Maychichi
ดู Blog ทั้งหมด

ความรู้ที่ได้จากท่านวิทยากร อุทยานปราสาทเมืองสิงห์

เขียนโดย Maychichi
 สรุปจากคำบอกเล่าของท่านวิทยากร

อุทยานปราสาทเมืองสิงห์
 

ที่มา : http://kanchanaburitip.blogspot.com

                พื้นที่ทั้งหมดของอุทยานมี  641  ไร่  ในส่วนทางด้านทิศตะวันออก  ทิศตะวันตก  และทิศเหนือจะมีผนังคันดินอยู่  ซึ่งในส่วนทางด้านทิศใต้จะไม่มีผนังคันดิน  ติดริมแม่น้ำแควน้อย  และมีภูเขาล้อมรอบ  เหตุที่ต้องมีผนังคันดินเพราะส่วนทางด้านทิศตะวันออก  ทิศตะวันตก  และทิศเหนือจะมีน้ำป่าไหลมาเข้าสู่ตัวเมืองปราสาทเมืองสิงห์เลยมีการสร้างคูน้ำคันดินขึ้นเพื่อลดแรงกระแทกของน้ำที่จะไหลมา  คนจังหวัดกาญจนบุรีทราบกันว่าต้นกำเนิดแม่น้ำแควน้อยมีแม่น้ำรวมกัน  3  แม่น้ำ  คือ  แม่น้ำลันตี  แม่น้ำชองกาเรีย  แม่น้ำปิล็อก

                โบราณสถานหมายเลข  1

 



ที่มา : http://kanchanaburitip.blogspot.com

       เมื่อก่อนเปรียบเสมือนวัดเป็นศาสนสถานที่ทำพีกรรมทางศาสนาของคนสมัยก่อนเป็นพิธีกรรมทางศาสนาของศาสนาพุทธลัทธิมหายาน  “ เนื่องจากบริเวณโบราณสถานแห่งนี้มีผู้ยืมชมเห็นว่าโบราณสถานแห่งนี้สร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของพระมหากษัตริย์”  แต่ไม่ใช้โบราณสถานแห่งนี้เป็นวัดที่ทำพิธีกรรมทางศาสนา  และในส่วนโบราณสถานแห่งนี้มีมาประมาณ  800  กว่าปีเศษมาแล้ว  สร้างก่อนสุโขทัย  100กว่าปีมาแล้ว ได้รับศิลปะมาจากทางขอมมาสร้างปราสาทเมืองสิงห์  และได้สร้างในรัชสมันพระเจ้าชัยวรมันที่  7  ในช่วงศตวรรษที่  18 – 19  พ.ศ. 1620 -1760  หินที่นำมาสร้าง  จะเรียกว่า  “หินศิลาแลง”  ก้อนหินจะมีลักษณะเป็นก้อนกลม    คล้ายเม็ดโฟม  แหล่งหินที่นำมาสร้างโบราณสถานแห่งนี้สันนิษฐานว่านำมาจาก  ทุ่งนาคราช  ห่างจากปราสาทเมืองสิงห์  10  กิโลเมตร  ต.เขียวหญ้า  จ.กาญจนบุรี  การเคลื่อนย้ายโดยการลากมาตามแม่น้ำแควน้อยโดยมการต่อแพมาหรือใช้สัตว์ขนาดใหญ่ลากหินมา  สังเกตจากหินจะมีรูอยู่ประมาณ  2 -3 รูต่อก้อน  คือการใช้เหล็กสกัดเจาะและใช้คานไมลากมา  ในส่วนโบราณสถานเคยเกิดการพังทลายมาแล้วทางกรมศิลปากร  ได้มาทำให้โบราณสถานแห่งชาติ  เมื่อวันที่  8  มีนาคม  2478  ได้ประกาศขึ้นทะเบียน  เมื่อปี  พ.ศ. 2517  ได้เงินงบประมาณมาบูรณะ  วิธีการซ่อมแซมไม่ได้ใช้วิธีแบบอนัตทิโรสิคแต่ใช้การนำหินมาวางต่อกันเป็นชั้น    ใช้วิธีในการซ่อมแซมบูรณะเป็นเวลา  13  ปี  และเปิดให้เข้าชมเมื่อวันที่  3  เมษายน  2530  โดยสมเด็จพระเทพได้มาเป็นองค์ประทานในพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทเมืองสิงห์  และได้นับว่าเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทเมืองสิงห์เปิดเป็นที่แรกแห่งประเทศไทย  เมื่อสมัยก่อนคนที่จะเข้ามาในปราสาทเมืองสิงห์ได้ต้องเป็นผู้ที่มียศฐานบันดาศักดิ์เท่านั้นและการเข้าไปจะเดินมาทางลานที่เป็นรูปกากบาทและจะไปล้างเท้าชำระร่างกายที่แอ่งสี่เหลี่ยม  ด้วยโบราณสถานแห่งนี้เป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์เลยจะต้องมีการชำระล้างร่างกายก่อนที่จะเข้าไปในตัวปราสาทเมืองสิงห์  และลักษณะบันไดจะเป็นบันไดที่มีลักษณะที่สูงชันที่เป็นแบบนี้เพราะการที่จะเข้าไปในตัวปราสาทจะต้องคลานเข้าไปเพื่อเป็นการเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสถานที่นี้  ทางหน้าบรรณทางเข้าจะไม่มีการแกะสลักลวดลายเพราะหินมีคุณสมบัติความแข็งจนไม่สามารถที่จะทำการแกะสลักลวดลายได้  คนในสมัยก่อนเลยใช้ปูนขาวมาทาทับไว้เพื่อให้ปราสาทมีความโดดเด่นสวยงามยิ่งขึ้น

                องค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรจะมีอยู่  5  องค์และอยู่ที่  ปราสาทเมืองสิงห์  1  องค์  ราชบุรี  1  องค์  เพชรบุรี  1  องค์  และลพบุรี  2  องค์  ในเขตโบราณสถานจะไม่มีหลังคามุง  แต่จะสร้างแนวระเบียงคดและจะมีการสร้างหลังคามุง  บนยอดหลังคาจะเรียกว่า  “บาลี” 

                รูปแกะสลักองค์พระโพธิสัตว์โดยการแกะที่ผนังหินศิลาแลงจะมีอยู่รูปเดียวในตัวปราสาทเมืองสิงห์นี้  โดยการเชื่อกันว่าน่าจะเป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นผู้แกะไว้โดยการทดลองแกะแล้วไม่เป็นผลสำเร็จเพราะหินศิลาแลงมีความแข็งมากจนไม่สามารถแกะได้  เลยใช้ปูนขาวมาทาทับแทนเพื่อให้ปราสาทโดดเด่นและสวยงาม

                เทพีแห่งความเฉลียวฉลาด  “พระนางปารมิตาหรือพระนางปัญญาบารมี”  จะมีแท่นรองรับน้ำมนต์อยู่ด้านล่างโดยคนสมัยนั้นจะนำน้ำหรือนมบริสุทธิ์มารดองค์พระนางปารมิตาและนำภาชนะมารองรับน้ำมนต์ด้านล่างเพื่อนำไปดื่มกินและทำการชำระล้างร่างกาย  ส่วนแท่นด้านล่างจะเรียกว่า  “แท่นเคารพบูชา”  องค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  องค์พระนางปารมิตา  และองค์พระพุทธรูปจะใช้หินทรายก้อนใหญ่เพียงก้อนเดียวเพื่อทำการแกะสลักองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  และองค์พระนางปารมิตา

                ในการที่พบว่าพระองค์พระพุทธรูปพระกรหรือส่วนต่าง    จะขาดหายไป  จะมีความเชื่อ  2  ประการ  คือ  1. คนที่ไม่ชอบในศาสนาพุทธมาตัดเอาไปเพื่อไม่ให้มีการเผลแผ่ศาสนาในที่นี้  และ 2. เชื่อว่าหินศิลาแลงทางด้านบนตัวปราสาทล่วงลงมาทับจนทำให้พระกร  และส่วนต่าง    หักและพังทลายไป

                หลุมฝังศพ

 


          ขุดลึกลงไปและพบเครื่องใช้โบราณก่อน  ขุดพบโครงกระดูก  4  โครง  แต่นำจัดแสดง  2  โครง  เพราะอีก  2  โครง  ไม่มีความสมบูรณ์เลยได้ย้ายไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์สถานที่  บ้านเก่า  ดอนตาเพชร  ส่วนโครงกระดูก  2  โครง  ที่นำมาจัดแสดงเป็นโครงกระดูกของผู้หญิงทั้งคู่  โดยโครงกระดูกที่หันศีรษะไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  เป็นเพศหญิง  อายุประมาณ  30-35 ปี  และโครงที่หันศีรษะไปทางศีรษะไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  เป็นเพศหญิง  อายุประมาณ 20 -30 ปี  ทั้งสองโครงถูกฝังรวมกับภาชนะสำริด  ลูกปัดหินอาเกตและคาร์เนเลี่ยน  และลูกปัดแก้ว  ในการที่โครงกระดูกหันศีรษะไปคนละทิศกันเหตุเป็นเพราะในสมัยการไม่มีการนับถือศาสนาเลยทำการโยนเหรียญโยนไม้แทนเลยทำให้หันศีรษะไม่ไปทางเดียวกัน  และการที่นำข้าวของเครื่องใช้มาฝังไปด้วย  คือ  คนสมัยก่อนเชื่อกันว่าการที่ฝังข้าวของเครื่องใช้ไปด้วยเพื่อในชาติหน้าเกิดมาจะมีของใช้  โดยสันนิษฐานว่าโครงกระดูกนี้น่าจะเป็นนักเดินทางค้าขายเร่เดินทางมาและเกิดการเจ็บป่วยคนในสมัยก่อนนั้นเลยทำการฝังไว้ที่บริเวณนี้  และจากการสังเกตไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นคนชาติใด  เพราะไม่ได้ทำการพิสูจน์โครงกระดูกด้วยทางอุทยานไม่มีงบประมาณพอที่จะทำการพิสูจน์แต่ของเครื่องใช้ในหลุมฝังศพนี้จะมีลวดลายทางอินเดีย  และการการที่นักท่องเที่ยวได้มาท่องเที่ยว  “ได้สอบถามว่าบริเวณนี้เป็นสุสานหรือเปล่า  โดยสถานที่นี้ไม่เป็นเพราะถ้าเป็นจะต้องมีโครงกระดูกไม่น้อยกว่า  10  โครงขึ้นไป  ได้ทำการเปิดหน้าดินบริเวณหลุดฝังศพนี้ประมาณ  2  เมตรจากหน้าดิน  โครงกระดูกนี้กับโบราณสถานไม่มีความเกี่ยวข้องกันเพราะเป็นคนละช่วงสมัย  และเป็นบริเวณชุมชนก่อนสมัยประวัติศาสตร์  ใช้เวลา  1  ปีในการขุดหลุมฝังศพ

                อาคารจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุ

 


ที่มา : http://www.touronthai.com

                เป็นอาคารจัดแสดงโยภายในจะข้าวของเครื่องใช้ของคนบริเวณรอบปราสาทเมืองสิงห์  เป็นสำรวจรอบข้างของบริเวณปราสาทแล้วไปเจอเลยมาทำการจัดแสดง  พระพุทธรูปจำลองต่าง    ของปราสาทเมืองสิงห์  และจะมีภาพถ่ายทางอากาศที่นำมาจัดแสดงด้วย  โดยข้าวของเครื่องใช้จะเป็นพวก  ขวาน  และเครื่องมีทำมาหากิน  เครื่องจัดกำยาน  พระพุทธรูปจะมีองค์พระโพทธิสัตว์อวโลกิเตศวร  พระนางปารมิตา  และพระพุทธรูปที่เป็นศิลปะที่รับอิทธิพลมาจากทางขอมหรือเขมร  ภาพถ่ายจะเป็นภาพถ่ายทางดาวเทียมของอุทยานปราสาทเมืองสิงห์

 จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไปศึกษามา

                ผลสรุป  คือ  กลุ่มของข้าพเจ้าเล็งเห็นว่า  บริเวณปราสาทเมืองสิงห์จะไม่มีผู้คนอาศัยอยู่  นอกจากพระสงฆ์  ชี  และพราหมณ์เท่านั้นที่อยู่อาศัยในบริเวณปราสาทเมืองสิงห์  แต่บริเวณรอบนอกปราสาทเมืองสิงห์จะมีผู้คนอาศัยอยู่ซึ่งสันนิษฐานว่านาจะเป็นคนที่ได้มาสร้างปราสาทเมืองสิงห์นี้ที่เป็นคนอยู่อาศัยในรอบนอกปราสาท  เพราะการที่สร้างปราสาทได้นั้นต้องใช้ผู้คนจำนวนมากในการสร้าง  เพราะการที่คนเรานั้นจะไปนำหินก้อนใหญ่    มาสร้างเป็นตัวปราสาทต้องใช้ผู้คนจำนวนมากในการขนย้าย  และยังต้องมีสัตว์ขนาดใหญ่เพื่อใช้เป็นเครื่องทุนแรงในการทำงาน  กลุ่มของข้าพเจ้าเลยสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชุมชนขนาดใหญ่มาก  ที่มีการอยู่อาศัยบริเวณรอบนอกปราสาท  และจากการสอบถามท่านวิทยากรในเรื่องว่าไม่มีการค้นพบโครงกระดูกรอบนอกบางหรือ  ท่านได้ตอบว่าทางอุทยานมีความอยากที่จะค้นหาเหมือนกัน  แต่ติดตรงที่ไม่มีงบประมาณในการค้นหาเลยทำให้ไม่รู้ว่ามีโครงกระดูกอยู่รอบนอกหรือเปล่า  แต่จากการได้ค้นพบข้าวของเครื่องในบริเวณรอบนอกเลยสันนิษฐานว่าน่าจะมีโครงกระดูกของคนในยุคสมัยก่อนอยู่บ้าง 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
สวัสดีครับ
ความคิดเห็นที่ 2
ใครเป็นผู้สร้างปราสาทเมืืองสิงห์ค่ะ