sagime
ดู Blog ทั้งหมด

สะอึก...แก้ได้ด้วยวิธีง่าย ๆ

เขียนโดย sagime

          สะอึก หลายๆ ท่านคงจะมีประสบการณ์ในการ "สะอึก" มาบ้างแล้ว และทราบดีว่าการที่จะทำให้หยุดสะอึกอย่างจงใจนั้นไม่สามารถจะกระทำได้ การสะอึก (hiccup) เป็นอาการที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อกระบังลมที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่าง ช่องปอดและช่องท้องที่เกิดขึ้นเองโดยไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดการหายใจเอาอากาศเข้าไปก่อน และจะหยุดหายใจเข้านั้น ทันทีทันใด เนื่องจากทางเข้าหลอดลมจะปิด ทำให้เสียงดังของการสะอึกเกิดขึ้นทุกครั้งไป

          อาการสะอึกเกิดจากการหดตัว ของกล้ามเนื้อกะบังลมที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่างช่องปอด และช่องท้องที่เกิดขึ้นเองได้โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากมีสิ่งมากระตุ้นเส้นประสาท 2 เส้น คือ เส้นประสาทเวกัส vagus nerve และเส้นประสาทฟรีนิก phrenic nerve ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมระบบประสาทต่อกับระบบทางเดินอาหารส่วนต้น โดยเสียงสะอึกที่เกิดขึ้นมาจากการหายใจออกขณะที่กะบังลมเกิดการกระตุกทันที ทันใด ทำให้เกิดเสียงดังของการสะอึกขึ้น อาการสะอึกอาจเกิดขึ้นเป็นช่วงสั้นๆ และหายไปได้เอง อาจใช้เวลาเป็นวินาทีหรือ 2-3 นาที ซึ่งอาจพบได้บ่อยๆ แต่ถ้าหากสะอึกอยู่นานๆ เป็นครั้งค่อนชั่วโมงหรือเป็นวันๆ อาจจะต้องหาสาเหตุว่ามาจากโรคของอวัยวะต่างๆ ควบคู่กันไปด้วย เช่น โรคเกี่ยวกับอวัยวะในช่องท้อง ในช่องปอด ในระบบสมองและประสาทส่วนกลาง เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสะอึกที่เกิดขึ้นในขณะนอนหลับจะมีความหมายมากกว่าการสะอึกในเวลากลางวัน

กลไกการสะอึก

1.    ขณะที่หายใจเข้า กะบังลมที่อยู่ตอนล่างของช่องอกจะเคลื่อนลงล่าง ทำให้ปอดขยายตัว และดึงดูดให้อากาศเข้าปอด

2.    กะบังลมเกิดการกระตุก ทำให้ลมหายใจตีกลับขึ้นข้างบน ขณะที่ลิ้นกล่องเสียงปิด ตัดกระแสลม ทำให้เกิดเสียงสะอึกขึ้น

3.    ในที่สุดลิ้นกล่องเสียงเปิด กะบังลมคลายตัว และลมหายใจออกจากปอด

4.    แม้ว่ากลไกการเกิดการสะอึก ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าอาการนี้อาจจะเป็นการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติชนิดหนึ่ง โดยศูนย์กลางของการสะอึกจะอยู่บริเวณก้านสมองบริเวณเมดัลลา แล้วเชื่อมระบบประสาทต่อกับระบบทางเดินอาหารส่วนต้นด้วยเส้นประสาทเวกัสและ เส้นประสาทฟรีนิก

ลักษณะอาการ  อาจแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

1.    อาการสะอึกช่วงสั้นๆ อาจเพียง 2-3 นาที

2.    สะอึกหลายๆ วันติดกัน

3.    สะอึกติดๆ กันหลายสัปดาห์

4.    สะอึกตลอดเวลา

          การสะอึกติดต่อกันหลายๆ วัน เป็นอาการที่ไม่ธรรมดา เนื่องจากมีสาเหตุมาจากโรคอื่นๆ เช่นความผิดปกติทางสมองการเป็นอัมพาตการเป็นโรคทางเดินอาหาร การอักเสบในช่องท้องบริเวณกะบังลม โรคหลอดเลือดสมองตีบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบพิษสุราเรื้อรัง รวมถึงอาการทางภาวะจิตใจ และผลกระทบจากการใช้ยาบางชนิด

          ส่วนมากผู้ป่วยที่มาหาพบแพทย์ ด้วยการสะอึกเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน เนื่องมาจากมีอาการผิดปกติทางสมอง หรือเป็นอัมพาต ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถให้ยาที่ช่วยบรรเทาอาการสะอึกได้ แต่ก็อาจมีการสะอึกเกิดขึ้นมาอีก เพราะอาการสะอึกเป็นเพราะต่อเนื่องที่เกิดจากการเจ็บป่วย

สาเหตุของอาการสะอึก

1.    สำหรับสาเหตุเชื่อกันว่าเกิดจาก การรับประทานอาหารมากเกิน เร็วเกินไป บางคนอาจจะมีความตึงเครียดมากไป บางคนอาจเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มประเภทมีแอลกอฮอล์ในกระเพาะอาหาร หรือสูบบุหรี่มากเกินไป นอกจากนี้การบริโภคอาหารที่ทำให้มีก๊าซมากก็อาจเป็นสาเหตุของการสะอึกได้

2.    สาเหตุของการสะอึกอาจเกิดจากมี อะไรไปรบกวนประสาทที่ควบคุมการทำงานของกะบังลม ลมในกระเพาะอาหารขยายตัวไปกระตุ้นปลายประสาทที่มาเลี้ยวกะบังลม หรืออวัยวะใกล้กะบังลมเป็นโรคบางอย่าง เช่น เยื่อหุ้มปอดอักเสบ มูลเหตุเหล่านี้ทำให้ กะบังลมหดตัวอย่างรุนแรงทันทีทันใด การบีบรัดตัวของกะบังลมทำให้แผ่นเหนือกล่องเสียงที่คอหอยซึ่งปกติคอยกั้นไม่ ให้อาหารเข้าไปในหลอดลมปิดลง เมื่อกะบังลมหดอย่างรุนแรงก็จะดึงอากาศเข้าสู่ปอดผ่านคอหอย อากาศจึงกระทบกับแผ่นปิด แล้วทำให้สายเสียงสั่นสะเทือน จึงเกิดเสียงสะอึก อย่างที่ได้ยินเวลาสะอึก

3.    อาการสะอึกเกิดได้กับคนทุกคน สาเหตุเป็นเพราะกระเพาะอาหารเกิดการระคายเคือง จึงได้ไปกระคุ้นให้เส้นประสาทในบริเวณนี้ทำงานผิดปกติ ชักนำให้กล้ามเนื้อกะบังลม กล้ามเนื้อที่กั้นกลางระหว่างช่องอกกับช่องท้อง มีการหดเกร็งตัวเป็นจังหวะๆ และกล้ามเนื้อซี่โครงก็ได้รับผลกระเทือนให้เกิดจากหดเกร็งตัวในลักษณะเดียว กัน อย่างไรก็ตาม สาเหตุก็ไม่จำเป็นต้องเกิดจากการระคายเคืองที่กระเพาะอาหารเสมอไป บางครั้งก็อาจก่อตัวที่ศูนย์การสะอึกที่อยู่ในสมองที่บังคับควบคุมให้เกิด การเคลื่อนไหวผิดปกติของกะบังลม จนเกิดเป็นอาการสะอึก

4.    นอกจากนี้ยังอาจมีสาเหตุจากความ ผิดปกติในบริเวณคอ และหน้าอก เช่น ก้อนเนื้องอก ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น หรือเกิดจากโรคในช่องท้อง เช่น เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ไตวาย หรือภายหลังการผ่าตัดช่องท้อง เป็นต้น หรือบางครั้งก็อาจเกิดจากสาเหตุทางด้านอารมณ์ เช่น ความรู้สึกช็อก ความเครียดเรื้อรัง เป็นต้น

5.    สาเหตุอาจเกิดจากยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะกลุ่ม beta-lactams, macrolides, fluoroquinolone หรือแอลกอฮอล์

การรักษา

1.    ในแง่ของการรักษาอาการสะอึกนั้น ถ้าสะอึกเป็นเวลาสั้นๆ ไม่นานแต่เป็นหลายครั้ง ท่านอาจต้องสังเกตกิจวัตรประจำวัน การรับประทานอาหารดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือการสูบบุหรี่ว่ามีความ สัมพันธ์กับการสะอึกหรือไม่ ถ้าสัมพันธ์กัน ท่านก็ควรที่จะปรับปรุงสิ่งเหล่านั้น หากสะอึกอยู่เป็นเวลานานๆ ท่านควรไปพบแพทย์จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

2.    สำหรับเทคนิคการหยุดอาการสะอึก มีหลายแบบ ล้วนแล้วแต่มีบันทึกไว้ในตำราทางการแพทย์ ซึ่งไม่มีความแน่ชัดในการหวังผลจากการรักษาด้วยวิธีต่างๆ

3.    ถ้าไม่ดีขึ้น อาจจะต้องพบแพทย์เพื่อใช้ยาบางตัวช่วย เช่น Lagactil, Baclofen หรือกลุ่มยาช่วยย่อย เช่น Cisapride, Omperazole เป็นต้น

4.    ถ้าใช้ยาแล้วยังไม่ดีขึ้น อาจจะต้องพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุโรคอย่างอื่นร่วมด้วย แล้วแก้ไขตามสาเหตุ หรือทำการผ่าตัดทางศัลยกรรมประสาท

5.    การฝังเข็ม การสวดมนต์ทำสมาธิ การใส่สายเข้าไปในกระเพาะอาหารเพื่อดูดเอาลม และน้ำย่อยออก

6.    ในการแก้ไขจะต้องค้นให้พบสาเหตุ ของการสะอึกเสียก่อน ถ้ามีโรคที่ซ่อนเร้นอยู่ แพทย์ก็จะให้การรักษาเพื่อแก้ไขอาการสะอึกควบคู่กับการแก้ไขโรคที่เป็นต้น เหตุ ในกรณีที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน ก็มักจะเกิดจากความผิดปกติในกระเพาะอาหาร เช่น การกินอิ่มเกินไป การกินอาหารเผ็ดจัด การดื่มเหล้า การกินอาหารที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด ก็อาจชักนำให้เกิดอาการสะอึกได้

7.    ถ้าทราบว่าเกิดจากสาเหตุใด สาเหตุหนึ่งดังกล่าว แล้วหาทางหลีกเลี่ยงเสีย ก็จะช่วยป้องกันมิให้เกิดอาการกำเริบขึ้นได้อีก แต่ถ้าหากอาการสะอึกเป็นอยู่นาน จนทำให้รู้สึกเหนื่อยอ่อนและตึงเครียด ก็ควรจะไปปรึกษาแพทย์

เทคนิคหยุดสะอึก

1.    ใช้นิ้วโป้ง และนิ้วชี้จับลิ้นเอาไว้แล้วดึงออกมาข้างหน้าแรงๆ เพื่อช่วยเปิดหลอดลมที่ปิดอยู่ วิธีกระตุ้นผิวด้านหลังของลำคอ แถวๆ บริเวณที่เปิดปิดหลอดลม อาจใช้ด้ามช้อนเขี่ยที่ปิดเปิดหลอดลม

2.    กลั้นหายใจเอาไว้โดยการนับ 1-10 แล้วหายใจออก จากนั้นดื่มน้ำตามทันที หรือหายใจลึกๆ กลั้นหายใจ หายใจในถุงกระดาษ 3-5 นาที

3.    กลั้วน้ำในลำคอ จิบน้ำเย็นจัด ดื่มน้ำเย็นจัดช้าๆ โดยดื่มตลอดเวลา และกลืนติดๆ กัน ไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการสะอึกหาย หรือจนกลั้นหายใจไม่ได้ ดื่มน้ำจากขอบแก้วที่อยู่ด้านนอกหรือด้านไกลจากริมฝีปาก

4.    เขี่ยภายในรูจมูกให้จาม

5.    กลืนน้ำตาลทราย 1-2 ช้อนโต๊ะ โดยไม่ต้องใช้น้ำ หรือ กลืนก้อนข้าว ก้อนขนมปัง ก้อนน้ำแข็งเล็กๆ

6.    ทำให้เกิดอารมณ์รุนแรง เช่น โกรธ ตื่นเต้น หรือกลัว

7.    จิบน้ำส้มสายชูที่เปรี้ยวจัด หรือดมสารที่มีกลิ่นฉุน เช่น แอมโมเนีย

8.    ถ้าเป็นเด็กอ่อนควรอุ้มพาดบ่าใช้มือลูบหลังเบาๆ ให้เรอ

ที่มา : ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
http://www.bangkokhospital.com
http://www.bangkokhealth.com

Credit หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น