอบคุณฟ้าดิน)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×