Hyakkimaru
ดู Blog ทั้งหมด

เด็กเขาถามมา

เขียนโดย Hyakkimaru

เด็กคนนึงเขาช้ำใจถูกเพื่อนขี้โอ่จิกหัวกด  เลยเอาคำถามคาใจมาถามโลมาแก้เซ็ง
โลมาเห็นเป็นคำถามที่ดี จึงนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

   โดยคำถามมีอยู่ว่า

๑.วรรณกรรมลิลิตพระลอ เป็นของกรุงศรีอยุธยา หรือไม่
๒.เพลงยอยศพระลอ แต่งขึ้นเมื่อไหร่ และทำนองในเพลงเป็นทำนองแบบไทยภาคกลาง หรือแบบล้านนา
๓.เพลงยอยศพระลอ กับเพลงโอ้ลา(ที่ใช้ผูกข้อมือน้อง) อันไหนเกิดขึ้นก่อนกันครับ

ซึ่งโลมาก็ตอบให้ว่า

1. วรรณกรรมพระลอ ถ้าถือตามบทเรียนที่เรียนกับ ศ ดร นิยะดา  เหล่าสุนทร มา ถือว่าเป็นวรรณคดีสมัยอยุธยา  แต่หากใช้ทฤษฎีวรรณคดีว่าด้วยบ่อเกิดตัวเรื่อง  จะไม่ใช่ของอยุธยา  เพราะต้นรากของพระลอ คือ Folklore เรื่องขุนลอหลวงของทางเหนือ (ถ้าที่ถามเป็นการบ้าน อย่าเอาไปตอบ อจ ที่ รรเชียวนะครับ  เพราะบางที อจ ก็ไม่ได้เรียนมา แล้วจะเข้าใจว่าเราตอบผิดได้  หรือถึงเรียนมาก็อาจจะส่งผลให้เกิดความแตกร้าวระหว่างครูกับนักเรียน  แบบกรณีของ คันซากิ อุรูมิ กับ อจ ฟูจิโมริ ในเรื่อง GTO ได้ )

2. เรื่องเพลงนี่ต้องถามพวกภาควิชาดนตรีถึงจะแน่นอนนะครับ  แต่หากจะให้ผมพูด  ผมบอกได้ว่า การจะสืบหาว่าเพลงแต่งเมื่อใด  คงจะทำได้ยาก  เพราะตำนานขุนลอหลวงเป็นวรรณกรรมโบราณที่เล่ากันแบบมุขปาฐ (ปากต่อปาก)  แต่ถ้าเพลงที่คุณหมายไว้ในใจ คือ เพลงยอยศพระลอดั้งเดิม ที่ผมเคยได้ยินเด็กดนตรีไทยดีดจะเข้ให้ฟัง  ก็จะสามารถใช้ทฤษฎีคติชนวิทยาและอนุมานได้ 2 กรณี ดังนี้
  คือ  2.1  เป็นเพลงที่เหล่ากวีและนักบวชอุทคาตารในสมัยเมืองสรวงเมืองสรอง แต่งขึ้นชมความงามพระลอจริง  แล้วชาวบ้านจดจำเล่าสืบต่อกันมาแบบมุขปาฐ 
       2.2  เป็นเพลงที่กวีหรืออุทคาตารที่สะเทือนใจกับเรื่องราวของขุนลอหลวง  จึงแต่งขึ้นทีหลัง  แล้วชาวบ้านก็จดจำเล่าสืบต่อกันมาแบบมุขปาฐ 
     ซึ่งหากจะถามว่าทำนองเพลงเป็นแบบของไทยกลาง หรือล้านนา ก็ต้องขอตอบแบบนักคติชน ด้วยทฤษฎีการแพร่กระจายของ Folklore ว่า  ไม่อาจสรุปได้ว่าของไทยกลาง หรือ ล้านนา หรืออังกฤษ (เกิดขึ้นครั้งที่ฝรั่งนำพระลอไปแสดงละครในชื่อ Magic lotus) เป็นต้นฉบับที่แท้จริง  เพราะการแพร่กระจายดั้งเดิมเป็นแบบมุขปาฐ คือปากต่อปาก  ซึ่งแน่นอนว่าไม่ว่าจะแพร่เข้าไปในแผ่นดินของชนชาติใดหรือกลุ่มชนใด  กลุ่มชนนั้นย่อมดัดแปลงให้เป็นสำเนียงของตนเพื่อความสะดวกในการขับร้อง  และด้วยเหตุที่เรายังไม่อาจสรุปได้ว่า เพลงๆนี้ เป็นเพลงที่เหล่ากวีและนักบวชอุทคาตารในสมัยเมืองสรวงเมืองสรอง แต่งขึ้นชมความงามพระลอเองตามตำนาน  หรือเป็นเพลงที่กวีหรืออุทคาตารที่สะเทือนใจกับเรื่องราวของขุนลอหลวงแต่งขึ้นทีหลัง  จึงไม่อาจระบุแน่นอนได้ว่าคนแต่งคือชนกลุ่มใด เพราะหากเป็นกรณีที่สอง คนแต่งอาจจะเป็นชาวสุโขทัย หรือล้านช้าง ที่ผ่านเข้าไปรับรู้เรื่องราวพอดีก็ได้
       แต่ถ้าเพลงยอยศพระลอที่คุณถามถึง  เป็นของชินกร  ไกรลาส ล่ะก็ เป็นเพลงสากลที่ใช้ทำนองเพลงไทยเดิมครับ (แต่งใหม่) 

  3.  เหมือนเดิมครับ  คือไปถามภาควิชาดนตรีไทยจะดีกว่า  แต่ถ้าให้ตอบก็  
3.1 หากเพลงโอ้ลาของคุณ คือเพลงๆนี้

โอ...ละโอ้ละเน้อ โอ่น้อง เอย... (ญ) ลา...
โอ้..น้องเอ๋ย พี่นี้รักทรามเชย จะมิเลยแรมไกล
รักเจ้า ดังดวงใจมิคลายหน่ายนา ลา...

* ช) พี่จะรับขวัญเจ้า ญ) เอามาเข้าเป็นขวัญจิต
ช) จะรักดังชีวิต ญ) ใจคิดกรุณา ลา...
ช) ขอจงหายโศก ญ) พ้นภัยหายโรค

ให้มีโชคนะน้องยา จะเอา ด้ายยาวขาวบริสุทธิ์ ลา...
พันมัด ผูกไว้ที่ข้อมือของเจ้า ลา...
เหมือนดังใจพี่ผูกพันเจ้าไว้ไม่หน่ายหนี
เออ...เอ้อ ใจผูกพัน ลา... ลา... (*)

  และเพลงยอยศพระลอของคุณไม่ใช่ของชินกรไกรลาส  เพลงยอยศพระลอก็เกิดก่อนครับ
เพราะมีหลักฐานจากตัวภาษา พบอักษรคำว่า ทรามเชย...  ซึ่งในสมัยสุโขทัย - อยุธยาตอนต้น เรายังใช้คำว่า ซามอยู่ครับ... (ใช้ ซวด - ซง - ซาบ - ซาม - ซาย) ซึ่งคุณสามารถไปเช็คอ่านจากตัวบทต้นฉบับได้จากหอสมุดแห่งชาติ (พวกนิทานวัดเกาะสมัยสุโขทัยมีมากมายครับ ทั้ง ซามเชย  ซวดซง ฯลฯ) 
และอีกประการหนึ่งคือว่า ตำนานขุนลอหลวงนั้นเกิดก่อนที่ฝรั่งจะไปพบชาวป่าที่เป็นต้นกำเนิดของโซตัส และนำมาดัดแปลงเป็นการรับน้องเสียอีก 


ก็หวังว่าน้องเขาคงสบายใจขึ้นแล้วล่ะนะ ปี๊ๆๆๆ (เสียงโลมาร้อง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น