A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

การตรวจครรภ์

เขียนโดย A Rai Naa >>>

การตรวจครรภ์

การดู

ขนาดของท้องใหญ่ผิดปกติหรือไม่

ลักษณะทั่วไปของท้อง เช่น  Pendulus sladoner หน้าท้องหย่อนหรือ diastasis recti กล้ามเนื้อหน้าท้องแยกห่างจากกัน

สังเกตดูการเคลื่อนไหวของเด็ก

การคลำ

Fundal grip ตรวจที่ยอดมดลูก สามารถระบุลักษณะของส่วนนำและประเมินอายุครรภ์

Umbilical grip ใช้ฝ่ามือทั้ง 2 ข้างลูบไปด้านข้างของท้อง ทั้งนี้สามารถบอกตำแหน่งของลำตัวทารกในครรภ์ว่าอยู่ด้านซ้ายหรือด้านขวาโดยมีหลักว่าด้านหลังมักเรียบส่วนด้านหน้าจะเป็นปุ่มของแขนและหัวเข่า

Pawlik’s grip ทำหน้าที่ใช้อุ้งมือส่วนราบนำ และทำการโยกและดันส่วนนำ การตรวจสามารถบอกการลงเชิงกรานของส่วนนำ และลักษณะของส่วนนำ ถ้าส่วนนำเป็นศีรษะจะตรวจได้ก้อนแข็ง และมีการลอยตัวเมื่อใช้อุ้งมือดันส่วนนำที่หัวหน่าว (Ballotement) แต่ถ้าส่วนนำเป็นก้น จะตรวจได้ส่วนนำนุ่ม เมื่อด้านส่วนนำจะมีการลอยตัวน้อยกว่าศีรษะเล็กน้อย

Bilateral grip การใช้นิ้วมือสอบเข้าหากันที่หัวเหน่า แล้วดันส่วนนำขึ้น การตรวจท่านี้สามารถบอกการลงช่องเชิงกรานของส่วนนำ

การฟัง

ฟังเสียงหัวใจทารกได้ชัดเจนที่บริเวณลำตัวด้านซ้ายของทารก ปกติจะประมาณ 120-160 ครั้ง/นาที

การนัดตรวจครรภ์

ตั้งครรภ์ต่ำกว่า 28 สัปดาห์ นัดตรวจครรภ์ทุก 4 สัปดาห์

ตั้งครรภ์ตั้งแต่ 28-36 สัปดาห์ นัดตรวจครรภ์ทุก 2 สัปดาห์

ตั้งครรภ์มากกว่า 36 สัปดาห์ นัดตรวจครรภ์ทุก 1 สัปดาห์

การฉีดวัคซีนบาดทะยัก

เข็มที่ 1 ฉีดครั้งแรกที่มาฝากครรภ์

เข็มที่ 2 ฉีดห่างจากเข็มแรก 1 เดือน

เข็มที่ 3 ฉีดห่างจากเข็มแรก 6 เดือน (โดยปกติจะนัดมาฉีดอีกครั้งหลังคลอด)

กรณีที่เคยฉีดครบมาแล้ว 3 เข็ม

ภายใน 10 ปี ถ้าตั้งครรภ์ไม่ต้องฉีด แต่ถ้าเกิน 10 ปี ฉีดกระตุ้น 1 เข็ม

กรณีที่ฉีดครบมาแล้ว 2 เข็ม

ไม่เกิน 3 ปี ในการตั้งครรภ์ครั้งนี้ไม่ต้องฉีดซ้ำ

แต่ถ้าเกิน 3 ปี ฉีดกระตุ้น 1 เข็ม

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น