orishim
ดู Blog ทั้งหมด

ประเพณีที่เกี่ยวกับความเชื่อภาคอีสาน

เขียนโดย orishim

ประเพณีที่เกี่ยวกับความเชื่อ

 

      ความเชื่อของชาวอีสาน จะได้การสืบทอดมาแต่บรรพบุรุษคนอีสานยังมีความเชื่อที่ยังเหนียวแน่น คนอีสานยังมีความเชื่อที่ยังเหนียวแน่นในเรื่องภูตผีวิญญาณ ถึงแม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเข้ามามีบทบาทในสังคมภาคอีสานในปัจจุบันก็ตาม ทั้งๆที่หลักการของพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของเหตุผลแต่ก็ไม่ได้ลบล้างความเชื่อของคนอีสานได้ บางครั้งยังเอาพระพุทธศาสนาเข้ามาร่วมกับความชั่วได้อย่างกลมกลืน แต่ความเชื่อของคนอีสานนั้น ถือว่าถ้าเชื่อว่าถ้าสิ่งใดเป็นทาจะนำเอาความเดือดร้อนมาให้ก็จะไม่ทำสิ่งนั้น ถ้าทำแล้วเกิดประโยชน์ก็จะทำสิ่งนั้น วิถีชีวิตของคนอีสานจึงผูกพันกับความเชื่อตลอด ความเชื่อเป็นพื้นฐานให้เกิดปัญญา ความเชื่อก่อให้เกิดการคิดค้นหาวิธีการซึ่งกระบวนการคิดค้นก็คือการใช้ปัญญานั่นเอง อย่างเช่นการจุดบั้งไฟ

 

ประเพณีบุญบั้งไฟ

                บั้งไฟ อีสานเรียก บ้องไฟ ทางเหนือเรียก บอกไฟ สาเหตุของการทำบุญบ้องไฟนั้น มาจากความเชื่อของชาวอีสาน เทพเจ้าสามารถที่จะบันดาลให้พืชผลตลอดจนข้าวปลาอาหารในท้องนาของตนให้อุดมสมบูรณ์ เทพเจ้าองค์นั้นคือ พระยาแถน ตามความเชื่อของชาวอีสานนั้นถือว่า พระยาแถนเป็นเทพยาดาผู้มีหน้าที่ควบคุมฝนฟ้าให้ตกตามฤดูกาล หากทำการเซ่นสรวงบูชาให้พระยาแถนพอใจท่านก็จะอนุเคราะห์ให้การทำนาปีนี้สมบูรณ์ ตลอดจนดลบันดาลให้ข้าวปลาอาหารสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากหมู่บ้านใดทำบุญบ้องไฟติดต่อกันสามปี ข้ามปลาอาหารในหมู่บ้านนั้นจะอุดมสมบูรณ์ไม่ขาด บางท้องถิ่นมีความเชื่อว่า การทำบุญบ้องไฟเป็นการส่งสัญญาณให้พระยาแถนได้รับทราบว่าถึงฤดูกาลทำนาแล้วอย่าลืมส่งฝนฟ้าลงมาให้ตกต้องตามฤดูกาล

                หากพิจารณาจะเห็นได้ว่า การทำบุญบ้องไฟก็คือ การรื่นเริงครั้งใหญ่ของชาวอีสานก่อนที่จะลงมือทำนาเป็นมูลเหตุข้อหนึ่ง ส่วนมูลเหตุในการทำบุญบ้องไฟ ข้อที่สองคือการสร้างพลังใจในการทำงาน ให้ชาวอีสานมั่นใจว่าการทำนาในปีนี้จะได้ผลดีไม่ต้องท้อถอย ประเภทของบั้งไฟนั้น มี 4 ประเภทคือ

1. บ้องไฟขนาดเล็ก ใช้ดินประสิวประมาณ 1 ถึง 5 กิโลกรัม

2. บ้องไฟขนาดกลาง ใช้ดินประสิวประมาณ 6 ถึง

9 กิโลกรัม

3. บ้องไฟหมื่น ใช้ดินประสิวประมาณ

12 กิโลกรัม

4. บ้องไฟแสน ใช้ดินประสิว 120 กิโลกรัมขึ้นไป

 

 

สำหรับเครื่องประกอบพิธีนั้นมีดังนี้

1. หมู่บ้านที่ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพ

2. บั้งไฟหมู่บ้านละ 1 บั้ง

3. มรรคนายก และ คณะสงฆ์

4. ขบวนแห่บั้งไฟ

5. เครื่องดลตรีพื้นเมือง

6. หุ่นลามกอนาจาร

7. กาพย์เซิ้ง

8. ค้างไฟ คือ ที่จุดบั้งไฟ

9. นายช่างผู้ประกอบบั้งไฟ                                               
 

ขั้นตอนของพิธีกรรม

                ปกติแล้วในการที่หมู่บ้านใดจะเป็นเจ้าภาพนั้นมักจะเวียนไปแต่ละหมู่บ้าน หลังจากนั้นชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านมาประชุมตกลงแบ่งงานเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มหน้าที่ต่างๆในการทำบ้องไฟ  และมีหน้าที่ต้อนรับแขก จัดเตรียมอาหารตลอดจนที่หลับนอนจากแขกหมู่บ้านอื่นๆ ที่มาร่วมงานซึ่งทางวัดและมรรคนายกจะเป็นผู้บอกบุญ การบอกบุญเป็นการเชิญชวนมาทำบุญ และร่วมส่งบ้องไฟเข้าแข่งขัน หลังจากนั้นจึงทำบ้องไฟเมื่อถึงงานบุญบ้องไฟเมื่อใด ทั่วทั้งหมู่บ้านจะระงมไปด้วยเสียงตอกบ้องไฟ เมื่อตอกบ้องไฟเสร็จก็จะทำเอ้บ้องไฟ คือการตกแต่งบ้องไฟ ตามท่อนหัวและลำตัว ซึ่งจะแกะเป็นรูปลายไทยบ้างพยานาคบ้าง เรือสุพรรณหงส์บ้าง นอกจากนั้นยังมีการนำผ้าไหม ผ้าลายขิต มาประดับตกแต่ง

                เมื่อถึงวันบุญ วันแรกของงานเรียกว่า วันโฮม หรือวันรวม เหตุที่เรียกเพราะเป็นวันที่รวมบ้องไฟจากหมู่บ้านต่างๆมาแห่ประกวด พิธีสงฆ์ในวันนี้ชาวบ้านจะช่วยกันเลี้ยงพระเช้าและเพล เมื่อถึงเวลาบ่าย 3 โมง ชาวบ้านจะเริ่มแห่บ้องไฟตามจุดนัดหมาย ในวันนี้จะมีการประกวดขบวนบ้องไฟ ที่เรียกว่าขบวนเซิ้ง และประกวดการเอ้บ้องไฟ ขบวนแห่ประกอบด้วยขบวนรำเซิ้ง หรือฟ้องเซิ้งประกอบเครื่องดลตรีพื้นเมือง นอกจากนี่ยังมีการเล่นชักหุ่นลามกอนาจารเกี่ยวกับเรื่องเพศต่างๆเพราะมีความเชื่อว่าเทพเจ้าจะโปรดปรานการละเล่นนี้อีก  ชาวบ้านจะร้องกาพย์เซิ้งบ้องไฟในขณะเดิน

 

 

 

 

       การแห่จะใช้เวลาถึงเย็น ในกลางคืนจะมีมหรสพสมโภช นอกจากนั้นยังมีการเส็งกลอง เป็นการแข่งขันการตีกลองให้ได้จังหวะเสียงดังมากๆ กลองที่นำมาเส็งนั้นนิยมใช้ กลองกิ่ง ในวันโฮมถ้ามีนาคจะบวชก็ให้บวชไปพร้อมการแห่บ้องไฟ และถ้าต้องการทำบุญกองหด จะทำในวันนี้เช่นเดียวกัน ต่อจากวันโฮมก็เป็นวันจุด ในตอนเช้าชาวบ้านจะมีพิธีสงฆ์ คือทำบุญเลี้ยงพระที่วัด หลังจากนั้นชาวบ้านจะแห่บ้องไฟรอบศาลาโรงธรรมสามรอบแล้วนำบ้องไฟไปรวมกันที่ ค้างบ้องไฟ หน่วยวิเคราะห์ศูนย์ชุมนุมส่งเสริมวัฒนธรรมไทย วิทยาลัยครูนครราชสีมา ได้กล่าวว่า  ค้างบ้องไฟ คือที่จุดบ้องไฟส่วนใหญ่อยู่นอกหมู่บ้านกลางทุ่งนา ค้างบ้องไฟทำจากต้นขนาดใหญ่ การจุดบ้องไฟต้องใช้เวลานานบางทีต้องจุดตลอดทั้งวันจึงจะจุดติด หากบ้องไฟใครขึ้นสูง เจ้าของก็จะดีใจ ดื่มสาโท ร้องรำทำเพลง นางช่างผู้ประกอบบ้องไฟก็จะได้รับการสรงน้ำจากเพื่อนบ้าน แต่ถ้าใครจุดแล้วไม่พุ่งขึ้นสูง นายช่างก็จะถูกเพื่อนบ้านจับโยนลงโคลน หลังจากนั้นจะมีการเซิ้งนำฮอยไฟ ก็คือการเซิ้งหลังจุดบ้องไฟเสร็จ เมื่อบุญบ้องไฟผ่านไป ชาวบ้านก็จะเริ่มลงมือทำนา ( หน่วยวิเคราะห์ศูนย์ชุมนุมส่งเสริมวัฒนธรรมไทย วิทยาลัยครูนครราชสีมา, 2520 : 63 )



มีอีกหลายประเพณีติดตามได้ในบล็อคค่ะ 

น.ส.สุพัตรา โอ่งเจริญ
สาขาวิชาภาษาไทย ศศ.บ
ราชภัฏเชียงใหม่

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
เข้าใจหามาให้อ่านนะครับ โชคดีที่ได้มาอ่าน
minped
minped 8 ม.ค. 55 / 20:23
 ก็หาจากหลายๆเล่มมาประกอบกันค่ะ