ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #93 : กุสราชกลอนสวด : รักวุ่นวายเจ้าชายอัปลักษณ์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 924
      11
      26 ต.ค. 63

    กุสราชกลอนสวดมีที่มาจากเรื่อง กุสราชชาดก ในสัตตตินิบาต นิบาตชาดก การดำเนินเรื่องเป็นไปตามชาดก ไม่มีบทพรรณนา กลอดสวดนี้จึงมีขนาดไม่ยาวนัก ผู้แต่งและผู้คัดลอกเรื่องมีจุดมุ่งหมายในตอนท้ายว่านำมาแต่งสำหรับสวดเรียน ซึ่งจะได้ผลบุญเช่นเดียวกับฟังธรรมถึงแปดกัณฑ์


    เริ่มเมื่อครั้นพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่สวนเจ้าเชต (เชตวันมหาวิหาร) มีภิกษุรูปองค์เห็นนิมิตภาพของสตรีที่มีทั้งความเซ็กซี่ มีทั้งความขาวสวย และบะละฮึ่ม ทำให้เกิดความกระสันเป็นที่สุด ภิกษุอื่นตำหนิแล้วนำความมาทูลฟ้องพระพุทธเจ้า 


    พุทธองค์ก็ได้เทศนาสั่งสอนและได้ยกอดีตมาแสดงถึงความทุกข์ที่เกิดจากตัณหาเช่นกัน


    อดีตกาล มหาราชานามว่า โอกา ครองเมืองกุดสาระวะดี ไม่มีโอรสไว้สืบสกุล พวกชาวบ้านจึงเดินขบวนขอให้พระราชาส่งนางสนมทั้งหลายไปมีลูกกับเสนาอำมาตย์และชาวเมืองเป็นเวลา 7 วัน (ทำไมตูถึงอิจฉาชาวบ้านและอำมาตย์ฟะ)


    พระเจ้าโอการาชาก็จัดให้ตามคำขอแต่ก็ยังไม่เป็นผล ประชาชนก็ขอให้ส่ง มเหสีศีรลวดี ออกไปอีก ร้อนถึงพระอินทร์ตามเคยที่ต้องแปลงกายเป็นพราหมณ์เฒ่ามารับนางไปดาวดึงส์ โดยให้พรนางว่าจะมีโอรสอยู่ 2 องค์ 


    คนหนึ่งจะฉลาดแต่หน้าตาหน้าเกลียด อีกคนหนึ่งจะเท่สมาร์ทแต่โง่เขลา คุณจะเลือกใคร!! (ทำเสียงเหมือนรายการเกมโชว์รายการหนึ่ง)


    นางศีรลวดีขอเลือกคนฉลาด พระอินทร์จึงมอบผ้าทิพโกไลยให้นาง (ในชาดกให้ถึงสิ่งของวิเศษไว้ห้าอย่าง ผ้าทิพย์ หญ้าคา ดอกปาริชาต จันทร์ทิพย์ และ พิณโกกนท) แล้วอัญเชิญพระโพธิสัตว์จุติลงมาที่ครรภ์ของนาง 


    ต่อมานางก็ได้ให้กำเนิดกุมารที่มีสติปัญญาชาญฉลาด เชี่ยวชาญทั้งบู๊และบุ๋น แต่มีหน้าตาอัปลักษณ์นามว่า กุสราช และให้กำเนิดกุมารที่มีรูปงามราวกับเทวดานามว่า ไชยบดี


    ต่อมาเมื่อทั้งสองเติบโตขึ้น ปะป๊าอยากจะให้กุสราชขึ้นครองเมืองต่อจากตน แต่กุสราชขอปฏิเสธ ต่อมากุสราชได้ทำอุบายให้ช่างทองหล่อรูปหญิงสาวคนหนึ่งแล้วบอกกับเด็จแม่ว่าถ้าหาสาวที่รูปงามเหมือนดังรูปทองนี้แล้วจะแต่งงานด้วยทันที อำมาตย์จึงไปที่เมืองต่างๆจนมาถึงเมืองมัทราช พบ นางประภาวดี มีรูปงามเหมือนรูปทอง ท้าวมัทราชจึงยกให้ไปเลยเพราะเป็นเมืองเล็กกว่า


    นางศีรลวดีวางอุบายไม่ให้ทั้งสองได้เจอกันในตอนกลางวันเพราะถ้านางประภาวดีเห็นหน้าตาของ กุสราชเข้าคงได้กรี๊ดจนพระราชวังสั่นสะเทือนเป็นแน่ แต่นางประภาวดีต้องการเห็นกุสราช ซึ่งแน่นอน กุสราชก็ต้องการเห็นนางประภาวดีเช่นกันจึงทำอุบายเป็นคนเลี้ยงช้างเมื่อเห็นนางก็เกิดความลุ่มหลง จึงพยายามจะทำให้นางเห็นหน้าหลายรอบจนนางรู้ว่ากุสราชมีหน้าตาน่าเกลียดจึงรีบเผ่นกลับเมืองมัทราชไปบัดดล


    กุสราชตามไปง้อนางถึงมัทราชโดยปลอมเป็นคนรับใช้ ครั้นนางประภาวดีทราบก็ด่าฉอดฉอด ร้อนถึงพระอินทร์อีกเช่นเดิมจึงมีสาส์นไปบอกเจ้าเมืองเจ็ดเมืองว่าท้าวมัทราชจะให้ธิดานะจ๊ะ 


    แต่ละเมืองก็เดินทางมาถึงก็รู้ว่าจะยกพระธิดาให้เจ็ดเมืองเชียวหรือ 


    พอท้าวมัทราชทราบข่าวศึกก็ขู่นางเอกว่าถ้ามึงยังหาพระเอกไม่เจอ กูจะผ่าเป็นเจ็ดส่วนไปให้เจ้าเมืองทั้งเจ็ดเลยไหม นางจำต้องยอมลดทิฐิตามหาง้อกุสราช 


    พระอินทร์จึงให้แก้วจินดาสารนึกที่ทำให้กุสราชสามารถเสกตัวเองเป็นหนุ่มรูปงามออกไปไล่กระทืบกองทัพทั้งเจ็ดจนราบคาบ และได้ครองคู่กับนางประภาวดีในต่อสุด


    ครั้นจบพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ภิกษุผู้เบื่อหน่ายในธรรมวินัยรูปนั้นก็บรรลุโสดาปัตติผล 


    สุดท้ายยังมีการกล่าวถึงการประชุมชาดกถึงการกลับมาชาติมาเกิด ดังนี้
    พระเจ้าโอการาชา  =  พระเจ้าสุทโธทนะ
    นางศีรลวดี  =  พระนางสิริมหามายา
    พระอินทร์   =  พระอนุรุทธะ
    ไชยบดี     =   พระอานนท์
    นางประภาวดี  =  นางพิมพายโสธรา
    กุสราช  =  พระสมณโคดมพุทธเจ้า


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×