ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #243 : จุฬาตรีคูณ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 285
      6
      1 ก.ค. 62

    จุฬาตรีคูณ หรือ สังคัม (Triveni Sangam) เป็นชื่อของสถานที่ในเมืองอัลลาฮาบาด (Allahabad) ที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ในอินเดีย 3 สายคือแม่น้ำคงคา (Ganges) แม่น้ำยมุนา (Yamuna) และแม่น้ำสรัสวดี (Saraswati) มารวมกัน


    ที่บรรจบของจุฬาตรีคูณจะมองเห็นเป็นน้ำสองสี สองกระแส กระทบกันอย่างชัดเจนเป็นวังน้ำวน ชาวฮินดูมีความเชื่อว่าภายใต้แม่น้ำ 5 สาย (ปัญจมหานที) มีแม่น้ำใต้ดินอีกสายหนึ่ง ซึ่งมองไม่เห็นได้ไหลมาบรรจบกัน ณ ตรงจุดที่เป็นตาน้ำพุ่งขึ้น คือ แม่น้ำสรัสวดี


    จุฬาตรีคูณเป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีกรรม “มหากุมภะ เมลา (Kumbha Mela)” 
    .
    .
    .
    .
    .
     มหากุมภะเมลา มีที่มาจากตำนานการกวนเกษียรสมุทร โดยว่ากันว่า ขณะที่เทพและอสูรกำลังแย่งชิงน้ำอมฤตนั้น หยดน้ำอมฤตได้กระเด็นตกลงมายัง 4 เมืองบนโลกมนุษย์ ได้แก่เมืองอัลลาฮาบาด เมืองนาสิก (Nashikเมืองอุชเชน (Ujjain) และเมืองหริทวาร (Haridwar)
      

    ชาวฮินดูถือว่ามหากุมภะเมลาเป็นเทศกาลสำคัญที่ญาติสนิทมิตรสหายจะได้สวดมนต์ขอพรเทพเจ้าและเดินทางไปแสวงบุญยังริมฝั่งแม่น้ำคงคาในเมืองอัลลาฮาบาด
    .
    .
    .
    .
    .
    จุฬาตรีคูณยังมีส่วนสำคัญในการประกอบพิธีมหาศิวะราตรี (Maha Shivaratri)


    มหาศิวะราตรีคือวันสำคัญทางศาสนาฮินดู โดยจะจัดขึ้นในช่วงแรม 13 ค่ำ หรือแรม 14 ค่ำ ของปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคมของทุกปี 
    .
    .
    .
    .
    .
    เล่ากันว่าพนมเทียน (ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ) เขียนนิยาย “จุฬาตรีคูณ” ขึ้นจากความประทับใจในเรื่อง “กามนิต –วาสิฐี” มีช่วงหนึ่งของเรื่อง ที่กล่าวถึงแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ อันเกิดจากการบรรจบของแม่น้ำคงคา กับแม่น้ำยมุนา และในเวลากลางคืน จะมีทางช้างเผือกมาบรรจบกัน


    พนมเทียนนำต้นฉบับ “จุฬาตรีคูณ” ไปเสนอขายตามสำนักพิมพ์ต่าง ๆ แต่เนื่องจากเป็นนักเขียนหน้าใหม่จึงถูกปฏิเสธ กระทั่งไปเสนอครูแก้ว อัจฉริยะกุล หรือ “แก้วฟ้า” เมื่อครูแก้วได้อ่านแล้วชอบใจจึงทำเป็นละครวิทยุ ให้ครูเอื้อ สุนทรสนานช่วยแต่งเพลงประกอบเรื่อง ทำเป็นละครวิทยุ ทำให้จุฬาตรีคูณเป็นที่รู้จักของผู้ฟังจำนวนมาก
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×