b_bigbike
ดู Blog ทั้งหมด

วิธีสังเกตุ25 สัญญาณอาการแมวป่วย

เขียนโดย b_bigbike

ในบางครั้งการสังเกตอาการแมวป่วยก็เป็นไปได้ยาก ที่จะสังเกตว่าแมวป่วยอยู่หรือไม่ เพราะแมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่ขึ้นชื่อว่าเก็บอาการได้เก่งจึงมีงานวิจัยชื่อว่า สัญญาณที่บ่งบอกถึงอาการป่วยในแมว ความเห็นร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญ โดยสัตวแพทย์และบุคลากรทั้ง 19ราย ได้ร่วมสังเกตแมว และรวบรวม 25 สัญญาณที่อาจเชื่อมโยงต่ออาการป่วยของแมว

ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่า สัญญาณเหล่านี้เป็นเพียงตัวบ่งชี้เท่านั้น สัญญาณดังกล่าวแบ่งได้ 3 กลุ่ม เราไปดูกันว่ามีวิธีการสังเกตุอาการแมวป่วยอย่างไรกันบ้าง ถ้าหากผู้เลี้ยงอยู่ใกล้ชิดกับแมวและเอาใจใส่พวกมันอย่างสม่ำเสมอไม่ยากเลย

อาการแมวป่วยแบ่งได้ 3 กลุ่มคือ

กลุ่มที่ 1 อาการแมวป่วยที่แสดงสัญญาณทางกายภาพ

  • เดินกะเผลก
  • ท่าเดินผิดปกติ
  • กระโดดไม่ค่อยถนัด
  • ไม่ค่อยอยากเคลื่อนไหว
  • นั่งในท่าโก่งหลัง เท้าหุบเข้าใต้ลำตัว
  • ศรีษะโน้มต่ำกว่าปกติ
  • เลียร่างกายบางส่วนเป็นพิเศษ
  • ตวัดหางไปมา
  • ถ่ายปัสสาวะลำบาก
  • หนังตากระตุก (เปลือกตากะพริบถี่แรงแบบควบคุมไม่ได้)
  • ตาปิด

กลุ่มที่ 2 อุปนิสัยของแมวป่วย

  • มีท่าทีตอบสนองต่อการคลำสำรวจ
  • ชอบหลบไปอยู่ตัวเดียว หรือชอบแอบซ่อนตัว
  • คลอเคลียคนน้อยลง
  • แมวของคุณไม่ทำความสะอาดตัวเองเหมือนเคย
  • ไม่ทำกิจกรรมแบบที่เคยทำ หรือทำน้อยลง
  • เล่นน้อยลง จนสังเกตุได้
  • สภาวะอารมณ์เปลี่ยนไป เช่น หงุดหงิดง่าย หรือขี้โมโหเป็นบางเวลา
  • อุปนิสัยไม่เหมือนเดิม เช่น หงุดหงิด ขี้ตื่นตลอดเวลา
  • เลี่ยงอยู่ในที่สว่าง
  • ส่งเสียคำรามบ่อยๆ
  • ส่งเสียงครวญคราง

กลุ่มที่ 3 สัญญาณทางการกินเมื่อแมวป่วย

  • แมวของคุณไม่เจริญอาหารเหมือนปกติ
  • แมวมีพฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป
  • น้ำหนักตัวไม่คงที่

บทสรุป ลักษณะอาการที่พบได้ในแมวป่วยได้แก่ กระโดดลำบาก กินอาหารน้อยลง นั่งตัวโก่ง เล่นน้อยลงกว่าเดิม อุปนิสัยเปลี่ยนไป เช่น คลอเคลียน้อยลง ลังเลไม่อยากเคลื่อนไหวร่างกาย เลียตามร่างกายบางส่วนเป็นพิเศษ แต่เจ้าของไม่เข้าใจว่าอาการที่เห็นหมายความว่าอย่างไรในเชิงการแพทย์ เช่นเจ้าของอาจจะมองว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ หรือคิดว่าแมวแก่ตัวลงไม่ได้ป่วย จึงไม่ได้เป็นกังวลใดๆ หรือรอไปจนกว่าแมวป่วยหรือมีอาการรุนแรงขึ้น

เราหวังว่าการมีเกณฑ์ที่เป็นรูปธรรมและบ่งชี้ถึงสัญญาณอาการป่วยของแมวทั้ง 25 ประการนั้น จะทำให้ทั้งเจ้าของแมวและสัตวแพทย์สังเกตุอาการแมวป่วยได้ดียิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผู้เลี้ยงแมงที่อยู่ใกล้ชิดกับแมวตลอดเวลา ควรเอาใจใส่สังเกตุพฤติกรรมอยู่สม่ำเสมอ หากนำมาเลี้ยงแล้วไม่ควรละเลย

 

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น