ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #218 : "เหี้ย" ในวรรณคดี

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.06K
      23
      2 ก.ค. 62

    เหี้ย (Water monitor) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่บังกลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย จนถึงอินโดจีน และเกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย 
    .
    .
    .
    ปัจจุบันจำแนกวงศ์ออกได้ประมาณ 78 ชนิด ที่พบในไทยมีทั้งสิ้น 6 ชนิด ได้แก่



    เหี้ย (Water monitor)
    : มีขนาดใหญ่ ดำน้ำและว่ายน้ำเก่ง มีลายดอกสีเหลือง

    ตะกวด (Bengal monitor)
    : ไม่ชอบลงน้ำ สีน้ำตาลหรือสีดำ (ไม่มีลาย)

    เห่าช้าง (Roughneck monitor lizard)
    : มีสีดำเข้ม มีเกล็ดที่บริเวณหลังคอตะปุ่มตะป่ำ

    เหี้ยดำ / มังกรดำ (Black Dragon)
    มีลักษณะคล้ายเหี้ย มีสีดำด้านทั้งตัว พบได้เฉพาะบริเวณชายทะเลหรือป่าชายเลน

    ตะกวดเหลือง / แลนดอน (Yellow monitor)
    : มีนิ้วเท้าสั้น และลำตัวสีเหลือง ชอบอยู่เฉพาะที่แห้งแล้งหรือพื้นทราย

    ตุ๊ดตู่ (Dumeril's monitor)
    : มีขนาดเล็ก ปลายปากถึงคอจะมีสีส้มหรือสีแดงเข้ม
    .
    .
    เหี้ยและตะกวดปรากฎอยู่ในตำนานต่างๆในแถบเอเชียอาคเนย์มาอย่างช้านาน


    ใน “โคธชาดก” โพธิสัตว์เสวยชาติเป็นพญาเหี้ย อาศัยในจอมปลวกใกล้อาศรมของดาบสดี ทุกวันจะไปอาศรมเพื่อฟังธรรม ต่อมาดาบสดีได้ย้ายไปที่อื่น แล้วมีดาบสเชี่ยมาแทน วันหนึ่งชาวบ้านปรุงอาหารจากเนื้อเหี้ยไปถวาย
     
    เมื่อดาบสเชี่ยทานก็ติดใจ จึงวางแผนฆ่าพญาเหี้ยที่มาฟังธรรม แต่พญาเหี้ยรู้ตัวเลยหนีออกมา แล้วติเตียนดาบสเชี่ย
    .
    .
    ใน จุลปทุมชาดก” โพธิสัตว์เสวยชาติเป็นปทุมกุมาร มีน้องชายหกคน ถูกเด็จพ่อระแวงว่าจะชิงบัลลังก์ จึงเฉดหัวเจ็ดพี่น้องพร้อมเมียออกจากเมือง

    ระหว่างรอนแรม เหล่ากุมารตกลงเฉือดเมียครั้งละคน เพื่อนำมากินประทังชีวิต (โคตรดาร์ก!!)

    เมื่อถึงคิวปทุม พระเอกได้พาเมียหนีไปปักหลักที่อื่น ต่อมาปทุมได้ช่วยชีวิตโจร แต่เมียกลับเป็นชู้กับโจร และผลักปทุมให้ตกเขา ด้วยสกิลพระเอก ปทุมได้รับความช่วยเหลือจากพญาเหี้ย และช่วยนำพระเอกกลับไปครองราชย์

    วันหนึ่ง ปทุมพบกับเมียและชู้มารอรับทาน ก็คิดจะลงโทษ จึงสั่งให้เอาชายชู้ใส่ลงตะกร้าผูกติดกับศีรษะของหญิงชั่วไม่ให้ปลงลงจากศีรษะได้ แล้วให้เนรเทศทั้งคู่ออกจากเมืองไป
    .
    .
    ใน “ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา” พูดถึงปฐมกษัตริย์เขมรอันมีชาติกำเนิดเดิมเป็นตะกวด

    วันหนึ่ง พระพุทธเจ้าเดินทางมายัง “เกาะโคกทลอก (Kouk Thlok)” ระหว่างกำลังฉันภัตตาหารอยู่นั้น ตะกวดได้กลิ่นก็คลานมาหา พุทธองค์จึงให้อาหาร ครั้นมันได้กินก็แลบลิ้นออกมา

    พุทธองค์จึงทำนายว่า ต่อไปเกาะโคกทลอกจะเป็นนครใหญ่ ส่วนตะกวดนั้นจะเกิดเป็นมนุษย์ และขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์

    ต่อมา ตะกวดไปเป็นเป็นพระทอง (Preah Thong (Kaundinya I)) ได้แต่งงานกับนางนาค (Neang Neak (Queen Soma)พญานาคจึงช่วยสร้างเมืองชื่อกรุงกัมพูชาธิบดี
    .
    .
    ในรามายณะนั้นเล่าถึง กษัตริย์สายสุริยวงศ์นาม นฤคะ (Nriga) ชอบการบริจาคทานมาก 

    ครั้งหนึ่งความซวยบังเกิด เมื่อนฤคะมอบวัวให้กับพราหมณ์คนหนึ่ง แต่ด้วยความสะเพร่าของลูกน้องทำให้โคที่จะให้กลับเดินกลับมายังพิธี

    นฤคะจึงเผลอมอบโคที่เคยให้กับพราหมณ์ A ให้กับพราหมณ์ B ต่อทันที จึงถูกสาปให้กลายเป็น เหี้ยไปพันปี จนกว่านารายณ์อวตารจะมาช่วยเหลือ 

    ศรีรามจึงมาช่วยให้พ้นคำสาป
    .
    .
    ในโลกวรรณคดี เจ้าฟ้ากุ้งได้เขียนถึงความตะมุตะมิของน้องเหี้ยและน้องตะกวดไว้ใน “กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง” ว่า
    .
    ตะกวดเหี้ยเมียเข้าไข่
    ในโพรงไม้ได้เปนรัง
    ตัวน้อยกระจ้อยหวัง
    รูปจรเข้เล่ห์เหมือนกัน ฯ

    ตระกวดเหี้ยเมียเข้าไข่ ตีนตรัง
    โพรงไม้อยู่เปนรัง ด่วนดั้น
    ตัวน้อยกระจ้อยหวัง ดูรูป
    อย่างจรเข้เล่ห์นั้น ห่อนเพี้ยนกันเหมือน ฯ
    .
    ในนิราศเมืองแกลงได้กล่าวถึงสถานที่นึงนั้นคือ "บางเหี้ย"

    บางเหี้ยในปัจจุบันคือ อ.บางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นชุมชนเก่าแก่กว่า 250 ปี สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา 

    เหตุที่เรียกขานกันยังงี้ มีเรื่องเล่าว่า...ครั้งหนึ่งมียายแก่คนหนึ่งชื่อ ยายหอม มีฐานะร่ำรวยจนไม่รู้จะเอาไปทำอะไร จึงนำทองมาหล่อเป็นรูปเหี้ยให้ลูกๆหลานๆเล่น แล้ววันหนึ่งเหี้ยทองคำดันวิ่งหนีลงน้ำไป ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า บางเหี้ย
    .
    ถึงชวากปากคลองเปนสองแพร่ง
    น้ำก็แห้งสุริยนก็หม่นหมอง
    ข้างซ้ายมือนั้นแลคือปากตะครอง
    ข้างขวาคลองบางเหี้ยทเลวน

    ประทับทอดนาวาอยู่ท่าน้ำ
    ดูเรียงลำเรือรายริมไพรสณฑ์
    เขาหุงหาอาหารให้ตามจน
    โอ้ยามยลโภชนาน้ำตาคลอ
    .
    .
    นอกจากเนื้อแล้ว ไข่เหี้ยยังสามารถนำมาทานได้ โดยนำมาต้มให้สุก แล้วใช้เข็มจิ้มให้เป็นรู แช่น้ำเกลือแล้วนำไปย่างไฟ ใช้รับประทานคู่กับมังคุดจะได้รสชาติ จึงเป็นที่มาของคำพังเพยที่ว่า "เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง"

    เล่ากันว่า รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเสวยไข่เหี้ยมาก แต่มีอยู่ช่วงหนึ่งที่หาไม่ได้ เพราะไม่ใช่ฤดูกาลวางไข่ เจ้าจอมแว่นจึงประดิษฐ์ "ขนมไข่เหี้ย" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "ขนมไข่หงส์" 
    .
    .
    ชาวบูกิต (Bugis) ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองบนเกาะสุลาเวสี (Sulawesi) เชื่อว่าเหี้ยเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์

    มีตำนานเล่าว่าราชินีแห่งอาณาจักรโกอา (Kingdom of Gowa) มีโอรสฝาแฝด โอรสคนหนึ่งเป็นมนุษย์แต่ได้ตายลง อีกคนหนึ่งเป็นเหี้ย จึงรักเหี้ยมาก 

    แต่หลังจากนั้นไม่นาน น้องก็ไม่ยอมกินอะไร กษัตริย์โกอาจึงนำไปปล่อยที่ปากแม่น้ำ จึงทำให้ชาวบูกิตรักและเลี้ยงดูน้องเสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหลานของตนเอง 

    มีการเลี้ยงดูและอาบน้ำให้เป็นอย่างดี และเมื่อถึงเวลาจะมีพิธีแห่นำน้องไปปล่อยที่แม่น้ำ ด้วยหวังว่าสักวันน้องจะกลับหามาตนและครอบครัวอีกครั้ง 

    ซึ่งน้ำที่น้องลงไปว่ายถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์สามารถนำไปดื่มกินหรืออาบได้ และชาวบูกิตก็นำเอาความเชื่อนี้มาผนวกเข้ากับศาสนาอิสลาม โดยเชื่อว่าผู้ที่เข้าร่วมพิธีปล่อยน้องลงแม่น้ำ จะได้บุญเสมอเหมือนกับการได้ไปจาริกแสวงบุญที่นคร
    .
    .
    ปัจจุบัน เหี้ยถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจอย่างหนึ่ง ที่มีการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงกัน เพื่อนำเนื้อไปใช้ในการบริโภค นำหนังไปทำเครื่องหนัง เช่น กระเป๋า, เข็มขัด เช่นเดียวกับจระเข้
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×