ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #3 : นิทานวัดเกาะ ต้นกำเนิดละครจักรๆวงศ์ๆ

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.46K
      72
      26 ก.ค. 64

    • ยี่สิบห้าสตางค์ต่างรู้ท่านผู้ซื้อ…………ร้านหนังสือหน้าวัดเกาะเพราะนักหนา
    • ราษฎร์เจริญโรงพิมพ์ริมมรรคา………เชิญท่านมาซื้อดูคงรู้ดี
    • ได้ลงพิมพ์คราวแรกแปลกๆ เรื่อง……อ่านแล้วเปลื้องความทุกข์เปนสุขี
    • ท่านซื้อไปอ่านฟังให้มั่งมี………………..เจริญศรีศิริสวัสดิ์พิพัฒน์เอย

    นี้คือสโลแกนเชิญชวนของ โรงพิมพ์ราษฎร์เจริญ หรือที่รู้จักกันในนาม โรงพิมพ์หน้าวัดเกาะ นี้เอง

    โรงพิมพ์ราษฎร์เจริญก่อตั้งเมื่อปี 2432 เริ่มก่อตั้งโดยนายสิน (เอกสารบางแห่งก็เรียกว่า นายสิงห์) ตั้งอยู่หน้าวัดเกาะหรือวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร

    โรงพิมพ์แห่งนี้มีชื่อเสียงในการตีพิมพ์นิทานพื้นบ้านจักรๆวงศ์ๆ จนเป็นจุดกำเนิดของ นิทานวัดเกาะ ในที่สุด
     


     

    นายสิน ได้ดำเนินกิจการโรงพิมพ์มาจนถึงราวปี 2452 จึงถึงแก่กรรม และได้มีผู้สืบทอดกิจการโรงพิมพ์ต่อมาคือ คุณนายทองคำ (พั่วพงศ์แพทย์) ผู้เป็นภรรยาได้ดำเนินกิจการต่อมา จนกระทั่งในปี 2471 

    ก่อนที่คุณนายทองคำจะเสียชีวิตสิบปี ได้มอบหมายให้นางสุดจิตต์ ละมุลทรัพย์ บุตรสาวเป็นผู้ดูแลกิจการสืบต่อมา ในยุคเปลี่ยนแปลงนี้เอง ทำให้โรงพิมพ์วัดเกาะแห่งนี้ต้องย้ายสถานที่ประกอบกิจการถึง 2 ครั้งด้วยกัน

    ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2510 ได้ย้ายกิจการจากวัดเกาะไปยังตึกใหม่ ณ ตรอกสะพานญวน สำเพ็ง

    ครั้งที่สองได้ย้ายมาอยู่ ณ ตรอกจันทน์ ยานนาวา การย้ายกิจการในครั้งนี้ ได้ลดการพิพม์หนังสือซึ่งเป็นงานหลักเป็นรับจ้างพิมพ์ และรับพิมพ์งานเล็กๆ น้อยๆแทน 

    ลักษณะรูปเล่มหนังสือวัดเกาะเป็นแบบ "สมุดฝรั่ง" หรือ "หนังสือฝรั่ง" เย็บเข้าเล่ม ซึ่งขนาดของหนังสือวัดเกาะในยุคแรกๆ จะพิเศษที่จะมีขนาดใหญ่กว่าหนังสือขนาด 16 หน้ายก เพียงเล็กน้อย ตัวปกใช้กระดาษปอนด์มันที่เรียกว่ากระดาษลายน้ำ หนังสือแต่ละเรื่องที่จัดพิมพ์มักจะเป็นเรื่องยาว ๆ โดยใบหน้าแรกจะเป็นการสรุปเนื้อเรื่อง แล้วจึงจะขึ้นเนื้อเรื่อง โดยพิมพ์จากสมุดไทยเป็น 1 เล่ม พบจบเล่มจะเขียนว่า 

    "จบเล่มสมุดไทย" เล่ม..... ยังมีต่อไป"

    ดังนั้นกว่าจะจบเรื่องเรื่องหนึ่งจึงยาวเป็นสิบ ๆ เล่ม ราคาจำหน่ายปกติ

    หนังสือจากโรงพิมพ์วัดเกาะไม่ได้พิมพ์ขายเฉพาะในกรุงเทพฯ แต่ส่งขายไปยังต่างจังหวัดตามหัวเมือง อย่าง สงขลา จันทบุรี ฯลฯ ซึ่งต่อมาทำให้เกิดโรงพิมพ์ในต่างจังหวัดขึ้นอีกหลายสถานที่

    เนื้อเรื่องส่วนใหญ่ของนิทานวัดเกาะก็จะเป็นแนวเจ้าชายที่ถูกหาว่าเป็นตัวกาลกิณี จึงต้องพลัดพรากจากบ้านเมือง ออกเดินทางไปศึกษาวิชากับพระฤษีในป่าแล้วออกมาผจญภัยโลกภายนอก พบนาง ซึ่งเป็นลูกสาวของศัตรู ส่วนมากก็คือยักษ์ ในที่สุดก็ฆ่าพ่อตา แล้วพาลูกสาวเขากลับมากอบกู้บ้านเมืองของตน ตามคอนเซ็ป  "เรียนวิชา-ฆ่ายักษ์-ลักนาง"



    เมื่อเข้าสู่ยุคโทรทัศน์ นิทานวัดเกาะก็ได้กลายมาเป็นแม่แบบในการสร้างละครจักร ๆ วงศ์ๆ ให้ผู้ชมได้ดูกันอย่างสนุกสนานไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สิงหไกรภพ, สังข์ทอง, จันทโครพ, แก้วหน้าม้า, ขวานฟ้าหน้าดำ, หลวิชัย-คาวี, สี่ยอดกุมาร, นางสิบสอง, พระรถเมรี, เกราะเพชรเจ็ดสี, ดาบเจ็ดสี มณีเจ็ดแสง, พิกุลทอง, โสนน้อยเรือนงาม, เทพศิลป์ อินทรจักร, ปลาบู่ทอง เป็นต้น

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×