ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #79 : นานาชาติในนางนพมาศ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.08K
      11
      2 ก.ค. 62

    “แต่นี้ข้าน้อยผู้ชื่อศรีจุฬาลักษณ์ จะพึงจำแนกชาติภาษาต่างๆ ต่อออกไปคือ ภาษาไทย๑  ลาวภาษา๑  ลาวน้ำหมึกภาษา๑ ลาวลื้อภาษา๑  ลาวเงี้ยวภาษา๑  ลาวทรงดำภาษา๑  ลาวทรงขาวภาษา๑ เขมรกัมพุชภาษา๑  เขมรดงภาษา๑  เขมรละมาตภาษา๑  เขมรซวยภาษา๑ พม่าภาษา๑ รามัญภาษา๑ ทวายภาษา๑ กระแซภาษา๑ ยะไข่ภาษา๑ ไทยใหญ่ภาษา๑ ตองซู่ภาษา๑ พราหมณ์วัยธีกภาษา๑ พราหมณ์เวรำมะเหศรภาษา๑  พราหมณ์อะวะดารภาษา๑  พราหมณ์บรมเทสันตรีภาษา๑ พราหมณ์พญารีภาษา๑   พราหมณ์พฤฒิบาศภาษา๑   พราหมณ์พาราณสีภาษา๑  พราหมณ์อรรคีศะณเวศภาษา๑ แขกอาหรับภาษา๑ แขกมห่นภาษา๑ แขกสุหนี่ภาษา๑ แขกมั่งกะลี้ภาษา๑  แขกมะเลลาภาษา๑  แขกขุร่าภาษา๑ แขกฮุยหุยภาษา๑  แขกมลายูภาษา๑ แขกมุหงิดภาษา๑ แขกชวาภาษา๑  แขกจามภาษา๑  แขกพฤษภาษา๑ ฝรั่งเศสภาษา๑  ฝรั่งวิลันดาภาษา๑  ฝรั่งอังกฤษภาษา๑  ฝรั่งพุทะเกตภาษา๑  ฝรั่งมะริกันภาษา๑ ฝรั่งอิศบันหยภาษา๑  ฝรั่งการะหนี่ภาษา๑  ฝรั่งสี่ส้องภาษา๑ หรูดภาษา๑ สิงหลภาษา๑ ญี่ปุ่นภาษา๑ ลิวขิ่วภาษา๑ เกาหลีภาษา๑ คิชะส่านภาษา๑ จีนฮ้อภาษา๑  จีนตาดภาษา๑ แกวญวภาษา๑ ม้อยภาษา๑ ยางแดงภาษา๑ กะเหรี่ยงภาษา๑  ละว้าภาษา๑  ข่าบกภาษา๑  ข่าน้ำภาษา๑ เงาะภาษา๑ และมนุษย์ภาษาเล็กน้อยมีบ้านมีเมือง อยู่ป่าอยู่เขา อยู่เกาะบ้าง ยังมีมากกว่ามาก เป็นแต่สมมุติเรียกกันว่าชาติภาษา นอกจากคัมภีร์ไตรเพทหาพึงจะกล่าวพิวดารไว้ในที่นี้ไม่ ”


    จากข้อความข้างต้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (นางนพมาศ) ที่ได้กล่าวถึงภาษาและชาติพันธุ์ต่างๆเอาไว้อย่างมากมาย ซึ่งสันนิฐานว่าแต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 อ้าว! แล้วในข้อความนั้นมีอะไรบ้างล่ะ เดี๋ยวเราจะมาจำแนกนะขอรับ จะรอช้าอยู่ใยไปกันเลย


    1) กลุ่ม ไท-ลาว
    ไทย (Thai)
    ลาว (Lao)
    ลาวน้ำหมึก : ล้านนา (Lan Na) เพราะผู้ชายในอดีตนิยมสักที่ท้องไปจนถึงขา
    ลาวลื้อ : ไทลื้อ (Tai Lueไทพวกหนึ่งอยู่ในแคว้นสิบสองปันนา
    ลาวเงี้ยว : ลาวแง้ว (Lao Gaoลาวที่มาจากเวียงจันทน์และหลวงพระบาง
    ลาวทรงดำ : โซ่ง หรือ ไทดำ (Black Taiกลุ่มชาวไทที่อยู่ในเขตสิบสองจุไท นิยมสวมเสื้อผ้าสีดำเป็นเอกลักษณ์ เราเรียกคนกลุ่มนี้ในจังหวัดเพชรบุรีว่า "ไทยทรงดำ”
    ลาวทรงขาว : ชาวไทขาว หรือ ไทด่อน (White Taiอาศัยอยู่ทางเวียดนามตอนเหนือ


    2) กลุ่มเขมร
    เขมรกัมพุช : กัมพูชา (Khmer)
    เขมรดง : เขมรป่าดง (Northern Khmer) คือเมืองอีสานที่ติดกับเขมร
    เขมรละมาต -
    เขมรซวย : ชาวส่วย หรือ กูย (Kuoy) นิยมเลี้ยงช้างซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ


    3) กลุ่มพม่า- มอญ
    พม่า (Burmese)
    รามัญ (Mon - มอญ)
    ทวาย (Dawei)
    กระแซ : ในจารึกวัดโพธิ์บอกว่า กระแซ (Tai Phakeเป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่ขึ้นต่อพม่า
    ยะไข่ (Arakan)
    ไทใหญ่ (Shan)
    ตองซู่ : ชาวต้องสู้ (Pa'O) กระเหรี่ยงพวกหนึ่ง


    4) กลุ่มพราหมณ์
    พราหมณ์วัยธีก (ไวยทึก) : พราหมณ์ในตำแหน่งโล้ชิงช้า
    พราหมณ์เวรำมะเหศร (เวรำมเหศวร) : พราหมณ์ในตำแหน่งโล้ชิงช้า
    พราหมณ์อะวะดาร : พราหมณ์ในตำแหน่งโล้ชิงช้า
    พราหมณ์บรมเทสันตรี : พราหมณ์ในตำแหน่งโล้ชิงช้า
    พราหมณ์พญารี : พราหมณ์ในตำแหน่งโล้ชิงช้า
    พราหมณ์พฤฒิบาศ : ชื่อพราหมณ์พวกหนึ่ง มีหน้าที่ทําพิธีเกี่ยวกับช้าง ปัดเสนียดจัญไร
    พราหมณ์พาราณสี : พราหมณ์ที่มาจากเมืองพาราณสี (Varanasi)
    พราหมณ์อรรคีศะณเวศ : หรือจะเป็นพราหมณ์อรรถธวรรยุ ผู้ประกอบพิธีในราชสำนัก 


    5) กลุ่มแขก
    แขกอาหรับ (Arabian)
    แขกมห่น : นักวิชาการบางท่านกล่าวว่ามาจากคำว่า “โมกุล” (Mughal) อันเป็นจักรวรรดิมุสลิมที่เคยปกครองอินเดีย 
    แขกสุหนี่ : ชนมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ (Sunni)
    แขกมั่งกะลี้ : แขกเบงกาลี (Bengaliซึ่งอยู่ในแถบตอนเหนือของอินเดียหรือในบังกลาเทศ
    แขกมะเลลา : ชนที่อาศัยอยู่ที่ชายฝั่งมะละบาร์ (Malabar Coast)
    แขกขุร่า : แขกกรุข่า (Gurkha) มุสลิมในดินแดนเนปาล
    แขกฮุยหุย : ชาวอุยกูร์ (Uyghurs) แขกที่พูดภาษาจีนได้
    แขกมลายู (Melayu - มาเลเซีย)
    แขกมุหงิด : ชาวบูกิส (Bugis) ชนชวามลายูในเกาะเซลีเบส
    แขกชวา (Javanese)
    แขกจาม : ผู้อพยพมาจากอาณาจักรจามปา (Chams) เป็นทหารอาสา มีพระยาราชวังสันเป็นเจ้ากรม
    แขกพฤษ -


    6) กลุ่มตะวันตก
    ฝรั่งเศส (French)
    ฝรั่งวิลันดา (Holanda - ฮอลันดา)
    ฝรั่งอังกฤษ (English)
    ฝรั่งพุทะเกต (Portuguese - โปรตุเกส)
    ฝรั่งมะริกัน (American - อเมริกา)
    ฝรั่งอิศบันหย : สเปน (Spain) เพราะชาวสเปนชอบเรียกตัวเองว่า เอสปานย่า - เอสปานย่อน
    ฝรั่งการะหนี่ : เยอรมนี (Germans)
    ฝรั่งสี่ส้อง : ฝรั่งเกาะลูซอน (Luzon) เมืองมะนิลา ฟิลิปปินส์ [ อ.เปลื้อง ณ นคร ] 


    7) กลุ่มตะวันออก
    หรูด : จารึกวัดโพธิ์บอกว่าเป็นชาวตาร์ตาร์ (Tatars) ชาวรัสเซียกลุ่มหนึ่ง อาศัยอยู่ในดินแดนติดกับจีน
    สิงหล (Sinhalese) ชาวลังกา
    ญี่ปุ่น (Japanese)
    ลิวขิ่ว : อาณาจักรรีวกีว (Ryukyu) เป็นรัฐโบราณเอกราช ปัจจุบันอยู่ที่หมู่เกาะนันเซ
    เกาหลี (Korean)
    คิชะส่าน : น่าจะหมายถึงคาซัคสถาน (Kazakhstan)
    จีนฮ้อ (Chinese)
    จีนตาด : จีนนอกด่าน อย่างพวกมองโกล (Mongols), แมนจู (Manchukuo) อะไรอย่างนี้
    แกวญวน (Vietnamese - เวียดนาม)


    8) ชนกลุ่มน้อย
    ม้อย : ม้อย (Moi) เป็นพวกชนกลุ่มภาษามอญ-เขมรเผ่าหนึ่ง อยู่ในเวียดนามใต้ 
    ยางแดง : กะเหรี่ยงแดง (Karenni -  Red Karenอาศัยอยู่ตามป่าในเขตพม่าและทางภาคเหนือของไทย
    กะเหรี่ยง (Karen)
    ละว้า : ลัวะ หรือ ละเวื๊อ (Lua) คือชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย
    ข่าบก และ ข่าน้ำ : คนชาวเขา แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่
    - พวกที่อยู่บนบก พูดภาษาในตระกูลมอญ – เขมร (ข่าบก) 
    - พวกที่อยู่แถวทะเล พูดภาษาในตระกูลชวา (ข่าน้ำ) 
    เขาให้เราเรียกพวกเขาว่า บรู (Bru) เพราะคำว่าข่ามันหมายถึงข้าทาส
    เงาะ (Maniq)


    ชาติพันธุ์ที่นำเสนอมานี้ บางชาติเป็นแค่การสันนิฐานผสานการมโนเอาเอง ใครรู้มากกว่านี้ก็มาช่วยแชร์ความรู้กันที่นี่ได้เลยนะขอรับ คนอื่นๆเขาจะได้รับความรู้โดยทั่วกัน 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×