ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สร้างเสริมสุขภาพชีวิตกับ Doctor Chor

    ลำดับตอนที่ #2 : Bone

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 5.97K
      370
      9 ก.ย. 54

    Bone

    นายแพทย์ ช.ศรีพิชญ์   เพ็ชญไพศิษฏ์

    15 มิถุนายน 2554

     

                        กระดูกแข็งที่เป็นโครงสร้างหลักของร่างกาย มีเซลล์กระดูกที่มีชีวิตแทรกตัวอยู่ ถ้ามีเซลล์จำนวนมาก กระดูกนั้นก็จะแข็งแรง ถ้ามีเซลล์อยู่น้อย กระดูกนั้นก็จะโปร่งบางแตกหักง่าย

                        เซลล์กระดูกมีอายุขัย มีการตายและมีการสร้างใหม่ตลอดเวลา ในวัยเด็กจนถึงอายุราว 25 ปี จะมีการสร้างเซลล์กระดูกมากกว่าเซลล์ที่ตายไป จึงเกิดการเจริญเติบโตขึ้นได้มาก หลัง 25 ปีไปแล้ว การสร้างเซลล์กระดูกใหม่จะเริ่มน้อยกว่า มีการตายมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งอายุมากขึ้น กระดูกก็จะยิ่งโปร่งบาง โดยเฉพาะในผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย หกล้มไม่รุนแรงก็จะเกิดกระดูกหักได้ง่าย เช่น ข้อมือ ข้อตะโพก และ ตรงตะโพก

      

                        มีการศึกษาว่า การสร้างเซลล์กระดูกใหม่นั้นจะต้องมีองค์ประกอบใหญ่ๆดังนี้

                        1. มี แคลเซียม และ ฟอสเฟต  แคลเซียมหาได้ทั่วไปทั้งในรูปเม็ดหรือในอาหาร เช่น งาดำ ถั่วเหลือง นม ผักต่างๆ   สารฟอสเฟต มีในอาหารทะเลมากที่สุด รองลงมาก็ไข่แดง ในพืชผักต่างๆ ก็มีบ้าง

                        ทั้งแคลเซียมและฟอสเฟต มีมากในกระดูก เช่น กระดูกปลา ในปลาเล็กปลาน้อย เรากินเนื้อปลาทูเสร็จก็เก็บก้างและหัวไว้ทอดใหม่อีกครั้งให้กรอบแล้วรับประทานทันทีก็ได้ กระดูกซี่โครงหมูที่ตุ๋นจนเปื่อยก็กินได้ทั้งหมดเช่นกัน เวลาผมไปกินข้าวมันไก่ จะขอน้ำซุปและขอกระดูกมากๆ ยิ่งได้กระดูกอ่อนตรงข้อต่อยิ่งชอบครับ ตอนหลังพอไปนั่ง เขาก็จะยกมาให้เลย

                        2. วิตามินดี เพื่อช่วยการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้ให้เข้าสู่ร่างกาย ในเด็กเล็ก ถ้าขาดวิตามินดีจะเป็นโรคกระดูกอ่อน ปัจจุบันไม่มีโรคนั้นแล้ว เพราะมีการให้ความรู้กับผู้ตั้งครรภ์ วิตามินดีก็มีในอาหารต่างๆ เช่น ตับสัตว์ ตับปลา หรือ น้ำมันตับปลา ที่ได้จากการเอาตับปลาคอร์ด มาสกัดทำเป็นน้ำหรือเป็นเม็ด หรือในอาหารเสริมวิตามินรวม ก็มีวิตามินดีอยู่ด้วย  แหล่งที่ช่วยโดยไม่ต้องกินคือ แสงแดดตอนเช้าๆ หรือ บ่ายๆ โดนผิวตัวโดยตรงไม่ผ่านเสื้อไม่ผ่านกระจก จะไปทำให้ไขมันในเส้นเลือดบริเวณนั้น เปลี่ยนเป็นวิตามินดี2 และไปเปลี่ยนเป็นแอคทีฟฟอร์มวิตามินดี3 ที่ตับอีกครั้ง

                        3. ต้องมีฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งในเพศหญิง ระดับฮอร์โมนตัวนี้ที่ผลิตจากรังไข่จะเริ่มลดลงเรื่อยๆ พอถึงวัยหมดประจำเดือน ก็จะเหลือการผลิตน้อยมากแล้ว ผู้หญิงจึงมีกระดูกบางได้เร็วกว่าผู้ชาย

                        มีการศึกษาถึงความหนาแน่นของกระดูกผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้วในญี่ปุ่นและจีน เปรียบเทียบกับผู้หญิงในยุโรปและอเมริกา พบว่าผู้หญิงในจีนและญี่ปุ่นจะมีความหนาแน่นของกระดูกมากเกือบเท่าวัยสาว แต่ในกลุ่มยุโรปและอเมริกา จะมีกระดูกที่บางมากกว่ามากอย่างมีนัยสำคัญ

                        เมื่อได้ศึกษาการกินอาหาร การปฏิบัติตน และ ภาวะแวดล้อมต่างๆ ก็พบว่า ผู้หญิงจีนและญี่ปุ่น กินถั่วเหลืองในชีวิตประจำวันมากพอดู เช่น ในน้ำเต้าหู้ เต้าหู้แผ่น ฟองเต้าหู้ เต้าเจื้ยว ถั่วหมัก เต้าหู้อ่อน เต้าหู้เส้น และ อาหารดัดแปลงอีกหลายอย่างที่ทำจากถั่วเหลือง เช่น เนื้อเทียม เมื่อได้เอาถั่วเหลืองมาวิเคราะห์ดู ก็พบว่ามีโปรตีนและวิตามินจำนวนมาก มีทั้งแคลเซียม น้ำมันชนิดดี เกลือแร่ แร่ธาตุต่างๆอีกหลายชนิด และ ในเยื่อหุ้มเมล็ดถั่วเหลืองบริเวณตาดำ หรือ จมูกถั่วเหลือง จะมีสารที่มีโครงสร้างคล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่เข้าไปทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจนที่รังไข่ผลิตได้น้อยลง จึงชะลอการเกิดภาวะกระดูกบางลงในผู้หญิงทั้งสองชาตินี้

                        แต่ในปัจจุบันนี้เมื่อมีการรู้คุณค่าของจมูกถั่วเหลือง จึงมีการแยกเยื่อหุ้มเปลือกไปขายเพื่อสกัดเอาสารนี้ ปัจจุบันน้ำเต้าหู้หรือเต้าหู้แผ่นจึงมักจะทำจากถั่วเหลืองซีก การจะหาซื้อถั่วเหลืองที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดก็ยากหน่อย ผมเคยซื้อได้ที่ตลาดอตก. ร้านขายอาหารสมุนไพรแถวหน้าสันติอโศก ถนนนวมินทร์ คลองกุ่ม ก็มีขาย ถ้าที่อื่นมีขายก็ช่วยบอกต่อๆกันด้วยนะครับ

    "ผู้หญิงอายุ 25 ปีขึ้นไป จะต้องการจมูกถั่วเหลืองวันละประมาณ 25 มิลลิกรัม ถ้าประจำเดือนหมด ความต้องการจะเพิ่มขึ้นเป็น วันละ 50 มิลลิกรัม"

                        ซึ่งองค์การเภสัชกรรม ทำสารสะกัดจมูกถั่วเหลือง มาขายทั่วไป แคปซูลละ 25 มิลลิกรัม ในน้ำเต้าหู้บรรจุกล่องเจ้าหนึ่ง ได้โฆษณาว่า ของเขาผสมจมูกถั่วเหลืองอยู่ 5 มิลลิกรัม ก็จะต้องกินวันละ 5-10 กล่อง จึงจะเท่ากับที่ร่างกายต้องการ 

     

                        ผมมักแนะนำคนไข้ของผมว่า ให้ซื้อถั่วเหลืองที่มีเยื่อหุ้มมาแล้วให้แม่ค้าช่วยชั่งแยกมาหนึ่งขีด เอามาตวงดูที่บ้านว่าเท่าใด ถ้าผู้หญิงที่ยังไม่หมดประจำเดือนจะต้องการประมาณครึ่งขีดต่อวัน สำหรับผู้หมดประจำเดือนก็เพิ่มเป็นวันละหนึ่งขีด วิธีทำง่ายๆก็ให้เอาถั่วเหลืองมาแช่น้ำไว้ซัก 3 ชั่วโมง ขึ้นไป หรือจะทั้งคืนก็ได้ แล้วต้มให้สุก เทน้ำทิ้ง แล้วนำไปใส่ตู้เย็นไว้ เอามากินกับข้าวทั้ง 3 มื้อ หรือ จะหุงผสมกับข้าวกล้อง ข้าวขาว และ ถั่วชนิดอื่นๆ ก็จะได้ประโยชน์มากขึ้นเช่นกัน กินได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งหญิงและชาย ถ้ากินร่วมกันหลายคนก็เพิ่มปริมาณถั่วเหลืองให้มากขึ้น รับรองว่าจะแข็งแรง กระดูกจะไม่หักง่ายแน่ๆครับ

                        4. แรงกดทับ ถึงจะมีองค์ประกอบด้านบนครบ 3 อย่างแล้ว การสร้างเซลล์กระดูกขึ้นมาใหม่ก็ยังเกิดขึ้นได้น้อย ต้องมีสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือโครงสร้างกระดูกจะต้องมีการรับน้ำหนักพอสมควร เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างเซลล์กระดูกใหม่ มีการวิจัยพบว่า จะต้องเดินให้ได้วันละ 5,000 ก้าวขึ้นไปจึงจะเพียงพอ นักบินอวกาศที่อยู่ในสภาพไร้น้ำหนักนานหลายๆเดือน เมื่อลงมาสู่พื้นดิน กระดูกจะบางลงไป หกล้มก็อาจเกิดกระดูกหักได้ง่าย จึงมีการโด๊ปเพิ่มมวลกระดูกให้มากขึ้นก่อนจะขึ้นไปอยู่บนอวกาศที่ไม่มีแรงโน้มถ่วงของโลก

                        จะต้องมีครบองค์ประกอบหลักทั้ง 4 นี้ การสร้างเซลล์กระดูกใหม่จึงจะได้ผลดี ชะลอภาวะกระดูกโปร่งบางลง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×