Maychichi
ดู Blog ทั้งหมด

อุทยานปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี

เขียนโดย Maychichi
 อุทยานประสาทเมืองสิงห์

                จังหวัดกาญจนบุรี

 

ที่มา : http://kanchanaburitip.blogspot.com

                จังหวัดกาญจนบุรีตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทยมีพื้นที่กว้างขวางถึง  19,468  ตารางกิโลเมตร  หรือ  ประมาณ  12,178,750  ไร่  จังหวัดกาญจนบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯไปตามถนนเพชรเกษมหรือถนนบรมราชชนนี  ผ่านนครชัยศรี  นครปฐม  บ้านโป่ง  ท่ามะกา  ท่าม่วง  ถึงจังหวัดกาญจนบุรี  ระยะทาง  130  กิโลเมตร  และทางรถไฟ  1333  กิโลเมตร

                พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดกาญจนบุรีเป็นภูเขาโดยพื้นที่ทางเหนือและตะวันตกของจังหวัดเป็นเทือกเขาและค่อย    ลาดลงมาทางทิศตะวันออกและด้านใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลองต่อเนื่องกับบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี  นครปฐมและราชบุรี  มีแม่น้ำสายสำคัญอยู่  4  สาย  คือ  แม่น้ำแควน้อย ( ไทรโยค )  แม่น้ำแควใหญ่ (ศรีสวัสดิ์ )  แม่น้ำแม่กลอง  ลำตะเพิน

                ลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดกาญจนบุรีคล้ายคลึงกับบริเวณภาคกลางของประเทศไทยกล่าวคือมีสภาพอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน  ( Swannah  climate )  มีช่วงชุ่มชื้นหรือช่วงที่เป็นฤดูฝน  ประมาณ  4-6  เดือน  ระยะเวลาอีกประมาณ  6  เดือน  เป็นช่วงฝนแล้ง  ฤดูกาลของจังหวัดกาญจนบุรี  แบ่งออก  เป็น  3  ฤดูกาล  คือ  ฤดูฝน  ฤดูหนาว  และฤดูร้อน  ป่าไม้ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี  เป็นป่าไม้ประเภทป่าผลัดใบหรือ  ป่าเบญจพรรณโดยมีไม้ที่สำคัญ  เช่น  ไม้แดง  ไม้ตะเคียน  ไม้มะค่า  ไม้รัง  ไม้ประดู่  ส่วนป่าดิบเขาหรือป่าดิบชื้นนั้นมีบริเวณที่เป็นภูเขาสูงกว่า  1,000  เมตร  เหนือระดับน้ำทะเลจัดเป็นป่าดงดิบเขาหรือชนิดป่าสนเขาเป็นป่าสนที่ขึ้นอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า  7000  เมตรขึ้นไป  ได้แก่  สนสองใบซึ่งแยกเป็นป่าสงวนแห่งชาติ  15  แห่ง  อุทานแห่งชาติ  5   แห่ง  เขตรักษาพันธุ์สัตว์  2   แห่ง  สัตว์ป่าที่มีความสำคัญในป่าจังหวัดกาญจนบุรีได้แก่  ช้าง  เสือ  ค่าง  ชะนี  อีเห็น  ไก่ฟ้า  กระทิง  หมี   กวาง  เก้ง   นกเป็ดน้ำ  เต่า  6  ขา  กบเขา  เป็นต้น

                กาญจนบุรีเป็นแหล่งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย  มีแร่ธาตุสำคัญหลายชนิด  ได้แก่  ดีบุก  วุลแฟรม  ตะกั่ว  ฟอสเฟต  พลวง  ฟลูอออไรต์  แบไรต์  เป็นต้น  ยิ่งกว่านั้นยังมีแน่รัตนชาติล้ำค่าหลายชนิด  เช่น  โดโลไมต์  หินปูน  ดินขาว   โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลอยสีน้ำเงินหรือบลูเซฟไฟร์  หรือพลอยไพลินที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีไปทั่วโลก

                ประชากรในจังหวัดกาญจนบุรีประกอบด้วยหลายกลุ่มเชื้อชาติ  คือ  นอกจากกลุ่มคนไทยซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดกาญจนบุรีตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ทุกอำเภอแล้ว  ยังมีประชากรกลุ่มอื่น    อีกได้แก่  กลุ่มจีน  กลุ่มเชื้อสายกระเหรี่ยง  กลุ่มเชื้อสายมอญ  กลุ่มเชื้อสายลาว  จึงก่อให้เกิดความหลากหลายขนบธรรมเนียม  ประเพณี  และการละเล่นพื้นบ้าน

                ประชากรส่วนใหญ่ในจังหวัดกาญจนบุรีประกอบอาชีพเกษตรกรรมพืชที่มีการเพาะปลูกมาก  ได้แก่  อ้อย  มันสำปะหลังและข้าว  ส่วนการประกอบการอุตสาหกรรมก็มีหลายชนิด  เช่น  โรงงานน้ำตาลเหมืองแร่ชนิดต่างต่าง    โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ  และโรงงานบรรจุอาหารกระป๋อง  นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพในอุตสาหกรรม  การท่องเที่ยว  โรงแรมและรีสอร์ทที่พัก

                แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี

 

ที่มา : http://kanchanaburitip.blogspot.com

                เนื่องจากอยู่ห่างจากกรุงเทพฯเพียง  130  กิโลเมตร  มีเส้นทางคมนาคมสะดวก  ทั้งทางรถยนต์และทางรถไฟ  รวมทั้งเป็นที่ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย  ทั้งทางด้านธรรมชาติ  ประวัติศาสตร์  โบราณคดี  ศิลปะและวัฒนธรรม  จังหวัดกาญจนบุรีจึงได้รับการพัฒนาและยกระดับให้เป็นเมืองท่องเที่ยวหลักของภาคตะวันตก  เพราะมีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติอยู่มากมายหลายรูปแบบ  แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดกาญจนบุรีมีทั้ง  ความงดงามของป่าเขา  น้ำตก  ถ้ำ  แม่น้ำลำคลอง  ตลอดจนความงดงามของทัศนียภาพ  จึงมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากมาย  อาทิเช่น  น้ำตกเอราวัณ  น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น  น้ำตกไทรโยค ( เขาพัง )  น้ำตกไทรโยคและอุทยานแห่งชาติไทรโยค  น้ำตกผาตาด  น้ำตกเกริงกระเวีย  ถ้ำละว้า  ถ้ำดาวดึงส์  ถ้ำพระธาตุ  ถ้ำธารลอด  อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์  ถ้ำฤาษี  ถ้ำลับแล  ถ้ำเนรมิต  บ่อน้ำพุร้อนหินดาด  เขื่อนเขาแหลม  และเขื่อนศรีนครินทร์

                ในด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี  ความสมบูรณ์ของแหล่งอารยธรรมด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี  ปรากฏหลักฐานต่อเนื่องกันมาหลายยุดหลายสมัยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นต้นมาจนถึงเหตุการณ์สำคัญในช่วงสงครามโลกครั้งที่  2  แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญ  ได้แก่  ถ้ำตาด้วง  ถ้ำผาแดง  ถ้ำรูเขาเขียว  ถ้ำเทวฤทธิ์  ถ้ำขุนแผน  ถ้ำแพะเขาพัง  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า  พงตึก  อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์  ด่านเจดีย์สามองค์  ทางรถไฟสายมรณะ  สะพานข้ามแม่น้ำแคว  สุสานกาญจนบุรี ( ดอกรัก )   สุสานเขาช่องไก่  และพิพิธภัณฑ์สงครามวัดไชยชุมพลชนะสงคราม ( วัดใต้ )

                เมืองสิงห์

                เมืองสิงห์ตั้งอยู่ในเขตตำบลสิงห์บุรี  อำเภอไทรโยค  จังหวัดกาญจนบุรี  สามารถเดินทางไปทางรถไฟ  จากกรุงเทพมหานครประมาณ  175  กิโลเมตร  หรือโดยทางรถไฟจากสถานีบางกอกน้อยกรุงเทพมหานคร

                เมืองสิงห์อยู่บนที่ราบริมแม่น้ำแควน้อย  บริเวณเมืองสิงห์ยังเป็นพื้นที่ที่เทือกเขาล้อมรอบ  ทำให้พื้นที่ลาดเทลงมาทางลำน้ำแควน้อย  ดังนั้นดินในบริเวณนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์มากเหมาะต่อการทำเกาตรกรรม

                จากความสมบูรณ์ของพื้นที่ทำให้เมืองสิงห์มีพัฒนาการทางวัฒนธรรมมาเป็นเวลานานดังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีมากมายหลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่พบในบริเวณเมืองสิงห์นั้นได้จากการขุดค้นบริเวณริมแม่น้ำแควน้อยนอกกำแพงเมืองสิงห์ด้านทิศใต้เป็นหลุมฝังศพมนุษย์และเครื่องมือเครื่องใช้ฝังอยู่ร่วมกับศพคล้ายคลึงกับที่พบที่บ้านดอนตาเพชร  อำเภอพนมทวน  จังหวัดกาญจนบุรี   ซึ่งกำหนดอายุอยู่ในตอนปลายยุคโลหะสมัยก่อนประวัติศาสตร์  มีอายุประมาณ   2,000  ปี  มาแล้วในสมัยต่อมาเป็นช่วงเวลาที่มีการสร้างเมือง  คือ  เมืองสิงห์  ปรากฏหลักฐานเป็นจำนวนมาก  ได้แก่  ตัวเมืองรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดพื้นที่ประมาณ  1  กิโลเมตร  มีคูเมือง  คันดินและกำแพงเมือง  ศิลาแลงล้อมรอบ  ที่กลางเมืองมีโบราณสถาน  ทรงปราสาทสร้างขึ้นตามลักษณะศิลปะขอมแบบบายน

                นอกจากตัวเมืองโบราณ  และโบราณสถานแล้ว  ทรงปราสาทสร้างขึ้นตามลักษณะศิลปะขอมแบบบายน  ซึ่งจากลักษณะทางศิลปะกรรรมสามารถกำหนดอายุได้ว่าเมืองสิงห์และปราสาทเมืองสิงห์  น่าจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่  18  หรือตรงกับรัชสมัย  พระเจ้าชัยวรมันที่  7  ของประเทศกัมพูชา  ตามที่ปรากฏศิลาจารึกหลักหนึ่ง  ที่ปราสาทพระขรรค์ซึ่งจัดทำขึ้นโดยเจ้าชายวีรกุมารพระราชโอรสองค์หนึ่ง  ของพระเจ้าชัยวรมันที่  7  มีข้อความสรรเสริญความกล้าหาญ  และการบุญกุศลของพระเจ้าชัยวรมันที่  7  และมีตอนหนึ่งซึ่งกล่าวถึงชื่อเมืองต่าง    โดยเฉพาะได้ระบุชื่อเมือง  6  เมืองซึ่งสันนาฐานว่าเป็นเมืองในภาคกลางของประเทศไทย  ได้แก่  ลโวทยะปุระ  สุวรรณปุระ  ศัมพูกะปัฏฏนะ  ชัยราชบุรี  ศรีชัยสิงหบุรี  และศรีชัยวัชรบุรีซึ่งเข้าใจกันว่าเมืองศรีวิชัยสิงหบุรี  ก็คือเมืองสิงห์ที่สร้างปราสาทเมืองสิงห์  ในจังหวัดกาญจนบุรี

                นอกจากแนวความคิดที่เชื่อว่า  ปราสาทเมืองสิงห์สร้างขึ้นในศิลปกรรมในราวพุทธศตวรรษที่  18  ตามเหตุผลดังกล่าวแล้วยังมีแนวคิดอีกแนวหนึ่งซึ่งว่าเมืองสิงห์  และปราสาทเมืองสิงห์น่าจะเป็นการก่อสร้างที่เลียนแบบขอมสมัยหลังรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่  7  และไม่น่าจะเกี่ยวข้องอันใดกับชื่อเมืองศรีวิชัยหปุระ ในจารึก  เนื่องจากเห็นว่าลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ขาดความสมดุล  และความลงตัวและเกิดความคาดเคลื่อนในการวางตำแหลางอาคารตลอดจนจารึกที่ฐานหินทรายรองรับประติมากรรมเป็นตัวอักษรและภาษาขอมสมัยหลังเมืองพระนคร  หรือหลังจากรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่  7  รวมทั้งชื่อเมืองสิงห์ไม่ปรากฏในหลักฐานประวัติศาสตร์ใดก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ( รัชกาลที่ 1 )  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  จึงทำให้เกิดข้อคิดเห็นว่าเมืองสิงห์และปราสาทเมืองสิงห์น่าจะเป็นการก่อสร้างที่เลียนแบบปราสาทขอมสมัยรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่  7  และไม่น่าจะเกี่ยวข้องอันใดกับชี่อเมืองศรีชัยสิงหบุรีในศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์

                เรื่องราวของเมืองสิงห์ยังปรากฏเป็นตำนานจากคำบอกเล่าของชาวพื้นเมืองที่เกี่ยวกับเมืองสิงห์  และปราสาทเมืองสิงห์จังหวัดกาญจนบุรี  ซึ่งอาจเป็นความพยายามอธิบายเมืองโบราณแห่งนี้โดยยกเป็นตำแหน่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับท้าวอู่ทอง  ซึ่งหนีภัยจากท้าวเวชสุวรรณโณไปเที่ยวสร้างเมืองหลบซ่อนตามที่ต่าง    แถบนั้นโดยชื่อเมืองจะอธิบายโบราณสถานแห่งนั้นตามแนวคิดของตนกับสิ่งที่พบเห็น  ตามโบราณสถานนั้น   เช่น  ชื่อเมืองกลอนโด่  ก็เพราะสภาพโบราณสถานเหลือเพียงซากซึ่งผู้เล่าเห็นว่าเป็นกลอนประตูทิ้งอยู่  เมืองครุฑและเมืองสิงห์ก็น่าจะเป็นประสบการณ์ของผู้เล่าที่พบรูปครุฑ  และรูปสิงห์ถูกทิ้งร้างอยู่ที่โบราณสถานแห่งนั้น

                ลักษณะของเมืองสิงห์เป็นเมืองมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตั้งอยู่บนที่ราบริมฝั่งแม่น้ำแควน้อย  มีเนื้อที่ประมาณ  641  ไร่  1  งาน  65  ตารางวากำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลง  ขนาดกว้างประมาณ  880  เมตร  ส่วนแนวด้านทิศแนวด้านทิศเหนือ – ใต้  ยาวจนจรดแม่น้ำ  1,400  เมตร  ตัว  กำแพงสูง  7  เมตร  มีประตูทางเข้า – ออก  ทั้ง  4  ด้าน  กำแพงด้านในถมดินลาด  ด้านทิศตะวันออก  ทิศเหนือ  และกำแพงเมืองคดโค้งไปตามลำน้ำแควน้อยโดยใช้ลำแม่น้ำเป็นคูเมืองจึงมีผลทำให้ลักษณะของกำแพงเมืองด้านนี้มีรูปร่างเป็นไปตามแนวแม่น้ำด้วยตัวเมืองมีสระน้ำ  6  สระ   และสิ่งก่อสร้างเนื่องจากในศาสนาอีก  4  แห่ง

                ปราสาทเมืองสิงห์

                ภายในบริเวณกำแพงเมืองสิงห์  มีสิงก่อสร้างโบราณเนื่องในทางศาสนาอยู่  4  ตำแหน่ง  ประกอบด้วย

                โบราณสถานหมายเลข  1  คือ         ปราสาทหลังใหญ่ตรงกับประตูเมืองสิงห์ด้านทิศ

ตะวันออก

                โบราณสถานหมายเลข  2  คือ         ปราสาทหลังที่อยู่ทางทิศติดกำแพงแก้วของปราสาท

ของปราสาทหลังใหญ่

                โบราณสถานหมายเลข  3  คือ         อาคารขนาดเล็กที่ก่อกำแพงด้วยอิฐและศิลาแลง  อยู่

นอกกำแพงแก้วด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทหลังใหญ่ห่างออกไป  150  เมตร

                โบราณสถานหมายเลข  4  คือ         ฐานโบราณสถานที่มีลักษณะเป็นห้อง    อยู่ห่างจาก

กำแพงแก้วด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทหลังใหญ่ไปประมาณ  286.50  เมตร

                โบราณสถานหมายเลข  1

 

ที่มา : http://www.trekkingthai.com

                เป็นกลุ่มอาคารส่วนใหญ่ยึดแนวแกนทิศตะวันออก – ตะวันตกเป็นหลักโดยเมื่อผ่านประตูเมืองด้านทิศตะวันออกเข้าไป  227 เมตร  ถึงจะถึงชานศิลาแลงรูปกากบาทตัวชานทำเป็นฐานเขียงลดชั้นขึ้นมาเป็นเส้นลวดและฐานบัวคว่ำมีหน้ากระดานเป็นลูกฟักส่วนบนทำเป็นกระดานเรียบ  ปลายด้านทิศตะวันตกต่อกับประตูทางเข้าซุ้มกำแพงแก้ว  ปลายด้านทิศตะวันออก  เหนือและใต้ทำเป็นบันไดทางขึ้น  ที่ขอบชานโดยรอบสกัดเป็นร่องตื้น    กว้างประมาณ  1  ฟุต  ยาวขนานไปกับขอบชานคล้ายว่าจะทำเป็นระเบียงขอบชานหรือเมื่อเปรียบเทียบกับโบราณสถานขอมที่อื่น    แล้วก็คือราวสะพานนาคแต่ที่ไม่ปรากฏราวสะพานนาคหรือระเบียงอาจเป็นเพราะสร้างไม่เสร็จ  หรือชำรุดสูญหายไปหมดแล้ว

                ถัดจากสะพานนาคเป็นกำแพงแก้ว  ซึ่งเป็นกำแพงล้อมรอบรอบปราสาทขนาดกว้างประมาณ  81.20  เมตร  ความยาวโดยรอบ  97.60  เมตร  กำแพงส่วนใหญ่พังเกือบหมดแล้วแต่ยังคงเหลือแนวกำแพงที่สมบูรณ์อยู่เป็นบางตอนที่ตรงกลางของกำแพงด้านตะวันออกและตะวันตกเป็นช่องประตุทางเข้าด้านหน้าและด้านหลัง

                ผ่านกำแพงเข้าไปจะเป็นลานศิลาแลงสี่เหลี่ยมกว้าง  23.6.  เมตร  และยาว  25.60  เมตร  เป็นลานทางเดินประกอบด้วยแนวทางเดิน  3  แนว  ซึ่งเชื่อมต่อกันและตัดกันเป็นรูปกากบาท  แนวทางเดินดังกล่าวยกสูงจากระดับพื้นเล็กน้อย  จึงทำให้เกดเป็นแอ่งตื้น    รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสคั่นอยู่ระหว่างแนวทางเดิน  เป็นจำนวน  4  แอ่ง  ขนาดกว้าง  1.60  เมตร  ยาว  2.00  เมตร  ลึก  15  เซนติเมตร  รอบ    แอ่งมีหลุมสี่เหลี่ยมประมาณ  34 – 35  หลุม  เรียงกันเป็นระยะสันนิษฐานว่าคงจะเป็นหลุมเสารองรับหลังคาคลุมทางเดินกากบาทลานทางเดินนี้เชื่อมระหว่างบันไดทางเดินโคปุระด้านทิศตะวันออกกับประตูกำแพงแก้ว

                ถัดจากลานหน้าปราสาทมีบันไดขึ้นสู่ปราสาท  ซึ่งมีลักษณะเป็นปราสาทหลังเดียวหันหน้าไปทางทิศตะวันออก  ล้อมรอบด้วยระเบียงคดขนาดด้านตะวันออกและตะวันตก  ยาวประมาณ  36.40  เมตร  ส่วนด้านทิศเหนือและทิศใต้ยาว  42.50  เมตร  และตรงกลางของระเบียงคดแต่ละด้านมีซุ้มประตูหรือโคปุระซึ่งลักษณะระเบียงคดโคปุระด้านหน้าเหลือส่วนยอดด้านหน้าเพียงด้านเดียว  โคปุระด้านเหนือและทิศใต้พังทลายจนเหลือแต่ฐาน  โคปุระที่สมบูรณ์ที่สุดคือโคปุระด้านหลังหรือด้านทิศตะวันตก  ลักษณะของปุระมีองค์เรือนธาตุเป็นฐานบัวคว่ำ  ตั้งอยู่ฐานเขียง  มีเส้นลวดสามเส้นรัดโดยรอบ  ส่วนบนของโคปุระทำเป็นชั้นรัดเกล้าซ้อนกัน  3  ชั้น  ต่อจากชั้นรัดเกล้าทำเป็นลักษณะโค้งมนคล้ายบัวคว่ำแล้วต่อยอดสุดด้วยอัมลกะหรือหมวกแขก  ลักษณะเป็นแฉก    คล้ายกลีบดอกไม้

                จากโคปุระด้านทิศตะวันออกจะเป็นทางผ่านเข้าสู่มุขด้านหน้าของประสาทปรานซึ่งเป็นลานปูด้วยศิลาแลงเชื่อมต่อระหว่างปราสาทประธานซึ่งเป็นลานปูด้วยศิลาแลงเชื่อมต่อระหว่างปราสาทประธานกับโคปุระ ( ซุ้มประตู )  ด้านทิศตะวันออกที่มุมตะวันออกเฉียงใต้ของลานนี้  เป็นอาคารรูสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือ  ที่เรียกว่า  บรรณาลัย  ขนาดกว้าง  2.50  เมตร  ยาว  5.50  เมตร  ฐานเป็นฐานบัวคว่ำมีช่องประคูทางเข้าด้านทิศตะวันตกเพียงด้านเดียว  ผนังด้านทิศตะวันออกทำเป็นประตูหลอกที่ผนังด้านทิศเหนือและใต้  ทำเป็นช่องแสงเล็ก    ด้านละ  4  ช่อง  ส่วนบนของอาคารพังทลายไปหมด

                กึ่งกลางของกลุ่มอาคารนี้เป็นปราสาทประธาน  ลักษณะเป็นปราสาทองค์เดียว  ตั้งอยู่บนฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้  20  ขนาด  กว้าง  13.20  เมตร  มีมุขยื่นออกไปรับกับมุขด้านในของโคปุระทั้ง  4  ทิศ  มุขด้านทิศตะวันออกมีขนาดยาวกว่าด้านอื่น    ตัวปราสาทตั้งอยู่บนฐานบัทม์หรือบัวคว่ำและบัวหงายซ้อนกันอยู่  3  ชั้น  เรือนธาตุเป็นฐานคว่ำ  บริเวณส่วนบนขององค์ปราสาทพังทลายหมดมีบันไดทางเข้าที่มุขด้านทิศตะวันออก  ด้านทิศเหนือและใต้

                จากภายในองค์ปราสาทด้านทิศเหนือมีรางน้ำมนต์รองรับน้ำสรงรูปเคารพหรือน้ำมนต์ให้ไหลออกด้านนอก  และมีแอ่งรับน้ำปรากฏอยู่ที่บริเวณฐานด้านนอกของมุขทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาทปราน  นอกจากนี้ที่ผนังด้านนอกของมุขทางด้านตะวันตกยังมีร่องรอยการถากศิลาแลงอาจทำเป็นหน้าต่างหลอก  และที่ด้านหน้าองค์ปราสาทมีฐานประติมากรรม  2  ชิ้นทำด้วยหินทรายตั้งอยู่ด้านหลังของปราสาทประธานเป็นโคปุระและระเบียงคดด้านทิศตะวันตกกำแพงแก้วด้านทิศตะวันตกและชานด้านหน้าโดยมีปลายด้านหนึ่งเชื่อมกับซุ้มประตูกำแพงแก้วเช่นเดียวกัน

                โบราณสถานหมายเลข  2

 

ที่มา : http://www.trekkingthai.com

                เป็นกลุ่มอาคารเช่นเดียวกับโบราณสถานหมายเลข  1  ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบนอกกำแพงแก้วใกล้มุมกำแพงแก้วใกล้มุมกำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโบราณสถานหมายเลข  1  กลุ่มอาคารทั้งหมดตั้งอยู่บนฐานเดียวกันเป็นฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซ้อนกัน  2  ชั้น  ฐานชั้นล่างกว้าง  33.90  เมตร  ยาว  54.20  เมตร  สูง  0.80  เมตร  ตรงกลางใช้ดินลูกรังหรือศิลาแลงเม็ดเล็ก    อัดแน่น  ก่อสร้างศิลาแลงแล้วประดับด้วยลายปูนปั้น

                ถัดไปเป็นฐานชั้นบนกว้าง  23.70  เมตร  ยาว  44.80   เมตร   มีทางขึ้นอยู่ทางด้านทิศตะวันออกบนฐานชั้นนี้เป็นลานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง  6.50  เมตร  ยาว  10  เมตร

                ถัดจากลานไปเป็นระเบียงคดและโคปุระด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออกมีทางขึ้น  4  ทิศ  ถัดจากโคปุระด้านหน้าออกไป  7  เมตร  เป็นกลุ่มอาคาร  6  หลังตั้งรวมกันเป็นกลุ่มห่างจากโคปุระด้านหน้าค่อนข้างมากประกอบด้วยปราสาทประธานอยู่ตรงกลาง  ด้านข้างโคปุระ  ด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้  ด้านหลังเป็นโคปุระด้านทิศตะวันตก  ซุ้มทิศมุมตะวันตกแยงเหนือ  และตะวันตกเฉียงใต้  ตั้งเรียงอยู่บนฐานเดียวกันมีระเบียงคดและทางเดินเชื่อมต่อกัน

                จากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข  2  นี้ได้พบแท่นฐานประติมากรรมหินทรายเป็นจำนวนมากตั้งอยู่ในโคปุระและตามแนวระเบียงคด  และที่ซุ้มทิศนอกจากนี้ยังพบประติมากรรมหินทรายรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  พระพุทธรูป  นาคปรก  นางปรัชญาปารมิตา  พระพิมพ์ดินเผาจำนวนมาก

                ลักษณะตัวอาคารของโบราณสถานหมายเลข 2   มีลักษณะไม่สมดุลกันไม่ว่าจะเป็นฐานของโคปุระด้านทิศตะวันออกซึ่งแต่ละด้านย่อมุมไม่เหมือนกันหรือฐานของแนวระเบียงด้านทิศใต้ไม่อยู่ในลักษณะของเส้นตรงเหมือนฐานของแนวระเบียงคดด้านทิศเหนือ  หรือที่โคปุระด้านทิศเหนือที่มีทางขึ้นด้านข้างแต่กลับไม่พบโคปุระด้านทิศใต้สิ่งเหล่านี้อาจจะแสดงให้เห็นว่าโบราณสถานหมายเลข  2  นี้อาจจะยังสร้างไม่เสร็จหรือมีการสร้างเพิ่มเติมจนทำให้มีอาคารลักษณะดังกล่าว

                โบราณสถานหมายเลข  3

                ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้วด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโบราณสถานหมายเลข  1  ห่างออกไป  150  เมตร  อาคารหลังนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบโล่งลักษณะเป็นแนวฐานของโบราณสถานขนาดเล็กภายในเป็นห้องก่อด้วยอิฐและศิลาแลง  ถัดขึ้นมาเป็นฐานปัทม์  1  ชั้น  ชั้นบนก่อด้วยอิฐซึ่งลักษณะการก่อสร้างเช่นนี้อาจจะเป็นการก่อสร้างทับซ้อนกันได้ที่มุมด้านนอกอาคารทุกมุมมีแผ่นหินปักไว้คล้ายกับจะเป็นเสมาและจากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข  3  นี้  ได้พบพระพิมพ์โลหะที่เป็นพระพิมพ์เนื้อชินตะกั่วจำนวนมาก  อาคาราหลังนี้มีผู้เสนอแนวคิดว่าน่าจะสร้างมาก่ออการสร้างประสาท

                โบราณสถานหมายเลข  4

                อยู่ห่างจากกำแพงด้านทิศตะวันตกของโบราณสถานหมายเลข  1  ไปประมาณ  236.50  เมตร  เป็นฐานอาคารคล้ายห้องแถว  4  ห้อง  ก่อด้วยศิลาแลงเป็นพื้นชั้นเดียวรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียงกันแต่ละห้องกว้าง  3.90  เมตร  ยาว  6.65  เมตร  ระยะเรียงห่างกัน  0.50  เมตร  พื้นบางส่วนปูด้วยศิลาแลงได้พบกรวดแม่น้ำและทรายอัดแน่นลักษณะดังกล่าว  สันนิษฐานว่าเป็นฐานรากของอาคารทางด้านทิศเหนือของอาคารพบแท่นฐานประติมากรรมหินทรายตั้งอยู่

                โบราณวัตถุที่ใช้ประกอบสถาปัตยกรรม

                จากการขุดแต่งโบราณสถานได้พบส่วนประกอบสถาปัตยกรรมเป็นจำนวนมากมีทั้งเป็นปูนปั้นดินเผา  หินและศิลาแลง

 

ที่มา : http://www.touronthai.com

                ลายปูนปั้น  มีลายปูนปั้นรูปปั้นรูปบุคคล  ผู้ชาย  ผู้หญิง  เทวดาและยักษ์บางครั้งพบสวมเครื่องประดับศีรษะ  หรือกระบังหน้า  แต่ส่วนใหญ่ไม่ปรากฏเครื่องประดับศีรษะหรือกระบังหน้านอกจากนี้ยังมีปูนปั้นรูปสัตว์ส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์ที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาหรือคติ  ความเชื่อต่าง ๆ  เช่น  ช้าง  ลิง  และนาค  ลายพันธุ์พฤกษาซึ่งใช้ประดับอยู่ตามชั้นต่าง    ตลอดไปจนถึงส่วนบนที่มีลักษณะเป็นยอดปราสาท

                เครื่องปั้นดินเผาประกอบสถาปัตยกรรม  ส่วนใหญ่เป็นกระเบื้องมุงหลังคาที่เรียกว่า  กระเบื้องกาบู  กระเบื้องตัวผู้มีลักษณะเป็นทรงกระบอกผ่าซีกคล้ายกาบกล้วย  ปลายด้านหนึ่งบานออกเล็กน้อยภายในมีขาเกาะยื่นออกมาจากด้านในเล็กน้อยเวลามุงหลังคาปูคว่ำลง  กระเบื้องตัวเมียมีลักษณะเป็นกระเบื้องโค้งค่อนข้างแบนกว่ากระเบื้องตัวผู้ส่วนขาเกาะยื่นออกมาเล็กน้อยตรงส่วนกลางด้านนอกของกระเบื้องเวลามุงปูให้หงายขึ้นและกระเบื้องเชิงชายที่ใช้ปิดที่ปลายกระเบื้องตัวผู้มีลักษณะเช่นเดียวกับกระเบื้องตัวผู้โดยมีปลายด้านหนึ่งปิดทำเป็นรูปสามเหลี่ยม  ปลายแหลมคล้ายกลีบดอกไม้หรือกลีบกระจังนอกจากกระเบื้องมุงหลังคาแล้วยังพบบราลีดินเผาใช้ประดับสันหลังคาลักษณะเป็นทรงคล้ายดอกบัวตูมส่วนล่างผายออกเป็นฐานส่วนปลายเว้าเข้ารับกับส่วนหลังคา  องค์ประกอบสถาปัตยกรรมที่ปราสาทเมืองสิงห์ส่วนใหญ่สร้างด้วยศิลาแลง  และปูนปั้น  ส่วนหินทราย  ใช้เฉพาะส่วนสำคัญของโบราณสถาน  เช่น  ส่วนยอดปรางค์  แผ่นศิลาฤกษ์และรางน้ำมนต์อาจเนื่องจากในบริเวณนี้หาแหล่งหินทรายได้ยากซึ่งก็เป็นเหตุผลหนึ่งแต่ไม่ใช่ทั้งหมดเพราะพบว่าแม้แต่ในที่มีหินทรายสมัยนี้ก็ใช้ศิลาแลง

                จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบจากการขุดแต่งโบราณสถานปราสาทเมืองสิงห์ทั้ง  4  แห่ง  พบโบราณวัตถุที่เป็นประติมากรรมในศาสนาพุทธนิกายมหายานมากมาย  ส่วนใหญ่เป็นรูปพระพุทธรูปนาคปรก



 
 
ที่มา : http://travel.kapook.com

                รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  และรูปนางปรัชญาปารมิตาหรือนางปัญญาบารมี  ซึ่งทั้ง  3  องค์นี้ถือว่าเป็นประติมากรรมสูงสุดของพุทธศาสนานิกายมหายาน  หรือที่เรียกกันว่า  รัตนตรัยมหายานพระพุทธรูปนาคปรกส่วนใหญ่มีสภาพชำรุด  เหลือเพียงส่วนฐานบ้างลักษณะท้องถิ่นเข้ามาปะปนแต่ก็ถือได้ว่าเป็นศิลปขอมแบบบายนในราวพุทธศตวรรษที่  18  ลักษณะของพระพุทธรูปสมัยนี้มีพระพักตร์อมยิ้มแสดงความเมตตากรุณาพระเนตรปิดสนิท

                พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่พบที่ปราสาทเมืองสิงห์  พบเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  4  กร  รวมทั้งสิ้น  14  องค์  โดยพบที่โบราณสถานหมายเลข  1  จำนวน  6  องค์  โบราณสถานหมายเลข  2   จำนวน  6  องค์  และบริเวณนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก  จำนวน  1  องค์  มีลักษณะเป็นศิลปะขอมแบบบายนคือพระพักตร์ค่อนข้างสี่เหลี่ยมพระเนตรปิสนิท  พระโอษฐ์อมยิ้ม  พระเกตุมาลาเป็นรูปทรงกระบอกปลายตัดพระเกศาสลักเป็นรูปจันทร์เสี้ยวเล็ก    เรียงซ้อนกันขึ้นไปเป็นแนวตรงมีพระธยานิพุทธอมิตาภะ ( ปางสมาธิ )  อยู่หน้ามวยพระเกศาหรือพระเกตุมาลา  นุ่งผ้าโจงกระเบนสั้น  มีชายผ้าเป็นริ้วรูปหางปลาคาดเข็มขัดที่มีหัวเข็มขัดที่มัหัวเข็มขัดทั้งด้านหน้าและด้านหลังขอบล่างของผ้านุ่งมีลวดลายประดับเป็นแนว

                นอกจากรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรดังกล่าวมาแล้วข้างต้นยังมีพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่ง  คือ  พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีลักษณะเป็นรูปบุรุษประทับยืนมีเศียรเดียว  8  กร  พระพักตร์รูปสี่เหลี่ยมพระเนตรปิด  พระขนงหนามีพระเนตรที่สามกลางพระนาฏ  พระนาสิกโด่ง  พระโอษฐ์อมยิ้ม  พระเกตุมาลาเป็นรูปทรงกระบอกปลาย  ตัดด้านหน้าสลักเป็นรูปพระธยานิพุทธอมิตาภะ  พระเกศา  พระเกตุมาลา  พระพาหา  พระวรกายท่อนบนด้านหน้าและพระวรกายด้านหลังครึ่งหนึ่งสลักเป็นรูปบุคคลนั่งขัดสม่ธิขนาดเล็ก  ประดับอยู่เต็มกลางพระอุระและรอบบั้นพระองค์มีรูปบุคคลขนาดเล็กนั่งขัดสมาธิอยู่รอบข้อพระบาทและโคนนิ้วพระบาททั้งสิบด้วย

                นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมรูปนางปรัชญาปารมิตาหรือนางปัญญาบารมีเทพีในศาสนาพุทธนิกายมหายาน  ซึ่งมีที่มาจากคัมภีร์สำคัญของพระพุทธศาสนา  คือคัมภีร์ปรัชญาปารมิตา รูปนางปรัชญาปารมิตาที่พบที่ปราสาทเมืองสิงห์มี 4 องค์ แต่สมบูรณ์เพียง 2 องค์ เป็นแบบหนึ่งเศียร 2 กร มีพระธยานิพุทธนิพุทธอมิตาภะอยู่หน้าพระเกตุมาลา องค์ที่มีพระหัตถ์สมบูรณ์นั้น พระหัตถ์ขวาถือดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายถือคัมภีร์ ปรัชญาปารมิตาสูตร(ต่างจากที่พบที่กัมพูชาที่ถือดอกบัวที่พระหัตถ์ซ้าย ส่วนพระหัตถ์ขวาถือคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาหรือคัมภีร์ปัญญาบารมี) จากลักษณะพระพักตร์ คือมีพระเนตรปิด พระโอษฐ์อมยิ้ม และผ้านุ่งทิ้งชายลงมาตรงๆ เป็นผ้าลายมีชายรูปสามเหลี่ยมห้อยอยู่ข้างหน้านั้นแสดงให้เห็นถึงลักษณะของศิลปขอมแบบบายน คือแสดงอาการยิ้มบนใบหน้าประติมากรรมในพระพุทธศาสนาพระเนตรจะปิด ผ้านุ่งสตรีไม่มีจีบแต่นุ่งผ้าลายดอกชายผ้าข้างหน้าจะพับย้อนเป็นรูปปลายแหลมหรือสามเหลี่ยมมีเข็มขัดสลักลายดอกไม้คาด

                รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และนางปรัชญาปารมิตาเหล่านี้ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ได้จำลองแบบและจัดแสดงไว้ในอาคารจัดการแสดงโบราณวัตถุของอุทยานฯเพื่อให้ประชาชนไดศึกษารูปแบบและลักษณะจำนวน 9 องค์ รวมทั้งรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เปล่งรัศมีด้วย

                นอกจากประติมากรรมในพระพุทธศาสนาขนาดใหญ่ดังกล่าวมาแล้ว ยังพบประติมากรรมขนาดเล็กได้แก่พระพิมพ์ดินเผา 3 องค์ พบที่บริเวณนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก

               

 

โบราณวัตถุที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้

 

ที่มา : http://www.moohin.com

                พบที่เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นภาชนะดินเผาประเภทเนื้อดินได้แก่ ตะคัน ผอบ หม้อ และภาชนะดินเผาประเภทเคลือบทั้งแบบ สุโขทัย แบบเขมร เครื่องถ้วยเวียดนาม และเครื่องถ้วยจีน โบราณวัตถุประเภทอื่นๆ ที่พบ ได้แก่ แท่นหินบด พร้อมทั้งสากบด ขวานหินขัด ลูกปัดหินอะเกต ลูกปัดหินคาร์นีเลียน ลูกปัดแก้ว ส่วนที่เป็นโลหะที่พบได้แก่

ความคิดเห็น

mahaha7509
mahaha7509 10 ต.ค. 54 / 18:24
ขอบอกเลยว่ามีประโยชน์ในการไปศึกษา อุทยานแห่งชาติปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรีมาก