A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

การประเมินภาวะสุขภาพมารดาในระยะตั้งครรภ์

เขียนโดย A Rai Naa >>>

การประเมินภาวะสุขภาพมารดาในระยะตั้งครรภ์

การซักประวัติ

ประวัติส่วนตัว/ประวัติทั่วไป

อายุ ดูว่ามารดาอยู่ในภาวะเสี่ยงหรือไม่ โดยเฉพาะรายครรภ์แรกอายุ 35 ปี ขึ้นไป ครรภ์หลังที่มารดาอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือมารดาที่อายุต่ำกว่า 15 ปี

อาชีพ เช่น เสี่ยงต่อสารเคมี อุบัติเหตุ

ระดับการศึกษา เป็นแนวทางในการให้คำนำที่เหมาะสมต่อไป

สภาพสมรส บอกถึงความสัมพันธ์ในครอบครัวและภาวะทางจิตสังคมได้

รายได้ของครอบครัว เป็นแนวทางในการดูแลด้านโภชนาการ

การใช้ยาและสิ่งเสพติด ทำให้ทราบโรคประจำตัว และพฤติกรรมการใช้ยาและการใช้สารเสพติดที่มีต่อทารกในครรภ์

ประวัติการเจ็บป่วยของครอบครัว เช่น โรคธาลัสซีเมีย ความดันโลหิตสูง เบาหวาน วัณโรค ตับอักเสบ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของสามี

ประวัติเจ็บป่วยในอดีตและประวัติการผ่าตัด

โรคทางอายุรกรรม (หัวใจ ไต ลมชัก เบาหวาน หัดเยอรมัน โรคติดต่อทางเพศ)

ประวัติการผ่าตัดและอุบัติเหตุ (การขูดมดลูก การผ่าตัดที่ตัวมดลูก อุบัติเหตุกระดูกเชิงกราน)

ประวัติทางสูติกรรมที่ผ่านมา

ประวัติการคลอดครั้งก่อน คลอดเมื่อใด (วัน เดือน ปี) อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง อายุครรภ์เมื่อคลอด (เดือน สัปดาห์) วิธีการคลอด (คลอดเอง ใช้คีมดึง ใช้เครื่องดูดสุญญากาศ หรือผ่าตัดคลอด) และความผิดปกติในระยะคลอด เช่น ตกเลือด ติดเชื้อ ลักษณะเด็กเมื่อคลอดและสุขภาพเด็กในปัจจุบันถ้ามีการแท้งต้องถามถึงการแท้งเกดขึ้นเองหรือทำแท้ง แท้งเมื่ออายุครรภ์กี่เดือนและได้รับการขูดมดลูกหรือไม่

ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน

สุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ปกติดีหรือไม่ ถ้าผิดปกติวินิจฉัยเป็นอะไร การรักษาและผลการรักษาขณะที่กำลังรักษาอยู่หรือหายเป็นปกติแล้ว ก่อนตั้งครรภ์ได้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยเป็นโรคหัดเยอรมันหรือไม่ เพราะเชื้อนี้สามารถผ่านจากแม่สู่ลูกได้ในช่วง 3 เดือนแรกทารกอาจพิการได้

บริการต่างๆที่ได้รับ เช่น ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักกี่ครั้ง ครบตามกำหนดหรือไม่ ได้รับการตรวจเลือด เช่น ตรวจหาความเข้มข้นของเลือด การตรวจหาเชื้อซิฟิลิส ภูมิต้านทานของเชื้อไวรัส HIV ตับอักเสบบี และบริการอื่น ผลตรวจเป็นอย่างไร

ประวัติทารกในครรภ์ดิ้น เพื่อช่วยในการประเมินอายุครรภ์ในรายจำ LMP ไม่ได้ ครรภ์แรกทารกดิ้น 18-20 สัปดาห์ ครรภ์หลัง 16-18 สัปดาห์

ประวัติประจำเดือน ต้องซักถามถึงรอบเดือนว่ากี่วัน จำนวนวันที่มีประจำเดือนแต่ละครั้ง LMP เพื่อคำนวณวันกำหนดคลอด และอายุครรภ์

การกำหนดวันคลอดและการคำนวณอายุทารกในครรภ์

กฎของเนกเกล (Nagele’s rule)

EDC = L.M.P + 7 วัน เดือน

ประวัติเด็กดิ้นครั้งแรก (Quickening)

เมื่อซักประวัติเด็กดิ้นในครรภ์แรกได้เมื่อไหร่แล้ว ให้บวกเข้าไปอีก 20 สัปดาห์หรือครรภ์หลังบวกเข้าไปอีก 22 สัปดาห์ จะได้รับกำหนดคลอด

ระดับและขนาดของมดลูก

วิธีของ Mc. Donale

อายุครรภ์ = 8/7 x ความสูงของระดับยอดมดลูกเป็นเซนติเมตร

ความสัมพันธ์ของระดับยอดมดลูกกับผนังหน้าท้อง

12 สัปดาห์ = 1/3 > S.P

16 สัปดาห์ = 2/3 > S.P

20 สัปดาห์ = ระดับสะดือ

24 สัปดาห์ = ¼ > สะดือ

28 สัปดาห์ = 2/4 > สะดือ

32 สัปดาห์ = ¾ > สะดือ

36 สัปดาห์ = อยู่ใต้ xyphisternum เล็กน้อย

40 สัปดาห์ = ¾ > สะดือ เกิดภาวะท้องลดแล้ว

การคำนวณหาอายุครรภ์โดยใช้คลื่นความถี่สูง

  1. พบถุงห่อหุ้มทารกชัดเจนอายุครรภ์ประมาณ 12 สัปดาห์
  2. การวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ระหว่างกระดูกพาไรทอลของทารกในครรภ์สามารถวัดได้เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 12 สัปดาห์ และนำค่าที่วัดได้มาเทียบกับค่ามาตรฐาน
  3. การวัดความยาวของตัวทารก (Crown-rump length) สามารถวัดได้เมื่ออายุครรภ์ 8-12 สัปดาห์และนำค่าที่วัดได้มาเทียบกับค่ามาตรฐาน

การตรวจร่างกายและเต้านม

  1. ท่าเดิน ต้องดูลักษณะท่าเดินที่ผิดปกติควรนึกถึงความผิดปกติของกระดูกเชิงกราน
  2. ความสูง ไม่ควรต่ำกว่า 135-140 cms.
  3. น้ำหนัก ปกติน้ำจะเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์ประมาณ 10-15 kgs.
  4. ความดันโลหิต ปกติไม่ควรเกิน 140/90 mmHg. ถ้าพบว่าความดันโลหิตสูงตั้งแต่ 140/90 mmHg. ในหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ทราบความดันเลือดมาก่อน หรือความดัน Systolic เพิ่มขึ้น 30 mmHg. หรือ ความดัน Diastolic เพิ่มขึ้น 15 mmHg.  จากระดับเดิมต้องนึกถึงภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงมีครรภ์หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ
  5. การตรวจลักษณะทั่วไป ได้แก่

ตา ดูเยื่อบุตา ริมฝีปากว่าซีดหรือไม่

ปาก ฟัน มีการอักเสบของปากและฟันหรือไม่

ต่อมธัยรอยด์ อาจโตได้เล็กน้อยแต่ควรโตทุกต่อมถ่าพบต่อมธัยรอยด์โตส่งพบแพทย์

  1. ตรวจร่างกายระบบต่างๆ ที่สำคัญคือระบบการหายใจ และหัวใจซึ่งตั้งครรภ์ทุกรายควรได้รับการตรวจตากแพทย์
  2. การตรวจเต้านม ควรตรวจดูลักษณะของเต้านมตลอดจนคลำดูขนาดของต่อมน้ำนมว่ามีปริมาณเพียงพอที่จะผลิตน้ำนม และตรวจดูหัวนมด้วย Waller’s stert ดูขนาดหัวนมสั้น แบนหรือบุ๋ม มีรอยแตกหรือรอยแยก

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ตรวจโลหิต

Hct. ปกติไม่น้อยกว่า 33% Hb ปกติไม่น้อยกว่า 11g%

Blood group ตรวจ ABO group และ Rh group

VDRL ตรวจเมื่อ ANC ครั้งแรกและ GA 32 Wk.

การแปลผลว่ามีการติดเชื้อหรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จะต้องตรวจน้ำเหลืองได้ titer มากกว่า 1:8 คือ 1:16 หรือ 1:64 ซึ่งต้องพิสูจน์ด้วย TPHA หรือ FTA-ABS เพื่อยืนยันการติดเชื้อที่แน่นอน

Anti-HIV ตรวจเมื่อ ANC ครั้งแรก หรือในรายที่หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวยินยอม หรือในรายที่สงสัยมีการติดเชื้อ AIDS

HBsAg ตรวจเมื่อ ANC ครั้งแรก หรือในรายที่สงสัยมีการติดเชื้อตับอักเสบไวรัสบี

Rubella titer ตรวจเมื่อ ANC ครั้งแรก หรือมีในรายที่สงสัยติดเชื้อหัดเยอรมันในรายติดเชื้อหัดเยอรมัน ตรวจพบ titer สูงกว่า 1:8

ตรวจปัสสาวะ

Urine sugar ค้นหาเบาหวาน

Urine albumin ค้นหาภาวะโลหิตสูงหรือโรคกรวยไตอักเสบ

ความคิดเห็น

wickynana
wickynana 11 ธ.ค. 55 / 17:09
ขอบคุณมากค่ะหาตั้งนาน
A Rai Naa >>>
A Rai Naa >>> 14 พ.ค. 56 / 10:49
หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับใครหลายคนนะคะ
ความคิดเห็นที่ 3
ขอบคุณคะเป็นประโยชน์มากสำหรับเริ่มต้นในการรับงานANC
A Rai Naa >>>
A Rai Naa >>> 20 พ.ค. 56 / 20:12
สู้ๆค่ะ
ความคิดเห็นที่ 5
แล้วจะมีอันตรายต่อเด็กไหมค่ะ ทำไมหมอถึงบอกว่าต้องดูค่าเม็ดเลือดแดงที่เด็กด้วยค่ะ
ความคิดเห็นที่ 6
ขอบคุณคะ^^
นิดา
นิดา 14 พ.ย. 56 / 19:42
ขอบคุณสำหรับข้อมูล เป็นประโยชน์มากๆ เลย แต่เรื่องความสัมพันธ์อายุครรภ์กะระดับยอดมดลูกอะค่ะ คือ อ.พยาบาลบอกว่าต้องเขียนว่า xiphoid process ไม่ใช่ xyphisternum
อุ้ม
อุ้ม 25 ม.ค. 58 / 21:24
คือหนูได้ทำเกี่ยวกับผู้ป่วยหลังคลอดต้องทำไงบ้างค่ะ
คุนแม่ลูก2
คุนแม่ลูก2 21 มิ.ย. 59 / 21:06
ของเรา1ส่วน4>ของสะดือค่ะอายุครรภ์22สัปดาห์หมอถามว่าลูกคนแรกตัวเล็กแบบนี้มั้ย..คำถามของหมอทำให้เรากลุ้มใจมากค้ะ
ronkaimak
ronkaimak 1 ก.พ. 60 / 13:28
สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal ให้ใจหายใจ สุขภาพ การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ ทารกแรกเกิด เด็ก ครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ