ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #65 : "นิทราชาคริต" ในราชสำนักสยาม

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.96K
      17
      29 ก.ค. 64

    รัชกาลที่ 5 เป็นพระองค์แรกที่ทรงแปลนิทานอาหรับราตรีเป็นภาษาไทย เมื่อปี 2422 โดยทรงเก็บความจากเรื่อง "Sleeper Awaken" 

    แล้วทรงโปรดให้ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ตรวจทานแก้ไขถ้อยคำ 

    และให้ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ตรวจทาน และจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นของขวัญวันปีใหม่แก่พระบรมวงศานุวงศ์ โดยพระองค์ท่านทรงพระราชนิพนธ์เรื่อนี้จบโดยใช้เวลาเพียง 29 วัน 

    โดยทรงตั้งชื่อเรื่องนี้ว่า "นิทราชาคริต" อันมีความหมายว่า การหลับและการตื่น หรือหลับๆตื่นๆ ตามแบบพฤติกรรมของตัวละครในเรื่อง

    .
    .
    .

    ในวันขึ้นปีใหม่ในพระบรมมหาราชวังนั้น บางปีพระพุทธเจ้าหลวงก็โปรดให้นัดแต่งพระองค์แปลกๆ บางปีก็โปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการเข้าเป็นสมาคมเรียกกันว่า “รอแยล มายิเกล โซไซเอตี (Royal Magical Society)” โดยมีกรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดชเป็นประธานเพื่อเล่นกลหรือเล่นละครต่างๆ

    เมื่องานปีใหม่ปีเถาะ เอกศก 2422 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงแนะนำให้พวกสมาคมเล่นละครพูดเรื่อง นิทราชาคริต ขึ้น และโปรดให้ปลูกโรงละครชั่วคราวขึ้นที่ชาลาด้านทางตะวันตกของพระที่นั่งพิมานรัต 

    จากนั้นทรงเสด็จลงไปดูการซักซ้อมอยู่เป็นเนื่องๆ 

    ทรงพระราชดำริว่า ควรจะมีบทร้องเข้าปี่พาทย์ด้วยจึงจะดี จึงทรงพระราชนิพนธ์บทร้องเรื่องนิทราชาคริตเพิ่มเติมขึ้นสำหรับให้เล่นละครในครั้งนั้น เป็นกลอนแปดบ้าง คัดโคลงในลิลิตของพระราชนิพนธ์มาใช้เป็นบทร้องบ้าง 

    ตัวละครที่เล่นจะกล่าวแต่เฉพาะตัวที่มีชื่อในบท คือ

    • กาหลิบฮารูนอาลราษจิต (Harun al-Rashid) : พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์
    • แครนวิเชีย (Grand Vizier) : กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์
    • เมศเรอ (Masrur) : กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม
    • ยุนุก (Eunuch) : กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ
    • อาบูหะซัน (Abu al-Hasan) : กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ
    • นางโซบิเด (Zubaidah bint Ja`far) : กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช
    • พระนมของโซบิเด : กรมหมื่นพรหมวรานุรักษ์
    • นางจอบแก้ว : กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
    • นางนอซาตอลอัวดัด (Nuzhat al-Fuad) : กรมพระนริศรานุวัติวงศ์ฃ
    • นางบำเรอ ดาวพระศุกร์ (Venus) : กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช
    • นางบำเรอ ชื่นจิตร (Heart's Delight) : กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
    • นางบำเรอ สร้อยจิตร (Heart Clain) กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
    • นางบำเรอ อรุณ (Daylight) : กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
    • นางบำเรอ เศร้าจิตร (Soul's Torment) : เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค)
    • นางบำเรอ จันทร์ประไพ (Moonlight) : หม่อมนราธิราช (ชิต)
    • นางบำเรอ พวงไข่มุก (Cluster of Peals) : พระองค์เจ้าจิตรเจริญ

    .
    .
    .

    แต่เมื่อถึงวันปีใหม่ พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับประชวร จึงโปรดให้เลื่อนการเล่นละครไป ละครได้ลงโรงเล่นเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 5 แรม 7 ค่ำ เป็นคืนแรก จับเล่นแต่ต้นเรื่องไปจนถึงอาบูหะซันสลบที่ในวัง แล้วกาหลิบให้อุ้มตัวกลับไปส่งบ้าน คืนที่ 2 เล่นตอนอาบูหะซันคลั่งไปจนจบเรื่อง เมื่อละครจบแล้ว จึงทรงโปรดฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ที่มิได้เป็นตัวละครเป็นคอมมิเตเตอร์ตัดสินรางวัลที่จะพระราชทานให้ตัวละครตามที่เล่นดีเป็นลำดับ 

    • กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ เป็น อาบูหะซัน ได้ทรงรับรางวัลที่ 1 
    • กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็น นางจอบแก้ว ได้ทรงรับรางวัลที่ 2
    • กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็น เมศเรอกรมวัง ได้ทรงรับรางวัลที่ 3

    ต่อมาทรงอนุญาตให้ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง เอาพระราชนิพนธ์เรื่องนิทราชาคริตไปคิดกระบวนเล่นเป็นละครร้องเรื่อง อาบูหะซัน ซึ่งแต่งเป็นหนังสือประมาณ 2 เล่มสมุดไทย 

    .
    .
    .

    ละครพูดเรื่องนิทราชาคริตยังได้เล่นรุ่นหลังอีกครั้งหนึ่ง เมื่อรัตนโกสินทรศก 111 (พ.ศ. 2435) เวลานั้นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระเจ้าลูกยาเธอ และหม่อมเจ้าที่เรียนอยู่ในโรงเรียนราชกุมาร ได้รวมตัวกันเป็นสมาคมเรียกว่า “ราชกุมารกตานุกรณ์” โดยซักซ้อมเล่นละครพูด เรื่องนิทราชาคริตถวายตัวที่เกาะสีชัง 

    ตัวละครที่เล่นนั้น ได้แก่

    1. นางบำเรอ : หม่อมเจ้าจุลดิศ ดิศกุล
    2. นางบำเรอ : กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต
    3. นางบำเรอ : กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
    4. ยุนุก : กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย
    5. ยุนุก : กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
    6. ยุนุก : หม่อมเจ้าสุธาสิโนทัย เทวกุล
    7. นางพระนม : กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
    8. นางนอซาตอลอัวดัด : กรมขุนลพบุรีราเมศวร์
    9. นางโซบิเด : รัชกาลที่ 6
    10. นางบำเรอ : หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ 
    11. ยุนุก : กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช
    12. กาหลิบ : พระองค์เจ้าดนัยวรนุช
    13. ยุนุก : กรมขุนไชยนาทนเรนทร
    14. อาบูหะซัน : กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ
    15. เมศเรอ กรมวัง : กรมหลวงกำแพงเพ็ชรอรรคโยธิน

    .
    .
    .

    จากนั้นก็ทรงโปรดให้ พระยาศรีสุนทรโวหาร และขอแรงกวีช่วยกันแต่งเป็น เสภาอะบูหะซัน อันเป็นชื่อตัวเอกในเรื่องเพื่อสำหรับขับถวายเวลาทรงเครื่องใหญ่ เหมือนอย่างครั้นที่ รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดขอแรงพวกกวี อันมีสุนทรภู่เป็นต้น ช่วยกันแต่งเสภาเรื่องพระราชพงศาวดารถวาย

    กวีที่ได้แต่งเสภาเรื่องอาบูหะซันนี้มีอยู่ 11 คนด้วยกัน รับเรื่องไปแต่งคนละตอน มีรายนามดังนี้ คือ

    • ตอนที่ 1 : พระราชมนู
    • ตอนที่ 2 : พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น ศรีเพ็ญ)
    • ตอนที่ 3 : ขุนวิสูตรเสนี (จาง)
    • ตอนที่ 4 : หลวงภิรมย์โกษา (อยู่) 
    • ตอนที่ 5 : พระภิรมย์ราชา
    • ตอนที่ 6 : พระยาอิศรพันธุ์โสภณ (หม่อมราชวงศ์หนู อิศรางกูร ณ.กรุงเทพ)
    • ตอนที่ 7 : พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย)
    • ตอนที่ 8 : หลวงมงคลรัตน (ช่วง ไกรฤกษ์) 
    • ตอนที่ 9 : พระยาราชวรานูกูล (อ่วม) 
    • ตอนที่ 10 : พระยาสโมสรสรรพการ (ทัด ศิริสัมพันธ์)
    •  ตอนที่ 11 : หลวงจักรปาณี (ฤกษ์ เปรียญ)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×