ภาพตึกเซ็นทรัลเวิลด์ถล่มหลังถูกเพลิงไหม้ ขณะที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงยังคงระดมฉีดน้ำ (เอเอฟพี) |
|
|
| | อาจารย์วิศวกรรมโยธา จุฬาฯ แจงตึกหลังไฟไหม้จะถล่มเมื่อไหร่ขึ้นอยู่กับความเสียหายของโครงสร้าง หากเป็นโครงสร้างเหล็กมันถล่มลงมาเลยเมื่อได้รับความร้อนเพราะสูญเสียความร้อน แต่กลับคืนสู่อุณหภูมิปกติได้ทันก็จะคืนสภาพ ส่วนโครงสร้างคอนกรีตจะเสียกำลังถาวรเมื่อรับความร้อน รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา และหัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อความปลอดภัยจากอัคคัภัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ถึงการประเมินว่าตึกและอาคารที่ถูกไฟไหม้นั้นจะถล่มลงเมื่อไหร่ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าไฟรุนแรงแค่ไหน และต้องเข้าไปตรวจสภาพความเสียหายของโครงสร้างอาคาร ทั้งนี้สิ่งที่เป็นปัญหาหลักคือเหล็กเสริมในอาคาร ซึ่งจะสูญเสียกำลังได้เร็วเมื่อได้รับความร้อน เพราะเหล็กเสริมจะแอ่นตัวมากขึ้น รับน้ำหนักได้น้อยลง และโดยมากมักจะถล่มลงมา เช่นกรณีโรงภาพยนตร์สยามซึ่งโครงสร้างหลังคาเป็นเหล็ก ได้ถล่มลงมาหลังเกิดเพลิงไหม้ อย่างไรก็ดีหากกลับสู่อุณหภูมิปกติกลังของเหล็กจะคืนสภาพ แต่หากเป็นโครงสร้างคอนกรีตจะสูญเสียกำลังถาวร “หลังจากไฟไหม้อาคารแล้วอาจยังไม่อันตราย แต่เมื่อมีคนเข้าไปหรืออาคารได้รับน้ำหนักเพิ่มขึ้นจะเป็นอันตรายได้ การฉีดน้ำอาจทำให้โครงสร้างเสียหายได้” รศ.ดร.ชัชชาติกล่าว สำหรับอาคารใหม่นั้น รศ.ดร.ชัชชาติระบุว่า กฎหมายกำหนดให้อาคารต้องทนไฟได้ 3 ชั่วโมง แต่เป็นไปตามมาตรฐานไฟประเภทหนึ่งเท่านั้น ซึ่งไฟไหม้จริงๆ ไม่รู้ว่าเป็นประเภทไหน ซึ่งมาตรฐานไฟแต่ละประเภทวัดจากในเวลา 1 นาทีอุณหภูมิจะสูงขึ้นไปเท่าไหร่ซึ่งแตกต่างกัน บางครั้งไฟไหม้รุนแรงอาจทำให้อาคารที่รองรับไฟไหม้หลายชั่วโมงพังลงภายในครึ่งชั่วโมงได้ หรือบางครั้งไฟไหม้ไม่รุนแรงนาน 5-6 ชั่วโมงแต่อาจยังคงอยู่ได้ นอกจากนี้ความรุนแรงของไฟขึ้นอยู่กับเชื้อเพลิงด้วย ส่วนระบบดับเพลิงภายในอาคารนั้นเป็นระบบที่ช่วยให้อาคารสู้ไฟได้จากภายใน ซึ่งช่วยในการดับไฟได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้าเชื้อเพลิงมีน้ำมันด้วย ระบบดับเพลิงเอาไม่อยู่ เพราะน้ำดับเพลิงจากน้ำมันไม่ได้ ต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะในการดับเพลิง อีกทั้งเชื้อเพลิงบางประเภทไม่สามารถดับได้ด้วยน้ำ
|
|
|
|
|
|
|
ความคิดเห็น