ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #48 : 12 พระราชพิธีสุดว้าวสิบสองเดือน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.75K
      10
      28 ก.ค. 64

    พระราชพิธีสำหรับพระนครมีที่มาจากสองทางคือจากศาสนาพราหมณ์ทางหนึ่ง จากพระพุทธศาสนาทางหนึ่ง แต่มีบางพิธีมีการนำมามิกซ์แอนท์แมกซ์เอาไว้อย่างลงตัว 

    เรียกพระราชพิธีต่างๆในแต่ล่ะเดือน เรียกรวมกันว่า พระราชพิธีสิบสองเดือน ซึ่งจากพระราชพิธีสิบสองเดือนของรัชกาลที่ 5 ซึ่งถือว่าเป็นวรรณคดีชิ้นเอกเล่มหนึ่งของไทย 

    และนิยมใช้เป็นเนื้อเรื่องวาดเขียนลงบนฝาผนังตามวัดต่างๆในสมัยรัตนโกสินทร์ 
     

    วันนี้เราจะเจาะลึกแค่เดือนละพิธีว่ามีพิธีอะไรบ้าง ซึ่งเราจะมาดูพระราชพิธีแปลกๆที่คุณอาจจะไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน เอาล่ะ จะขอเริ่มจากเดือนสิบสอง ณ บัดนาว!!

    .
    .
    .

    เดือนสิบสอง : พิธีกะติเกยา

    พระราชพิธีกะติเกยานี้ เป็นพิธีคอยรับพระเป็นเจ้าจะเสด็จลงมาตามคติของพราหมณ์ แต่ก่อนเคยทำในเดือนอ้าย แต่รัชกาลที่ 4 โปรดให้เลื่อนมาทำในเดือนสิบสอง โดยปลูกเกยขึ้นที่หน้าเทวสถานสามเกย สถานพระอิศวร สถานพระพิฆเนศ สถานพระนารายณ์ สูง 4 ศอกเท่ากัน เป็นพิธีการตามเพลิงคอยรับพระเป็นเจ้าที่จะเสด็จลงมาเยี่ยมโลก

     

    เดือนอ้าย : การพระราชกุศลเลี้ยงขนมเบื้อง

    กำหนดการเลี้ยงขนมเบื้องนี้ เป็นการเลี้ยงขนมเบื้องแก่พระเท่านั้น โดยจะกำหนดพระสงฆ์ตั้งแต่เจ้าพระ พระราชาคณะ 80 รูปมาฉันในพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย ซึ่งจะกำหนดเลี้ยงในวันตรุษ

     

    เดือนยี่ : พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย
    หรือการโล้ชิงช้านี่เอง เป็นพิธีกรรมรับเสด็จพระอิศวรที่จะมาเยี่ยมโลกมนุษย์เป็นเวลา 10 วัน แต่เดิมนั้นจะจัดในเดือนอ้าย ครั้นล่วงเข้าสู่กรุงรัตนโกสินทร์จึงได้เปลี่ยนมาจัดในเดือนยี่ พิธีนี้ถือเป็นพิธีขึ้นปีใหม่ของพราหมณ์ แต่พิธีโล้ชิงช้าได้ยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 7 ปัจจุบันการประกอบพระราชพิธีตรียัมพวายนี้จะกระทำภายในเทวสถานเท่านั้น

     

    เดือนสาม : การพระราชกุศลเลี้ยงพระตรุษจีน

    เกิดขึ้นในแผ่นดินรัชกาลที่ 3 โดยโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์และภายในจัดเรือขนมจีนมาเลี้ยงพระสงฆ์ที่หน้าตำหนักแพ ครั้นรัชกาลที่ 4 เห็นว่าขนมจีนนั้นไม่ใช่ของจีน จึงโปรดให้ทำเกาเหลาแทน แล้วโปรดให้สร้างเก๋งจีนขึ้นหน้าพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย ให้เชิญเทวรูปและเจว็ดมุกในหอแก้วลงไปตั้ง แล้วให้อาลักษณ์อ่านประกาศเป็นคำกลอนลิลิตตามเนื้อความของคาถายานี และขอพรข้างปลายเป็นการเทวพลีให้เข้าเค้าอย่างเซ่นข้างจีน 

     

    เดือนสี่ : พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์

    พระราชพิธีนี้มีความสำคัญมากในอดีต รัชกาลที่ 5 ทรงสันนิษฐานว่า ได้รับอิทธิพลมาจากลังกา ซึ่งเป็นการสวดไล่ผี เพราะในสมัยก่อนคนไทยเชื่อว่า ช่วงเปลี่ยนผ่านปีนั้นจะต้องขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากบ้านจากเมือง เพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้คนและบ้านเมืองด้วย

     

    เดือนห้า : พระราชพิธีคเชนทรัศวสนาน

    เป็นพิธีของพราหมณ์ เป็นกระบวนเรื่องคชกรรมของหมอช้าง ทำเพื่อให้เจริญสิริมงคลแก่ช้าง และบำบัดเสนียดจัญไรในผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ในการช้างทั้งปวง ทำปีละสองครั้ง คือทำเดือนห้าครั้งหนึ่งกับเดือนสิบอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการตระเตรียมเครื่องสรรพศาสตราวุธ และพลทหารให้พร้อมเสมอ

     

    เดือนหก : พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

    เป็น 2 พิธีที่กระทำร่วมกันคือ พระราชพิธีพืชมงคล ซึ่งเป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่างๆ เกิดขึ้นในสมัยร.4  ส่วนพิธีแรกนาขวัญ เป็นพิธีของพราหมณ์มีมาแต่โบราณ มีจุดมุ่งหมายเป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว จนถึงปี พ.ศ. 2479 ได้เว้นไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพิจารณาเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม จึงโปรดให้ฟื้นฟูประเพณีนี้ขึ้นอีกครั้ง

     

    เดือนเจ็ด : พระราชพิธีเคณฑะ

    พระราชพิธีก็คือการทิ้งข่าง(ลูกข่าง)เสี่ยงทายนี่เอง พราหมณ์จะทิ้งข่างเสี่ยงทาย ซึ่งถ้าข่างดังเสียงเสนาะหมุนนอนวันได้บาทนาฬิกา(6 นาที) มิได้หย่อนลง กล่าวว่าพระเจ้าแผ่นดินจะทรงพระเกียรติยศปรากฏไปในนานาประเทศ สมณะชีพราหมณ์และไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน แต่อย่างไรก็ตามก็เป็นพิธีให้อุ่นใจซะมากกว่า

    ส.พลายน้อย บันทึกเรื่องพระราชพิธีทิ้งข่างไว้ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยว่า พระราชพิธีเคณฑะ หรือพระราชพิธีทิ้งข่างนี้ เป็นพิธีพราหมณ์ ไม่เกี่ยวข้องในการเสด็จ

    รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชวิจารณ์ว่า พระราชพิธีนี้เป็นการจืด ไม่อัศจรรย์ จึงสั่งให้เลิกเสีย.

     

    เดือนแปด : การเสด็จพระราชดำเนินถวายพุ่ม

    ในเทศกาลเข้าพรรษา จะมีการเสด็จพระราชดำเนินถวายพุ่มเพื่อสักการะสำหรับในช่วงเข้าพรรษาแด่พระสงฆ์ รวมทั้งสักการะพระพุทธรูป และพระบรมอัฐิของบูรพกษัตริย์ในพระบรมมหาราชวัง 

     

    เดือนเก้า : พระราชพิธีพิรุณศาสตร์

    เป็นพระราชพิธีสมัยแต่โบราณการ หรือเรียกอย่างว่า พิธีขอฝน เพื่อเป็นขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยดลบันดาลให้ฝนฟ้าตกลงมา เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่พสกนิกร แต่ในช่วงราวต้นรัชสมัยของรัชกาลที่ 5พระราชพิธีนี้ได้ก็ได้เลิกร้างไปในที่สุด

     

    เดือนสิบ : การพระราชกุศลตักบาตรน้ำผึ้ง

    การตักบาตรน้ำผึ้งนี้ พึ่งเกิดขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 4 โดยน้ำผึ่งเป็นหนึ่งในเภสัชขันธ์ห้าอย่างที่พระพุทธเจ้าอนุญาต ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เในการตักบาตรน้ำผึ้งแผ่นดินปัจจุบันนี้ ยังคงอยู่เป็นประเพณีของชนชาวรามัญเรียกกันว่า บังฮะเบี้ยงต๊าดซาย ที่ยังคงปฏิบัติสืบต่อกันมาในจังหวัดสมุทรสาคร ปทุมธานี

     

    เดือนสิบเอ็ด : พระราชพิธีแข่งเรือ 

    การแข่งเรือปรากฏอยู่ในคำให้การของชาวกรุงเก่า พระราชนิพนธ์ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่าเป็นพระราชพิธีเดือนสิบเอ็ด หรือ พระราชพิธีอาสวยยุทธ คือการแข่งเรือของพระเจ้าแผ่นดิน ว่า

    พระเจ้าแผ่นดินทรงเรือพระที่นั่งกิ่งลำหนึ่ง พระอัครมเหสีทรงลำหนึ่ง แข่งเรือกัน แล้วโปรดให้เสนาอำมาตย์ทั้งหลายแข่งเรือกันโดยลำดับ พระราชพิธีนี้ทำกันเมื่อขึ้น 14 ค่ำ จนแรม 3 ค่ำ รวม 3 วัน 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×