A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

อาการและอาการแสดงของโรคหอบหืด

เขียนโดย A Rai Naa >>>

อาการและอาการแสดงของโรคหอบหืด

1.       หายใจลำบาก มีเสียง wheezing

2.       ไอ เกิดจากหลอดลมเกร็งตัว เยื่อบุทางเดินหายใจบวมและมีเสมหะขังอยู่ เสมหะอุดกั้นทางเดินหายใจ

3.       ขณะหายใจลำบากจะต้องใช้กล้ามเนื้ออื่นๆช่วย เช่น กล้ามเนื้อที่คอและไหล่

4.       หายใจเร็ว ชีพจรเร็ว เหงื่อออกมาก ทำให้ผู้ป่วยมีความกลัวและอ่อนเพลียจนไม่สามารถพูดคุยรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำได้

การวินิจฉัย

1.       จากการซักประวัติ ประวัติการเป็นโรคหอบหืด สารที่แพ้ ปัจจัยที่กระตุ้นก่อให้เกิดอาการหอบหืด

2.       จากอาการและอาการแสดง มีอาการหายใจลำบาก เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย เหนื่อยมาก พบการหายใจเร็ว ชีพจรเร็ว หรือความดันโลหิตสูง

3.       จากการตรวจร่างกาย มีเสียง wheezing อาจพบยอดมดลูกไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์

4.       จากการตรวจพิเศษและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การเอกซ์เรย์ ผลการตรวจเสมหะย้อมเชื้อ

ผลของการตั้งครรภ์ต่อโรค

ไม่สามารถทำนายได้แน่นอน ในขณะเจ็บครรภ์คลอดโรคอาจกำเริบรุนแรงได้ประมาณร้อยละ 10 โดยเฉพาะถ้าผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง จะเสี่ยงต่อโรคกำเริบได้มากกว่า 18 เท่าของการคลอดทางช่องคลอดปกติ

ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์

1.       การแท้ง

2.       การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

3.       ทารกเสียชีวิตในครรภ์

4.       คลอดน้ำหนักตัวน้อย

5.       ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด (Birth asphyxia)

6.       อัตราการตายแรกคลอด (Perinatal mortality) สูงขึ้น 2 เท่า

7.       มารดาเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจาก status asthmaticus และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

8.       ความดันโลหิตสูง พบสูงขึ้นเล็กน้อย

ในกรณีที่ควบคุมโรคได้และอาการไม่รุนแรงแล้ว จะไม่มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาของการตั้งครรภ์ น้ำหนักทารก Apgar score แต่ทารกที่คลอดออกมามีโอกาสเป็นโรคหอบหืดไม่ถึงร้อยละ 50

การดูแลรักษา

การรักษาหญิงตั้งครรภ์จะแตกต่างไปจากคนที่ไม่ตั้งครรภ์เล็กน้อย คือ ต้องระมัดระวังในการใช้ยารักษามารดา เนื่องจากผ่านไปยังทารกได้

วิธีการรักษาโดยทั่วๆไป สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหอบหืดเพียงเล็กน้อย อาจให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอกตามปกติ โดยในรายที่ต้องให้ยารักษานานๆ ยาหลักที่ใช้ ได้แก่ ยากลุ่ม methyllanthine, bronchodilator และ ยากลุ่ม sympathomimetic bronchodilator ชิดรับประทานหรือสูดดม ยาทั้ง 2 ประเภทนี้ จะเพิ่ม cyclic AMP ภายในเซลล์ทำให้หลอดลมขยาย โดยออกฤทธิ์ที่เซลกล้ามเนื้อเรียบของทางเดินหายใจและมีผลยับยั้งการหลั่ง mediators

สำหรับรายที่มีอาการรุนแรงต้องรับไว้ในโรงพยาบาลและให้ยา aminophyline หยดทางหลอดเลือดดำ และให้ terbutamine 0.25-0.5 มิลลิกรัม ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ถ้าอาการรุนแรงมาก แพทย์จะให้ corticosteroids ชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือทางปากด้วย

กิจกรรมการพยาบาล

1.       ซักถามประวัติบุคคลในครอบครัวเกี่ยวกับโรคหอบหืด และประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคหอบหืดของหญิงตั้งครรภ์ในเรื่อง อาการ สารที่แพ้ การรักษา ยาที่ได้รับ ในปัจจุบันผลข้างเคียงของยา

2.       ถ้าพบว่าหญิงตั้งครรภ์มีประวัติหอบหืดควรส่งต่อแพทย์เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมได้แก่ ยาที่ได้รับการตรวจพิเศษเพื่อเฝ้าระวังทารกในครรภ์ และจัดให้หญิงตั้งครรภ์อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง

3.       อธิบายพยาธิสภาพของโรค แนวทางการรักษาและการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ ดังนี้

3.1   หลีกเลี่ยงสารที่แพ้ที่ทำให้มีอาการหอบหืด หรืออย่ในสภาวะอากาศที่ร้อนหรือเย็นจัดเกินไป

3.2   รับประทานยาหรือพ่นยาตามแผนการรักษา ถ้ามีอาการมากขึ้นควรรีบมาก่อนนัด

3.3   รับประทานอาหารมีโปรตีนสูง พักผ่อนให้มากขึ้น ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม สามารถทำงานบ้านเบาๆได้ หรือเดินเล่นในที่อากาศบริสุทธิ์ ดื่มน้ำมากๆ วันละ 8-10 แก้ว

3.4   รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้หรือสัมผัสกับบุคคลที่มีอาการของโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด คออักเสบ เป็นต้น

3.5   ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น เลือดออกทางช่องคลอด ปวดท้องจากการหดรัดตัวของมดลูก ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว บวม ซึ่งอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคหอบหืด หรือนับจำนวนครั้ง ของทารกดิ้นในครรภ์ได้น้อยลงควรรีบมาโรงพยาบาลทันที

3.6   ติดตามผลการตรวจพิเศษต่างๆ ได้แก่ Ultrasound, NST

 

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น