ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #61 : ยักษ์มักกะสัน

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.27K
      14
      29 ก.ค. 64

    ยักษ์มักกะสัน เป็นสำนวนไทยในอดีต หมายถึง คนที่มีใจคอโหดร้าย โหดเหี้ยม อำมหิตผิดมนุษย์ เขามักจะเรียกคนเหล่านี้ว่าดุร้ายปานยักษ์มักกะสัน
     

    กาญจนาคพันธุ์ได้เขียนเอาไว้ในหนังสือภูมิศาสตร์สุนทรภู่เอาไว้ว่าคำว่า “มักกะสัน” สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “มาคัสซาร์” (Makassar)” ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ในเกาะซีลีบีส (Celebes) (ปัจจุบันคือเกาะซูลาเวซี (Sulawesi)) 

    ดังนั้นคำว่า มักกะสัน จึงหมายถึง ชาวแขกที่มาจากเมืองมาคัสซาร์นี้เอง

    .
    .
    .

    ที่มาของคำว่ายักษ์มักกะสันนี้ก็จะขอเริ่มกล่าวถึงในสมัย พระนารายณ์มหาราช (King Narai) แห่งกรุงศรีอยุธยา ระตูจากเมืองมาคัสซาร์ (Makassar Prince) ได้พาพรรคพวกเป็นชายฉกรรจ์ประมาณ 300 กว่าคนหนีภัยคุกคามจากฮอลันดาเข้ามาพึ่งพากรุงสยาม ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ก็รับเอาไว้ให้อยู่กองอาสาแขก และได้ประทานที่ดินทางฝั่งตะวันตกของคลองตะเคียนให้ชาวแขกได้ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย จึงเรียกชื่อที่ตั้งชุมชนนั้นว่า “ทุ่งมักกะสัน” และเรียกชาวบ้านเหล่านั้นว่า แขกมักกะสัน

    แต่ระตูนั้นกลับเป็นคนฝักใหญ่ใฝ่สูง ในปี 2229 ในระหว่างที่สมเด็จพระนารายณ์ไปประทับอยู่ที่เมืองลพบุรีนั้น ระตูมักกะสันก็ได้ชักชวนให้พวกเขมร และจามเข้าร่วมกลุ่มกบฏกับตน 

    แก๊งค์อาบังก่อกบฏวางแผนบุกพระราชวัง ปล้นทรัพย์สมบัติให้หมด ปลดปล่อยนักโทษออกจากคุกและถ้ามีโอกาสก็จะจับสมเด็จพระนารายณ์เจี๋ยนทิ้งเสียแล้วตั้ง เจ้าฟ้าอภัยทศ (Chaofa Aphaitot) เป็นกษัตริย์แทน 

    และบังคับให้ทุกๆคนต้องหันมานับถืออิสลาม ไม่ว่าถือว่าเป็นปรปักษ์กับพวกตน

     

    แต่แผนการกลับรั่วไหลเมื่อขุนนางมลายูคนหนึ่งนำความไปบอกขุนนางผู้รักษาพระนครซะก่อน อาบังแก๊งค์กบฏจึงได้แต่นิ่งสงบทำตัวเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ความทราบถึงขุนหลวงนารายณ์ก็ให้ คอนสแตนติน ฟอลคอน (Constantine Phaulkon) --> เจ้าพระยาวิชาเยนทร์) ยกทัพไปปราบแก๊งค์แขกนั้นทันที

    ทีแรกคอนสตั้นซ์ขอให้พวกแขกยอมแพ้แต่โดยดี แต่ระตูมักกะสันกลับทำบิดเบือน ขอให้ตนกับลูกน้องคู่ใจทั้ง 52 นายเดินทางออกนอกอาณาจักร 

    คอนสตั้นซ์รู้ว่าจะต้องมาไม้นี้จึงอนุญาตพวกแขกไปแต่ให้ เดอ ฟอร์บัง (Claude de Forbin-Gardanne --> ออกพระศักดิ์สงคราม) นายทหารฝรั่งเศส ผู้รักษาป้อมบางกอกขึงโซ่ขวางพวกแขกกลางแม่น้ำเจ้าพระยาทันที

    การปะทะก็เกิดขึ้นที่บางกอก แขกมักกะสัน ซึ่งมีรูปร่างใหญ่โตและผิวดำ แม้จะมีกำลังคนน้อยและมีอาวุธเป็นเพียงกริช ก็สามารถต่อสู้กับกองทหารไทยและทหารฝรั่งเศสซึ่งมีจำนวนคนมากกว่าและอาวุธดีกว่าได้อย่างยาวนาน 

    แต่พวกแขกกลับบ้าเลือดเหมือนหนังสงคราม อาละวาดไล่ฆ่าฟันผู้ที่ขวางทางไม่ว่าจะเป็นลูกเด็กเล็กแดง ผู้หญิงหรือพระสงฆ์องค์เจ้าก็ตาม ซึ่งรวมศพคนที่ถูกฆ่าแล้วตาย 366 คน แต่พวกแขกกลับตายเพียงแค่ 17 คน 

    ต่อมาทางการเข้าปราบปรามเข้าเสียจนหมดสิ้น เผาหมู่บ้านมักกะสันบางล้างไปซะให้หมด เด็กและผู้หญิงถูกไฟครอกตายแทบจะไม่เหลือ

    .
    .
    .

    นอกจากนี้ “มักกะสัน” ยังปรากฏเป็นชื่อย่านในกรุงเทพมหานคร มีมาจากชาวเมืองมาคัสซาร์ ซึ่งเดินทางเข้ามาประเทศไทยในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (King Chulalongkorn) เมื่อครั้นเสด็จชวา

    ร.5 ท่านทรงสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับพันธุ์ไม้แปลกๆ ในอินโดเนเซียนั้น จึงมีพระราชประสงค์นำเข้ามาปลูกในประเทศไทย 
     

    ครั้งทรงประจักษ์ถึงความรู้ ความสามารถของชาวมักกะสันในด้านการทำสวนปลูกต้นไม้ ตลอดจนการขยายพันธุ์ การตัดแต่งต้นไม้เป็นรูปต่างๆ มีจินตนาการในการแต่งสวนได้อย่างงดงามแปลกตา จึงโปรดให้ว่าจ้างชาวมาคัสซาร์เข้ามาทำหน้าที่แต่งสวนในสถานที่ราชการต่างๆทั้งในพระราชวังตลอดจนสถานที่สาธารณะอื่นๆ 
     

    และโปรดให้ชาวแขกมาคัสซาร์ซึ่งเรียกกันตามสำเนียงไทยว่า แขกมักกะสัน ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองแสนแสบ ใกล้บริเวณที่พวกมลายูอาศัยอยู่ก่อน จึงเรียกอาณาบริเวณนั้นว่า “ทุ่งมักกะสัน” 
     

    เป็นเพราะบริเวณนี้มีลักษณะภูมิประเทศ และลักษณะผู้คนที่อาศัยอยู่คล้ายคลึงกับทุ่งมักกะสันที่กรุงศรีอยุธยา แต่จะเรียกเพราะเหตุใดก็ตาม บริเวณดังกล่าวเมื่อหมดสภาพการเป็นทุ่งก็กลายเป็นตำบล ย่าน จนกระทั่งปัจจุบันชื่อมักกะสันปรากฏเป็นชื่อ ถนน, บึง, ย่าน, แขวง และสถานีตำรวจ

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×