ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #244 : ช้าหงส์ส่งพระเป็นเจ้า

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 283
      6
      26 ต.ค. 63

    การช้าหงส์ หรือ ช้าเจ้าหงส์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “กล่อมหงส์” ซึ่งเป็นพิธีสำคัญตอนหนึ่งของพระราชพิธีตรียัมปวาย – ตรีปวาย เป็นการอัญเชิญเทพเจ้ากลับสู่สวรรค์


    กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงวินัจฉัจเรื่อง ช้า - หส์” ตอบกรมพระยาดำรงราชานุภาพผ่านจดหมายสาส์นสมเด็จว่า


    “แท้จริงรำลึกชาติขึ้นได้ว่าคำ “ช้าเจ้าหงส์” มาคนละทาง ไม่ใช่ไกวเป็นหงส์ในพิธีชิงช้าของพราหมณ์ที่เทวสถาน นั่นเขาเรียกโดยทางราชการว่า “กล่อมหงส์” 


    คำว่าช้าหงส์นั้นเป็นชื่อเพลง คือเพลงซึ่งโต้กันอย่างเพลงปรบไก่ แต่ลูกคู่ร้องรับยืนคำอยู่ว่า “ช้าเจ้าหงส์เอย ปีกอ่อนร่อนลง เข้าในดงลำไย” เมื่อยังร้องซ้ำอยู่นานเบื่อหูเข้า เขาก็ร้องรับยักไปว่า “อินนะชิตฤทธิรงค์ เข้าในดงลำไย”


    เพลงนี้เขาเอามาเล่นบำเรอเมื่อไปเที่ยวเมืองนางรองเรียกว่า “เพลงช้าเจ้าหงส์”
    .
    .
    .
    โดยการประกอบพิธีช้าหงส์ในพระราชพิธีตรียัมปวาย - ตรีปวายนั้นเริ่มด้วยพระมหาราชครูกระทำกรรมบูชา หรือกรรมพิธีอัญเชิญเทพเจ้าสรงน้ำด้วยกลศและน้ำสังข์ 


    เสร็จแล้วอัญเชิญสู่ภัทรบิฐ ทำสารทบูชา อัญเชิญเทพรูปตั้งบนพานทอง แล้วเดินชูประทักษิณรอบหงส์เทพพาหนะที่ตั้งหงส์นี้ทำรูปคล้ายเปล เมื่อเวียนครบสามรอบแล้ว


    อัญเชิญเทวรูปขึ้นสู่บุษบกหงส์ จากนั้นพระครูพราหมณ์ 1 คู่ อ่านพระเวท ช้าหงส์ พระครูพราหมณ์อีกคนหนึ่งไกลเปลหงส์ไปช้า ๆ เป็นจังหวะ เสมือนหนึ่งพญาหงส์บินไปรอบๆ จักวาลครรไลสู่สวรรค์ จากการอ่านพระเวทเป็นทำนองฉันท์แล้วไกวแปลช้า ๆ  ชาวบ้านจึงเรียกว่า “กล่อมหงส์”พราหมณ์จะไกวเปลหงส์ พร้อมกับสวดพระเวทไปด้วย 


    โดยตามตำนานกล่าวไว้ว่า เกิดจากดวงจิตของฤษีวาลมีกิ (Valmiki) ที่ได้ฟังเสียงนกกระเรียนผัวเมียคู่หนึ่ง ซึ่งนกกระเรียนผู้ผัวถูกนายพรานยิงตาย นกกระเรียนผู้เมียจึงร้องส่งเสียงคร่ำครวญ ท่านฤษีจึงเเรียบเรียงเสียงร้อยกรอง บังเกิดเป็นโศลกและฉันท์ต่างๆ 
    .
    .
    .
    ในส่วนของนักวิชาการได้ตั้งข้อสังเกตว่า ตำราพระเวทที่ใช้ในการช้าหงส์ น่าจะเป็นงานที่รวบรวมบทสวดสรรเสริญพระเป็นเจ้าต่างๆมาเรียบเรียงเข้าไว้ด้วยกัน เนื่องจากพบตำราที่ใช้ในการสวด บางส่วนนำมาจากคัมภีร์สดุดีพระศิวะ ชื่อ “ศิวปญฺจากฺษรสฺโตตฺรมฺ (Shiva Panchakshara Stotram)” ที่พราหมณาจารย์ชื่อ ศังกร (Shankara) แต่งเมื่อราว 1,100 – 1,200 ปีมาแล้ว 


    ขณะที่บางส่วนนำมาจากคำสดุดีอรรธนารีศวร (Ardhanarishvara) ภาคฟิวชั่นระหว่างบิ๊กบอสกับเจ๊ปารวตีในคัมภีร์ชื่อ “อรฺธนารีศฺรสฺโตตฺรมฺ (Ardhanarishvara Stotram)”
    .
    .
    .
    ทำนองฉันท์กล่อมหงส์มีอยู่ 4 ทำนอง แต่ละทำนองมีลีลาและความไพเราะแตกต่างกัน พระราชครูวามเทพมุนี ได้อธิบายถึงท่วงทำนองอันไพเราะของฉันท์กล่อมหงส์ดังนี้เสียง


    “ผู้ที่เคยได้ฟังมักกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นลีลาของอันไพเราะนุ่มนวลยากที่จะหาฟังจากที่อื่น ๆ ได้ ฉันท์กล่อมหงส์ดังกล่าวได้รจนาล่วงเป็นเวลานานแล้วนับพัน ๆ ปีก่อนพุทธกาล และท่วงทำนองนี้ยังคงรักษาไว้ทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งการออกเสียงและอักขระพยัญชนะ ถ้าได้ฟังแล้วจะรู้สึกว่าโบราณจารย์ได้ร้อยกรองเป็นวรรณคดี มีสัมผัสหนักเบาไพเราะอย่างน่าอัศจรรย์”
    .
    .
    .
     ความไพเราะของท่วงทำนองกล่อมหงส์นั้นไม่ว่าจะเป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินหรือสามัญชนคนธรรมดาล้วนแต่ตั้งหน้าตั้งตาฟังกัน ในโครงพระราชพิธีทวาทศมาสได้กล่าวถึงดังนี้


    “ช้าหงส์ชนชอบแล้ว     ไปฟัง
    นั่งที่แถวผนังตาม        พวงพ้อง
    ผู้ดีมักแอบบัง            เสาซุ่ม ซ่อนเอย
    บางพวกพาพี่น้อง        เที่ยวเหล้นตามสบาย
    ............................                      
    บางพวกเหล่าหม่อมเจ้า   บางองค์
    บางพวกหม่อมราชวงศ์   หนุ่มน้อย
    ไปฟังเมื่อช้าหงส์         เห็นสนุก นาพ่อ
    มีอนงค์แอบอ้อย          อิ่งอ้อนบังตา”  


    ใช่ว่าผู้คนโดยมากจะตั้งใจไปฟังการกล่อมช้าหงส์เพียงอย่างเดียวไม่ เพราะตลอดงานพระราชพิธีตรียัมปวาย – ตรีปวายจะมหรสพรายรอบบริเวณเทวสถานและวัดสุทัศน์เทพวราราม มีทั้งโรงหนังและดอกไม้เพลิง ค่ำคืนการกล่อมช้าหงส์จึงเปรียบเสมือนกับกาลนัดแนะของหนุ่มสาวและชาวบ้านออกมาเที่ยวแตร่หาความสุขสำราญ


    “ทั้งนี้ฤๅใช้ช้า         หงส์ประสงค์ ฟังเอย
    จริงจิตจำนง           อื่นบ้าง
    จงเจาะเฉพาะตรง      สิ่งสวาดิ แลนา
    ยกเหตุช้าหงส์อ้าง     เพื่อรู้วันประชุม” 
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×