โปรแตสแตนท์และคาทอลิก ความสัมพันธ์บนความเข้าใจผิด - โปรแตสแตนท์และคาทอลิก ความสัมพันธ์บนความเข้าใจผิด นิยาย โปรแตสแตนท์และคาทอลิก ความสัมพันธ์บนความเข้าใจผิด : Dek-D.com - Writer

    โปรแตสแตนท์และคาทอลิก ความสัมพันธ์บนความเข้าใจผิด

    โดย The Secret

    ศรัทธาพาหลง : โปรแตสแตนท์และคาทอลิก ความสัมพันธ์บนความเข้าใจผิดที่ มิอาจแก้ไขได้? (1) บาทหลวงไพบูลย์ อุดมเดช C.Ss.R.

    ผู้เข้าชมรวม

    959

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    959

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  3 มี.ค. 54 / 20:31 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ศรัทธาพาหลง : โปรแตสแตนท์และคาทอลิก ความสัมพันธ์บนความเข้าใจผิดที่

    มิอาจแก้ไขได้? (1)

    บาทหลวงไพบูลย์ อุดมเดช C.Ss.R.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
        ศรัทธาพาหลง : โปรแตสแตนท์และคาทอลิก ความสัมพันธ์บนความเข้าใจผิดที่
      มิอาจแก้ไขได้? (1)
      บาทหลวงไพบูลย์ อุดมเดช C.Ss.R.



      ผมกำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่องการฟอร์มมโนธรรมของคาทอลิกและของพี่น้องชาวพุทธในเมืองไทย
      ผมต้องการข้อมูลที่ชัดเจนจากพระไตรปิฏก
      จึงได้เข้าไปใช้บริการพระไตรปิฏกออนไลท์จากเวปไซด์ของพุทธศาสนาซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่ง
      นอกจากจะแวะเข้าไปเยี่ยมเยียนเว็ปไซด์ต่างๆ ของพุทธศาสนาแล้ว ผมยังพบเว็ปไซด์ที่น่าสนใจคือ
      http://e-mag.virtualave.net/ ที่นำเสนอเรื่องการเปรียบเทียบศาสนาต่างๆ
      ผมคลิกอ่านการเปรียบเทียบระหว่างศาสนาโรมันคาทอลิกกับโปรแตสแตนท์
      เมื่ออ่านจบแล้วก็รู้สึกว่าผมน่าจะเขียนอะไรชี้แจงบ้าง
      เนื่องจากว่าข้อมูลที่นำมาเปรียบเทียบระหว่างศาสนาพี่น้องคู่นี้มีความไม่สมบูรณ์และความเข้าใจผิ
      ดปะปนอยู่มาก อ่านแล้วรู้สึกเหมือนว่าฝ่ายคาทอลิกเป็นผู้ร้ายและฝ่ายโปรแตสแตนท์เป็นพระเอก
      ผมเดาเอาว่าผู้จัดทำคงจะแปลเนื้อหามาจากแหล่งข้อมูลที่เขียนโดยพี่น้องโปรแตสแตนท์ที่ยังไม่เข้า
      ใจ
      คาทอลิกดีพอ เป็นต้นว่าในด้านข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และมุมมองจากความเป็นจริงของ
      ความเป็นมนุษย์ผู้ อ่อนแอ
      ที่จริงโดยส่วนตัวผมก็แปลกใจมานานแล้วว่าทำไมพี่น้องโปรแตสแตนท์เข้าใจเราคาทอลิกผิดๆ
      และบ่อยครั้งยังฝังใจอยู่ในความผิดพลาดเก่าๆ ในอดีตที่บรรพชนของเราเคยทำ
      แน่นอน เรายอมรับว่าคาทอลิกผิดพลาดได้เนื่องจากความอ่อนแอของความเป็นมนุษย์
      และสภาพการณ์ของยุคสมัยนั้นๆ
      แต่ความผิดพลาดนั้นเองที่ช่วยเป็นครูสอนเราให้เรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงและไม่ตกลงไปในความผิด
      พลาดเก่าๆ
      มาถึงจุดนี้ผมคิดว่า สาเหตุของความเข้าใจผิดนั้นจุดใหญ่ๆคือ
      ต่างฝ่ายต่างยึดอัตตาของตนเองมากเกินไป
      มองจุดบกพร่องของกันและกันและเล่าสืบต่อไปยังลูกหลาน
      ราวกับว่ามนุษย์เรานั้นเมื่อผิดแล้วก็จะผิดร่ำไปไม่มีการเปลี่ยนแปลง
      สาเหตุต่อมาคือความศรัทธาเกินเหตุ อันพาให้หลงทางไปจากความจริง
      และสาเหตุอีกอย่างคือภาษาที่ใช้ ภาษานั้นมีการเปลี่ยนแปลงนัยยะของความหมาย
      การเปลี่ยนแปลงความหมายของภาษาในแต่ละยุคสมัยล้วนก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้เสมอ
      และเรามักจะใช้ภาษาเก่าๆของเราในการมองผู้อื่น
      ความฝังใจในความบกพร่องของผู้อื่นนั้นก็เลยยิ่งฝังลึกในใจเราจนยากที่จะอภัยหรือลืมได้
      บทความยาวบทนี้ ผมพยายามจะชี้แจงความเข้าใจผิดของพี่น้องโปรแตสแตนท์ในสิ่งที่คาทอลิกเชื่อ
      สอนและปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้
      ผมจะไม่วิจารณ์คำสอนของพี่น้องโปรแตสแตนท์เพราะจะผิดพลาดได้และไม่ใช่เป้าหมายของบ
      ทความนี้ นอกนั้น ผมขอออกตัว ณ ที่นี้ว่าผมไม่ได้เขียนชี้แจงในฐานะผู้นำของศาสนาคาทอลิก
      (แม้ผมจะเป็นพระสงฆ์) อย่างเป็นทางการ
      ผมเพียงต้องการชี้จุดที่ผู้อ่านหรือนักศึกษาที่เรียนวิชาศาสนาเปรียบเทียบ
      น่าจะนำมาใคร่ครวญว่าความจริงอยู่ที่ใด
      และที่สำคัญการเปรียบเทียบใดๆที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องกับความเป็นจริง
      นอกจากจะไม่มีคุณค่าทางวิชาการแล้วยังจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ความแตกแยก
      การถือเขาถือเรา การเพิ่มพูนอัตตาของตนเอง
      และอะไรอื่นอีกมากมายที่ห่างไกลจากคำสอนของพระอาจารย์เจ้าที่แท้จริง
      ก่อนอื่นขอกล่าวถึงเหตุการณ์ตามลำดับเวลาและสภาพความเป็นไปของยุโรปในยุคศตวรรษที่
      16 ก่อนที่จะมีการปฏิรูปคริสต์ศาสนา เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมๆของยุคนั้นว่าวุ่นวายเพียงใด
      และคาทอลิกเองก็พยายามให้มีการปฏิรูปจากภายในแบบค่อยเป็นค่อยไปอยู่ก่อนแล้ว
      ก่อนที่ท่านลูเทอร์จะจุดชนวนการเปลี่ยนแปลงขึ้นในเยอรมันนี
      ศตวรรษที่ 16 ยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมในยุโรป



      1505 ท่านมาร์ติน ลูเทอร์ (1483-1546)เข้าบวชในอารามนักบวชคณะออกัสตินเนียน
      1506 พระสันตะปาปายูลีอุสที่ 2 สั่งให้บรามานเต้ทำการปฏิสังขรณ์วิหารเซ็นต์ปีเตอร์ใหม่
      1507 ท่านมาร์ติน ลูเทอร์บวชเป็นพระสงฆ์(บาทหลวง)
      1510 ท่านอีรัสมุส(1466-1536) กับหนังสือ Institutio Christani Principis
      1510 ท่านมาร์ติน ลูเทอร์ไปที่กรุงโรมในฐานะตัวแทนของคณะออกัสติเนียน
      1512 ท่านลูเทอร์ ได้รับปริญญาเอกทางเทววิทยาพระคัมภีร์
      1512 เริ่มต้นสังคายนา ลาเตรันครั้งที่ 5 เพื่อพยายามปฏิรูปพระศาสนจักรคาทอลิก
      1515 เริ่มคณะนักบวช
      ออราโตรีเพื่อการปฏิรูปพระศาสนจักรคาทอลิกโดยได้รับแรงบันดาลใจจากเซ็นต์
      แคทเธอรีนแห่งเยนัว(มรณะ 1510)
      1516 ท่านอีรัสมุส พิมพ์พระธรรมใหม่ภาษากรีก
      1517 เซ็นต์อิกญาซีโอแห่งโลโยลาพยายามปฏิรูปคริสต์ศาสนาในด้านชีวิตฝ่ายจิต
      1517 กำเนิดโปรแตสแตนท์โดยท่านมาร์ตินลูเทอร์ยื่นข้อเสนอ 95 ข้อให้มีการปฏิรูป
      1517 สิ้นสุดสังคายนา ลาเตรันครั้งที่ 5
      1518
      สภาอ๊อกสเบิร์กและพระคาร์ดินัลคาเจตันเรียกท่านลูเทอร์ให้มาแก้ข้อกล่าวหาและถอนคำประกาศที่
      ต่อต้านศาสนาคาทอลิก
      1519 ท่านอูริค สวิงลี(1484-1531) เริ่มเทศน์ที่เมืองซูริคและเริ่มการปฏิรูปศาสนาที่เขตแดนสวิสฯ
      1520 ท่านมาร์ตินลูเทอร์เผาเอกสาร exsurge Domine ของพระสันตะปาปาเลโอที่ 10
      ต่อหน้าชาวเมืองวิตเตนเบิร์ก
      1520 ตั้งคณะเป็นฟรังซิสกันกาปูชินเพื่อพยายามปฏิรูปพระศาสนจักรคาทอลิก
      1521 คาทอลิกประกาศตัดลูเทอร์ออกจากพระศาสนจักร
      1521 สภาไดเอ็ตแห่งเวิมประกาศขับลูเทอร์ออกจากพระศาสนจักร
      เจ้าชายเฟดริกซ่อนท่านลูเทอร์ไว้ในปราสาทวัตเบิร์กเพื่อปกป้องท่านลูเทอร์จากศัตรู
      ที่นี่เองที่ท่านลูเทอร์เริ่มแปลพระคัมภีร์ใหม่จากภาษากรีกเป็นภาษาเยอรมัน
      1523 ท่านอูลิค สวิงลี ประกาศหลักการ 67
      ข้อเพื่อปฏิรูปคริสตศาสนาที่สวิตเซอร์แลนด์และต่อต้านธรรมเนียมคาทอลิกหลายประการว่าไม่
      มีพื้นฐานบนพระคัมภีร์
      1524 เซ็นต์กาเยตัน
      พยายามปฏิรูปศาสนาคาทอลิกทั่วยุโรปโดยการตั้งคณะทีอาไตน์ที่สมาชิกปฏิญาณถือ
      ความยากจนเพื่อชำระปัญหาความหละหลวมของนักบวชในยุคนั้น
      1524 ท่านลูเทอร์เข้าไปเกี่ยวข้องกับกบฏชาวนาในเยอรมันนี ชาวนาถูกฆ่าตายมากมาย
      1524 ท่านสวิงลีสั่งยกเลิกและทำลายหนังสือพิธีมิสซา ออร์แกนในโบสถ์ พิธีขับร้องในโบสถ์
      เครื่องหมายกางเขน รูปปั้นนักบุญ ฯลฯ ที่เมืองซูริค สวิตเซอร์แลนด์
      1525 ท่านลูเทอร์แต่งงานกับแคทเธอรีน ฟอน โบรา อดีตนักพรตหญิง
      1526 ท่านลูเทอร์กับพิธีมิสซาภาษาเยอรมัน
      1527 ฝรั่งเศสยึดวัดนักบุญมัทธิวและกวาดล้างกลุ่มโปรแตสแตนท์ครั้งใหญ่
      1530 เดนมาร์กรับหลักการปฏิรูปและคำสอนของท่านลูเทอร์
      1532 ท่านยอห์น คัลวิน(1509-1564)ประกาศปฏิรูปศาสนาในฝรั่งเศสหลังจากนั้นหนีไปเมืองเจนีวา
      1532 เซ็นต์โทมัส มอร์ ลาออกจากราชการในสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 8
      และสองปีต่อมาถึงจำคุกเนื่องจากปฏิเสธที่จะเซ็นชื่อเห็นด้วยกับการหย่าร้าง
      ของพระเจ้าเฮนรีกับพระนางแคทเธอรีนและไม่เห็นด้วยกับการปฏิเสธอำนาจการสอน
      ความเชื่อและจริยธรรมของพระสันตะปาปา
      1534 พระเจ้าเฮนรีที่ 8
      ประกาศตัดขาดจากอำนาจของพระสันตะปาปาที่โรมด้วยสาเหตุทางการเมืองและเหตุผล
      ที่พระองค์ต้องการหย่ากับพระนางแคทเธอรีนและแต่งงานใหม่กับพระนางแอนโบลีน
      1534
      เซ็นต์อิกญาซีโอโลโยลาและเพื่อนตั้งคณะเยสุอิตที่มองมาร์ตรฝรั่งเศสเพื่อการปฏิรูปพระศาสนจักร
      1534 ท่านลูเทอร์แปลพระคัมภีร์เป็นภาษาเยอรมันสำเร็จและตีพิมพ์เผยแพร่
      1536 ท่านยอห์น น็อคส์ รับพิธีบวชเป็นสงฆ์ ต่อมาได้ทำการปฏิรูปศาสนาที่เขตสก๊อตแลนด์
      1538 ท่านคัลวินถูกขับออกจากเมืองเจนีวา เขาได้ย้ายไปปักหลักอยู่ที่เมืองสตราสบูร์ก
      1540 สำนักวาติกันรับรองคณะเยสุอิตอย่างเป็นทางการ วันที่ 27 กันยายน
      1545 เริ่มสังคายนาเมืองเทรนต์ครั้งที่ 1 เพื่อตอบโต้คำกล่าวหาและอิทธิพลของฝ่ายโปรแตสแตนท์
      1545 ท่านยอห์น น็อคส์เผยแพร่อิทธิพลและคำสอนของเขากำเนิดนิกายเพรสไบทีเรียน
      1546 มรณกรรมของท่านมาร์ตินลูเทอร์ที่เมืองไอซ์สเลเบ็น วันที่ 18 กุมภาพันธ์
      1551 เริ่มสังคายนาเทรนต์ครั้งที่ 2
      1556 มรณกรรมของเซ็นต์อิกญาซีโอโลโยลาผู้ตั้งคณะเยสุอิต
      1559 ท่านยอห์นน็อค
      เดินทางกลับสก๊อตแลนด์และเริ่มวางรากฐานคำสอนสายเพรสไบทีเรียนในเขตสก๊อตแลนด์
      สองสามปีต่อมาเกิดพิพาทครั้งใหญ่ระหว่างคาทอลิกและโปรแตสแตนท์ในสก็อตแลนด์
      1560 เริ่มกระบวนการพูริตันในอังกฤษ
      1562 เริ่มสงครามศาสนาระหว่างคาทอลิกและโปรแตสแตนท์ในฝรั่งเศส
      1563 สิ้นสุดการประชุมสังคายนาแห่งเมืองเทรนต์ครั้งที่ 3 เพื่อการปฏิรูปพระศาสนจักร



      ผมได้ให้ภาพรวมๆของยุโรปข้างต้น
      ซึ่งคงพอจะทำให้ผู้อ่านนึกภาพออกว่ายุโรปในยุคนั้นวุ่นวายเพียงใด
      เสียงเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทั้งทางสังคม ศาสนาและการเมืองเป็นสิ่งที่มีทั่วไปในยุคนั้น
      ศาสนาคาทอลิกมิได้นิ่งนอนใจ เพียงแต่เห็นว่าการปฏิรูปนั้นต้องมีความรอบคอบ
      ปฏิรูปแล้วไม่ได้มีอะไรดีขึ้น มีแต่ความวุ่นวาย ความเสียหาย
      การปฏิรูปก็ไม่ผิดอะไรกับการก่อหวอดเพื่อผลประโยชน์ของอัตตา
      ฝ่ายคาทอลิกได้พยายามมีการปฏิรูปโดยเริ่มจากเรื่องของจิตใจและเรื่องชีวิตฝ่ายจิตก่อน
      ดังจะเห็นได้จากความพยายามตั้งคณะนักบวชต่างๆขึ้นมาทั้งชายและหญิงเพื่อให้เป็นแบบอย่างใน
      ชีวิตศีลธรรมและชีวิตทางความศรัทธา
      การพยายามเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เคยทำกันมาจนเคยชินแล้วนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย อาจต้องแลกด้วยชีวิต
      เป็นต้นเมื่อต้องเผชิญกับการท้าทายอำนาจทางการเมืองทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
      ผู้ที่ต้องการเข้าใจประวัติศาสตร์ในยุคศตวรรษที่ 16
      ที่แท้จริงนั้นจำต้องมองยุโรปในทุกด้านไม่ใช่จากด้านศาสนาและความศรัทธาอย่าง
      เดียว ศาสนาคาทอลิกในยุคนั้นไม่ใช่ศาสนาโดดแต่มีความเกี่ยวข้องกับการเมืองและ
      สังคม ผลประโยชน์ทั้งทางโลกและทางธรรม
      พระสันตะปาปาเป็นทั้งผู้นำศาสนาและผู้นำอาณาจักรโรมันอันกว้างใหญ่ไพศาล
      การปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงอะไรจึงไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆแม้พระองค์อยาก
      จะทำก็ตาม การที่ท่านลูเทอร์ทำการปฏิรูปในหลายๆแง่มุมก็เป็นสิ่งที่เตือนใจให้ผู้นำทาง
      ศาสนาคาทอลิกเห็นแสงสว่างเช่นกัน
      สังคายนาเมืองเทรนต์คือเครื่องหมายของการปฏิรูปในศาสนาคาทอลิกที่เห็นได้ ชัดเจน
      มีการตั้งระเบียบวินัย ชำระพระคัมภีร์ ตั้งสถาบันอบรมพระสงฆ์นักบวช ธรรมทูตขึ้นมา
      และค่อยๆจัดการกับพระสงฆ์นักบวชที่ไม่อยู่กับร่องกับรอยให้ออกไปจากระบบ
      จัดระเบียบบริหารพระศาสนจักรใหม่
      พยายามลดบทบาทและอิทธิพลของการเมืองรัฐต่างๆที่เข้ามาแทรกแซงการบริหารพระ
      ศาสนจักรออกไปเพื่อว่าพระสันตะปาปาจะได้มีสิทธิ์และอำนาจเต็มที่ในการบริหาร
      พระศาสนจักรอย่างที่ควรจะเป็น



      อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องการเคารพพระธาตุนักบุญ

      เรามาดูกันดีกว่าว่าคริสตชนยุคเริ่มแรก และโดยเฉพาะผู้รวบรวมสาระบบพระคัมภีร์
      มองเรื่องนี้อย่างไร
      ค.ศ. 384 นักบุญ เยโรม รวบรวมคัมภีร์ทั้งหมดที่ยอมรับกัน แปลเป็นภาษาละตินอย่างเป็นทางการ
      และเรียกส่วนที่เป็นสาระบบรอง ว่า อธิกธรรม(Aprocypha)
      และพระคัมภีร์ไบเบิ้ลในการแปลครั้งนี้เป็นฉบับมาตรฐานของพระศาสนจักรคาทอลิคจนปัจจุบันและ
      ใช้แปลเป็นภาษาต่างๆอย่างแพร่หลายในสมัยนั้น
      นักบุญเยโรม ปิตาจารย์ของพระศาสนจักร
      ผู้จัดสาระบบพระคัมภีร์ไบเบิ้ลที่คริสตชนทุกนิกายใช้กันอยู่ทุกวันนี้
      กล่าวได้ว่าคัมภีร์เล่มไหนจริงไม่จริงท่านเป็นคนคัด และจัดเป็นไบเบิ้ลที่ใช้กันมาจนปัจจุบัน
      ท่านได้ตอบคำถามเรื่องการให้ความเคารพนักบุญ และพระธาตุนักบุญไว้ด้วย
      (ถ้าคำตอบท่านไม่น่าเชื่อถือ พระคัมภีร์ไบเบิ้ลที่คริสตชนทุกนิกายใช้คงไม่น่าเชื่อถือเหมือนกัน)

      "เราไม่ได้นมัสการพระธาตุ หรือนมัสการนักบุญ
      แต่เราให้เกียรติพวกท่านในการนมัสการพระองค์ผู้ซึ่งเหล่านักบุญได้ยึดเป็นแบบอย่าง
      เราให้เกียรติผู้รับใช้พระเจ้า เพื่อสะท้อนความเคารพนั้นไปยังองค์พระผู้เป็นเจ้าเอง"

      ท่านยังกล่าวอีกว่า

      "การให้เกียรติพวกท่าน(นักบุญ) ไม่ใช่การนมัสการรูปเคารพ
      เพราะไม่เคยมีคริสตชนคนไหนเห็นนักบุญเป็นพระเจ้า ในทางกลับกัน เราขอให้ท่านเหล่านั้น
      วิงวอนพระเจ้าเพื่อเรา เพราะว่า หากเมื่อเหล่านักบุญอัครสาวก และบรรดามรณสักขี
      ยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ท่านยังสามารถอธิษฐานภาวนาเพื่อมนุษย์คนอื่นได้
      ภายหลังจากที่ท่านชนะโลกนี้แล้วพวกท่านจะมีพลังอธิษฐานมากกว่าสักเพียงไร
      พวกท่านเหล่านั้นจะมีพลังอธิษฐานน้อยลงหรือในเมื่อขณะนี้พวกท่านกำลังอยู่กับพระเยซูคริสตเจ้า?
      "
      ดังนั้นหากการขอให้บรรดานักบุญและแม่พระช่วยวิงวอน นั้น ผิด
      และต้องทำให้คาทอลิคตกนรกเพราะการนี้ ตามที่คริสตจักรสายสุดโต่งบางแห่งสอน
      จงบอกให้สมาชิกคริสตจักรนั้นเลิกอ่านพระคัมภีร์และเลิกอ้างพระคัมภีร์ไบเบิ้ลซะ
      เพราะคนจัดสาระบบพระคัมภีร์ไบเบิ้ลที่อยู่ในมือพวกเขา
      ที่พวกเขาอ่านและอ้างมาด่าคาทอลิคเสมอนั้น ตอนนี้คงอยู่ในนรก
      เพราะท่านเห็นดีเห็นงามและยังสอนให้เราเสนอวิงวอนผ่านนักบุญ และให้ความเคารพนักบุญด้วย
      และการอ่านหนังสือที่คนฝ่ายนรกเลือกให้คงจะพาท่านตกนรกตามเขากันหมด ไม่กลัวเหรอ
      ส่วนเราที่เป็นคาทอลิคนั้นนั้น เชื่อว่าท่านอยู่ในสวรรค์
      และคงกำลังอธิษฐานให้คนที่อ่านไบเบิ้ลเล่มที่ท่านจัดสาระบบโดยองค์พระจิตเจ้าดลใจนี้
      ได้เข้าใจและตีความไบเบิ้ลอย่างถูกต้องกันทุกคน
      จะได้เลิกยกไบเบิ้ลที่ท่านอุตส่าห์คัดและรวบรวมมาทะเลาะกันเองซะที

      เอกสารประกอบการเขียน
      Collins, Michael. The Story of Christianity. London: A Dorling Kindersley Book, 1996.
      Depuis, Jacques, ed. The Christian Faith. New York: Alba.House, 1996.
      Haffner, Paul. The Sacramental Mystery. Trowbridge,Wiltshire: Cromwell Press, 1999.
      McBrien, Richard. Ed. Encyclopedia of Catholicism. San Francisco: HarperSanfransisco,
      1995
      McBrien, Richard. Catholicism. London: Geoferey Chapman, 1994.

      http://www.issara.com/article/prot1.html

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×