ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #195 : "ไชโยภาพยนตร์" กับผลงานวรรณคดีไทย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 689
      16
      2 ก.ค. 62



    บริษัท ไชโยโปรดักชั่นส์ จำกัด (Chaiyo Productions Co., Ltd) หรือชื่อเดิมว่า ไชโยภาพยนตร์ เป็นบริษัทผลิตผลงานด้านสื่อประเภทภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และโฆษณา สัญชาติไทย ก่อตั้งโดยสมโพธิ แสงเดือนฉาย 


    โดยชื่อ "ไชโย" หมายถึง "ชัยชนะ" เป็นชื่อที่ได้รับการตั้งจากม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ในปี 2509 จากการที่คุณสมโพธิเคยได้ทำงานใกล้ชิดกับม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ในฐานะช่างภาพของหนังสือพิมพ์สยามรัฐ จนกลายเป็นคนสนิท


    ไชโยภาพยนตร์ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 464 ถนนสุคนธสวัสดิ์ แขวงและเขตลาดพร้าว กรุงเทพ 10230 และมีโรงถ่ายตั้งอยู่ที่ บางปะอิน ซึ่งใช้เป็นโรงถ่ายทำมาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันเป็นที่พักอาศัยของคุณสมโพธิ และใช้เป็นที่เก็บสินค้าต่างๆที่เกี่ยวกับอุลตร้าแมนกว่า 1 ล้านชิ้น จนเรียกว่า "อุลตร้าแมนแลนด์"


    ไชโยภาพยนตร์มีผลงานโดดเด่นกับภาพยนตร์แนวสัตว์ประหลาด, ซูเปอร์ฮีโร่ หรือแฟนตาซี ที่ต้องใช้สเปเชียลเอฟเฟกส์จำนวนมาก 


    โดยมีผลงานภาพยนตร์ทั้งสิ้น 17 เรื่อง บางเรื่องยังได้ร่วมสร้างกับสึบุรายะโปรดักชั่น (Tsuburaya Productions) บริษัทผู้ผลิตอุลตร้าซีรีส์ และได้ออกฉายยังต่างประเทศอีกด้วย 


    ผลงานภาพยนตร์ของไชโยภาพยนตร์ ได้แก่

    2516  :  ท่าเตียน 
    2517  :  ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ 
    2517  :  หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์
    2518  :  หนุมานพบ 5 ไอ้มดแดง
    2518  :  7 วันในปักกิ่ง (ภาพยนตร์สารคดี ถูกห้ามฉาย)
    2520  :  ยอดมนุษย์คอมพิวเตอร์
    2521  :  แผ่นดินวิปโยค
    2523  :  กากี
    2523  :  ไกรทอง
    2524  :  พระรถเมรี
    2524  :  จระเข้
    2525  :  ขุนช้างขุนแผน ตอนปราบจระเข้เถนขวาด 
    2525  :  พระเจ้าเสือ พันท้ายนรสิงห์
    2527  :  หนุมานพบ 11 ยอดมนุษย์
    2527  :  ศึกกุมภกรรณ 
    2528  :  ไกรทอง 2
    2528  :  กิ้งก่ากายสิทธิ์



    ไหนๆ ก็ไหนแล้ว เราจะขอเล่าประวัติของคุณสมโพธิ แสงเดือนฉายให้ฟังกันหน่อยดีกว่า


    สมโพธิ แสงเดือนฉาย เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทไชโยโปรดักชั่นส์ จำกัด


    คุณสมโพธิเริ่มต้นด้วยการเป็นลูกจ้างร้านถ่ายรูป มีผลงานการฉายพระรูปในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงฉลองพระองค์ชุดลูกเสือ แทนช่างภาพตัวจริงที่ป่วย จนได้ลงปกนิตยสารชัยพฤกษ์ 


    ต่อมา คุณสมโพธิได้เป็นช่างภาพประจำหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มีผลงานด้านภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามนโยบายรัฐบาลในขณะนั้น อีกทั้งยังได้เป็นช่างภาพประจำตัวของจิม ทอมป์สัน อีกด้วย


    ต่อมาได้รับทุนการศึกษาไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 2 ปี จนได้พบกับ เอจิ สึบุระยะ (Eiji Tsuburaya) ในฐานะเป็นนักศึกษาฝึกงาน และมีส่วนร่วมในการสร้างซีรีส์อุลตร้าแมน (Ultraman)



    โดยคุณสมโพธิมีแนวความคิดเกี่ยวกับคาแรกเตอร์ของอุลตร้าแมนอยู่เป็นทุนเดินอยู่แล้ว จึงได้เสนอแนวความคิดนี้แก่สึบุระยะโปรดักชั่น โดยใช้รูปถ่ายที่เจ้าตัวถ่ายเองของพระอัฏฐารสเป็นต้นแบบ ซึ่งทางสึบุระยะเห็นด้วย และให้ โทรุ นะริตะ (Toru Narita) เป็นผู้ร่างแบบ จนเป็นที่มาของซีรีส์อุลตร้าแมนในที่สุด


    ต่อมาภายหลัง ได้มีการฟ้องร้องกรณีเรียกลิขสิทธิ์ของอุลตร้าแมนกับสึบุระยะโปรดักส์ชั่น ผลของคดี ศาลฎีกาของญี่ปุ่นตัดสินให้คุณสมโพธิเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนทั้งหมด 7 ตัว ได้แก่

    อุลตร้าแมนโซฟี่ (Ultraman Zoffy) , 
    อุลตร้าแมน (Ultraman) , 
    อุลตร้าเซเว่น (Ultra Seven
    อุลตร้าแมนแจ็ค (Ultraman Jack
    อุลตร้าแมนเอช (Ultraman Ace
    อุลตร้าแมนทาโร่ (Ultraman Taro) , 
    เจ้าแม่อุลตร้า (Mother of Ultraและสัตว์ประหลาดอีกกว่า 350 ตัว 


    ซึ่งทำให้คุณสมโพธิมีสิทธิในลิขสิทธิ์ของอุลตร้าแมนไปทั่วโลก ยกเว้นที่ญี่ปุ่น แต่ผลคำพิพากษาของศาลฎีกาไทยและจีน ตัดสินให้สมโพธิแพ้คดี ทำให้ไม่มีสิทธิ์ในลิขสิทธิ์ใน 3 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น ไทย และจีน
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×